โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา (Rotavirus infection)
โรคท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน (Diarrhea) เป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก ในประเทศกำลังพัฒนาประมาณว่าโรคท้องร่วงเป็นสาเหตุการตาย 17.5-21% ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (ประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี)
องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่เรียกว่า United Nations ’ Millennium Development Goal ตั้งเป้าให้ลดอัตราตายจากโรคท้องร่วงในเด็กลง 2 ใน 3 ระ หว่างปีพ.ศ. 2533 ถึง 2558
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังนี้พบว่า การเจ็บป่วยจากโรคท้องร่วงและการเสียชีวิตจากโรคนี้น้อยลง เนื่องจากสภาวะสุขภาพ และเศรษฐกิจสังคมดีขึ้น แต่โรคท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) ยังเป็นปัญหาสำคัญอยู่
ข้อมูลที่มีในประเทศไทยของกระทรวงสาธารณสุข (Bureau of Epidemiology,Minis try of Public Health) ในปีงบประมาณพ.ศ. 2553 พบอุบัติการณ์ของโรคท้องร่วงในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้นจาก 7,140.9 รายต่อประชากร 1 แสนคนในพ.ศ. 2543 เป็น 10,000 รายต่อประชากร 1 แสนคนในพ.ศ. 2553 แต่อัตราตายลดลงจาก 0.35 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปีพ.ศ. 2544 เป็น 0.10 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปีพ.ศ. 2555
จากข้อมูลของประเทศไทย พ.ศ. 2553 โรคท้องร่วงในเด็กพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม โรคท้องร่วงที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเฉพาะไวรัสโรตา
ในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 43-56% ของเด็กที่เป็นโรคท้องร่วงที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเกิดจากไวรัสโรตา และยังมีผู้ป่วยเด็กอีกจำนวนมากเป็นผู้ป่วยนอก และส่วนหนึ่งไปรักษาตามคลินิกใกล้บ้าน ไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาล
สาเหตุของโรคท้องร่วงในเด็กเกิดจากเชื้ออะไร?
สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดินในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัสต่างๆ แต่ที่พบบ่อยคือไวรัสโรตา (Rotavirus) เชื้อแบคทีเรีย เช่น ไทฟอยด์ พาราไท ฟอยด์ เชื้อโรคบิด ซัลโมเนลลา (Salmonella) ชิเกลลา (Shigellosis) อหิวาตกโรค (Cholera) และอื่นๆ
ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อทางเดินอาหารเป็นปัญหาหลักคล้ายกันทั่วโลก จากข้อมูลในประเทศไทย พ.ศ. 2553 ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล การติดเชื้อทางเดินอาหารเป็นการตรวจพบเป็นอันดับ 2 (รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 124,975 ราย) รองจากการติดเชื้อทางเดินหายใจที่ตรวจพบเป็นอันดับ 1 และมีการเสียชีวิตของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี จากการติดเชื้อทางเดินอาหารเป็นอันดับ 10 (49 ราย)
ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกทั่วประเทศพบว่า ท้องร่วงจากการติดเชื้อพบมากในเด็กอายุ 2 ขวบปีแรก โดยอัตราสูงสุดอยู่ระหว่างอายุ 6 เดือนถึง 18 เดือน
เด็กท้องร่วงที่ต้องนอนโรงพยาบาลอัตราสูงสุดจะอยู่ที่อายุ 6 เดือนถึง 15 เดือน ซึ่งข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า เด็กเล็กมีโอกาสเสี่ยงต่อท้องร่วงมาก และทำให้เกิดอาการรุนแรงจนอาจเสียชีวิต
ไวรัสโรตาคืออะไร?
