Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567

16 ตุลาคม วันอาหารโลก World Food Day

 

16 ตุลาคม วันอาหารโลก World Food Day


16 ตุลาคม วันอาหารโลก

 อาหารเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยอาหารช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แต่ปัจจุบันพบว่ามีประชากรโลกประมาณ 870 ล้านคน หรือ 1 ใน 8 คนของประชากรโลก ที่ยังอดอยากหิวโหยอยู่ ดังนั้น วันอาหารโลก จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงปัญหาความอดอยาก และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร


           เพื่อให้เพื่อน ๆ เข้าใจถึงความสำคัญของวันอาหารโลก วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีประวัติความเป็นมาของวันอาหารโลกมาฝากกันค่ะ

ประวัติวันอาหารโลก


           วันอาหารโลก ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี ถูกกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ซึ่งแต่เดิมองค์การนี้เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานอาหารและสารอาหาร รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ อาหาร การเกษตร ป่าไม้ และประมง ให้ประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการเกษตร

           โดย FAO เกิดขึ้นมาจากปัญหาความอดอยากหิวโหยและขาดแคลนอาหาร ซึ่งเป็นผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประเทศต่าง ๆ 44 ประเทศ ร่วมกันจัดตั้งองค์การอาหารและเกษตร เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนการลงนามให้สัตยาบรรณในกฎบัตรสหประชาชาติ สำนักงานแรกตั้งอยู่ที่เมืองควิเบกซิตี รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา และปัจจุบันสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี

16 ตุลาคม วันอาหารโลก

           ภารกิจหลักของ FAO ประกอบด้วย การยกระดับโภชนาการและมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรโลก ปรับปรุงสมรรถนะการผลิตและการกระจายผลิตผลการเกษตร ป่าไม้ และการประมง ส่งเสริมการพัฒนาชนบท ปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท ซึ่งล้วนนำไปสู่การขจัดความหิวโหย

           โดยกิจกรรมที่นำไปสู่ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนในการเกษตร ปรับปรุงคุณภาพดิน และจัดการเกี่ยวกับแหล่งน้ำ เพิ่มพูนผลิตผลด้านการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ขจัดโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาการประมงน้ำจืดและน้ำเค็ม แสวงหาแหล่งพลังงานซึ่งใช้หมุนเวียนได้ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรป่าไม้โดยประหยัด และมีการปลูกป่าทดแทน นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านโภชนาการ การปฏิรูปการเกษตร วิศวกรรมการเกษตร การสื่อสารเพื่อพัฒนาการเกษตร การใช้ดาวเทียมเพื่อรวบรวมข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ และการป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย


           สำหรับวันอาหารโลกถูกกำหนดขึ้นโดยรัฐสมาชิกขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ในการประชุมทั่วไปครั้งที่ 20 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คณะผู้แทนฮังการี นำโดยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและอาหารของฮังการี ดร.พอล โรมานี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในสมัยการประชุมครั้งนั้น และได้เสนอแนวคิดในการเฉลิมฉลองวันอาหารโลกทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเร่งเร้าให้ประเทศต่าง ๆ มีจิตสำนึกเรื่องอาหารและการพัฒนา เสริมสร้างความสมานฉันท์ระดับชาติและนานาชาติในการต่อสู้กับความอดอยากหิวโหย ทุพโภชนาการและความยากจน ซึ่งในแต่ละปี FAO จะเป็นผู้กำหนดแนวคิดของการดำเนินกิจกรรมเนื่องในวันอาหารโลกในประเด็นต่าง ๆ กัน โดยให้วันอาหารโลกเกิดขึ้นวันแรกในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศแรก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสมาชิกกว่า 450 ประเทศ



นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา ได้มีการปรับใช้คำขวัญที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี เพื่อที่จะกำหนดขอบเขตสำหรับการดำเนินการและความเอาใจใส่ในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น

          และในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในวันอาหารโลก มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

           1. เพื่อเป็นการเร่งเร้าให้ประเทศต่าง ๆ มีจิตสำนึกเรื่องอาหารและการพัฒนา

           2. เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ระดับชาติและนานาชาติในการต่อสู้กับความอดอยากหิวโหย ทุพโภชนาการและความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาของโลก

          สำหรับประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 45 นับตั้งแต่ได้เข้าเป็นสมาชิกแล้ว ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเร่งฟื้นฟูการเกษตรของประเทศ ในระยะแรกมีโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก คือ โครงการประมงน้ำจืด ซึ่งทางองค์การได้ส่งนักวิชาการด้านประมงมาให้คำแนะนำแก่ชาวประมงไทยในการเลี้ยงปลาหมอเทศและการเพาะพันธุ์ปลาสวาย

          นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับความช่วยเหลือจากองค์การทางด้านการชลประทาน สหกรณ์ เศรษฐกิจการเกษตร ด้านสุขภาพอนามัยและโภชนาการ ตลอดจนสนับสนุนทุนการศึกษา ดูงานและฝึกอบรบอีกด้วย






16 ตุลาคม วันอาหารโลก  ,   World Food Day  ,  อาหาร  ,   Food

ขอบคุณข้อมูลจาก : it.doa.go.th

4 ความคิดเห็น:

  1. วันอาหารโลก (World Food Day)

    วันอาหารโลก ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการก่อตั้งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของอาหารให้แก่ประชาชน รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาในการจัดการและการกระจายอาหาร

    FAO มีวัตถุประสงค์ที่จะยกระดับโภชนาการทั่วโลก รวมถึงเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในทุกระดับ เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรในชนบท และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการเปลี่ยนนโยบายทางการเกษตร และช่วยเหลือทุกภูมิภาคจากสถานการณ์ความอดอยาก และผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงอำนวยความสะดวกในสภาวะที่เป็นกลาง เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการผลิตอาหาร


    จากบทบาทดังกล่าวทำให้ประเทศสมาชิกทั่วโลก ได้พร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เช่น การอภิปราย การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมอื่น ๆ ภายใต้หัวข้อที่กำหนดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญวันอาหารโลกในแต่ละปี ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในปีนี้วันอาหารโลกจะจัดขึ้นภายใต้แนวคิด สิ่งที่เราทำ คือ อนาคตของเรา # ความหิวโหยของโลกเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2030 (OUR ACTIONS ARE OUR FUTURE. A #ZERO HUNGER WORLD BY 2030 IS POSSIBLE) ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนและทุกที่ทั่วทุกมุมโลก มีการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการตามที่มนุษย์ต้องการ

    สำหรับประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ ฯ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 45 จากสมาชิกปัจจุบันทั้งสิ้น 190 ประเทศทั่วโลก นับตั้งแต่ได้เข้าเป็นสมาชิกแล้ว ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเร่งฟื้นฟูการเกษตรของประเทศ ในระยะแรกมีโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก คือ โครงการประมงน้ำจืด ซึ่งทางองค์การฯ ได้ส่งนักวิชาการด้านประมงมาให้คำแนะนำแก่ชาวประมงไทยในการเลี้ยงปลาหมอเทศ และการเพาะพันธุ์ปลาสวาย
    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    แหล่งที่มาข้อมูล : https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/6223



    ตอบลบ
  2. วันอาหารโลก (World Food Day)


    วันอาหารโลก ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการก่อตั้งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของอาหารให้แก่ประชาชน รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาในการจัดการและการกระจายอาหาร
    FAO มีวัตถุประสงค์ที่จะยกระดับโภชนาการทั่วโลก รวมถึงเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในทุกระดับ เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรในชนบท และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการเปลี่ยนนโยบายทางการเกษตร และช่วยเหลือทุกภูมิภาคจากสถานการณ์ความอดอยาก และผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงอำนวยความสะดวกในสภาวะที่เป็นกลาง เพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการผลิตอาหาร
    จากบทบาทดังกล่าวทำให้ประเทศสมาชิกทั่วโลก ได้พร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เช่น การอภิปราย การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมอื่น ๆ ภายใต้หัวข้อที่กำหนดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญวันอาหารโลกในแต่ละปี ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในปีนี้วันอาหารโลกจะจัดขึ้นภายใต้แนวคิด สิ่งที่เราทำ คือ อนาคตของเรา # ความหิวโหยของโลกเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2030 (OUR ACTIONS ARE OUR FUTURE. A #ZERO HUNGER WORLD BY 2030 IS POSSIBLE) ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนและทุกที่ทั่วทุกมุมโลก มีการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการตามที่มนุษย์ต้องการ
    สำหรับประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ ฯ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และเป็นสมาชิกลำดับที่ 45 จากสมาชิกปัจจุบันทั้งสิ้น 190 ประเทศทั่วโลก นับตั้งแต่ได้เข้าเป็นสมาชิกแล้ว ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเร่งฟื้นฟูการเกษตรของประเทศ ในระยะแรกมีโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก คือ โครงการประมงน้ำจืด ซึ่งทางองค์การฯ ได้ส่งนักวิชาการด้านประมงมาให้คำแนะนำแก่ชาวประมงไทยในการเลี้ยงปลาหมอเทศ และการเพาะพันธุ์ปลาสวาย

    https://arit.kpru.ac.th/?page_id=601&lang=TH

    ตอบลบ
  3. 16 ตุลาคม “วันอาหารโลก” ร่วมขจัดความอดอยาก เพราะทุกคนเป็นฮีโร่ได้

    16 ตุลาคมของทุกปี FAO กำหนดให้เป็น “วันอาหารโลก” ตระหนักถึงการแก้ปัญหาความอดอยาก หิวโหย ของผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก

    องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันก่อตั้ง FAO เป็น วันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขจัดความอดอยาก หิวโหย และทุพโภชนาการ ที่ผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ในโลกสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทมากขึ้น จึงมีโครงการที่ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยเพิ่มผลผลิตและเพาะปลูกในภาวะที่แห้งแล้ง

    แม้ว่าโลกของเราจะก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนมากที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยังมีผู้คนนับล้านทั่วโลกที่ไม่สามารถซื้ออาหารเพื่อสุขภาพได้ ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทุพโภชนาการแต่ ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับอุปทานเท่านั้น เพราะทุกวันนี้มีการผลิตอาหารเพียงพอที่จะเลี้ยงทุกคนบนโลกใบนี้


    ปัญหาคือการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งถูกขัดขวางมากขึ้นจากความท้าทายหลายอย่าง ทั้งการระบาดของโควิด-19, ความขัดแย้ง, สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง, ความเหลื่อมล้ำในสังคม, ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น และความตึงเครียดระหว่างประเทศ



    ทำให้ประชากรบนโลกกว่า 40% หรือมากกว่า 3.1พันล้านคน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท หรือผู้ที่ต้องพึ่งพาการเกษตรเป็นหลัก ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากนี้ด้วยชาติพันธุ์หรือสถานะทางสังคมของเขา การที่จะเขาถึงการเรียนรู้, การเงิน, นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ จึงกลายเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา

    ในปีนี้ FAO จึงเรียกร้องผ่านทวิตเตอร์ขององค์กรโดยติดแฮชแท็ก #FoodHeroes ส่งสาสน์ไปถึงทุกคนทั่วโลกว่า เราสามารถเป็น “ฮีโร่” ได้ด้วยการสร้างและทำให้โลกอยู่อย่างยั่งยืน เพราะการกระทำ การปฏิบัติต่ออาหารของเราทุกคนในวันนี้ มีผลกระทบกับอนาคตของเรา และทุกคนไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง

    โดยให้คำขวัญประจำปีนี้ว่า “Better production, Better nutrition, a better environment, and a better life” หรือ “กระบวนการผลิตที่ดีขึ้น โภชนาการที่ดีขึ้น สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” พร้อมรณรงค์ให้คนทั้งโลกร่วมกันช่วยแก้วิกฤตการเข้าถึงความมั่นคงทางอาหารผ่านการติดแฮชแท็ก #FoodHeroes



    ประวัติ “วันอาหารโลก”

    ที่มาของวันอาหารโลกเกิดขึ้นวันแรกในปี พ.ศ. 2524 รัฐสมาชิกขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในการประชุมทั่วไปครั้งที่ 20 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 คณะผู้แทนฮังการี นำโดยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและอาหารของฮังการี ดร.พอล โรมานี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในสมัยการประชุมครั้งนั้น ได้เสนอแนวคิดในการเฉลิมฉลองวันอาหารโลกทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งให้ประเทศต่าง ๆ มีจิตสำนึกเรื่องอาหารและการพัฒนา เสริมสร้างความสมานฉันท์ระดับชาติ และ นานาชาติในการต่อสู้กับความอดอยากหิวโหย

