Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2567

ชุดไทยมีกี่ประเภท

 ชุดไทยมีกี่ประเภท


ชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็นกี่ประเภท



ชุดไทยพระราชนิยม เชื่อว่าหลายคนอาจเคยได้ยินหรือคุ้นหูมาก่อน แต่อาจไม่รู้ที่มาที่ไป รู้เบื้องลึกเบื้องหลังอย่างถ่องแท้ วันนี้เรา จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับชุดไทยพระราชนิยมและประเภทของชุดไทยพระราชนิยมมีกี่ประเภทจะน่าสนใจแค่ไหนตามไปชมพร้อมๆกันเลย

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงโปรดให้ชุดไทยพระราชนิยมคือชุดไทยประจำชาติซึ่งประกอบไปด้วยสไบเฉียงใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวผ้าซิ่นมีจีบยกหน้าใช้เข็มขัดไทยคาดท่อนบนเป็นสไบเย็บติดกันหรือเป็นสไบห่มที่ทำขึ้นมาต่างหากเปิดบ่าข้างหนึ่งชายสไบคลุมไหล่ทิ้งชายยาวตามความเหมาะสมจุดเด่นอยู่ที่เนื้อผ้าและลวดลายที่ตัดเย็บหากได้ช่างฝีมือดีมีประสบการณ์จะช่วยให้ผ้ามีลวดลายที่สวยงามโดดเด่นสุดประทับใจนอกจากนั้นยังอาจแต่งกายเสริมด้วยเครื่องประดับได้โดย ชุดประจำชาติสามารถสวมใส่ได้ทั้งหญิงและชาย


ชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภทดังนี้


  1. ชุดไทยเรือนต้น : โอกาสที่ใช้ คือ งานพระราชพิธี
  2. ชุดไทยจิตรลดา : โอกาสที่ใช้คือพิธีกลางวัน
  3. ชุดไทยอมรินทร์ : โอกาสที่ใช้คือพิธีค่ำ
  4. ชุดไทยบรมพิมาน : โอกาสที่ใช้คือพิธีค่ำ
  5. ชุดไทยจักรี : เหมาะสำหรับงานกลางคืนหรือต้องสวมใส่เต็มยศ
  6. ชุดไทยจักรพรรดิ : โอกาสที่ใช้คืองานพระราชพิธี
  7. ชุดไทยดุสิต : โอกาสที่ใช้คืองานพระราชพิธี
  8. ชุดไทยศิวาลัย : ใช้ในโอกาสพิเศษ หรืองานพระราชพิธี

เรามักจะได้เห็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถฉลองพระองค์ในชุดไทยประจำชาติหรือชุดไทยพระราชนิยมต่างๆบ่อยครั้งและความงามในผ้าไหมที่พระองค์ทรงสวมใส่นั้นหาที่เปรียบมิได้เลยสำหรับการสวมใส่ชุดไทยในปัจจุบันนี้นิยมแต่งชุดไทยในงานมงคลสมรสหรืองานแต่งงานตามแบบฉบับพิธีของไทยเนื่องจากชุดไทยมีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และไม่เหมือนชาติใดในโลกถ่ายภาพออกมาแล้วดูสวยงามยิ่งเลือกชุดไทยที่มีการเย็บปักด้วยลวดลายที่สวยงามอย่างประณีตจากช่างฝีมือดียิ่งทำให้ผู้สวมใส่มีความงามสง่าผ่าเผยเจิดจรัสแอบแฝงไปด้วยคุณค่าของความเป็นไทยหรือสะท้อนความเป็นไทยได้อย่างงดงาม


รวม 8 ชุดไทยพระราชนิยมที่อยากแนะนำให้รู้จัก 


ชุดไทยถือเป็นชุดประจำชาติ แต่โอกาสที่จะสวมใส่อาจมีไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่ผู้หญิงมักจะได้ใส่ชุดไทยสวย ๆ ในวันสำคัญที่สุดของชีวิต นั่นก็คือ “วันแต่งงาน” ในงานหมั้น พิธีเช้าเท่านั้น เพราะถือเป็นการทำพิธีการที่เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตสมรส และเป็นเอกลักษณ์ของไทยด้วย 


ในช่วงนี้เราได้เห็นดารา รวมถึงบุคคลทั่วไปแต่งชุดไทยจิตรลดาเพื่อไว้อาลัยกันอย่างสุภาพ สง่างาม จนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ถึงกับกล่าวชื่นชม แอฟ ทักษอร, แต้ว ณฐพร และมิว นิษฐาว่า “สวยจังนางเอกไทย” แต่นอกจากชุดไทยจิตรลดาที่สามสาวสวมใส่แล้ว ก็ยังมีชุดไทยแบบอื่น ๆ ที่สวยงามไม่แพ้กัน โดยเฉพาะชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบที่เราอยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก มาดูกันค่ะ ว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไร ต่างกันตรงไหน และใช้ในโอกาสใดบ้าง



ชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบ


ชุดไทยพระราชนิยม 8 แบบได้ถือกำเนิดขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เมื่อพุทธศักราช 2503 ได้พระราชทานพระราชดำริว่า สมควรที่จะสรรค์สร้างการแต่งกายชุดไทยให้เป็นไปตามประเพณีที่ดีงาม


จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการศึกษา ค้นคว้าเครื่องแต่งกายสมัยต่าง ๆ จากพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายใน และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ แต่ให้มีการปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย ทรงเสนอรูปแบบที่หลากหลาย และได้ฉลองพระองค์อย่างงดงามเป็นแบบอย่าง ทั้งได้พระราชทานให้ผู้ใกล้ชิดแต่งและเผยแพร่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ชุดไทยพระราชนิยม” มี 8 ชุด ใช้ในโอกาสที่แตกต่างกันดังนี้


1. ชุดไทยเรือนต้น



ชุดไทยเรือนต้น ตั้งชื่อตามเรือนต้น เป็นชุดไทยแบบลำลอง ลักษณะเป็นเสื้อแขนกระบอก ผ่าอก คอกลม ไม่มีขอบตั้ง นุ่งกับผ้าซิ่นทอใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงเชิง ตัวซิ่นยาวจรดข้อเท้า ป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วหรือเชิงสีตัดกับซิ่นลายขวาง ใช้ได้หลายโอกาส แต่นิยมใช้เป็นชุดเช้า ในงานที่ไม่เป็นพิธีการมากนักอย่างเช่น ไปทำบุญ ตักบาตร ไปวัด ไปงานมงคลต่าง ๆ


2. ชุดไทยจิตรลดา



ตั้งชื่อตามพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ลักษณะเป็นทางการกว่าชุดไทยเรือนต้น เป็นเสื้อคอกลม ขอบตั้งขึ้นมาเล็กน้อย เสื้อเป็นแขนกระบอก ตัวชุดใช้ผ้าไหมเชิงเกลี้ยงมีเชิงหรือทอยกดอกทั้งตัว เสื้อกับซิ่นแยกชิ้นกัน ซิ่นยาวป้ายหน้า ใช้เป็นชุดพิธีกลางวัน หรืองานพิธีที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ ต้อนรับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการ ส่วนเนื้อผ้าสามารถเลือกให้เหมาะสมตามแต่วาระโอกาส ไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และชุดไทยจิตรลดานี้เป็นที่นิยมสวมใส่เป็นชุดไทยไว้ทุกข์หรือถวายความอาลัยในช่วงนี้


3. ชุดไทยอมรินทร์



ตั้งชื่อตามพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย แบบเหมือนกับชุดไทยจิตรลดา แต่เนื้อผ้าและเครื่องประดับหรูหรากว่า ใช้ผ้าไหมยกดอกที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อเป็นคอตั้ง แขนยาว เสื้อกับซิ่นคนละท่อน ไม่ใช้เข็มขัด ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มักใช้เป็นชุดพิธีตอนค่ำ เหมาะกับงานเลี้ยงรับรอง ไปดูมหรสพ พระราชพิธีต่างๆ พระราชพิธีสวนสนามวันเฉลิมพระชนมพรรษา ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือโอกาสที่กำหนดให้แต่งกายเต็มยศหรือครึ่งยศ และงานสโมสรสันนิบาต 


4. ชุดไทยบรมพิมาน



ตั้งชื่อตามพระที่นั่งบรมพิมาน ลักษณะเสื้อเป็นคอกลม ขอบตั้ง แขนยาว ผ่าด้านข้างหรือด้านหลัง ซิ่นจีบหน้ามีชายพกใช้ผ้าไหมหรือยกทองมีเชิง ยกทองทั้งตัวก็ได้ ซิ่นเย็บติดกันกับตัวเสื้อหรือคนละท่อนก็ได้ ใช้เข็มขัดคาด ความยาวซิ่นจรดข้อเท้า ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มักใช้สำหรับงานพิธีค่ำ งานเต็มยศหรือครึ่งยศ เช่น งานอุทยานสโมสร งานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ เป็นชุดเจ้าสาวในพิธีพระราชทานน้ำสังข์ 



5. ชุดไทยจักรี



ตั้งชื่อตามพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ลักษณะเป็นชุดไทยแบบห่มสไบ ท่อนบนห่มสไบชายเดียวปักดิ้นทอง เปิดบ่าข้างหนึ่ง จะเย็บติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือมีสไบห่มต่างหากก็ได้ ชายสไบคลุมทิ้งชายด้านหลังยาวตามความเหมาะสม ซิ่นตัดแบบหน้านาง มีจีบยกข้างหน้า มีชายพก ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว คาดเข็มขัดไทย เครื่องประดับตามสมควร เช่น ต่างหู สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ มักใช้ในงานตอนค่ำ งานแต่งงานหรือราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการก็ได้


