ชื่อวิทยานิพนธ์
|
ชื่อผู้แต่ง
|
สาขาวิชา/ภาควิชา
|
ปีการศึกษา
|
|
1. | การนิเทศการสอนของครูในโรงเรียนอนุบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(The teachers' instructional supervision of Anuban Thapsakae school in p) เลขหมู่ LB2805 ณ623 2557 ระดับ ปริญญาโท |
ณัฏฐณิชา กอวิจิตร (Natthanicha Ko-wijit) |
Architectural Heritage Management and Tourism (International Program) |
2557
|
2. | การนิเทศการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา
(Peer coaching for the development of classroom action research competency of English secondary school teachers) เลขหมู่ LB2157.ท9 อ44 ระดับ ปริญญาโท |
อรวรรณ เหมือนสุดใจ (Orawan Meansudjai) |
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ |
2545
|
3. | การนิเทศการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนและการนิเทศโดยผู้บริหารเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา
(Peer coaching and administrative monitoring for enhancing classroom action research competency of primary school teachers) เลขหมู่ LB1028.24 จ47 ระดับ ปริญญาโท |
จรูญพร ลำใย (Jaroonporn Lamyai) |
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ |
2547
|
4. | การนิเทศการสอนแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
(Cooperative professional development supervision for the improvement of mathematics learning achievement of first-sixth grade students) เลขหมู่ LB2157.ท9 ส73 ระดับ ปริญญาโท |
สุพิชฌาย์ แสงลี (Supitchar Sanglee) |
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ |
2545
|
5. | การปฏิบัติการนิเทศการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญของโรงรียนในเครืออัครสังฆมณฑลกรุงเทพ
(INSTRUCTIONAL SUPERVISION PERFORMANCE AFFECTING) เลขหมู่ LB1047.5 ป46 ระดับ ปริญญาโท |
ประกายมาตร ทองอินทร์ (Prakaimatr Thongintr) |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
2545
|
6. | การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์
(The development of science teachers'instructional supervision model for developing academic capabilities of science talented students) เลขหมู่ LB2157.ท9 ก47 ระดับ ปริญญาเอก |
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย (Kriangsak Sungchai) |
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
2552
|
7. | การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย
(The development of an instructional supervision model based on Glickman's principles to improve reading instructional competency of Thai language teachers) เลขหมู่ LB2157.ท9 ส64 ระดับ ปริญญาเอก |
สามารถ ทิมนาค (Samart Timnak) |
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน |
2553
|
8. | การพัฒนาสมรรถภาพด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยใช้กระบวนการนิเทศการสอนแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพ
(Cooperative professional development supervision for the improvement of Thai subject instruction of first-third grade classes) เลขหมู่ LB1577.ท9จ73 ระดับ ปริญญาโท |
จุฑารัตน์ ทิมนาค (Jutarat Timnark) |
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ |
2544
|
9. | ปัจจัยด้านกระบวนการที่ส่งผลต่อการนิเทศการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(Factor affecting toward instructional supervision process in municipality school) เลขหมู่ LB1047.5 พ44 ระดับ ปริญญาเอก |
พรรณมาศ พรมพิลา (Phannamas Prompila) |
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
2553
|
การนิเทศการศึกษาประสบการณ์วิชาชีพโดยอาจารย์พี่เลี้ยงของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การนิเทศการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา
การศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศการสอนของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10
การศึกษาความต้องการนิเทศการสอนของครูภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี
การศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการนิเทศการสอนของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
ความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนกลาง กลุ่มที่ 5
ความต้องการการนิเทศการสอนของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ความต้องการการนิเทศการสอนของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี
ความต้องการนิเทศการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2
ความพึงพอใจของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ต่อการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
สภาพ ปัญหา และความต้องการการนิเทศด้านการแปลงหลักสูตรภาษาอังกฤษ ไปสู่การสอนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร
ที่มา :: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
การพัฒนาระบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้นิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธารัตน์ ทะสา
2554
การพัฒนาการดำเนินการนิเทศภายในด้านการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกกลางสามัคคี อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
สนอง บำรุง
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547
การพัฒนาการดำเนินการนิเทศภายในด้านการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกกลางสามัคคี อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
สนอง บำรุง
2547
ความต้องการการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
มณฑา พลรักษ์
2546
ความต้องการการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์
เพทาย ฉายแก้ว
2543
ที่มา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ
การวิจัยครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ
การจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ 2)
ผลการยืนยันองค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ
กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 127
เขตพื้นที่การศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ผู้บริหารสถานศึกษา/หัวหน้าวิชาการโรงเรียน และครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 508 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1.