ไวรัสโรตา (Rotavirus) นี้เป็นไวรัสกลุ่มอาร์เอ็นเอ (Double-stranded RNA virus) ในตระกูล (Family) Reoviridae ซึ่งมี 7 สายพันธุ์ (A, B, C, D, E, F, G) เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบเกือบทุกคน จะติดเชื้อไวรัสนี้อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง
การติดต่อของโรคนี้ เกิดจากการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อนี้ เช่น เด็กมือเปื้อนแล้วอมหรือดูดนิ้ว หรือเชื้อ/อุจจาระติดกับของเล่น หรือเครื่องใช้ จึงเป็นโรคป้องกันค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงมักมีการระบาดของไวรัสโรตาในโรงเรียนเด็กเล็ก หรือสถานเลี้ยงเด็ก
เด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จะมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อไวรัสโรตาที่ผ่านรกมาจากแม่ตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ และเด็กที่กินนมแม่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรตามากกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ จึงมักพบท้องร่วงจากไวรัสโรตาในเด็กสองกลุ่มนี้น้อยกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ
เชื้อไวรัสโรตาที่อยู่ในตัวเด็กที่เป็นโรค จะแพร่ไปให้ผู้อื่นทางอุจจาระได้ ตั้งแต่ประมาณ 1-2 วันก่อนมีอาการท้องร่วงจนกระทั่งประมาณ 10 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง จะพบเชื้อในอุจจาระนานกว่า 30 วันหลังจากการติดเชื้อ
ทั้งนี้ เชื้อที่ออกจากร่างกาย ไปติดตามสิ่งของต่างๆ จะคงทนอยู่นานหลายเดือน หากไม่เช็ดออกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการติดโรคได้เช่นกัน
เด็กกลุ่มใดมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดท้องร่วงจากเชื้อโรตาไวรัส?
เด็กทุกคนมีโอกาสเกิดโรคนี้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ แต่ยังพบได้จนถึง 5 ขวบ กล่าวได้ว่าเด็กที่อายุ 5 ขวบเกือบทุกคนมักจะเป็นโรคนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต
อย่างไรก็ตาม เด็กที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่ากลุ่มอื่นคือ เด็กที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อได้มาก เช่น เด็กที่อยู่ในที่ที่มีเด็กรวมกันมากๆ เช่น โรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก เด็กที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายบกพร่อง (เด็กกลุ่มนี้เมื่อติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงและหายช้ากว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ)
โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตามีอาการอย่างไร?
เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรตาเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวสั้น คือส่วนใหญ่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง (ระยะเวลาตั้งแต่ 1-7 วัน) เชื้อเมื่อเข้าสู่ทางเดินอาหารที่ลำไส้เล็กจะทำลายผนังลำไส้เล็ก ทำให้การดูดซึมน้ำและเกลือแร่ลดลง และเอนไซม์ (Enzyme) สำหรับย่อยคาร์โบไฮเดรตผิดปกติ ทำให้มีอาการท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน ถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีมูกหรือเลือดปน
เด็กอาจจะมีไข้ มีน้ำมูกและไอเล็กน้อยนำมาก่อนคล้ายการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ แต่จะมีอาการช่วงสั้นๆแล้วมีอาการทางเดินอาหารตามมา มักมีอาเจียนมากใน 1-2 วันแรก และท้องร่วงเป็นน้ำพุ่งหลายครั้ง หากไม่ได้รับเกลือแร่เพียงพอจะท้องอืดมาก อาจถ่ายอุจจาระมากจนก้นแดง อาการอาเจียนจะเป็นในช่วงสองวันแรกแล้วดีขึ้น แต่ท้องร่วงจะอยู่นานประมาณ 5-7 วัน
แพทย์วินิจฉัยโรคท้องร่วงจากไวรัสโรตาอย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยท้องร่วงจากไวรัสโรตา ได้จาก อาการของเด็ก และฤดูกาลที่เป็น ทั้งนี้การตรวจหาไวรัส มีข้อจำกัดในห้องปฏิบัติการทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นการตรวจเพื่อการศึกษาวิจัย
- ไวรัสอะดีโน (Adenovirus enteritis) มักมีอาการนาน 10-14 วัน
- ไวรัสนอร์วอล์ค (Norwalk virus) ซึ่งมีระยะฟักตัวสั้นประมาณ 12 ชั่วโมง และมีอาการนาน 1-3 วัน
- หรืออาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Staphylococcus aureus ซึ่งมีอาการอาเจียนมาก
รักษาโรคท้องร่วงจากไวรัสโรตาอย่างไร?