6. ชุดไทยจักรพรรดิ



ตั้งชื่อตามพระตำหนักจักรพรรดิพิมาน เป็นเครื่องแต่งกายของสตรีสูงศักดิ์ในสมัยโบราณ ลักษณะเป็นชุดไทยห่มสไบ คล้ายชุดไทยจักรี แต่ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักเต็มยศด้วยลูกปัดสีทองบนสไบชั้นนอก ผ้าซิ่นใช้ไหมยกดิ้นทอง มีเชิง สีทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม รัดแขน รัดเกล้า สร้อยสังวาลย์ สร้อยข้อมือ ต่างหู สร้อยคอต่างๆ มักใช้สำหรับงานที่เป็นพิธีรีตองมากกว่าชุดไทยจักรี อย่างงานแต่งงาน งานพิธีหรือราชพิธีต่าง ๆ 


7. ชุดไทยดุสิต



ตั้งชื่อตามพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ลักษณะตัวเสื้อเป็นแบบคอด้านหน้า-หลังคว้านกว้าง แขนกุด ลวดลายสวยงามแต่งด้วยลูกปัด ไข่มุก หรือเลื่อม เหมาะกับการใส่สายสะพายในพระราชพิธีเต็มยศ ซิ่นเป็นผ้าไหมยกดิ้นทอง ลายดอกพิกุล ตัดแบบหน้านาง มีชายพก ใช้เครื่องประดับอย่างไทยหรือตะวันตกได้ตามเหมาะสม มักใช้ในงานตอนค่ำ เช่น งานแต่งงาน งานราตรีสโมสร


8. ชุดไทยศิวาลัย



ตั้งชื่อตามพระที่นั่งศิวาลัย เป็นชุดไทยของสตรีบรรดาศักดิ์ในสมัยก่อน มีลักษณะคล้ายกับชุดไทยบรมพิมาน คือเสื้อแขนยาว คอตั้งเล็กน้อย แต่ห่มสไบปักลายไทยอย่างสไบชุดไทยจักรพรรดิ แต่ไม่ต้องมีแพรจีบรองพื้นก่อน แล้วห่มทับเสื้อด้านในอีกชั้น ซิ่นเย็บติดกับตัวเสื้อแบบชุดไทยบรมพิมาน เป็นไหมยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด แต่งเครื่องประดับตามสมควร มักใช้ในงานตอนค่ำ งานเลี้ยง งานฉลองสมรส หรืองานพิธีเต็มยศ เหมาะสมสำหรับช่วงอากาศเย็น เพราะมีหลายชั้น



ชุดไทยพระราชนิยมเหล่านี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงใช้ในโอกาสต่าง ๆ หลายครั้ง จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายและชื่นชมกันทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งชุดไทยพระราชนิยมนี้ได้ปรับปรุงการนุ่งห่มแบบโบราณมาเป็นการสวมใส่อย่างง่าย แต่ยังใช้ผ้าไทยและเครื่องประดับไทยอย่างโบราณ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และได้พัฒนารูปแบบการตัดเย็บ การปัก และการจัดองค์ประกอบของชุดให้มีความเหมาะสมที่สุด เพื่อรักษามรดกอันทรงคุณค่าของบรรพบุรุษไว้ให้คงอยู่สืบไป 




Costume Traditionnel Thai , ชุดไทย , Traditional Thai Costume - ชุดไทยดั้งเดิม , Preserve culture , ชุดรักษาวัฒนธรรม , Retro , ชุดย้อนยุค , Ancient (เอนเชินท) , ชุดโบราณ , Contemporary , ชุดร่วมสมัย , Thai Dress , Chut Thai , Thai national costume  , ชุดไทย แบ่งออกเป็นกี่ประเภท  ,  ชุดไทยมีกี่ประเภท  , ชุดไทยมีกี่แบบ


ที่มา   https://www.wongnai.com/articles/traditional-thai-clothing

1 ความคิดเห็น:

  1. ชุดไทยมีกี่ประเภท

    1. ชุดไทยเรือนต้น
    2. ชุดไทยจิตรลดา
    3. ชุดไทยอมรินทร์
    4. ชุดไทยบรมพิมาน
    5. ชุดไทยดุสิต
    6. ชุดไทยจักรี
    7. ชุดไทยศิวาลัย
    8. ชุดไทยจักรพรรดิ
    9. ชุดไทยประยุกต์

    ตอบลบ