Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเสี่ยง! เมื่อลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์

ความเสี่ยง! เมื่อลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์

ตั้งครรภ์

ความเสี่ยง! เมื่อลูกในท้องตัวใหญ่เกินเกณฑ์ (รักลูก)

        
 
 
เรามักได้ยินใคร ๆ บอกเสมอว่ากินเยอะ ๆ ลูกในท้องจะได้ตัวโต ๆ แต่รู้หรือเปล่าคะว่า ลูกในท้องตัวโตก็สร้างปัญหาให้เหมือนกัน โดยเฉพาะลูกที่น้ำหนักเยอะแต่ไม่แข็งแรง เพราะมีโอกาสเกิดอันตรายได้ทั้งกับตัวคุณแม่เองและลูกในท้องด้วยค่ะ

รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมอัลตราซาวด์ทางการแพทย์ อธิบายถึงความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกรณีที่ลูกในท้องน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ไว้ดังนี้

 


 
น้ำหนักลูกแค่ไหน เข้าขั้นตัวใหญ่

        
โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะถือว่าน้ำหนักตั้งแต่ 4,000 กรัมขึ้นไปถือว่าเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ตัวใหญ่ ซึ่งข้อมูลของน้ำหนักทารกในแต่ละกลุ่มประชากรก็จะมีความแตกต่างในการที่จะกำหนดน้ำหนักของทารก สำหรับเกณฑ์ของทารกที่ถือว่าตัวใหญ่ที่ใช้กันมากคือ 4,000 กรัม หรือ 4,500 กรัมขึ้นไป ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะใช้เกณฑ์น้ำหนักทารกตั้งแต่ 4,500 กรัมขึ้นไป ส่วนในบ้านเราใช้เกณฑ์น้ำหนัก 4,000 กรัม

 
 

สาเหตุ
 
 
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ทารกตัวใหญ่ ที่พบได้คือ
 
แม่อ้วนหรือเป็นเบาหวาน

        
ขนาดน้ำหนักตัวของพ่อแม่มากกว่าปกติ

        
มักเกิดขึ้นในท้องหลัง

        
ตั้งครรภ์นานเกินกำหนด

        
ทารกที่เป็นเพศชาย

 
 
คุณแม่เคยคลอดบุตรหนักกว่า 4,000 กรัม

 
แม่ที่สูบบุหรี่

        
เชื้อชาติ

        
โอกาสที่จะพบว่าลูกในท้องตัวโตนั้นจะพบในคุณแม่ที่มีนำหนักตัวมากกว่า 133 กก. (300 ปอนด์) จะมีโอกาสพบได้ประมาณ 5-15 %

 
 

ใหญ่ไม่ใหญ่รู้ได้อย่างไร
        
 
แพทย์มักจะวินิจฉัยน้ำหนักหรือขนาดตัวเด็กไม่ได้ 100% จนกว่าทารกจะคลอด ทั้งที่ได้มีการพยายามนำคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) มาใช้ในการตรวจหาน้ำหนักทารกในครรภ์ ด้วยวิธีการวัดขนาดของศีรษะ ขนาดของกระดูกขา และขนาดเส้นรอบวงท้อง เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาน้ำหนัก จากสถิติการประเมินด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่พบว่าทารกมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัมนั้น มีความถูกต้องเพียง 65% และไม่ได้ให้ผลที่แม่นยำมากกว่าวิธีตรวจจากหน้าท้องของแม่มากนัก เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนสูง ยิ่งคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากโอกาสที่จะผิดพลาดก็จะยิ่งสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้การประเมินน้ำหนักทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจึงยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าเชื่อถือได้

จากผลการศึกษาการประเมินน้ำหนักทารกเทียบกัน ระหว่างการวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงกับการตรวจจากหน้าท้องของแม่พบว่าให้ค่าความแม่นยำใกล้เคียงกันคือ มีความคลาดเคลื่อนบวกหรือลบ ร้อยละ 10 และค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนโดยการตรวจทางหน้าท้องคือบวกหรือลบ 296 กรัม ส่วนของคลื่นเสียงความถี่สูงเป็น บวกหรือลบ 294 กรัม ยิ่งกรณีที่ทารกมีก้นเป็นส่วนนำ ความแม่นยำในการคำนวณน้ำหนักจะลดลง
 
