Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

วีซ่าสำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย

              วีซ่าสำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย

 

ข้อมูลทั่วไป

1.  คนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราหรือขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศที่คนต่างชาติดังกล่าวมีถิ่นพำนัก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานที่ขอวีซ่า กรุณาสอบถามได้จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยทุกแห่ง

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่และที่ติดต่อของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทย สามารถดูได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศที่  http://www.thaiembassy.org


2.  คนต่างชาติบางสัญชาติสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งมี 2 กลุ่มดังนี้
        (1)  ประเทศที่ได้รับยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน   ดูรายละเอียดได้ที่ รายชื่อประเทศที่ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 30 วัน 

        (2)    ประเทศที่มีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรากับประเทศไทย  ดูรายละเอียดได้ที่ รายชื่อประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา กับประเทศไทย

3.  คนต่างชาติบางสัญชาติสามารถมาขอรับการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของไทยบางแห่งที่กำหนดไว้ เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยได้ (visa on arrival)   ดูรายละเอียดได้ที่ รายชื่อประเทศที่สามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) และพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน 15 วัน

4.  คนต่างด้าวที่เดินทางมาจากประเทศเขตติดโรคไข้เหลืองจะต้องแสดง “เอกสารระหว่างประเทศรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง” (International Health Certificate on Yellow Fever Vaccination) ในการยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ รวมทั้งจะต้องแสดงเอกสารดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้  ดูรายละเอียดได้ที่ หลักเกณฑ์การตรวจลงตราแก่คนต่างด้าวที่เดินทางมาจากประเทศที่เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง

5.  คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าเข้าไทยได้มีดังนี้         
     -  ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน            
     -  มีหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการพำนักในไทย เช่น ตั๋วเครื่องบิน  และมีวีซ่าหรือหลักฐานว่าสามารถเดินทางกลับประเทศที่มีถิ่นพำนัก หรือเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นได้ (ในกรณีขอเดินทางผ่าน)          
     -  ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522  เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ  มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน  หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ   มีเงินค่าใช้จ่ายเพียงพอในขณะพำนักในไทยตามระเบียบกำหนดคืออย่างน้อยคนละ 20,000 บาท  เป็นต้น 

6.  ในการขอวีซ่านั้น คนต่างชาติจะต้องขอรับการตรวจลงตราให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเข้ามาในประเทศไทย  ทั้งนี้ การอนุมัติวีซ่าอยู่ในดุลพินิจของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่  และในการตรวจลงตราให้แก่คนต่างชาติบางสัญชาติ ได้มีการกำหนดระเบียบและหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นพิเศษ   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ทุกแห่ง 

7. เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการเดินทาง คนต่างชาติที่จะขอวีซ่าเพื่อเดินทางเข้าประเทศไทยควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับอายุของวีซ่า (visa validity) และระยะเวลาพำนัก (period of stay) อายุของวีซ่าหมายถึงระยะเวลาที่ผู้ได้รับวีซ่าสามารถใช้เดินทางมาประเทศไทยได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่กงสุลจะเป็นผู้กำหนดอายุของวีซ่าและจะปรากฏอยู่ในวีซ่าสติ๊กเกอร์หรือตราประทับวีซ่าของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่  โดยทั่วไปอายุของวีซ่าคือ 3 เดือนนับจากวันที่ออกวีซ่า แต่ในบางกรณีและสำหรับวีซ่าบางประเภทอายุของวีซ่าอาจเป็น 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือ 3 ปี 

ส่วนระยะเวลาพำนักหมายถึงระยะเวลาที่ผู้เดินทางได้รับอนุญาตให้พำนักในประเทศไทยได้  ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาพำนักเมื่อคนต่างชาติเดินทางมาถึง และจะปรากฏอยู่ในตราประทับขาเข้า  ระยะเวลาพำนักขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่า เช่น  transit visa จะได้รับอนุญาตให้พำนักได้ไม่เกิน 30 วัน   tourist visa ไม่เกิน 30 วันหรือ 60 วัน  และ non-immigrant visa ไม่เกิน 90 วัน   หากมีความจำเป็นต้องอยู่เกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว คนต่างชาติต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (มีสำนักงานทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด)  มิฉะนั้น หากอยู่เกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต จะถูกปรับวันละ 500 บาทรายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาตอยู่ต่อ สอบถามได้จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 0-2141-9889  หรือดูที่เว็บไซต์ www.immigration.go.th