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส การรักษาคือ รักษาประคับประคองตามอาการ (ยาปฏิชีวนะ ไม่สามารถฆ่าไวรัสได้ ฆ่าได้แต่แบคทีเรีย) โดยให้สารละลายเกลือแร่กินให้เพียงพอกับน้ำ/เกลือแร่ที่เสียไปกับการอาเจียนและท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดินซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา
หากเด็กกินไม่ได้ ต้องให้น้ำ/เกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ โดยปกติเด็กมักจะไม่ค่อยยอมกิน หลักการที่ใช้ได้ผลส่วนมากคือ พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องเข้าใจและพยายาม ไม่ยอมกินต้องพยายามป้อนให้ได้ตลอด อาเจียนออก ก็ป้อนใหม่ ซึ่งอาการอาเจียนมักเกิดอยู่ประ มาณไม่เกิน 2 วัน
เมื่อมีไข้ รักษาอาการไข้โดยเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ให้ยาขับลมหากปวดท้องหรือท้องอืด ซึ่งการให้เกลือแร่ที่เพียงพอจะช่วยลดอาการท้องอืด เพราะมีเกลือแร่โปแตสเซียม (Potas sium) เพียงพอที่ช่วยทำให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น
หากเด็กหยุดอาเจียน ให้รับประทานข้าวต้ม หรือโจ๊กได้ หากเด็กถ่ายเป็นน้ำหลายวันและเด็กดื่มนมวัวอาจเกิดภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสที่ใช้ย่อยนมวัว ควรเปลี่ยนเป็นนมที่ไม่มีแลคโตส หรือให้นมถั่วเหลือง ในเด็กที่ให้นมแม่ ให้นมแม่ต่อไปโดยไม่ต้องเปลี่ยนนม
การรักษาที่ดีคือ ให้น้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอและให้ทันเวลา เด็กจะไม่ซึม ปัสสาวะได้ดี ไม่หอบเหนื่อย
ปัสสาวะ เป็นสิ่งชี้วัดว่าน้ำในร่างกายเพียงพอหรือไม่ ควรติดตามเรื่องการปัสสาวะของเด็ก หากเด็กปัสสาวะออกดี (ภายใน 4 ชั่วโมง ควรปัสสาวะอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และปริมาณไม่ควรน้อยกว่า 0.5 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักเด็ก 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ชั่วโมง) แสดงว่าทดแทนภาวะเสียน้ำได้ดี ซึ่งต้องทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปด้วย
เกลือแร่ที่มีขายเป็นซองใช้ได้ ดูการผสมให้ถูกต้องว่า 1 ซองผสมน้ำเท่าใด (อ่านจากฉลากยา หรือที่เขียนไว้บนซองยา)
หากหาเกลือแร่ไม่ได้ ให้ทำน้ำเกลือแร่เอง โดยใช้น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา (ช้อนยาเด็ก 3 ช้อนชาได้เท่ากับ 15 กรัม) ผสมน้ำสะอาด 750 มิลลิลิตร (ขวดน้ำปลาที่มีคอคอด หรือ ใช้ขวดนม 8 ออนซ์ 3 ขวด กับอีก 1 ออนซ์) ใส่เกลือประมาณครึ่งช้อนชาต้มให้เดือด และทิ้งไว้ให้เย็น
หากเด็กไม่ยอมกิน ก็ใช้ป้อนด้วย น้ำอัดลม สไปรท์ (Sprite) หรือเซเวนอัพ (Seven up) หรือเครื่องดื่มประเภทเดียวกัน ผสมน้ำอีกหนึ่งเท่าตัว เขย่าฟองออกก่อน ป้อนเด็กบ่อยๆ
เมื่อไหร่ควรพาเด็กพบแพทย์?
เด็กท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน หรืออาเจียนมาก หากให้น้ำและเกลือแร่ไม่เพียงพอและทันเวลา เด็กอาจมีอาการรุนแรงมาก โดยเฉพาะในเด็กอ่อน หากเป็นมากอาจช็อกและเสียชีวิต
- เด็กมีอาการซึมลง
- ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลยใน 4-6 ชม.
- ตัวเย็นหรือมีไข้สูง
- มีอาการหอบเหนื่อย
- มีอาการชัก
- อาเจียนมาก ไม่สามารถให้กินได้
โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตารุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร? เสียชีวิตได้ไหม? เกิดซ้ำได้ไหม?
ความรุนแรงของโรคนี้จะมากน้อยขึ้นกับภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ จากการอาเจียนและที่เสียออกไปกับอุจจาระ กับการทดแทนสิ่งที่เสียไปได้เพียงพอและทันการไหม เด็กกินได้ไหม หากกินไม่ได้ ได้ให้น้ำเกลือเพียงพอหรือไม่ มีภาวะผิดปกติของสมดุลกรดด่างหรือไม่ หากเด็กเสียน้ำและเกลือแร่มาก เด็กอาจมีภาวะกรดในร่างกาย (Acidosis) ซึ่งจะมีอาการหอบลึก/หาย ใจลำบากร่วมด้วย ต้องรีบแก้ไข (ไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน) เด็กที่เสียน้ำมาก/ขาดน้ำมากและทด แทนไม่ได้อย่างเหมาะสม อาจมีอาการช็อก หากแก้ไขไม่ทัน เด็กอาจเสียชีวิต หรือมีการทำ งานของอวัยวะต่างๆผิดปกติ (เช่น ไต) โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อย
อนึ่งท้องร่วงจากไวรัสโรต้า เกิดซ้ำได้เสมอ แต่เมื่อเกิดครั้งแรกแล้ว จะมีภูมิคุ้มกัน ทำให้การเกิดครั้งต่อๆไป อาการรุนแรงน้อยลง
ป้องกันโรคท้องร่วงจากไวรัสโรตาอย่างไร?
