Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567

9 ประโยชน์ของ "กาแฟ" และวิธีดื่มให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

 

9 ประโยชน์ของ "กาแฟ" และวิธีดื่มให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ



กาแฟมีประโยชน์มากก็จริง แต่ต้องกินให้ถูกวิธีด้วย เพราะอาจมีโทษต่อร่างกายได้เช่นกัน

เป็นที่ทราบกันดีกว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่มาพร้อมกับรสชาติขมแต่กลมกล่อมและอร่อยนุ่มนวลในแบบที่หาไม่ได้ในรสชาติของเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย และราคาเข้าถึงได้ชนิดที่สามารถดื่มได้ทุกวันแบบสบายๆ

นอกจากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว กาแฟยังมีประโยชน์ที่โดดเด่นและหาไม่ได้ง่ายๆ ในเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แต่ก็มาพร้อมกับอันตรายแฝงหากดื่มอย่างไม่ระมัดระวังด้วย


9 ประโยชน์ของ "กาแฟ" 


  1. เพิ่มระดับพลังงาน

คาเฟอีนในกาแฟเข้าไปเปลี่ยนระดับสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง จึงช่วยกระตุ้นพลังงาน และลดความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจหากใครจะถามหากาแฟทุกเช้าหลังตื่นนอนในเช้าที่ยังง่วงๆ เพลียๆ 

  1. อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

การดื่มกาแฟเป็นประจำ อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในระยะยาว อาจเป็นเพราะกาแฟช่วยรักษาการทำงานของเซลล์เบตาในตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง

  1. บำรุงสมอง

จากงานวิจัยบางชิ้นพบว่า การดื่มกาแฟช่วยป้องกันการเกิดของโรคอัลไซเมอร์ได้ รวมถึงโรคพาร์กินสัน และป้องกันความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจลดลงด้วย

  1. อาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้

กาแฟอาจช่วยให้ร่างกายควบคุมน้ำหนักได้ และอาจช่วยลดไขมันในร่างกายได้อีกด้วย รายงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า คนที่ดื่มกาแฟมักเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนบ่อยๆ และนั่นอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กาแฟช่วยควบคุมน้ำหนักได้ทางอ้อมอีกด้วย

  1. อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า

รายงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การดื่มกาแฟอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าได้ และยังอาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้อีกด้วย

  1. อาจช่วยปกป้องสภาพของตับได้

การดื่มกาแฟอาจช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคตับเรื้อรัง รวมไปถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตับได้ เช่น ตับอักเสบ และมะเร็งตับ เป็นต้น

  1. บำรุงหัวใจ

รายงานวิจัยบางชิ้นพบว่า การดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจวายได้

  1. ช่วยให้อายุยืน

กาแฟอาจเกี่ยวข้องกับลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากหลายๆ สาเหตุ เช่น อายุ น้ำหนัก หรือการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ยังต้องการข้อมูลจากรายงานวิจัยเพิ่มเติมสำหรับประโยชน์จากกาแฟในข้อนี้

  1. อาจเพิ่มความสามารถด้านกีฬา

อาจฟังดูแปลกไปสักหน่อย แต่กาแฟสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมทางร่างกายได้ และสามารถทำให้ร่างกายทานทนต่อการออกกำลังกายได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังต้องการข้อมูลจากรายงานวิจัยอย่างละเอียดเพิ่มเติมอีกเช่นกัน

ดื่มกาแฟอย่างไรถึงจะดีต่อสุขภาพ

  1. ดื่มกาแฟในช่วงเวลาที่เหมาะสม หากอยากได้รับประโยชน์จากคาเฟอีนในการช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากที่สุด ควรดื่มในช่วง 30-11.30 น. จะดีที่สุด
  2. ไม่ควรดื่มกาแฟมากเกินไป ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมของร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจต้องลองดื่มดูว่าปริมาณเท่าใดที่ร่างกายรับได้และไม่ทำให้ใจสั่น ตื่นเต้น นอนไม่หลับ หรือเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ให้คร่าวๆ ที่ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน
  3. ไม่ควรดื่มกาแฟตอนท้องว่าง เพราะอาจเร่งให้กระเพาะอาหารผลิตกรดออกมามากเกินไป หรืออาจดื่มกาแฟและกินอาหารเล็กๆ น้อยๆ ร่วมด้วย
  4. ไม่ควรดื่มกาแฟหลัง 14.00-16.00 น. เพราะปริมาณคาเฟอีนที่ยังเหลืออยู่อาจทำให้นอนไม่หลับได้
  5. เลือกดื่มกาแฟไม่ใส่น้ำตาล ครีมเทียม และอื่นๆ หรือถ้าอยากใส่ ควรใส่ปริมาณน้อยๆ
  6. ดื่มกาแฟก่อนออกกำลังกาย อาจช่วยให้ร่างกายตื่นตัว และได้ออกแรงเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้มากขึ้น
  7. ไม่ควรดื่มกาแฟหากอยู่ในช่วงที่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง หรือลำไส้แปรปรวน
  8. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดื่มกาแฟ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณที่ควรดื่มอย่างเหมาะสม


Benefits of black Coffee    ,   ประโยชน์ของกาแฟดำ   ,   ประโยชน์ของกาแฟ   ,     กาแฟ    ,   Coffee  ,  Benefits of  Coffee    ,



