Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ชา สรรพคุณและประโยชน์ของชา ใบชา น้ำชา 36 ข้อ ! (Tea)

 ชา สรรพคุณและประโยชน์ของชา ใบชา น้ำชา 36 ข้อ ! (Tea) 




ชา 

ชา ชื่อสามัญ Tea, Thea ชา ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis (L.) Kuntze จัดอยู่ในวงศ์ชา (THEACEAE) 

สมุนไพรชา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เมี่ยง เมี่ยงป่า (ภาคเหนือ), ชา (ภาคกลาง), ลาบ่อ (อาข่า), นอมื่อ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), แต๊ (จีนแต้จิ๋ว), ฉา (จีนกลาง) เป็นต้น


ลักษณะของต้นชา 

สมุนไพรชา เป็นไม้ยืนต้นที่เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากเทือกเขาทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เนื่องจากมีหลักฐานการค้นพบต้นชาสายพันธุ์ดั้งเดิมหลายสายพันธุ์ที่เป็นพืชพื้นเมืองประจำถิ่นของมณฑลยูนนาน และภายหลังได้แพร่กระจายไปปลูกตามประเทศทางเอเชียตะวันออกรวมถึงญี่ปุ่น ในการเพาะปลูกมักตัดแต่งกิ่งให้เป็นพุ่มสูงประมาณ 0.6-1 เมตร ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการเก็บใบชา ส่วนการเก็บใบชามักจะเก็บแต่ใบอ่อน ๆ แรกผลิออกเป็น 3 ใบเท่านั้นชาเป็นพืชกึ่งร้อนที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตอบอุ่นและมีฝน ปลูกได้ดีที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200-2,000 เมตร โดยชาที่ผลิตทางการค้าส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์[4] ได้แก่ กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) และกลุ่มชาพันธุ์อัสสัม (Assam tea)

- กลุ่มชาพันธุ์จีน (Chinese Tea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. sinensis เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศไต้หวันและจีน นิยมปลูกกันมากเนื่องจากให้ผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ซึ่งการปลูกจะปลูกเป็นแถวแบบขั้นบันได มีการจัดการแปลงปลูกอยากเป็นระบบและตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอ

ต้นชา ชาสายพันธุ์จีนจัดเป็นพรรณไม้ขนาดย่อมจนถึงขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามกิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพันธุ์เดิมของประเทศจีน แต่ในบ้านเราก็มีปลูกมานานแล้ว เคยพบที่จังหวัดพะเยาแต่ไม่มากเท่าไหร่ แต่ก็มีปลูกกันบ้างประปรายทางภาคเหนือ




ใบชา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักเล็ก ๆ หรือเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและเหนียว เรียบเป็นมัน คล้ายใบข่อยแต่จะยาวและใหญ่กว่า เส้นใบเป็นตาข่าย ส่วนก้านใบสั้น




ดอกชา ออกดอกเป็นช่อหรือออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกส้มเขียวหวาน โดยดอกชาจะมีลักษณะใหญ่สีสวย ดอกเป็นสีขาวนวล และมีกลิ่นหอม ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 1-4 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอกจำนวนมาก



ผลชา เป็นผลแบบแคปซูล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออก ในหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-3 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน หรือค่อนข้างกลม ผิวเมล็ดเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำหรือสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-14 มิลลิเมตร



กลุ่มชาพันธุ์อัสสัม (Assam tea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis var. assamica มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ชาอัสสัม ชาป่า ชาพื้นเมือง ชาเมี่ยง เป็นต้น ชาชนิดนี้จะเป็นพันธุ์ชาที่ใบใหญ่กว่าชาพันธุ์จีน เจริญเติบโตได้ดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน


ต้นชา จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ ตามกิ่งอ่อนปกคลุมไปด้วยขนอ่อน ๆ มีความสูงของต้นประมาณ 6-18 เมตร มีขนาดใหญ่กว่าชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งที่มีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา



ใบชา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับและเวียน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด โดยมีหยักฟันเลื่อยประมาณ 9 หยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-16 เซนติเมตร หรืออาจพบใบมีที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ แผ่นใบเป็นสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ก้านใบและท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม



ดอกชา ดอกเจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง ในแต่ละตาจะประกอบไปด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งอยู่ด้านบนของตา ส่วนใหญ่ดอกออกติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ช่อละประมาณ 2-4 ดอกต่อตา ดอกมีกลีบเลี้ยงประมาณ 5-6 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะเป็นรูปทรงโค้งมนยาว ก้านดอกยาวประมาณ 10-12 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมีประมาณ 5-6 กลีบ โคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรเพศผู้ประกอบไปด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองติดอยู่ ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรเป็นสีขาว ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร เกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็นช่อง 1-3 ช่อง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3.65 เซนติเมตร



ผลชา ผลเป็นแบบแคปซูล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร เมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก ภายในมีเมล็ดลักษณะกลม ผิวเมล็ดเรียบแข็ง เป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง หรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11-12 มิลลิเมตร




ในเรื่องของกระบวนการผลิตชาจะเริ่มจากการเก็บใบชาสด แล้วนำมาเข้ากระบวนการที่ทำให้เกิดการหมักในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อจัดแบ่งประเภทชาตามระดับของการหมักแล้วจะสามารถแบ่งชาหลัก ๆ ออกได้เป็น 3-4 ประเภท คือ ชาขาว (White tea), ชาเขียว (Green tea), ชาอู่หลง (Oolong tea) และชาดำ (Black tea) โดยชาขาวและชาเขียวนั้นเป็นชาที่ไม่ผ่านการหมักเลย ส่วนชาอู่หลงเป็นชาที่ผ่านการหมักบางส่วน และชาดำเป็นชาที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์







1. ใบนำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน ช่วยกระตุ้นทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วงนอน ทำให้ตาสว่าง กระตุ้นให้หายเหนื่อย (ใบ)
2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ หน้ามืดตามัว (ใบ)
3.ใบชานำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำ ๆ ใช้อม จะช่วยทำให้คอชุ่ม แก้อาการกระหายน้ำได้ดีมาก (ใบ)
4. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ใบ)
5. ใบชามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ใบ)
6. รากชามีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น แก้โรคหัวใจบวมน้ำ (ราก)
7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
8. กิ่งและใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด (ใบ,กิ่ง)
9. ใบมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานใช้รักษาและลดอาการท้องร่วง (ใบ)
10. ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ)
11. ใบแห้ง ใช้ชงใส่น้ำตาล กินเป็นยารักษาอาการปวดท้อง (ใบ)
12.  รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
13. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ)
14. ช่วยขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
15. ช่วยแก้ตับอักเสบ (ราก)
16. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ (ใบ)  กิ่งและใบ นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการเป็นพิษของยาอันตรายที่เป็นอัลคาลอยด์ต่าง ๆ (กิ่งและใบ)
17. รากมีสรรพคุณช่วยต้านเชื้อ แก้ปากเป็นแผล (ราก)
18. กิ่งมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล (กิ่ง)
19. ใบใช้เป็นชะล้างแผล สมานแผล แก้บวม (ใบ)  
20. ราก เมล็ดและน้ำมันใช้เป็นยาภายนอก แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้แผลเปื่อย (ราก,เมล็ดและน้ำมัน)  กากใบชาใช้เป็นยาพอกแผล สำหรับแผลที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก (กากใบชา) ส่วนกิ่งและใบใช้ทำเป็นน้ำยาสมานของกรดแทนนิน ใส่แผลไหม้พอง (กิ่งและใบ)
21. ราก เมล็ดและน้ำมัน ใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน (ราก,เมล็ดและน้ำมัน)  ส่วนใบก็มีสรรพคุณรักษากลากเกลื้อนได้เช่นกัน 
22. ใบชามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี (ใบ)


หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [2] ในส่วนของใบให้ใช้ใบแห้งประมาณ 3-10 กรัม หรือกะเอาตามสมควร นำมาชงกับน้ำรับประทาน ส่วนรากให้ใช้รากแห้งประมาณ 30-50 กรัม[2] ส่วนอีกวิธีระบุให้ใช้ใบแห้งประมาณ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน 1-2 แก้ว ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที นำมาจิบบ่อย ๆ ดื่มต่างน้ำ






- สารที่พบได้แก่ Caffeine 1-4%, Barringtogenol, Gallotannic acid, Theophylline, Theobromine, Theasapogenol A, B, C, D, E, Theafolisaponin, Xanthine, Vitamin C และน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น[2] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า สารสำคัญที่พบในชา ได้แก่ acetaldehyde, acetamide, acetone, acetophenone, afzelechin, amyrin, apigenin, aromadendrin, benzaldehyde, benzolthiazole, brassinolide, butyroin, caffeine, camellia galactoglucanm camelliaside A, B, C, carvacrol, fluoride, linalool-β-D-glucopyranoside

ชามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดไขมัน กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยแก้อาการซึมเศร้า ป้องกันฟันผุ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
สาร Caffeine และสาร Theophylline มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว ทำให้หัวใจถูกกระตุ้นและมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นด้วย
เมื่อนำสารที่สกัดได้จากใบชามาทดลองกับหัวใจที่อยู่นอกร่างของกบ พบว่า มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจกบ และมีผลต่อการเต้นของหัวใจให้แรงขึ้น โดยเฉพาะในใบชาเขียว จะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

เนื่องจากใบชามีสาร Caffeine และสาร Theophylline รวมอยู่ด้วย โดยสารเหล่านี้มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของท่อดูดซึมน้ำในไต จึงมีประสิทธิภาพในการขับปัสสาวะได้มากขึ้น

คาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะอาหาร ทำให้หลั่งสารน้ำย่อยของกระเพาะมากขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นโคกระเพาะเป็นแผล จึงห้ามดื่มน้ำชา

จากการศึกษาฤทธิ์ของสาร Catechins ในหนูขาวเพศผู้อายุ 7 สัปดาห์ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมให้กินน้ำ และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ที่ให้กินสารละลาย catechins เข้มข้น 0.1% และ 0.5% ผสมในน้ำตามลำดับ หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ พบว่าน้ำหนักตัวของหนูขาวในกลุ่มทดลองลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และยังพบว่ากลุ่มทดลองที่กินสารละลาย catechins เข้มข้น 0.5% สามารถลดระดับไขมัน ระดับคอเลสเตอรอล และระดับไตรีกลีเซอไรด์ในเยื่อยึดลำไส้และตับได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมในซีรัม และลดระดับกรดน้ำดีในซีรัมด้วย จากการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าสาร catechins ในชาไม่เพียงแต่จะช่วยเผาผลาญไขมันได้ในคนอ้วนเท่านั้น แต่ยังได้ผลดีกับคนที่ไม่อ้วนอีกด้วย

เมื่อปี ค.ศ.2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองผลการลดไขมันในเลือดของชา โดยทำการทดลองกับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีไขมันในเลือดสูง แบ่งเป็นชาย 7 คน และหญิง 3 คน ทำการทดลองให้ชาผู้ป่วยดื่ม ในกลุ่มควบคุมให้ชาที่ free caffeine พบว่าหลังจาก 3 เดือนผ่านไป ผู้ป่วยที่ได้รับชา จะมีค่าคอเลสเตอรอลลดลง 6.5%, LDL-c 0.1%, lipoprotein 16.4% จึงสรุปได้ว่า ชาสามารถลดระดับไขมันในเลือดได้

เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศบราซิล ได้ทำการศึกษาทดลองในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูงจำนวน 100 คน แบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งให้ซุป (kinako) 50 กรัมต่อวัน กลุ่มที่สองให้ชาเขียว 3 กรัมต่อวัน กลุ่มที่สามให้ซุป (kinako) และน้ำชา ขนาด 50 กรัม และ 3 กรัมต่อวัน ส่วนกลุ่มที่สี่เป็นกลุ่มควบคุม โดยใช้เวลาทำการทดลอง 45 วัน และ 90 วัน ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่สองและสามที่ให้น้ำชา มีระดับคอเลสเตอรอลลดลง

เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองในคนที่มีไขมันในเลือดสูง จำนวน 47 คน โดยให้สารสกัดใบชาในรูปของยาเม็ด ขนาด 333 มิลลิกรัม ส่วนกลุ่มควบคุมให้ placebo ให้กิน 3 เวลาต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน ผลการทดลองพบว่าอาสาสมัครมีระดับคอเลสเตอรอลลดลง 4.32-0.14 mol/L P<0.01 ค่า LDL-c ลดลง 3.81-0.13 mol/L ค่าไตรกลีเซอไรด์ลดลง P<0.01 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองผลการลดไขมันในเลือดของ bleak tea ชาจีน ซึ่งสามารถลดระดับไขมันในเลือด หลังการให้สารละลายในหนูที่ให้ไขมันคอเลสเตอรอล 130 mg./kg. และให้ชาจีนขนาด 0.3 g./kg. หลังจากให้ชาแล้วพบว่า ค่า postprandial ของน้ำตาลในเลือดลดลง ระดับไขมันในเลือดลดลง แต่สำหรับชาเขียวที่ไม่ได้ผ่านการหมักบ่ม ไม่ได้ให้ผลดังกล่าว โดยใช้เวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ และพบว่าระดับไขมันในเลือดลดลง 1.36 mol/L P<0.05 และพบไขมันในไตลดลง 0.3% P<0.05 พบค่า LDL-c ลดลง 0.51 m mol/L , 0.1% P<0.05 ซึ่งค่าทางคลินิกดงกล่าวจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงต่อไป