องค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ
ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษ 2) การช่วยเหลือ
ครูภาษาอังกฤษเชิงบูรณาการ 3) การประยุกต์เทคนิคนิเทศที่หลากหลาย 4)
การส่งเสริมทัศนคติ การสอนภาษาอังกฤษที่ดีให้แก่ครู 5)
การพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูภาษาอังกฤษ 6)
การส่งเสริมการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 7)
การจัดระบบการสนับสนุนครูภาษาอังกฤษ และ 8) การสร้างความสัมพันธ์และการยอมรับของผู้นิเทศ
2. องค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ
เป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีความเหมาะสม เป็นไปได้ มีประโยชน์ และมีความถูกต้อง
***
แนวทางการจัดการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติในโครงการจัดการเรียนการสอน
ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)
เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2)
เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษของครูต่างชาติโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูต่างชาติ จำนวน 300 คน
ใช้การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเขตพื้นที่การศึกษาและกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียน
จำนวน 10 คน โดยการสุ่มจาก 5 โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการจัดโครงการฯเป็นระยะเวลามากกว่า
10 ปี ผลการวิจัยพบว่าครูต่างชาติต้องการการนิเทศการสอนภาษาอังกฤษในภาพรวมทั้ง 4
ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการการนิเทศการสอนมากที่สุด คือ ด้านหลักสูตร
รองลงมา คือ การวัดและประเมินผลและการจัดการเรียนการสอนตามลำดับ แนวทางการจัดการนิเทศการสอนครูต่างชาติ
1) ด้านหลักสูตร ควรมอบหมายให้หัวหน้าโครงการเป็นผู้ดูแลและทำการนิเทศครูต่างชาติ
โดยใช้วิธีการนิเทศแบบพี่เลี้ยง (Mentoring) 2)
ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรให้ครูต่างชาติได้เข้ารับการอบรมกับหน่วยงานต่าง ๆ
ควบคู่กับการนิเทศแบบพี่เลี้ยง 3) ด้านสื่อการสอน
ควรส่งเสริมให้ครูต่างชาติได้ใช้วัสดุอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีต่าง
ๆตามความพร้อมของโรงเรียนอย่างอิสระ
โดยผ่านการเห็นชอบจากโครงการ4)ด้านการวัดและประเมินผล
ควรส่งเสริมให้ครูใช้วิธีการวัดประเมินผลที่หลากหลาย โดยครูพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลให้เป็นไปตามเกณฑ์ของโรงเรียน
***
ปัจจัยทางสถานภาพของครูที่ส่งผลต่อความต้องการรูปแบบการนิเทศการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสถานภาพของครูที่ส่งผลต่อความต้องการรูปแบบการนิเทศการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต
1 และสร้างสมการทำนายความต้องการการนิเทศการสอนแต่ละรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย
การนิเทศการสอนแบบคลินิก (YCLN) การนิเทศการสอนแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ
(YCPD) การนิเทศการสอนแบบพึ่งตนเอง (YSD) และการนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร (YAM) จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผล
พบว่า 1) ปัจจัยด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ส่งผลต่อ YCLN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 และสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.9 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกันมีแนวโน้มต้องการการนิเทศการสอนรูปแบบนี้แตกต่างกัน
2) ไม่มีปัจจัยด้านใดที่ส่งผลต่อ YCPD และ YSD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ครูที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีแนวโน้มต้องการการนิเทศการสอนทั้งสองรูปแบบไม่แตกต่างกัน
และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อ YAM มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 คือ ปัจจัยด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ รองลงมาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คือ
ด้านอายุและด้านประสบการณ์สอน ตามลำดับ
โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.5, 3.3
และ 2.1 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ครูที่อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีอายุ
หรือมีประสบการณ์สอน แตกต่างกัน
มีแนวโน้มต้องการการนิเทศการสอนรูปแบบนี้แตกต่างกัน สำหรับการสร้างสมการทำนาย
พบว่า 1) ไม่สามารถสร้างสมการทำนาย YCLN และ YCPD ได้ 2) ไม่สามารถยืนยันสมการทำนาย YSD ได้ และ 3)
ตัวแปรที่ร่วมกันส่งผลและสามารถทำนาย YAM ได้ดีที่สุด
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ อายุ 41 ปี ขึ้นไป (XAGE2) และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (XSUB4)
โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 6.1 เขียนเป็นสมการทำนายในรูปของสมการคะแนนดิบและสมการคะแนนมาตรฐานได้
คือ Y’AM = 3.728 - 0.312XAGE2 + 0.468XSUB4 และ Z’AM = -0.182ZAGE2 +
0.174ZSUB4 ตามลำดับ
***