CR     ::         https://www.sanook.com/health/32297/  ,    https://prinkotakoon.blogspot.com/2024/10/benefits-coffee_2.html

10 ความคิดเห็น:

  1. 10 วิธีดื่มกาแฟให้ได้ประโยชน์มากขึ้น

    1. ดื่มกาแฟให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว
    หากร่างกายได้รับคาเฟอีนมากเกินไป อาจส่งผลแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนอาจใจสั่น นอนไม่หลับ หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ ดังนั้นการกินกาแฟในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวันจึงเป็นเรื่องสำคัญ

    ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการดื่มกาแฟคือ คาเฟอีน 2.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น หากมีน้ำหนักตัว 80 กิโลกรัม ปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม (2.5X80=200)

    โดยค่าเฉลี่ยของคาเฟอีนในกาแฟหนึ่งแก้วจะอยู่ที่ประมาณ 95 มิลลิกรัม ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว (190 มิลลิกรัม)

    2. เลี่ยงกินกาแฟหลังเที่ยง
    กาแฟเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากที่สุด ซึ่งฤทธิ์ของคาเฟอีนจะช่วยให้รู้สึกตื่นตัวเมื่อรู้สึกเหนื่อย แต่หากกินกาแฟช่วงหลังเที่ยงเป็นต้นไป อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอนได้

    แต่อย่างไรก็ตาม ความไวต่อคาเฟอีนของแต่ละคนนั้นอาจไม่เท่ากัน บางคนอาจดื่มได้หลังเที่ยงก็จริง แต่ไม่ควรเกินบ่าย 2

    สำหรับคนที่ชอบกินกาแฟช่วงบ่ายจริงๆ อาจเลือกกาแฟสกัดคาเฟอีน (Decaf coffee) เพื่อให้ไม่กระทบกับคุณภาพในการนอนช่วงกลางคืน

    3. กาแฟอาจมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
    มีงานวิจัยเผยว่าคาเฟอีนมีส่วนในการชะลอความเมื่อยล้าลง รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กล้ามเนื้อ ซึ่งหากต้องการให้กาแฟช่วยพัฒนาการออกกำลังกาย ควรกินกาแฟก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาที

    แต่อย่างไรก็ตาม กาแฟมีส่วนทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน ส่วนคนทั่วไปก็ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน

    4. ไม่ควรดื่มกาแฟเร็วเกินไป
    คาเฟอีนในกาแฟมีส่วนกระตุ้นฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มักจะหลั่งออกมาเวลาที่เครียด เพราะฮอร์โมนตัวนี้สัมพันธ์กับความดันโลหิตและระบบภูมิคุ้มกัน

    ดังนั้นหากดื่มกาแฟเร็วเกินไปอาจทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลไม่สมดุล ส่งผลกระทบต่อทั้งการนอนหลับและความเครียดที่มากขึ้นอีกด้วย

    5. ไม่ควรใส่น้ำตาลในกาแฟ
    กาแฟสามารถช่วยรู้สึกตื่นตัวได้ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำตาลช่วย เพราะหากติดนิสัยใส่น้ำตาลในกาแฟเป็นประจำ จะทำให้ได้รับฟรุกโตส (Fructose) มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอ้วนหรือเบาหวานได้

    สำหรับคนที่ชอบกาแฟที่มีรสหวานจริงๆ อาจใช้ทางอื่นที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น เช่น หญ้าหวาน น้ำผึ้ง เป็นต้น

    6. กินอาหารที่มีแคลเซียมให้มากขึ้น
    ไม่ว่าจะเป็น นม โยเกิร์ต คะน้า บรอกโคลี หรือ ปลาเล็กปลาน้อย เพื่อทดแทน แคลเซียมที่ต้องสูญเสียไปกับปัสสาวะ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน โดยอาจปรับเปลี่ยนวิธีการชง กาแฟ ให้ใส่นมแทนครีมเทียม เป็นต้น

    7. ควรเลือกดื่มกาแฟออร์แกนิก
    การเลือกตราสินค้าของกาแฟที่น่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากกระบวนการผลิตกาแฟเองก็มีผลต่อประโยชน์และโทษที่รับเข้าไปเช่นกัน ควรเลือกชื่อการค้าที่ปลูกกาแฟแบบออร์แกนิค ปราศจากสารพิษ ยาฆ่าแมลง

    แม้จะยังมีหลักฐานไม่มากว่ามีผู้ได้รับสารพิษตกค้างจากการดื่มกาแฟมากน้อยเพียงใด แต่การกินกาแฟที่ปราศจากสารพิษตั้งแต่แรกก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

    8. รับประทานผลไม้สม่ำเสมอ
    เพราะในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น ดังนั้นวิตามินซี อี และบีตาแคโรทีนในผักผลไม้ เช่น กล้วย แตงโม ส้ม ฝรั่งมะเขือเทศ แครอต ผักใบเขียว พวกนี้จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้

    9. หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียม
    ครีมเทียมที่เห็นตามท้องตลาดนั้นสามารถช่วยทดแทนความมันของนมให้กับกาแฟได้ แต่โดยปกติแล้วทางเลือกที่ีดีกว่าในการดื่มเครื่องดื่มหรือกินอาหารก็ตาม คือทางเลือกที่มาจากธรรมชาติ