เมื่อปี ค.ศ.2008 ที่ประเทศเกาหลี ได้ทำการศึกษาผลการลดไขมันในเลือดของใบชา ซึ่งมี GCG-Rich Tea Catechins เป็นสารสำคัญในใบชา โดยทำการทดลองกับหนูทดลองที่ให้อาหารและกระตุ้นให้มีไขมันในเลือดสูง ผลการทดลองพบว่า หลังจากให้สารสกัดจากใบชาในหนูทดลองดังกล่าว ระดับไขมันในเลือดของหนูจะลดลง

เมื่อปี ค.ศ.2009 ที่ประเทศจีน ได้ทำการศึกษาทดลองผลในการลดระดับไขมันในเลือดของ Kombucha tea ในหนูทดลอง โดยพบว่าใบชาดังกล่าวจะกระตุ้นการผลิต D-saceharic acid-1, 4-lactone และเพิ่ม antioxidant enzyme ทำให้สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของหนูได้ภายหลังการทดลอง

จากการทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดจากชาด้วยเอทานอลและน้ำ ในอัตราส่วน 1:1 ในขนาด 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้ทางปาก มีสารสกัด Sapponin เป็นสารพิษ เกิดความเป็นพิษผสม tannic acid จากชาปริมาณ 0.25-15.25% ในอาหาร ให้หนูขาวกินเป็นเวลา 80 สัปดาห์ จะทำลายลำไส้ ตับและไต ถ้าให้หนูขาว หนูตะเภากินสารสกัดจากชา ขนาดต่ำกว่า 5 กรัมต่อกิโลกรัม ครั้งเดียว หนูจะตายภายใน 14 วัน






1. ในช่วงที่อากาศร้อน ๆ การดื่มชาจะช่วยทำให้คุณรู้สึกสดชื่นขึ้นได้ เนื่องจากในใบชามีสารโพลีฟีนอล กรดอะมิโน และคาร์โบไฮเดรต เมื่อสารเหล่านี้เกิดปฏิกิริยากับน้ำลายจะช่วยกระจายความร้อนส่วนเกินในร่างกายได้

2. ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีธาตุอาหารอยู่หลายชนิดที่ช่วยบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพดี ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะใบชามีสารคาเฟอีนที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยหมุนเวียนโลหิต มีอิทธิพลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ภายในร่างกาย และยังมีการใช้ชาผสมกับยาแก้ปวด รักษาโรคไมเกรน เพื่อช่วยเพิ่มฤทธิ์ในการรักษาและทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานยิ่งขึ้น

3. การดื่มชาเป็นประจำจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงสดชื่น ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความชราและมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ

4. การดื่มชามีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ และช่วยสลายไขมัน ลดระดับคอเลสเตอรอล โดยไปเพิ่มการขับคอเลสเตอรอลในร่างกายผ่านทางน้ำดีในอุจจาระ

5. ในประเทศจีนรู้กันมานานแล้วว่า ชาจีนสามารถควบคุมการเกิดโรคอ้วนได้ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ต้านจุลชีพ ลดการอักเสบ สมานแผล ช่วยขับและล้างสารพิษในร่างกาย เนื่องจากใบชามีสารโฟลีฟีนอลที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้ ส่วนฤทธิ์ต้านการอักเสบเชื่อว่าชาสามารถช่วยป้องกันโรคที่ก่อการอักเสบเรื้อรังได้ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์

6. คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการดื่มชาสามารถช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร เพราะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเสริมสุขภาพ

7. ชามีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และการดื่มชายังช่วยรักษาอาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย

8. การดื่มชาแก่ ๆ สักถ้วย จะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และช่วยในการย่อยอาหารจำพวกวิตามินกลุ่มต่าง ๆ

9. ชายังมีสารไอโอดีน และฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ฟลูออไรด์ในจำนวนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจะช่วยป้องกันฟันผุและเสริมมวลกระดูกได้