8.  คนต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าประเภทใด ๆ ก็ตาม ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงาน  ดังนั้น คนต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทที่ถูกต้องคือ Non-Immigrant Visa “B”  เพื่อที่จะสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้  รายละเอียดเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตทำงานดูได้ที่เว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ที่ www.doe.go.th/workpermit/index.html

9.  สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยมีอำนาจหน้าที่ในการให้วีซ่าแก่คนต่างชาติเพื่ออนุญาตให้เดินทางมาประเทศไทยได้  อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้เข้าประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาที่จะอนุญาตให้พำนักในประเทศไทย เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง  ดังนั้น คนต่างชาติที่ได้รับวีซ่าแล้วบางรายอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะหรือพฤติการณ์เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522


 

วีซ่าสำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย : กฎระเบียบและเอกสาร





หลักเกณฑ์ การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย
(ขอวีซ่า) ประเภทบริษัททั่วไป
เอกสารประกอบการยื่นคำขอ
  • คนต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตทำงาน
  • คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และมีเงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด
  • บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  • บริษัทต้องมีความมั่นคงทางธุรกิจ และต้องมีการประกอบการจริงและต่อเนื่อง
  • บริษัทต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน
  • หนังสือเดินทาง พร้อม วีซ่า NON-B และใบอนุญาตทำงาน
  • รูปถ่าย 4 x 6 CM จำนวน 1 รูป
  • หนังสือรับรองบริษัท
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • งบดุลฯ และกำไรขาดทุน 2 ปีล่าสุด
  • ภงด. 50 ปีล่าสุด
  • แบบ สบช.3 ปีล่าสุด
  • ภพ. 30 จำนวน 3 เดือนล่าสุด
  • ภงด.1 และประกันสังคม จำนวน 3 เดือนล่าสุด
  • ภงด 91 ของคนต่างชาติ
  • แผนที่บริษัท
  • รูปถ่ายสำนักงาน
  • แบบคำขอตามที่กำหนด
หลักเกณฑ์ การขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภท
การตรวจลงตราเพื่อทำงาน (NON-B) - หรือ เปลี่ยนวีซ่า
เอกสารประกอบการยื่นคำขอ
  • คนต่างด้าวต้องมีอายุวีซ่าเหลืออย่างน้อย 21 วัน
  • คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว หรือคนผ่านเข้าเมือง
  • บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  • บริษัทต้องมียอดรวมผู้เป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท
  • บริษัทต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเงินที่จะจ่ายให้คนต่างด้าว
  • บริษัทต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน
  • หนังสือเดินทาง พร้อม วีซ่า 21 วัน
  • รูปถ่าย 4 x 6 CM จำนวน 1 รูป
  • หนังสือรับรองบริษัท
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
  • ใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล
  • สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • งบดุลฯ และกำไรขาดทุน
  • ภงด. 50 ปีล่าสุด
  • ภงด.1 จำนวน 3 เดือนล่าสุด
  • หลักฐานการศึกษาและใบผ่านงาน รับรองจากจากสถานทูตและกระทรวงต่างประเทศ
  • แผนที่บริษัท
  • รูปถ่ายสำนักงาน
  • แบบคำขอตามที่กำหนด
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ที่ ๗๗๗/๒๕๕๑
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณา
กรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