    ขอบคุณข้อมูลจาก : Food and Agriculture Organization of the United Nations

    ตอบลบ
  4. 16 ตุลาคม วันอาหารโลก World Food Day



    วันอาหารโลก (World Food Day) เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 75 ปี ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันก่อตั้งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) ซึ่งดำเนินการเพื่อให้ทุกคนเข้าใจความสำคัญของอาหาร และปัญหาความอดอยากของประชากรโลก เพื่อช่วยกันพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารอย่างยั่งยืน

    วันอาหารโลก 2023 เน้นแก้ปัญหาทรัพยากรน้ำ
    วันอาหารโลก (World Food Day) ก่อตั้งมาแล้วกว่า 75 ปี โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) ในปี 2023 นี้ เป็นปีที่นานาประเทศเน้นการจัดการทรัพยากรน้ำ เน้นการดูแลระบบทรัพยากรน้ำในห่วงโซ่อาหารให้ยั่งยืน เพื่อรักษาแหล่งน้ำจืดให้ยาวนานถึงอนาคต

    คําขวัญวันอาหารโลก 2023
    “Water is life, water is food. Leave no one behind.”


    วันอาหารโลก 2023 จัดกิจกรรมให้ประชากรโลกตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ

    น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทุกชีวิตบนโลก ในร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ผิวโลกของเราประกอบด้วยผืนน้ำกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ และมีเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำบริสุทธิ์สำหรับการดื่มกินและเพาะปลูก น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผลักดันเศรษฐกิจและผู้คน

    น้ำมีความสำคัญต่อกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ดังนั้นน้ำจึงเป็นทรัพยากรสำคัญที่ขาดไม่ได้ในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ การเติบโตของประชากรโลก ส่งผลต่อคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ เมื่อผิวโลกเปลี่ยนแปลงด้วยปรากฏการณ์โลกร้อน ก็ส่งผลต่อทรัพยากรน้ำที่มีจำกัด

    ปัจจุบันทรัพยากรน้ำจืดต่อมนุษย์หนึ่งคนลดลง 20% คุณภาพของน้ำกำลังเสื่อมลงอันเนื่องมาจากการจัดการที่ไม่เหมาะสมมาหลายทศวรรษ โดยเฉพาะในประเทศที่ยากจน ต้องใช้น้ำบาดาลที่เกิดการสั่งสมของมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพอุณหภูมิของโลกทำให้ทรัพยากรน้ำอยู่ในความเสี่ยงเข้าสู่จุดที่ไม่อาจจัดการได้

    ทุกวันนี้มีผู้คนอาศัยอยู่ในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรน้ำ 2.4 พันล้านคน ผู้ที่ต้องพบกับปัญหาการจัดสรรน้ำทุกวัน คือ กลุ่มเกษตรกร และชนพื้นเมืองลี้ภัย ที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด





    ผู้คนราว 600 ล้านคน พึ่งพาน้ำในระบบการผลิตอาหาร แหล่งน้ำบางส่วนกำลังได้รับผลกระทบจากมลภาวะ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ บางประเทศประสบปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืน รวมถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นจึงต้องดำเนินการจัดการให้ผู้คนทั่วโลกเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำของโลก

    ในวันอาหารโลกนี้ ประเทศสมาชิกกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันอาหารโลก ทั้งภาคธุรกิจ สื่อสารมวลชน สถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ถึงปัญหาความอดอยาก ป้องกันการเกิดภาวะขาดแคลนอาหารของประชากรโลกนี้

    เราสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวันอาหารโลกนี้ได้อย่างไร เราทุกคนควรส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนด้านอาหารในอนาคต ร่วมติดแฮชแท็ก #WorldFoodDay ในวันอาหารโลก เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณได้เป็นส่วนหนึ่งของวันอาหารโลกนี้ ด้วยการร่วมทำกิจกรรมที่ส่งเสริมโลกนี้อย่างยั่งยืน




    ที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1954234

    ตอบลบ