เด็กป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโรตา ตามธรรมชาติส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันต้านทานสำหรับโรคนี้ ดังนั้น จะพบว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะมีการติดเชื้อโรตาไวรัสมาก แต่เมื่ออายุมากขึ้น จะมีการติดเชื้อนี้น้อยลง และอาการรุนแรงน้อยลง
การรักษาความสะอาด ได้แก่ การล้างมือในการเตรียมอาหาร เตรียมนม และรักษาความสะอาดของภาชนะ ช่วยลดโรคท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน จากสาเหตุอื่นๆ และช่วยลดการติดต่อจากเชื้อไวรัสโรตาในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อนี้ลงได้บ้าง แต่ไม่สามารถลดการติดเชื้อไวรัสโรตาส่วนใหญ่ได้
มีการศึกษาจากหลายสถาบันในหลายประเทศพบว่า การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรตาโดยการให้วัคซีนป้องกันได้ผลดีกว่า เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา การให้วัคซีนป้องกันไวรัสโรตา ทำให้จำนวนเด็กป่วยท้องร่วงจากไวรัสนี้น้อยลง และในชุมชนพลอยมีภูมิคุ้มกันไวรัสโรตาไปด้วย (Herd immunity-เด็กที่ไม่ได้วัคซีนในชุมชนเดียวกัน มีการสัมผัสการปนเปื้อนอุจจาระของเด็กที่ได้กินวัคซีนป้องกันไวรัสโรตา เด็กที่ไม่ได้วัคซีนโดยตรงก็สร้างภูมิคุ้มกันต้านทานไว รัสโรตาได้ด้วย)
องค์กรต่างๆของสหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษา และการป้องกันโรค ได้แก่ Center for Disease Control and Prevention (CDC) , American Academy of Pediatrics,และ American Academy of Family Physicians แนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าแก่เด็กทุกคน
วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า เป็นวัคซีนมีชีวิต (Live virus vaccine) จึงไม่ควรให้ในเด็กป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง
วัคซีนไวรัสโรตา
บทนำ
- Pentavalent human-bovine rotavirus reassorted vaccine (RV5, PRV, Rota Teq ) มีการอนุญาตให้ใช้ (License) ที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป และใช้กว้างขวางในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนในยุโรป และน้อยกว่า 8 เดือนในสหรัฐอเมริกา โดยให้ทางปาก/กิน 3 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือนในแต่ละครั้ง
- Monovalent rotavirus vaccine พัฒนามาจากไวรัสโรตาที่ทำให้เกิดโรคบ่อยในคน (RV1, HRV, Rotarix) มีการอนุญาตให้ใช้ใน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และหลายประเทศในละตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย โดยให้กิน 2 ครั้ง ที่อายุ 2 เดือน และ 4 เดือนส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Oral trivalent human-rhesus rotavirus reassortant vaccine (RRV-TV, Rotashield) ซึ่งได้ License ปีค.ศ 1998 (พ.ศ. 2541) ใช้ในอเมริกาปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) แต่ได้ถูกถอดออกจากตลาด เพราะมีความเกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิด ลำไส้กลืนกัน (Intussusception) ในอัตราสูงกว่าปกติอนึ่ง แม้จะมีข้อมูลจากการศึกษาในประเทศต่างๆแล้วว่า การให้วัคซีนไวรัสโรตาได้ผลดี แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่มีเงินมากพอจะสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้วัคซีนนี้ฟรี เนื่องจากวัคซีนยังมีราคาสูง มีข้อเสนอแนะจากแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ว่า ควรมีการพัฒนาให้ได้วัคซีนไวรัสโรตาที่ได้ผลดีและราคาถูกลงในประเทศไทย มีแพทย์หลายกลุ่มพยายามศึกษาราคาวัคซีนที่เหมาะสมที่รัฐควรรับผิดชอบจัดวัคซีนนี้ให้เด็กทุกคนเป็นโปรแกรมแห่งชาติเหมือนวัคซีนหลายชนิดที่รัฐให้ฟรีอยู่ขณะนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ได้ศึกษาเรื่องนี้และสรุปว่าหากจะให้วัคซีนแก่เด็กทุกรายโดยเข้าโปรแกรมวัคซีนที่เด็กไทยควรได้รับทุกราย (รัฐเป็นผู้สนับสนุนวัคซีน) วัคซีนไม่ควรมีราคามากกว่า 10 อเมริกันดอลลาร์ต่อ 1 หน่วย (dose) ของวัคซีน
เมื่อได้วัคซีนไวรัสโรตาครบแล้ว ต้องให้วัคซีนกระตุ้นอีกไหม?