....................
หมวด 2
การอนุญาตให้อยู่ต่อ
๗. การพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และรายการเอกสาร ดังต่อไปนี้
เหตุแห่งความจำเป็น
หลักเกณฑ์การพิจารณา
รายการเอกสาร
๗.๑ กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ เช่น จะต้องอยู่ปฏิบัติงานในบริษัท หรือห้างให้นส่วน เป็นต้น
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
(๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) คนต่างด้าวต้องมีเงินได้ตามตารางเงินได้แนบท้ายคำสั่งนี้ และ
(๓) ต้องเป็นธุรกิจซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า ๒ ล้านบาท และ
(๔) ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบดุล ณ วันสิ้นงวดปีบัญชีที่ผ่านมา ที่ได้รับการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อแสดงสถานภาพการเงินของธุรกิจว่ามีความมั่นคงเชื่อถือได้ โดยยอดรวมของส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ในงบดุลดังกล่าว ต้องมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า ๑ ล้านบาท และ
(๕) ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบกำไรขาดทุน ที่ผ่านการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อแสดงผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา สิ้นสุด ณ วันเดียวกันกับงบดุล โดยยอดรวมรายได้ในงบกำไรขาดทุนดังกล่าว จะต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินทั้งหมดที่ธุรกิจคาดว่าต้องจ่ายเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทุกประเภทให้แก่คนต่างด้าวทุกรายที่ต้องยื่นคำขอฯ เพื่อว่าจ้างให้ทำงานกับธุรกิจในรอบปีบัญชีถัดไป และ
(๖) ธุรกิจนั้นมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน และ
(๗) ธุรกิจนั้นต้องมีอัตราส่วนระหว่างจำนวนคนต่างด้าวกับพนักงานคนไทยประจำในอัตราส่วนคนต่างด้าว ๑ คน ต่อพนักงานคนไทยประจำ ๔ คน
( ๘) ธุรกิจประเภทดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการ ยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ (๓) (๔) (๕) และ (๖) และให้ได้รับการผ่อนผันในเรื่อง อัตราส่วนคนไทยตามหลักเกณฑ์ข้อ (๗) โดยให้มีพนักงานคนไทยในอัตราส่วน คนต่างด้าว ๑ คน ต่อ พนักงานคนไทย ประจํา ๑ คน
(ก) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ( สำนักงานผู้แทน )
(ข) สำนักงานภูมิภาค
(ค) บริษัทข้ามชาติ ( สำนักงานสาขา )
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓ หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
๔. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๕. หลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ่นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน ฉบับจริง
๖. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน ฉบับจริง
๗. งบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด ฉบับกรมสรรพากรรับรอง
๘. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อพนักงาน และชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอเดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน
๙. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
๑๐. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.๑-๑๐) เดือนล่าสุด
๑๑. เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่าธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประเกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
๑๒. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
๑๓. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของ สตม. กำหนด
๑๔. รูปภาพของบริษัท ถ่ายให้เห็นป้ายชื่อ อาคาร สภาพการทำงาน
๑๕. ธุรกิจตามหลักเกณฑ์ขอ้ (๘) ไม่ต้องแสดงเอกสารตามข้อ ๖, ๗ และ ๑๑
๗. ๒ กรณีมีเหตุจำเป็น จะต้อง อยู่ปฏิบัติงานในส่วนราชการ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่รัฐและ/หรือส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิ บ หรื อ องค์กรอิสระที่จัดตั้งโดย พระราชบัญญัติต่าง ๆ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก หน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ส่วนราชการระดับกรม องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่รัฐและ/หรือส่วน ราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หรือองค์กร อิสระที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติต่างๆ
๕. เฉพาะองค์กรที่รัฐและ/หรือส่วนราชการ และ/หรือรัฐวิสาหกิจมีทุนรวมอยู่ด้วยเกิน กว่าร้อยละห้าสิบ ให้แนบสำเนาเอกสาร แสดงรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่
๗. ๓ กรณีเพื่อการท่องเที่ยว
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน แต่รวมแล้วไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วัน ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทนักท่องเที่ยว และ
(๒) ไม่เป็นบุคคลสัญชาติ หรือจำพวกที่ คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติ ราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ คนเข้าเมือง ของ สตม. กำหนด
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๗. ๔ กรณีเพื่อการลงทุน ไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนที่ คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และได้รับอนุญาตให้ อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการลงทุนไม่น้อย กว่า ๓ ล้านบาท ต่อเนื่องตลอดมา และ
(๓) มีหลักฐานการโอนเงินเข้าสู่ประเทศไทย จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท และ
(๔) มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อห้องชุด ในอาคารชุดจากหน่วยงาน หรือส่วน ราชการที่เกี่ยวข้องในราคาซื้อไม่น้อย กว่า ๓ ล้านบาท หรือ
(๕) มีหลักฐานการลงทุนโดยการฝากเงิน ประจำกับธนาคารที่จดทะเบียนใน ประเทศไทยซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติ ไทยเกินกว่าร้อยละ ๕๐ ไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท หรือ
(๖) มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อ พันธบัตรของทางราชการหรือของ รัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท หรือ
(๗) มีหลักฐานการลงทุนรวมกันตาม (๔) , ( ๕) หรือ (๖) ไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหลักฐานการโอนเงินจาก ต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจากธนาคาร
๔. สำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุด และสำเนา การจดทะเบียนแสดงการเป็นเจ้าของ ห้องชุดจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีซื้อห้องชุด) หรือ
๕. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร และสำเนาหลักฐานการฝากเงิน (เฉพาะ กรณีลงทุนโดยการฝากเงิน) หรือ
๖. สำเนาพันธบัตร (เฉพาะกรณีลงทุนซื้อ พันธบัตรของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ)
๗. ๕ กรณีเป็นคร ู หรืออาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษ า ของรัฐ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง
๗. ๖ กรณีเป็นครู หรืออาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษา ของเอกชน
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง และ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๕. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง
๖. เฉพาะกรณีเป็นครูในโรงเรียนเอกชน ให้แนบสำเนาใบอนุญาตให้เป็นครูและ สำเนาใบอนุญาตให้บรรจุครู
๗.๗ กรณีเพื่อศึกษาใน สถานศึกษาของรัฐ
ให้อนุญาตตามระยะเวลาที่ สถานศึกษารับรองครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนป็การศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ
๗.๘ กรณีเพื่อศึกษาใน สถานศึกษาของเอกชน
ให้อนุญาตตามระยะเวลาที่ สถานศึกษารับรองครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง และ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น และ
(๔) ได้รับการรับรองจากส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้นกรณีศึกษาใน โรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษา ในระดับอุดมศึกษา)
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข?อง
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ
๕. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับ กรมหรือเทียบเท่า หรือจากผู้ว่าราชการ จังหวัดที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้น (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)
๗.๙ กรณีเพื่อฝึกสอน หรือ ค้นคว้าวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจากคณบดี สถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้า สถาบันวิจัยนั้นๆ
(๓) กรณีฝึกสอน หรือค้นคว้าวิจัยใน สถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยของ เอกชน ต้องได้รับการรับรองและร้องขอ จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากคณบดี สถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้า สถาบันวิจัยนั้นๆ
๔. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๓) ให้แนบหนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๗.๑๐ กรณีเป็นครอบครัวของ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อศึกษาในสถานศึกษาตาม หลักเกณฑ์ข้อ ๗.๗ หรือ ๗.๘ ของคำสั่งนี้ (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือ บุตรของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ
(๕) กรณีบิดาหรือมารดา ต้องมีเงินฝากใน ธนาคารในประเทศไทยในนามบิดาหรือ มารดาไม่น้อยกว่า ๕๐๐ , ๐๐๐ บาท โดย แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่เพื่อศึกษา
๔. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๕) ให้แนบหนังสือรับรองการมีเงินฝากจาก ธนาคารในประเทศไทย และสำเนาบัญชี ธนาคาร
๗.๑๑ กรณีปฏิบัติหน้าที่ สื่อมวลชน
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก กรมประชาสัมพันธ์ หรือกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก กรมประชาสัมพันธ์หรือกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
๗.๑๒ กรณีศึกษาพระพุทธ ศาสนา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองจากสำนักพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติหรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และ
(๓) ได้รับการรับรองจากเจ้าอาวาสวัดที่ผู้ยื่น คำขอกำลังศึกษา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากสำนักพระพุทธศาสนา แห่งชาติ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
๔. หนังสือรับรองจากเจ้าอาวาสวัดที่ผู้ยื่น คำขอกำลังศึกษา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
๗.๑๓ กรณีเผยแพร่ศาสนา
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองจากกรมการศาสนา หรือสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติและ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก องค์กร ศาสนาที่ผู้ยื่นคำขอเข้ามาประจำอยู่
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากกรมการศาสนา หรือ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร ศาสนานั้นๆ
๗.๑๔ กรณีเป็นช่างฝีมือ หรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ การพยาบาล หรือสาขาวิชาชีพ ต?างๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๑๕ กรณีเพื่อติดตั้ง หรือ ซ่อมแซม เครื่องจักร อากาศยาน หรือเรือเดินทะเล
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๑๖ กรณีเป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี ประจำโรงแรม หรือ ประจำบริษัทที่ประกอบธุรกิจ บันเทิงในประเทศไทย ซึ่งมีทุน จดทะเบียนชำระเต็มมูลค่า ไม่น้อยกว่า ๒๐ ล้านบาท