10. ใบอ่อนมีรสฝาด หอม หวาน ใช้ยำกินได้อร่อยมาก

11. ใบอ่อนนำมาปรุงแต่งและอบกลิ่นเป็นใบชา ส่งไปขายเป็นสินค้าตามต่างประเทศ ในบ้านเราเรียกว่าต้นเมี่ยง ส่วนมากทางภาคเหนือรู้จักกันมานาน

12. กากเมล็ดมีสารซาโปนิน (Saponin) ที่มีคุณสมบัติช่วยล้างสิ่งต่าง ๆ ได้สะอาดดีมาก และยังใช้สระผมเพื่อล้างสิ่งสกปรกออกจากผล นอกจากนี้น้ำมันที่ติดกากเมล็ดยังช่วยทำให้เส้นผมชุ่มชื้นเป็นมันอีกด้วย

13. กากชามีประโยชน์ช่วยในการดูดกลิ่น ส่วนใบชายังใช้ใส่ลงในโลงศพ เพื่อดูดกลิ่นเหม็นจากศพได้ด้วย

14. ส่วนคนเมืองจะใช้ใบอ่อนหมักเป็นเมี่ยงขาย ส่วนยอดอ่อนเก็บเป็นผลผลิตไว้ขาย






- สำหรับบางคน การดื่มชาอาจจะไม่เหมาะสมและอาจทำให้เกิดโทษได้ ได้แก่ ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ กระเพาะเป็นแผล สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิด สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ที่มีไข้สูง ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ รวมไปถึงเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบก็ไม่ควรดื่มชา

ผู้ที่มีปัญหานอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับยาก หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ ไม่ควรดื่มชาก่อนเข้านอน เพราะคาเฟอีนที่มีอยู่ในชาจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน และลดความสามารถและระยะเวลาในการนอนหลับ

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มชา เพราะคาเฟอีนจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจได้ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

คาเฟอีนยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้อีกด้วย ดังนั้นชาจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

ส่วนผู้ที่มีไข้สูง สาเหตุที่ไม่ควรดื่มชาก็เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ยิ่งทำให้ตัวร้อนมากขึ้น และแทนนินยังทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาน้อยกว่าปกติ

คาเฟอีนมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้จึงไม่ควรดื่ม เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัด อาเจียนออกมาเป็นน้ำใส ๆ และไม่ควรดื่มชาเวลาท้องว่างในตอนเช้า เพราะจะทำให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ แต่ถ้าอยากดื่มชาในตอนเช้า ก็ควรหาอะไรกินรองท้องก่อน

ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ก็ไม่ควรดื่มชามากจนเกินไป เพราะร่างกายจะไม่สามารถขับน้ำออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ และทำให้ไตทำงานหนักขึ้น

ผู้ป่วยไทรอยด์ไม่ควรดื่มชา เพราะอาการกระสับกระส่ายจะยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีกเพราะฤทธิ์ของคาเฟอีน

สำหรับสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดไม่ควรดื่มชา โดยเฉพาะก่อนและหลังกินยาคุม 4 ชั่วโมง เพราะสารแทนนินจะทำให้สารต่าง ๆ ในยาคุมกำเนิดละลายตัวยากและดูดซึมได้น้อยลง

สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ควรดื่มชา สาเหตุก็เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้

แม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูก ก็ไม่ควรดื่มชา เพราะจะทำให้สารต่าง ๆ ในน้ำชาจะผ่านไปทางนมแม่ ทำให้ทารกขาดแร่ธาตุสำคัญ และยังทำให้ความสามารถในการขับน้ำนมของแม่ลดลงด้วย

เด็กเล็กก็ไม่ควรดื่มชา เพราะจะทำให้ร่างกายย่อยและดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ เป็นอุปสรรพคุณต่อการเจริญเติบโต

สารคาเฟอีนในชา มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทและมีผลเสพติดอ่อน ๆ ถ้าไม่ได้ดื่มแล้วอาจจะรู้สึกหงุดหงิดได้ และร่างกายไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกินวันละ 200 มิลลิกรัม (ประมาณ 4-5 ถ้วย) ผลของคาเฟอีนจะอยู่ได้ประมาณ 8-14 ชั่วโมง และร่างกายจะต้องใช้เวลามากกว่า 48 ชั่วโมงในการสลายคาเฟอีน ถ้าหากร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูงหรือประมาณ 3,000-10,000 มิลลิกรัม จะทำให้ตายได้ในเวลาอันสั้น

ใบชาที่มีคุณภาพต่ำจะมีกรดแทนนินอยู่มาก มีผลต่อกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ส่งผลให้ดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยอาการขาดธาตุเหล็กในเลือด และเมื่อแทนนินรวมกับโปรตีนจะทำให้ย่อยโปรตีนยากขึ้นด้วย

การดื่มชาที่เข้มข้นมาก ๆ จะมีผลทำให้กระเพาะอาหารดูดซับอาหารได้น้อยลง ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ซึ่งจะทำให้ท้องผูกได้ ยิ่งถ้าดื่มตอนท้องว่างติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ แต่ทางที่ดีควรจะดื่มชาหลังรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ใบชามีสารออกซาเลต (Oxalate) แม้จะมีอยู่น้อย แต่ถ้าดื่มมาก ๆ และดื่มเป็นประจำ สารนี้ก็อาจสะสมในร่างกายและเป็นอันตรายต่อไตได้

ใบชายังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีโทษต่อร่างกาย แต่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง นั่นก็คือฟลูออไรด์ที่มีในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดการสะสมและมีผลทำให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคข้อ โรคกระดูกพรุน และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกระดูกได้ แต่ถ้าดื่มไม่มากก็ไม่ต้องเป็นกังวล

ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา ไม่ว่าจะยาแผนโบราณหรือยาแผนปัจจุบัน เพราะสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจไปทำปฏิกิริยากับยาที่กินเข้าไป เช่น ทำให้คุณสมบัติของยาลดลง หรืออาจกลายเป็นพิษได้ แต่หากต้องดื่มชาในยามป่วยก็ควรต้องดื่มก่อนหรือหลังกินยาประมาณ 2 ชั่วโมง และให้ชงอ่อน ๆ เข้าไว้

ผู้ที่รับประทานวิตามินหรืออาหารเสริม เช่น เกลือแร่ ธาตุเหล็ก หรือยาที่คล้ายคลึงกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชาร่วมด้วย เพราะสารสำคัญจากใบชาจะไปตกตะกอนธาตุเหล็กหรือเกลือแร่ ทำให้ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

ในระหว่างที่กินยาบำรุงโลหิตก็ไม่ควรดื่มชา เพราะแทนนินจะไปทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารสำคัญในการช่วยบำรุงโลหิต ทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อย รวมไปถึงผู้ที่กินยาบำรุงต่าง ๆ เช่น โสม เขากวาง ก็ไม่ควรดื่มชาเช่นกัน เพราะมันจะไปหักฤทธิ์กัน

การดื่มชาไม่ควรดื่มชาในขณะที่ยังร้อนจัด เพราะความร้อนจะไปทำลายเนื้อเยื่อในช่องปากจนทำให้เกิดอันตรายในช่องปาก ลำคอ รวมถึงลำไส้ได้

ไม่ควรดื่มชาที่ชงค้างไว้นานหลายชั่วโมง เพราะจะมีกรดแทนนินสูง และสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจทำปฏิกิริยาจนกลายเป็นสารพิษได้




เคล็ดลับการชงชา 

- อุ่นกาใส่ชาให้ร้อนก่อนเสมอ : ขั้นตอนแรกของการที่จะทำให้สามารถดึงรสชาติของชาได้มากที่สุดก็คือ การใส่น้ำร้อนลงไป แล้ววนรอบในกา แล้วเททิ้ง เพื่อเป็นการวอร์มทำให้การ้อนก่อน สาเหตุก็เพราะใบชาต้องการความร้อน

-  ปริมาณต้องพอเหมาะ อุณหภูมิน้ำเดือดต้องพอดี : เมื่อพูดถึงวิธีการชงชาว่า นักชงชามักแนะนำว่าให้ใช้ชา 1 ช้อนสำหรับคนหนึ่งคน แล้วบวกเข้าไปอีก 1 เสมอ เมื่อชงแล้วหากว่ามีรสเข้มเกินไป คราวต่อไปก็ให้ลดจำนวนชาลง ทั้งนี้ความเข้มของชาจะขึ้นอยู่กับจำนวนชาและจำนวนน้ำเป็นหลัก สำหรับชาดำนั้นควรใช้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นั่นก็คือ อุณหภูมิน้ำเดือด เมื่อน้ำเดือดแล้วก็ให้ใส่น้ำร้อนเข้าไปในชาได้เลย และไม่ควรทิ้งน้ำให้เดือดนาน ๆ เพราะออกซิเจนในน้ำจะหายไป ทำให้รสชาติน้ำเปลี่ยน แต่ถ้าเป็นชาขาว ชาเขียว และชาอู่หลง ให้ใช้อุณหภูมิต่ำกว่าเล็กน้อย เมื่อน้ำเดือดแล้ว เราอาจจะต้องปิดไฟแล้วรอสัก 2-3 นาที เพื่อให้อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย เพราะชากลุ่มนี้เป็นชาที่ละเอียดอ่อนกว่า ถ้าใช้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสจะทำให้ชากลุ่มนี้ขมเกินไป