    ดังนั้นหากมีโอกาสเลือกร้านกาแฟที่ใช้นมจริงๆ แทนครีมเทียมได้ อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากมีแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

    หากเป็นคนแพ้นม หรือไม่ชอบกินนม อาจเลือกใส่ผงปรุงรสอื่นๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น โกโก้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

    10. กาแฟอาจไม่เหมาะสำหรับผู้อยู่ในภาวะวิตกกังวล
    คาเฟอีนในกาแฟจะออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 3-5 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตาม หลังจาก 5 ชั่วโมงไปแล้วก็ยังคงมีปริมาณคาเฟอีนอีกครึ่งที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย



    ตอบลบ
  2. 5 ข้อแนะนำในการดื่มกาแฟที่ช่วยให้ทำงานได้เต็มที่และดีต่อสุขภาพ


    1.กาแฟแก้วแรกของวัน
    แนะนำให้ดื่มหลังจากตื่นนอนไปแล้ว 2-4 ชั่วโมง หรือประมาณช่วงเวลา 9 โมงเช้าซึ่งเป็นเวลาที่ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัวลดต่ำลง

    2. กาแฟแก้วสุดท้ายของวัน
    ควรเว้นระยะอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนถึงเวลานอน เพื่อให้ร่างกายได้เคลียร์คาเฟอีนออกจากร่างกายจนหมด ไม่ให้กระทบต่อคุณภาพในการนอนหลับ

    3. ปริมาณคาเฟอีนที่ดีต่อสุขภาพ
    แนะนำปริมาณคาเฟอีนเริ่มต้นที่ 40 mg หรือเพียงแค่ 1 แก้วก็เพียงพอที่จะต่อสู้กับสารง่วงได้ ช่วยให้ลดความง่วงหรืออ่อนเพลียไปได้ แต่ก็ ไม่ควรรับประทานคาเฟอีนเกิน 400 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณ 4 แก้วต่อวัน

    4. จับคู่เพิ่มประโยชน์ ให้กาแฟแก้วโปรด
    ● มื้อเช้าที่เร่งรีบ
    สามารถเลือกทานแซนด์วิช ไข่ต้มหรือซาลาเปา คู่กับกล้วยหอมสักลูกในร้านสะดวกซื้อได้ง่ายๆ แต่ได้ทั้งโปรตีนและใยอาหารจะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องนานขึ้นไปจนถึงเวลาพักเที่ยง เมื่อทานจับคู่กับกาแฟและเพลงที่ชอบ กลิ่นของกาแฟและเพลงก็ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย และช่วยให้สามารถโฟกัสงานได้งานอย่างต่อเนื่อง

    ● มื้อว่าง ที่ง่วงและหิวระหว่างวัน
    ดื่มกาแฟสัก 1 แก้ว เช่นกาแฟดำหรือกาแฟที่หวานน้อยพลังงานต่ำ คู่กับขนมหวาน ช็อกโกแลตหรือไอศกรีม แต่ควรเลือกขนมที่มีพลังงานไม่เกิน 150 - 200 kcal ยิ่งทำให้รู้สึกว่าขนมอร่อยขึ้นไปอีก เพราะกาแฟทำให้รับรสหวานได้ดียิ่งขึ้น และรับรสขมได้น้อยลง แถมคาเฟอีนในกาแฟยังช่วยให้ลดง่วง และตื่นตัวมากขึ้นด้วย

    5. กาแฟที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
    กาแฟมีหลากหลายรูปแบบ มีรสชาติรวมทั้งมีความเข้มของคาเฟอีนที่ต่างกัน มาดูว่าวิธีเลือกดื่มกาแฟให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์คอกาแฟสายต่างๆ จะมีอะไรบ้าง
    ● สายชงดื่มเอง
    สามารถเลือกชงร้อนได้หลากหลายสูตร เช่น เนสกาแฟเบลนด์ แอนด์ บรู กาแฟซอง 3 in 1, เนสกาแฟเรดคัพ กาแฟคั่วบดละเอียด หรือเนสกาแฟโกล์ด ซึ่งเลือกชงปรับความเข้มมากน้อยของปริมาณคาเฟอีนได้ตามชอบ แต่ก็ไม่ควรมากกว่าที่แนะนำคือ 400 มิลลิกรัมต่อวัน

    ● สายเดินทาง เน้นสะดวก
    หยิบกินได้ง่าย กาแฟกระป๋องถือว่าทางเลือกที่ดีเพราะพร้อมดื่ม ไม่ต้องชงเอง ซึ่งมีทางเลือกหลายรสชาติทั้งกาแฟดำและกาแฟนมเช่น เนสกาแฟเอสเปรสโซ โรสต์, แบล็คไอซ์, ลาเต้, เนสกาแฟ ทริปเปิล แบล็ค

    ● สายกาแฟเย็น สดชื่น
    สามารถเลือกกาแฟซองที่ละลายง่ายในน้ำเย็น เช่นเนสกาแฟอเมริกาโน กาแฟดำ หอม รสนุ่มละมุน มีทั้งสูตร Original แคลอรี่ต่ำ หรือสูตรไม่มีน้ำตาลก็ได้ เหมาะอย่างยิ่งกับอากาศร้อนแบบบ้านเรา