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑๒๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองการจ้างจากโรงแรม หรือจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจบันเทิง ในประเทศไทยซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระ เต็มมูลค่าไม่น้อยกว่า ๒๐ ล้านบาท
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างผู้ยื่นคำขอ ทำงานเป็นนักแสดง นักร้อง หรือนักดนตรี
๕. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กร นั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียน บริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน ๖ เดือน
๖. เฉพาะกรณีบริษัทที่ประกอบธุรกิจบันเทิงฯ ให้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับ นายทะเบียนรับรองไม่เกิน ๖ เดือน
๗. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน
๘. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
๗.๑๗ กรณีเป็นครอบครัวของ ผู้มีสัญชาติไทย (เฉพาะบิดา มารดา คู?สมรส บุตร บุตรบุญ ธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ (๕) กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (๖) กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายรวมกันต้องมีรายได้ เฉลี่ยทั้งปี ไม่น้อยกว่าเดือนละ ๔๐ , ๐๐๐ บาท เว้นแต่คนต่างด้าวนั้น ได้เดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักรก่อนที่คำสั่งนี้ มีผลใช้บังคับ และได้รับอนุญาตให้อยู่ใน ราชอาณาจักรกรณีสมรสกับหญิงไทย ต่อเนื่องตลอดมา หากไม่มีรายได้ตามที่ กำหนดข้างต้น ก็ต้องมีเงินฝากธนาคาร ในประเทศไทย ในนามคนหนึ่งคนใดหรือ ทั้งสองคน ไม่น้อยกว่า ๔๐๐ , ๐๐๐ บาท โดยแสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สําเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. สำเนาหลักฐานการมีสัญชาติไทย ของคู่สมรส บิดา มารดา บุตร หรือบุตร บุญธรรม เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานอื่นจาก ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๖) ให้แนบ หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร ในประเทศไทย และสำเนาบัญชีธนาคาร หรือแนบเอกสารแสดงการมีรายได้ของ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือของทั้งสองฝ่าย รวมกันไม่น้อยกว่าเดือนละ ๔๐ , ๐๐๐ บาท เช่น หลักฐานการยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใด แบบหนึ่งพร้อมใบเสร็จรับเงิน หลักฐาน การมีเงินบำนาญ หลักฐานรับรอง การได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก หรือหลักฐาน การมีเงินได้อื่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖. ภงด 1 พร้อมใบเสร็จ จำนวน 3 เดือน
๗. ใบรับรองเงินเดือน
๘. รูปถ่ายบ้านพัก สภาพในบ้าน และครอบครัว
๗.๑๘ กรณีเป็นครอบครัวของ ผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตร ของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ
(๕) กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และสำเนาใบ สำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีถิ่นที่อยู่
๗.๑๙ กรณีเป็นครอบครัวของ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามหลักเกณฑ์ข้อ ๗.๑ , ๗.๒ , ๗.๔ , ๗.๕ , ๗.๖ , ๗.๙ , ๗.๑๑ , ๗.๑๒ , ๗.๑๓ , ๗.๑๔ , ๗.๑๕ , ๗.๑๖ , ๗.๒๐ , ๗.๒๑ , ๗.๒๕ หรือ ๗.๒๘ ของคำสั่งนี้ (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญ ธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๓) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
(๔) กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็น ส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุ ไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ
(๕) กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ
๔. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๗.๒๐ กรณีมีเหตุจำเป็นจะต้อง อยู่ปฏิบัติงานในองค์การกุศล สาธารณะ องค์การเอกชน ต่างประเทศ มูลนิธิ สมาคม หอการค้าต่างประเทศ สภาหอ การค้าแห่งประเทศไทย หรือสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ป
กรณีไม่มีส่วนราชการตาม หลักเกณฑ์ข้อ (๓) รับรองมา
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) ได้รับการรับรองและร้องขอจากผู้มี อำนาจ หรือผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดใน องค์กรนั้น และ / หรือ
(๓) ได้รับการรับรองและร้องขอจากหัวหน้า ส่วนราชการระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่า ขึ้นไปซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งองค์กรจากทาง ราชการ หรือสำเนาใบอนุญาตให้เข้ามา ดำเนินการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๕. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก องค์กรนั้น
๖. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ทำงานในองค์กร ๗. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๓) ให้แนบหนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๗.๒๑ กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว และ
(๒) มีอายุตั้งแต่ ๕๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ
(๓) มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ ๖๕ , ๐๐๐ บาท หรือ
(๔) มีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ , ๐๐๐ บาท โดยแสดง บัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน หรือ
(๕) มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคาร คำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ , ๐๐๐ บาท นับถึงวันยื่นคำขอ ( ๖) คนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักรก่อนวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ และได้รับอนุญาตให้อยู้ใน ราชอาณาจักรเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลาย ต่อเนื่องตลอดมา ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ (ก) อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป และมีรายได้ที่ แน่นอน โดยมีเงินฝากไม่น้อยกว่าปีละ ๒๐๐ , ๐๐๐ บาท โดยแสดงบัญชีเงินฝาก ย้อนหลัง ๓ เดือน หรือ มีรายได้ไม่น้อย กว่าเดือนละ ๒๐ , ๐๐๐ บาท (ข) อายุไม่ถึง ๖๐ ปีแต่ไม่น้อยกว่า ๕๕ ปี ต้องมีรายได้ที่แน่นอนโดยมีเงินฝาก ไม่น้อยกว่าปีละ ๕๐๐ , ๐๐๐ บาท โดย แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลัง ๓ เดือน หรือมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ ๕๐ , ๐๐๐ บาท
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หลักฐานแสดงการมีเงินได้ เช่น เงินบำนาญ หรือการได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น และ / หรือ
๔. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร ในประเทศไทย และสำเนาบัญชีธนาคาร
๕. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (๖) ให้แสดงเอกสารเช่นเดียวกับข้อ ๑ – ๔ ข้างต้น
๗.๒๒ กรณีเพื่อเยี่ยมญาติหรือ กลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมี สัญชาติไทย หรือของผู้ที่มีบิดา หรือมารดาเป็นบุคคลสัญชาติ ไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
( ๑) มีหลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติ ไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดา มีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย
๑. แบบคําขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาเอกสารแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติ ไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดา มี สัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย
๗.๒๓ กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๖๐ วัน
( ๑) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ และ
(๒) กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาทะเบียนบ้าน
๔. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มี สัญชาติไทย
๕. สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตร
๗.๒๔ กรณีเพื่อรับการรักษา พยาบาล หรือการพักฟื้น หรือ เพื่อดูแลผู้ป่วย
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา
(๒) กรณีดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการรับรองและ ร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาล ที่ทำการตรวจรักษา หรือจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
(๓) กรณีผู้ดูแลซึ่งไม่ได้เป็นส่วนแห่ง ครัวเรือนให้อนุญาตได้ไม่เกินหนึ่งคน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา
๔. เฉพาะกรณีดูแลผู้ป่วยให้แนบหนังสือ รับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ประจํา โรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา หรือจาก สถานทูต หรือสถานกงสุล
๗.๒๕ กรณีเพื่อการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณา อันเกี่ยวกับคดี
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ การดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวน พิจารณาอันเกี่ยวกับคดี โดยเป็น ผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย หรือพยาน
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากพนักงานสอบสวนที่ เกี่ยวข้องกับคดี หรือหนังสือหรือเอกสาร ทางราชการที่ยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ การดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวน พิจารณาอันเกี่ยวกับคดี
๗.๒๖ กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือ ภารกิจให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การระหว่างประเทศ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก ส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับ กองบัญชาการ หรือจากส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อ ผบ.ตร. หรือจากส่วนราชการ ทหารระดับกองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ ขึ้นไป หรือจากองค์การระหว่างประเทศ
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับ กองบัญชาการ หรือจากส?วนราชการ ขึ้นตรงต่อ ผบ.ตร. หรือจากส่วนราชการ ทหารระดับกองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ ขึ้นไป หรือจาก องค์การระหว่างประเทศ
๗.๒๗ กรณีมีเหตุจำเป็น โดยมี สถานทูต หรือสถานกงสุล ให้ การรับรองและร้องขอ
(๑) กรณีมีเหตุจำเป็นให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน
(๒) เฉพาะกรณีฝึกงานให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานทูต หรือสถานกงสุล
(๒) กรณีฝึกงาน คนต่างด้าวนั้นต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากสถาน ทูต หรือสถานกงสุลประจำประเทศไทย
๔. เฉพาะกรณีฝึกงาน ให้แนบสำเนาใบ อนุญาตทำงาน
๗.๒๘ กรณีเพื่อพิสูจน์สัญชาติ
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑๘๐วัน
( ๑) ได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
๗.๒๙ กรณีเป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี ผู้ควบคุมการแสดง ตลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การแสดงเพื่อการบันเทิง หรือ มหรสพ โดยมาเปิดการแสดง เป็นครั้งคราว
ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน
( ๑) ได้รับการรับรองและร้องขอจาก ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
๑. แบบคำขอ
๒. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
๓. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
๔. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

ตารางเงินได้ท้ายคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 606/2549
ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามหลักเกณฑ์ข้อ 7.1 (2)
สัญชาติ
รายได้ขั้นต่ำ
1. ประเทศในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย, ประเทศแคนาดา, ประเทศญี่ปุ่น, และประเทศสหรัฐอเมริกา
50,000 บาท/เดือน
2. ประเทศเกาหลีใต้, ประเทศสิงคโปร์, ใต้หวัน, และฮ่องกง
45,000 บาท/เดือน
3. ประเทศในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาใต้, ประเทศในเขตยุโรปตะวันออก, ประเทศในเขตอเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก, ประเทศตุรกี, ประเทศรัสเซีย, และประเทศแอฟริกาใต้
35,000 บาท/เดือน
4. ประเทศในทวีปแอฟริกา, ประเทศกัมพูชา, ประเทศพม่า, ประเทศลาว, และประเทศเวียดนาม
25,000 บาท/เดือน

Download เอกสารที่จำเป็น : คำขออยู่ต่อ (ตม.7) | คำขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกครั้ง ตม.8 (Re-Entry) | แจ้งอยู่เกิน 90 วัน | หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน | รับทราบเงื่อนไข | ชี้แจงความจำเป็น | บัญชีรายชื่อและเงินเดือนคนต่างด้าว | ตาราง 90 วัน |







ที่มา  ::  วีซ่าสำหรับคนต่างชาติในประเทศไทย
http://vickykotakoon.blogspot.co.uk/2011/11/blog-post_9745.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น