EF ย่อมาจาก Executive Function เกี่ยวข้องกับตัวตนของลูก เป็นความสามารถของสมองและจิตใจที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
เมื่อลูกคลอดออกมา หลายบ้านภาวนาให้ลูกครบ 32 เป็นเด็กแข็งแรงสมบูรณ์ แต่พอเวลาผ่านไป ความคาดหวังในตัวลูกก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนนำมาซึ่งความตึงเครียดในบ้าน สิ่งที่พ่อแม่ควรคาดหวังที่สุดคือการทำให้ลูกมี EF
EF มี 3 องค์ประกอบด้วยกัน
1.ควบคุมตนเอง (Self control)
3 ปีแรกควรเลี้ยงลูกให้ดีและคอยสร้างเซลฟ์เอสตีมให้ลูก ให้เขาได้กินข้าวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ เล่นสนุก ทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ สิ่งเหล่านี้จะเสริมเซลฟ์เอสตีมได้ ซึ่งการควบคุมตัวเองประกอบด้วย
1.ตั้งใจ คือ มีความจดจ่อและนานพอที่จะทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ โดยเฉพาะงานที่ยาก ท้าทาย
2.ไม่ว่อกแว่ก คือ แม้จะพบสิ่งรบกวน ยั่วยวนใจ ก็ยังสามารถควบคุมตัวเองให้ทำงานต่อไป หรือพบอบายมุขก็จะถอนตัวออกไปได้
3.ประวิงเวลาที่จะมีความสุข คือ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ลำบากก่อนสบายทีหลัง มีความมานะ อดทน ไม่ย่อท้อที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วง
1.ตั้งใจ คือ มีความจดจ่อและนานพอที่จะทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ โดยเฉพาะงานที่ยาก ท้าทาย
2.ไม่ว่อกแว่ก คือ แม้จะพบสิ่งรบกวน ยั่วยวนใจ ก็ยังสามารถควบคุมตัวเองให้ทำงานต่อไป หรือพบอบายมุขก็จะถอนตัวออกไปได้
3.ประวิงเวลาที่จะมีความสุข คือ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ลำบากก่อนสบายทีหลัง มีความมานะ อดทน ไม่ย่อท้อที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วง
2.ความจำใช้งาน (Working Memory)
ความจำใช้งาน หมายถึง ความจำที่พร้อมใช้และใช้ทำงานจริงๆ ไม่ใช่ความจำระยะสั้น ตัวอย่างเช่น ลองพูดตัวเลขต่อไปนี้ตามผู้พูด 75928413 จะพบว่าทุกคนพูดตามได้ไม่ยาก แต่ถ้าขอให้ทุกคนไม่มองแล้วพูดทวนกลับ จะพบว่าแต่ละคนทำได้ไม่เท่ากัน ด้วยความเร็วที่ไม่เท่ากัน นี่คือความจำใช้งาน ส่วนความจำระยะสั้น เช่น ยาเสพติดมีโทษอย่างไร เชื้อ HIV ติดต่อได้อย่างไร เป็นความจำระยะสั้นเสียมาก ใช้ตอบข้อสอบเพื่อเอาคะแนน แต่จะเอามาใช้งานได้จริงหรือไม่เป็นอีกเรื่อง
คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์กล่าวว่า ถ้าอยากให้ลูกได้ EF ตรงส่วนนี้ควรให้เขาได้ลองทำงาน เช่น ทำงานบ้าน เพราะการทำงานบ้านต้องใช้ความจำใช้งานเสมอ ถึงไม่ชอบก็ต้องให้เขาทำให้ได้ ถึงจะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น เช็ดโต๊ะ คัดแยกเสื้อผ้าลงตะกร้า ล้างผัก เป็นต้น หรืออาจเป็นกิจกรรมที่ลูกได้ทำร่วมกับพ่อแม่ เช่น อ่านนิทานก่อนนอน เล่นดินทราย ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน ต่อบล็อกไม้ เล่นบทบาทสมมติ เล่นในสนามอย่างอิสระ ปีนป่าย เล่นดนตรี หรือกีฬา
คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์กล่าวว่า ถ้าอยากให้ลูกได้ EF ตรงส่วนนี้ควรให้เขาได้ลองทำงาน เช่น ทำงานบ้าน เพราะการทำงานบ้านต้องใช้ความจำใช้งานเสมอ ถึงไม่ชอบก็ต้องให้เขาทำให้ได้ ถึงจะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น เช็ดโต๊ะ คัดแยกเสื้อผ้าลงตะกร้า ล้างผัก เป็นต้น หรืออาจเป็นกิจกรรมที่ลูกได้ทำร่วมกับพ่อแม่ เช่น อ่านนิทานก่อนนอน เล่นดินทราย ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน ต่อบล็อกไม้ เล่นบทบาทสมมติ เล่นในสนามอย่างอิสระ ปีนป่าย เล่นดนตรี หรือกีฬา
กิจกรรมเหล่านี้คือสิ่งที่เด็ก 2-6 ขวบทุกคนควรได้เล่นอย่างเต็มที่ เพราะการละเล่นทุกชนิดมีเป้าหมาย และเด็กๆ จะต้องควบคุมตัวเองและบริหารความจำใช้งานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งนี่คือ EF
3.การคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น (Cognitive flexibility)
เมื่อการควบคุมตัวเองให้ทำงานและการบริหารความจำใช้งานเพื่อทำงาน รับส่งลูกกันช่ำชองระดับหนึ่งแล้ว ระดับความท้าทายจะลดลง แต่ด้วย EF ที่ดี เด็กจะไม่ยอมอยู่เฉย แต่จะมองเป้าหมายถัดไปด้วยแรงผลักของเซลฟ์เอสตีม นั่นคือ เราทำได้
นี่คือจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์ใดๆ ล้วนไม่นิ่ง ไม่แข็งกระด้าง ไม่มีคำตอบหนึ่งเดียว การคิดวิเคราะห์มีความลื่นไหลในตัวเอง เราจึงเรียกว่าการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น โดยแบ่งออกเป็นหลายระดับดังนี้
เปลี่ยนเป้าหมายและเปลี่ยนมุมมอง
การเล่นต่อบล็อกไม้เป็นเครื่องมือที่สาธิตการเปลี่ยนเป้าหมายและมุมมองได้ดี เด็กชอบเล่นต่อบล็อกไม้ ต่อไม่ได้ก็สามารถเปลี่ยนเป้าหมายให้ง่ายขึ้น การเปลี่ยนเป้าหมายและมุมมองในวันนี้เป็นการเปลี่ยนเรื่องที่เป็นรูปธรรม วันหน้าจึงสามารถเปลี่ยนเป้าหมายและมุมมองที่เป็นนามธรรมเมื่อพบงานที่ยาก
การเปลี่ยนแผนและเปลี่ยนวิธี
ในขณะที่ต่อบล็อกไม้ ตัวอย่างที่ดีของการเปลี่ยนเป้าหมายและมุมมองที่เป็นรูปธรรม ก่อนที่เด็กจะสามารถเปลี่ยนเป้าหมายและมุมมองที่เป็นนามธรรมมากกว่าในอนาคต การเดินป่าและทำแผนที่เป็นตัวอย่างที่ดีของแบบฝึกหัดเพื่อการเปลี่ยนแผนและเปลี่ยนวิธี
เปลี่ยนกระบวนทัศน์
ที่มา : หนังสือ เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF เขียนโดย คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
https://www.amarinbooks.com