 
ความเสี่ยง! ที่เลี่ยงได้
 
กระดูกเชิงกรานแม่ไม่ได้สัดส่วนกับขนาดตัวลูกของเชิงกรานเมื่อเทียบกับขนาดของทารก อาจทำให้มีการคลอดติดไหล่เกิดขึ้น คือคลอดศีรษะออกมาได้แต่ไม่สามารถคลอดตัวออกมาได้ ซึ่งการพยายามให้คลอดจะมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท ซึ่งพบว่า 30% ของเส้นประสาทที่แขนจะถูกทำลายจากการคลอด โดยเกิดจากการคลอดติดไหล่ และอาจพบว่าทารกมีไหปลาร้าหัก และมีเลือดออกในสมอง ซึ่งจะทำให้ทารกพิการต่อไปในอนาคต

กรณีนี้สามารถเลี่ยงได้โดยการผ่าท้องคลอด ซึ่งหากสูติแพทย์คะเนน้ำหนักทารกที่คาดว่ามากกว่า 4,000 กรัม ก็จะพิจารณาให้ผ่าท้องคลอด เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อทารกจากการคลอดยาก ซึ่งพบว่าทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,500 กรัมจะมีอันตรายจากการคลอดถึง 96%

ในกรณีที่แม่เป็นเบาหวาน ยิ่งคุณแม่ที่เป็นโรคนี้มาเป็นเวลานานหรือมีอาการมาก จะมีความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานและไต มีผลให้อัตราการแท้งบุตรเพิ่มขึ้น และภาวะความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า และทั้ง ๆ ที่ไม่มีโรคหลอดเลือดหรือไต ก็ยังสามารถเกิดการติดเชื้อได้ง่ายเพราะร่างกายมีความต้านทานต่ำ และอาจพบการติดเชื้อจากการผ่าท้องทำคลอดด้วย ทำให้เด็กมีอัตราทุพลภาพและอัตราชีวิตเพิ่มขึ้น เช่น (ทั้งหมดนี้คือผลที่อาจเกิดขึ้นกรณีแม่เป็นเบาหวานทั้งหมด หรือเกิดขึ้นได้ถ้าลูกตัวใหญ่)

 
การเสียชีวิตในครรภ์สูงกว่าปกติ 3-8 เท่า หรือ 4-12% เนื่องจากภาวะขาดน้ำตาล

 
เสียชีวิตหลังคลอด 4-10% หรือ 7 เท่าของรายปกติ เนื่องจากการทำงานของปอดผิดปกติ ภาวะขาดน้ำตาล ภาวะระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ

        
รูปร่างผิดปกติตั้งแต่เกิดเพิ่มจากปกติ 2-3 เท่า นอกจากนี้ยังเสียชีวิตจากความบอบช้ำที่เกิดจากการคลอดยากด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือความเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนและการติดเชื้อ

        
คลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า เนื่องจากมีโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ครรภ์แฝดน้ำ

        
อัตราทุพพลภาพในทารกพบได้มากกว่าปกติ และโอกาสที่เด็กเป็นเบาหวานจะมากกว่าเด็กปกติ โดยการสืบทอดทางพันธุกรรม มีผลกระทบต่อจิตใจเด็กในระยะยาว

        
หัวใจของทารกเกิดใหม่จากแม่ที่เป็นเบาหวานจะมีลักษณะโต

 
อัตราตายหลังคลอด 4% ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อน ความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ และหากมีอาการไตอักเสบจะมีการตายเพิ่มสูงถึง 17%

        
พบภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่ปริมาณน้ำตาลในเลือดแม่ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดทารกสูง ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนของทารกทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดทารกต่ำ และผลกระทบระยะยาวยังมีการศึกษาว่าทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4,000 กรัม มีความเสี่ยงต่อภาวะ Acute lymphooyte leukemia (มะเร็งในเม็ดเลือด) มากขึ้นด้วย


 
 
 
การดูแลและป้องกัน
 
จริง ๆ แล้วภาวะเสี่ยงที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ หากคุณแม่ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม เริ่มจากการไปฝากครรภ์กับสูติแพทย์ ควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้ขึ้นมากเกินไป โดยทั่วไปน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอด แพทย์จะแนะนำไม่ให้เกิน 10-12 กิโลกรัม ฉะนั้นอย่าเพลิดเพลินกับการกินอาหารมากจนเกินไปนะคะ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารหวานจัด หรือเค็ม เผ็ด เปรี้ยวจัด ควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม เพื่อให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

ในกรณีที่เป็นเบาหวานหรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน ควรรีบปรึกษาสูติแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อสูติแพทย์จะได้ตรวจติดตามขนาดของทารกในครรภ์และให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทั้งแม่และลูกมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรงและการคลอดดำเนินไปด้วยดี
 
 
 
 
 
 
ที่มา ::