    การเลือกเครื่องดื่มโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน จำเป็นต้องเลือกดื่มให้เหมาะสมกับตนเองตามข้อมูลที่เรานำเสนอในข้างต้น เพราะแม้ว่าคาเฟอีนจะให้คุณประโยชน์มากมาย แต่การบริโภคคาเฟอีนหรืออะไรก็ตามที่มากเกินไปจนพอดี อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกและปรับการดื่มให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์หรือความต้องการของเรานั่นเอง

    ตอบลบ
  3. ดื่มกาแฟให้เป็น ได้ผลดีกับสุขภาพมากกว่าที่คิด

    การดื่มกาแฟช่วยเพื่อความตื่นตัวของร่างกายและสมองให้สดชื่นตลอดเวลา เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าในระหว่างวัน หากรู้จักดื่มกาแฟให้เป็นจะส่งผลดีต่อสุขภาพ

    1. การดื่มกาแฟดำ รวมทั้งการดูแลในเรื่องโภชนาการควบคู่กัน จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี ในเมล็ดกาแฟประกอบด้วยแร่ธาตุแมกนีเซียมกับโพแทสเซียม ช่วยให้ร่างกายมนุษย์ใช้อินซูลินควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความอยากทานของหวาน

    2. กาแฟช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้อย่างดี แต่ไม่ได้หมายความว่าควรจะกินกาแฟเกินความต้องการของร่างกาย หากชอบจิบกาแฟแล้วไปออกกำลังกาย ต้องทิ้งระยะห่างอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง จะเกื้อกูลกันอย่างลงตัว

    3. การดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ในหลายตำราที่อ้างผลการวิจัยมักจะบอกเช่นนี้ สำหรับผู้ชายอาจลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ 20 % และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้หญิงลดลง 25% รวมทั้งลดความเสี่ยงของการป่วยโรคพาร์กินสันด้วย

    4. ยังพบว่า การดื่มกาแฟเป็นประจำมีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ลดลง 57% โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในกาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาโรคเกาต์โดยการลดระดับของอินซูลินและกรดยูริคในร่างกาย แม้ว่าจะเป็นโรคเกาต์อยู่ ก็จะช่วยบรรเทาอาการมิให้แย่ลง

    5. การกาแฟยังช่วยทำให้สมองปลอดโปร่ง เกิดความตื่นตัวไม่รู้สึกเครียดและลดภาวะซึมเศร้า ช่วยให้สมองได้คิดหาทางออกของปัญหา ไม่จมจ่อมกับการคิดซ้ำซากวกไปวนไปมา

    6. กาแฟที่ดีที่สุดคือการชงกาแฟดำดื่มโดยไม่มีส่วนผสมอื่น ทั้งครีม นมหรือน้ำตาล ถือว่าได้สัมผัสกับรสชาติกาแฟอย่างเต็มที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย แต่คนที่ยังชอบเติมนมและน้ำตาลลงไปจนเป็นกาแฟรสหวาน ก็จะไม่ได้สุขภาพที่ดีจากการดื่มกาแฟ ควรปรับลดน้ำตาลลงมาไม่เกินครึ่งช้อนชาต่อแก้ว เพราะในมื้ออาหารหรือของทานเล่นระหว่างวัน ก็มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว

    7. เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าการดื่มกาแฟให้ได้สุขภาพจะต้องทำตามกฎมากเกินไป หากจะดื่มกาแฟผสมเพื่อให้เป็นคุณต่อสุขภาพ อาจจะใช้นมถั่วเหลือง หรือนมสดแบบ 0% Fat ส่วนผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้เลี่ยงมาใช้น้ำตาลจากหญ้าหวานแทน ใส่เพียงนิดเดียวจะได้กาแฟที่กลมกล่อมขึ้น ยังมี “ซูคราโลส” ที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยเบาหวานเช่นกัน


    ตอบลบ
  4. ข้อดีของกาแฟ ได้รับการวิจัยไว้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ได้แก่


    1. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease; CVD) มีงานวิจัยยืนยันว่าการดื่มกาแฟดำในปริมาณที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังสามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงถึง 21%
    2. ฤทธิ์ต้านมะเร็ง กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด เช่น หากดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งตับได้ถึง 43% และลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ถึง 52%
    3. ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน การดื่มกาแฟมีความสัมพันธ์กับการลดภาวะดื้อต่ออินสุลิน (Insulin Resistance) การดื่มกาแฟ 1 แก้วต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานได้ 6% และมีส่วนช่วยในการลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จากความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ
    4. ช่วยลดโรคอ้วน กาแฟช่วยลดระดับฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่เกี่ยวข้องกับความหิว ช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย โดยคาเฟอีนช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ ได้ 29% และในคนอ้วนได้ 10%
    5. ลดความเสี่ยงของโรคทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน มีงานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการเกิดโรคที่เกี่ยวกับสมองได้
    6. เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย หากได้รับคาเฟอีน 3-6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ช่วยเพิ่มสมรรถนะและความทนทานในการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ได้