เด็กกลุ่มใดควรได้วัคซีนไวรัสโรตา?
เด็กกลุ่มใดมีข้อห้ามการได้วัคซีนไวรัสโรตา?
- มีอาการแพ้ต่อส่วนประกอบต่างๆในวัคซีน
- มีประวัติแพ้วัคซีนในครั้งก่อน
- มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องรุนแรง (Severe combined immune deficiency)
- มีประวัติเคยมีลำไส้กลืนกัน (Intussusception)
เด็กที่ได้วัคซีนแล้ว ยังมีท้องร่วงจากไวรัสโรตาอีกไหม?
เมื่อได้วัคซีนแล้ว ส่วนใหญ่เด็กจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค แต่ยังมีเปอร์เซ็นต์น้อยๆที่ยังอาจติดเชื้อจากไวรัสนี้ และมีอาการท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน แต่อาการอาจไม่รุนแรงเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันบางส่วนวัคซีน Pentavalent rotavirus vaccine เมื่อได้รับครบ 3 ครั้ง- จะป้องกันการติดเชื้อท้อง ร่วงจาก G1-G4 rotavirus ที่รุนแรงได้ถึงประมาณ 98%
- และป้องกัน G1-G4 rotavirus ทุกความรุนแรงได้ประมาณ 74%
- ลดการต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลของเด็กลงประมาณ 96%
- และการเกิดลำไส้กลืนกันไม่พบว่า มากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน (ศึกษาจากเด็กมากกว่า 70,000 คน)
วัคซีน Monovalent rotavirus vaccineถ้าเคยท้องร่วงจากไวรัสโรตาแล้ว ยังต้องให้วัคซีนไวรัสโรตาอีกไหม?
เนื่องจากโรคท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน จากไวรัสโรตา เมื่อเกิดโรคแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำอีก เพราะไวรัสนี้มีหลายสายพันธุ์ และเมื่อเด็กท้องร่วงก็อาจเกิดจากไวรัสชนิดอื่นที่มีอาการคล้ายกันได้ จึงให้วัคซีนนี้ได้หากเด็กยังอายุน้อยอยู่ในเกณฑ์ที่ให้วัคซีนได้ แต่การติดเชื้อครั้งแรกก็ทำให้ประมาณ 40% ของเด็กมีภูมิคุ้มกันในครั้งต่อไป หากมีการติดเชื้อครั้งต่อไป อาการอาจไม่รุนแรงหรืออาจไม่มีอาการก็ได้ผลข้างเคียงจากวัคซีนไวรัสโรตามีอะไรบ้าง? พบบ่อยไหม?
ผลข้างเคียงจากวัคซีนไวรัสโรตาที่อาจพบได้ คือ ผลข้างเคียงที่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร
บรรณานุกรม
- Bass DM. Rotaviruses, Caliciviruses, and Astroviruses .In: Kliegman RM, Stanton BF, Geme JW St. III, Schor NF, Behrman RE, eds. Nelson Textbook of Pediatrics. 19th ed. Philadelphia, PA: Saunder, 2011. p.1134-37.
- Chotivitayatarakorn P, Chotivitayatarakorn P, Poovorawan Y. Cost-effectiveness of rotavirus vaccination as part of the national immunization program for Thai children. Southeast Asia J Trop Med Public Health. 2010;41:114-25
- Jetsrisuparb A, teeratakulpisarn J, Weraarchakul W, Thepsuthammarat K, Sutra S. Health situation analysis of Thai children aged 1-5 years in 2010: Implication for health education and Health service reform. J Med Assoc Thai. 2012; 95: S30-S42.
- Matson DO. Rotavirus vaccines. http://www.uptodate.com/contents/rotavirus-vaccines?source=search_result&search=rotavirus+vaccine&selectedTitle=4~29 [2012, Oct14].
- Sutra S, Kosuwon P, Chirawatkul A, Thepsuthammarat K. Burden of acute, persistent and chronic diarrhea, Thailand, 2010. J Med Assoc Thai. 2012; 95: S97-S107.
ที่มา :: http://haamor.com/th/โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา/