ฟักทอง
ฟักทอง ชื่อสามัญ Pumpkin
ฟักทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucurbita moschata Duchesne จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
ฟักทองแบ่งออกเป็น 2 ตระกูล ตระกูลแรกก็คือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (Pumpkin) ผลใหญ่ เนื้อยุ่ย และตระกูลสควอช (Squash) ซึ่งได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น โดยฟักทองไทยนั้น ผิวของผลขณะยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสลับเขียว ผิวมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย เปลือกจะแข็ง เนื้อด้านในเป็นสีเหลือง พร้อมด้วยเมล็ดสีขาวแบน ๆ ติดอยู่
ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น
ฟักทองยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรีและไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัม จะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น
ฟักทอง แม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก แต่การรับประทานอย่างไม่เหมาะสมก็อาจเกิดโทษได้เช่นกัน เนื่องจากฟักทองนั้นมีฤทธิ์อุ่น ไม่เหมาะกับผู้ที่กระเพาะร้อน เช่น ผู้ที่มักมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวมเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรรับประทานฟักทองในปริมาณที่มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป แม้กระทั่งในคนปกติเองก็ตาม ก็ไม่ควรรับประทานอย่างไร้สติ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้
ประโยชน์ของฟักทอง
- ฟักทองมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและความแก่ชรา
- ช่วยฟื้นบำรุงสุขภาพผิวให้เปล่งปลั่งสดใสและช่วยปกป้องผิวไม่ให้เหี่ยวย่น
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
- ฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพร่างกาย
- ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
- น้ำมันจากเมล็ดฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงประสาท
- เมล็ดฟักทองช่วยทำให้อารมณ์ดี เพราะมีสารที่ช่วยในการสร้าง Serotonin ซึ่งมีผลต่ออารมณ์
- มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรืออยากลดความอ้วน เพราะมีไขมันน้อย กากใยสูง
- ฟักทองมีกรดโปรไบโอนิค ซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง
- มีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
- มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจ
- ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อเข่า บั้นเอว
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคผิวหนัง
- เปลือกฟักทองมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
- ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกายหรือหลังจากร่างกายทำงานอย่างหนัก และทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- รากฟักทองนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ
- ฟังทอกจัดว่ามีกากใยอาหารสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่าย
- ฟักทองมีฤทธิ์อุ่นซึ่งจะช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
- มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่ว
- ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากขยายใหญ่มากขึ้น
- ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ
- ช่วยขับพยาธิตัวตืด โดยนำเมล็ดฟักทองประมาณ 50 กรัม นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำตาล นม และเติมน้ำลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แล้วนำมาแบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
- ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
- รากฟักทองเมื่อนำมาต้มดื่มจะช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ถอนพิษของฝิ่นได้
- เยื่อกลางของผลฟักทอง สามารถนำมาใช้พอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวดและอักเสบได้
- ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง อย่างน้ำฟักทองคั้นสด พายฟักทอง
- นำมาใช้ในการประกอบอาหารได้ย่างหลากหลาย เช่น ซุปฟักทอง แกง กินกับน้ำพริก เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 26 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม
- น้ำตาล 2.76 กรัม
- เส้นใย 0.5 กรัม
- ไขมัน 0.1 กรัม
- โปรตีน 1 กรัม
- วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม 53%
- เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม 29%
- ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 5 0.298 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 6 0.061 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 9 16 ไมโครกรัม 4%
- วิตามินซี 9 มิลลิกรัม 11%
- วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม 1%
- ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, USDA National Nutrient Database
เว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น