    ข้อเสียของกาแฟ อย่างไรก็ตามกาแฟก็มีข้อควรระมัดระวังหลายอย่าง เช่น

    1. ร่างกายคนเราตอบสนองต่อกาแฟแตกต่างกัน ความสามารถในการกำจัดคาเฟอีนได้เร็วหรือช้านั้นมีความแตกต่างกันขึ้นกับรหัสพันธุกรรม CYP1A2 และ AHR ผู้ที่กำจัดคาเฟอีนได้ช้าอาจเกิดผลข้างเคียงจากการดื่มกาแฟ เช่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย คลื่นไส้ ปวดหัว มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
    2. กาแฟไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟ ตั้งแต่ 2 แก้วขึ้นไป เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งได้ถึง 8% และหากเพิ่มเป็น 4-7 แก้วต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือภาวะตายคลอด (Stillbirth) มากขึ้นถึง 80%
    3. กาแฟเย็นมักมีพลังงานสูงมาก แม้ว่าภายในเมล็ดกาแฟจะมีสารต่าง ๆ ที่สามารถช่วยเรื่องโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้ แต่หากดื่มกาแฟที่เต็มไปด้วยน้ำตาลและครีม จะยิ่งซ้ำเติมให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น จากรายงานของกรมอนามัยพบว่ากาแฟใส่นมขนาด 20 ออนซ์ จะมีพลังงานมากกว่า 200 กิโลแคลอรี และน้ำตาลมากถึง 8-9 ช้อนชา จึงแนะนำให้ดื่มเป็นกาแฟดำไม่เติมน้ำตาล
    4. ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ ตามที่รู้กันว่าการดื่มกาแฟช่วยลดอาการง่วงนอน กระตุ้นให้สมองตื่น แต่การดื่มมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ร่างกายกำจัดคาเฟอีนได้ช้า ส่งผลให้นอนหลับไม่สนิทหรืออาจนอนไม่หลับเลยก็เป็นได้
    5. เพิ่มอาการทางจิตเวช แม้คาเฟอีนจะมีประโยชน์ช่วยเพิ่มความตื่นตัวและสมาธิให้ผู้ดื่มมากขึ้น แต่ควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีอาการตื่นตระหนกหรือโรคกลัวการเข้าสังคมอยู่เดิม เพราะการบริโภคคาเฟอีนมากเกินไปทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาการผิดปกติทางจิตเวชได้ เช่น ความรู้สึกวิตกกังวล กระวนกระวายใจ และอาการทางจิต

    ตอบลบ
  5. ข้อดี และข้อเสียจากการดื่มกาแฟ



    ประโยชน์ของการดื่มกาแฟ


    ข้อดีในการดื่มกาแฟ

    1. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน 60%
    เนื่องจากกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระและยังมีสารประกอบที่เรียกว่าควินิน (Quinines) ที่ช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น
    2. ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะความจำเสื่อม 65%
    จากการวิจัยพบว่ากาแฟมีส่วนช่วยในการชะลอภาวะความจำเสื่อมโดยไปหยุดยั้งหรือต้านการจับตัวของคอเรสเตอรอล (Cholesterol) ที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย
    3. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ 50%
    จากการศึกษาถึง 12 ปีกับผู้หญิงในญี่ปุ่นพบว่าคนที่ดื่มกาแฟ 3 แก้วหรือมากกว่าต่อวัน มีแนวโน้มในการลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
    4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นอัลไซเมอร์ (Alzheimer) 65%
    จากการศึกษากับคนวัยกลางคนในประเทศฟินแลนด์ จำนวน 1,400 พบว่าคนที่ดื่มกาแฟ 5 ถ้วยต่อวัน สามารถลดอัตราเสี่ยงของการเป็นอัลไซเมอร์ได้ถึง 65%
    5. ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคตับแข็ง 80%
    จากการศึกษากับผู้ดื่มกาแฟจำนวน 125,000 คน พบว่าการดื่มกาแฟ 1 แก้วต่อวัน ทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งลดลงถึง 20% ถ้าดื่ม 4 แก้วต่อวันก็จะลดอัตราเสี่ยงได้มากถึง 80%
    6. ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี 50%
    ผู้ชายที่ดื่มกาแฟอย่างน้อย 2 แก้วต่อวัน มีแนวโน้มในการลดอัตราเสี่ยงของการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี 40%
    และ 25% สำหรับผู้หญิงที่ดื่มกาแฟในปริมาณที่เท่ากัน
    และ 45% สำหรับคนที่ดื่มมากกว่า 4 แก้วต่อวัน
    7. ช่วยลดอาการปวดหัว บ่อยครั้งที่คาเฟอีน (Caffeine) ถูกใช้เป็นยาแก้ปวดหัวโดยเฉพาะอาการปวดหัวจากไมเกรน โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ถึง 40% นอกจากนี้ยาแก้ปวดหลายประเภทยังมีส่วนผสมคาเฟอีน (Caffeine) 65 mg เช่น Aspirin, Ibuprofen, Acetaminophen
    สำหรับผู้หญิง
    8. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจในผู้หญิง 25%
    งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยของสเปนพบว่า ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟ 2-3 แก้วต่อวัน มีอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มและมากกว่าผู้ชาย 25%
    9. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันในเส้นเลือดในผู้หญิง 43%
    จากการศึกษากับนางพยาบาล จำนวน 83,000 คนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ และดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันในเส้นเลือดได้ถึง 43%
    สำหรับผู้ชาย
    10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
    จากการศึกษากับผู้ชาย จำนวน 50,000 คน เป็นเวลา 20 ปี พบว่าคนที่ดื่มกาแฟ 6 แก้วต่อวันจะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มเลย
    อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเกินปริมาณที่เหมาะสมก็ย่อมส่งผลเสียแก่ร่างกายได้ โดยเฉพาะในกาแฟที่มักนิยมดื่มในลักษณะกาแฟเย็น ซึ่งต้องใส่ทั้งนมหรือครีม และน้ำตาล ทำให้มีปริมาณแคลอรี่เพิ่มขึ้นกว่าการดื่มแต่กาแฟเพียงอย่างเดียวมาก



    ตอบลบ
  6. (ต่อ) ... ข้อเสียของการดื่มกาแฟ

    1. ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
    จากการศึกษาวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นนานถึง 12 ชั่วโมง ดังนั้น กลุ่มคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจึงไม่ควรดื่มกาแฟขณะรู้สึกเครียดหรือมีแรงกดดันมากจากการทำงาน
    2. คาเฟอีนในกาแฟจะส่งผลกระทบต่อการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด
    เช่น แคลเซียม เหล็ก และสังกะสี ดังนั้น เด็กจึงไม่ควรดื่มกาแฟ
    3. กาแฟจะทำให้ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลในกระเพาะร้ายแรงขึ้น
    เนื่องจากกาแฟจะทำให้กระเพาะอาหารมีน้ำย่อยออกมามากขึ้น จนทำให้เป็นแผลมากขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารที่เป็นแผลในกระเพาะไม่ควรดื่มกาแฟมาก โดยเฉพาะในช่วงท้องว่าง
    4. กาแฟทำให้เกิดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
    เนื่องจากคาเฟอีนมีคุณประโยชน์ทำให้ขับปัสสาวะมากขึ้น แต่ถ้าดื่มกาแฟเป็นเวลานานจะทำให้สูญเสียแคลเซียมไปกับปัสสาวะมากจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงวัยทองไม่ควรดื่มกาแฟมากเกินควร
    5. หญิงตั้งครรภ์ถ้าดื่มกาแฟมากเกินไปจะทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์เจริญเติบโตไม่เป็นปกติ หรืออาจแท้งได้ เนื่องจากคาเฟอีนจะส่งผลต่ออวัยวะภายในของทารกที่ยังอ่อนแอ
    6. กาแฟมีผลต่อการดูดซึมวิตามิน B1 ซึ่งเป็นวิตามินที่รักษาความสมดุลและความมั่นคงของระบบประสาท ดังนั้น ผู้ที่ขาดวิตามิน B1 จึงไม่ควรดื่มกาแฟ
    7. คนเป็นโรคหัวใจไม่ควรดื่มกาแฟ เพราะคาเฟอีนมีบทบาทในการกระตุ้นหัวใจ ทำให้เลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าเป็นคนสูงอายุที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจดีเกินไป มีการทำงานของหัวใจที่หนักมากยิ่งขึ้น และทำให้หัวใจเสื่อมเร็วยิ่งขึ้นด้วย
    8. คาเฟอีนในกาแฟจะแทรกแซงการหลับด้วยคลื่นรบกวนช้าๆ แต่ว่าลึกๆ ซึ่งทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่
    9. ทำให้เกิดน้ำหนักเกินเนื่องจากน้ำตาล นม และครีมที่เติมเข้าไป นอกจากนี้การดื่มกาแฟยังมักนิยมรับประทานควบคู่กับขนม เช่น เค้ก หรือคุกกี้ต่างๆ จึงส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักได้ง่าย
    10. การดื่มในปริมาณมากทำให้เกิดอาการมือสั่น กระวนกระวาย โกรธง่ายและปวดศีรษะ มีผลต่อหัวใจและเส้นเลือด ทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวหรือบีบรัดมากขึ้น เกิดความเครียดได้ง่าย


    การดื่มกาแฟให้ได้ประโยชน์มากกว่าโทษ

    - ดื่มกาแฟเพียงวันละ 1-2 ถ้วย
    - ดื่มกาแฟดำ ไม่ใส่น้ำตาล
    - ใช้สารให้ความหวานแทนการใส่น้ำตาล
    - ใช้นมสดจืดแทนครีมเทียม
    - ดื่มกาแฟร้อนแทนกาแฟเย็น
    - ลดขนาดแก้วให้เล็กลง
    - ไม่เพิ่มวิปปิ้งครีม
    - งดกาแฟปั่น


    ตอบลบ
  7. ดื่มกาแฟอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ไม่เป็นโทษกับร่างกาย


    วิธีดื่ม “กาแฟ” อย่างไรให้ได้ประโยชน์ ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย คือ

    1. สังเกตอาการของตัวเองหลังดื่มกาแฟให้ดี เหมือนกับการดื่มแอลกอฮอล์ หากเรารู้อาการ และข้อจำกัดของตัวเอง เราสามารถดื่มกาแฟได้โดยที่เราไม่รู้สึกถึงฤทธิ์ของคาเฟอีนมากเกินไปจนทำให้ใจสั่น มือสั่น หรือนอนไม่หลับ ในแต่ละคนมีปริมาณที่ร่างกายทนต่อคาเฟอีนได้ปริมาณที่แตกต่างกัน รวมถึงชนิดกาแฟ ความเข้ม ความจางของกาแฟด้วย

    2. เลือกดื่มกาแฟดำ ไม่ใส่น้ำตาล คนส่วนใหญ่ที่ดื่มกาแฟแล้วน้ำหนักตัวเพิ่ม อาจเป็นเพราะน้ำตาลที่มากับกาแฟที่ หากติดกาแฟ และต้องการใช้ประโยชน์จากคาเฟอีน ควรเลือกกาแฟดำ หรืออเมริกาโน เพื่อให้ได้รสชาติและประโยชน์จากกาแฟ ไม่ใส่น้ำตาลและอื่นๆ เพิ่ม

    3. ไม่ดื่มกาแฟจนรบกวนการนอนหลับพักผ่อน ปัญหาใหญ่สำหรับคนที่ชอบดื่มกาแฟ คือการดื่มกาแฟในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือปริมาณมากเกิน เช่น ดื่มช่วงเย็นๆ ที่ทำให้ฤทธิ์ของคาเฟอีนเข้าไปรบกวนการนอนหลับ ทำให้นอนไม่หลับได้ ดังนั้นควรงดดื่มกาแฟในช่วงหลัง 4-6 โมงเย็นเป็นต้นไป และไม่ควรดื่มมากกว่าวันละ 3-4 แก้วต่อวัน

    4. ไม่ดื่มกาแฟขณะท้องว่าง การดื่มกาแฟในขณะที่ท้องว่าง อาจเข้าไปเร่งการหลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นหากดื่มกาแฟไปพร้อมๆ กับอาหารเช้า ก็จะช่วยป้องกันเรื่องนี้ได้

    5. ไม่ดื่มกาแฟทุกค่ำคืน หลายคนเลือกดื่มกาแฟทุกครั้งที่ต้องอยู่อ่านหนังสือหรือทำงานตอนกลางคืนเพื่อจะได้ไม่ง่วง แม้ว่าฤทธิ์ของคาเฟอีนจะช่วยให้สมองของตื่นตัวได้ชั่วคราว แต่ไม่ควรใช้วิธิการนี้ในการอดนอนตอนกลางคืนตลอดเวลา เพราะสมองยังคงต้องการการพักผ่อน

    6. กินแคลเซียมทดแทน ถ้าดื่มกาแฟเป็นประจำ ควรกินอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมให้มากขึ้น เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย คะน้า บรอกโคลี เป็นต้น เพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ และลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน หรืออาจปรับเปลี่ยนโดยการชงกาแฟใส่นมแทนครีมเทียม เป็นต้น

    7. กินผักผลไม้ให้มากขึ้น ในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟจะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น วิตามินซี อี และบีตาแคโรทีนในผักผลไม้ เช่น มะเขือเทศ แคร์ร็อต ผักใบเขียว ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน จะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ฉะนั้นจึงควรกินผักผลไม้อย่างเพียงพอทุกวัน

    8.ดื่มน้ำเปล่ามากๆ การดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของคาเฟอีน



    ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน


    ตอบลบ
  8. ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ : กาแฟเริ่มมีประโยชน์ตอนไหน ?

    เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมกาแฟถึงถูกเรียกว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (ย้ำอีกครั้งว่า ‘ในปริมาณที่พอดี’) เรามาย้อนประวัติศาสตร์กลับไปสักหน่อยว่า ก่อนหน้านี้กาแฟสร้างคุณประโยชน์อะไรให้กับมนุษยชาติกันแล้วบ้าง

    1500s : มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างมากมายเกี่ยวกับจุดกำเนิดของกาแฟ แต่หนึ่งในสตอรี่ที่ดังที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวของชาวเอธิโอเปียชื่อ Kaldi คนเลี้ยงแพะที่จู่ ๆ วันหนึ่ง ขณะกำลังปล่อยให้แพะกินอาหารปกติ เขาก็พบว่ามีแพะตัวหนึ่งที่กระปรี้กระเปร่ากว่าปกติ พร้อมกับปากของมันที่กำลัง งั่ม ๆ ใบอะไรสักอย่างสีเขียวมันวาว และมีผลเบอร์รี่สีแดงอยู่ในปาก และแน่นอน สิ่งนั้นคือ Cherry Coffee หรือ ‘ผลกาแฟ’ และนั่นคือจุดกำเนิดที่ทำให้มนุษย์พบว่ากาแฟทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นนั่นเอง

    1600s : ในช่วงศตวรรษที่ 16 วงการแพทย์ของประเทศอังกฤษกำลังเผชิญกับปัญหาใหญ่ของ ‘โรคพิษสุราเรื้อรัง (alcoholism)’ ผู้คนมากมายติดเหล้าจนเสียสุขภาพอย่างน่าใจหาย จนกระทั่งการมาถึงของกาแฟที่กลายเป็นกระแสเครื่องดื่มในเวลาต่อมา สิ่งนี้ล่ะคือยาดีที่รักษาโรคเมาหัวราน้ำจนหายขาด จนแพทย์ทั้งประเทศต่างยกย่องในสรรพคุณในตอนนั้น

    1700s : ปี 1730 ในกรุงลอนดอน เครื่องดื่มอย่างชาและ Tea Time ค่อย ๆ เป็นกระแสเข้ามาแทนที่กาแฟ จนกระทั่งในปี 1733 เหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญของประเทศอังกฤษอย่างการปฏิวัติ Boston Tea Party ได้สร้างความเสียหายต่อวงการน้ำชาในแง่ที่ว่า “ดื่มชาเท่ากับการไม่รักชาติ” ส่งผลให้กาแฟกลับมาบูมอีกครั้ง มีร้านกาแฟผุดขึ้นมากมายเต็มไปหมด และผู้คนพบว่าการดื่มกาแฟช่วยให้ทำงานได้นานขึ้นด้วย

    2007-2013 : ตั้งแต่ช่วงปี 1800s – 2000s กาแฟถูกมองว่าเป็นตัวร้ายในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแบบไม่มีข้อมูลอะไรรองรับซึ่งมีแต่โฆษณาชวนเชื่อและอุปทานหมู่เท่านั้น จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงต้นของปี 2010s ในช่วงเวลาที่ผู้คนเริ่มเอาข้อมูลและงานวิจัยมาวิเคราะห์จริงจัง ไม่ใช่แค่พบว่ากาแฟไม่ได้อันตรายอย่างที่คิด แต่ยังส่งผลในเชิงบวกขนาดว่าการดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดในสมองเลยด้วย

    2015 : การวิเคราะห์และทดสอบผลวิจัยแบบต่อเนื่องไม่หยุด ส่งผลให้ปี 2015 เป็นปีที่ยิ่งใหญ่สุด ๆ ของเจ้าเครื่องดื่มกาแฟ เพราะว่าอเมริกาได้ประกาศให้กาแฟเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ถ้าดื่มไม่เกิน 3-5 แก้วต่อวัน (หรือคาเฟอีนไม่เกิน 400 มิลลิกรัม)

    ตอบลบ
  9. เทคนิคดื่มกาแฟให้ได้ประโยชน์สูงสุด


    การดื่มกาแฟ ไม่เพียงแต่เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่สดชื่น แต่ยังช่วยเพิ่มประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจได้หากเราดื่มอย่างถูกวิธี มาดู 6 เทคนิคดื่มกาแฟให้ได้ประโยชน์สูงสุดกัน

    เลือกเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ : วัตถุดิบที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่งเสมอ ‘เมล็ดกาแฟ’ เองก็เช่นกัน การเลือกเมล็ดกาแฟที่ได้คุณภาพ คือการดูฉลากที่ซื้อผงกาแฟมาทุกครั้งว่ามีเครื่อหมาย อย. หรือเปล่า มีระบุชื่อผู้ผลิตหรือโรงคั่วอย่างชัดเจนมั้ย

    ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว ก่อนดื่มกาแฟ : เพราะว่าคาเฟอีนในกาแฟมีส่วนช่วยให้ร่างกายของเราขับปัสสาวะมากกว่าปกติ แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ ร่างกายของเรากลับปรับสภาพตัวเองให้สามารถรับมือกับคาเฟอีนโดยไม่ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ นั่นหมายความว่า ‘คุณจะดื่มน้ำน้อยโดยไม่รู้ตัว’ จึงอยากแนะนำว่าก่อนดื่มกาแฟควรจะเริ่มดื่มน้ำก่อนสัก 1 แก้ว และหลังจากเลิกดื่มกาแฟแล้วก็อย่าลืมหาน้ำเปล่าดื่มด้วย

    ดื่มกาแฟพร้อมกับทานอาหารที่ดี และอย่าดื่มตอนท้องว่าง : สิ่งที่ควรระวังที่สุดอีกอย่างคือ อย่าดื่มกาแฟขณะที่ท้องว่าง ไม่งั้นคาเฟอีนจะเข้าไปทำการเร่งการหลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอาหารจนเราปวดท้องได้ และหากเป็นคนดื่มกาแฟทุกวัน ก็ควรเติมแคลเซียมเข้าร่างกายให้มาก ๆ เพื่อทดแทนแคลเซียมที่เสียไปจากการปัสสาวะบ่อย และสุดท้ายคือควรกินผักผลไม้อยู่เสมอ เพราะกาแฟมีอนุมูลอิสระเยอะ ผลไม้อย่างมะเขือเทศ หรือแครอทมีวิตามินที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระได้

    เลือกดื่มกาแฟแบบไม่เติมน้ำตาล : พยายามอย่าเติมน้ำตาลในกาแฟเกินกว่าวันละ 6 ช้อนชา สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) แนะนำว่าเพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่มากับน้ำหวานอย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด วิธีการก็คือ ชงกาแฟ 1 ครั้ง อย่าใส่เกิน 1 ช้อนชาต่อแก้ว

    ตอบลบ
  10. 9 ประโยชน์ของการดื่มกาแฟ

    ประโยชน์ของกาแฟ นั้นมีมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะในเรื่องของการ ต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาของนักวิจัยจากศูนย์วิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ พบว่าเมล็ดกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อื่น นอกจากนี้ประโยชน์ของกาแฟ ยังช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่

    1. ช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ B
    2. ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ป้องกันโรคหัวใจ
    3. ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้เร็วขึ้น และมีสมาธิ
    4. ช่วยป้องกันโรคหอบ
    5. มีกรดอะซิติก ช่วยป้องกันโรคมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งช่องปาก
    6. ช่วยลดการเกิดโรคตับจากการดื่มสุรา
    7. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะจากการเมาสุรา
    8. การดื่มกาแฟหลังอาหารช่วยลดความอ้วนได้
    9. กาแฟเข้มข้นจะทำให้ออกไซด์แตกตัวช่วยชะลอความแก่

    ตอบลบ