ชาแบบซองไม่ต้องแกว่ง แต่ให้ใช้เวลา : หลายคนนิยมนำชาที่เป็นซองมาชงดื่ม สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ หลายคนไม่ทราบว่าต้องทิ้งระยะไว้นานเท่าไหร่ หลาย ๆ คนคิดว่าเมื่อเทน้ำร้อนลงไป หลังจากผ่านไป 30 วินาที แล้วก็กระตุกถุงชา จะทำให้น้ำเริ่มเปลี่ยนสี แต่ความจริงแล้วมันเป็นวิธีที่ผิด สิ่งที่คุณเห็นในแก้วชา มันก็เป็นแค่น้ำที่มีสีเหมือนชาเท่านั้น แต่รสชาติยังไม่ใช่ชา เพราะแท้จริงแล้วการชงชาจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 นาที ถึงจะดึงรสชาติและคุณภาพจริง ๆ ออกมาได้ ข้อสำคัญอีกอย่างก็คือ ไม่ควรกระตุกซองชา แต่ควรปล่อยไว้นิ่ง ๆ อย่างนั้นแล้วรอจนกว่าจะครบ 3 นาที แล้วจึงค่อยนำถุงชาออกมา

คุณภาพของชา : เพื่อรักษาคุณภาพของชา ควรเก็บใบชาไว้ในภาชนะที่มีผาปิดสนิท และไม่วางรวมกับของที่มีกลิ่นแรง เพราะชามีสรรพคุณในการดูดซับกลิ่น

น้ำที่ใช้ชงชา : ไม่ใช้น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วหลายครั้งมาใช้ชงชา เพราะน้ำที่ต้มจะมีปริมาณออกซิเจนน้อย ทำให้น้ำมีรสชาติชืด นำมาชงชาไม่อร่อย

กาที่ใช้ชงชา : ควรล้างให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะหากกาชามีคราบฝังอยู่เนื่องจากล้างกาไม่สะอาด จะทำให้น้ำชาที่ได้มีรสชาติขมเกินไป ส่วนวิธีการล้างกาชงชาให้สะอาดก็ทำได้ไม่ยาก นั่นก็คือ ให้ใช้เบคกิ้งโซดา 2 ช้อนชา เทลงไปในกาที่มีน้ำเดือดอยู่ จากนั้นแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วล้างออกเบา ๆ อีกครั้ง จะทำให้คราบหลุดออกมาอย่างง่ายดาย

การเสิร์ฟชา : ก่อนเสิร์ฟชา ควรหมุนวนกาน้ำชาสักสามรอบก่อนนำมาเสิร์ฟ ที่สำคัญหลังชงชาเสร็จควรเสิร์ฟในทันที เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานเกิน 10 นาที จะทำให้รสชาติของชาเปลี่ยนไป

การดื่มชา : การดื่มชาเข้มข้นก่อนอาหารหรือหลังอาหารทันที จะทำให้กระเพาะลำไส้ดูดซึมอาหารได้น้อยลง ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการดื่มชาก็คือหลังอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง และไม่ควรดื่มชาที่ชงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง เพราะน้ำชาอาจบูด และทำให้สารต่าง ๆ ทำปฏิกิริยากัน ทำให้ชาเสื่อมคุณภาพ


 #ชา #สรรพคุณของชา #ประโยชน์ของชา #ใบชา #Tea #ข้อดีของการดื่มชา #ChineseTea #ThaiTea #BenefitsOfTea #Matcha #WhiteTea #GreenTea #OolongTea #BlackTea #Pu-erhTea #วันชาสากล #InternationalTeaDay 


 


ขอขอบคุณที่มา     ::     เว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

 ,   https://medthai.com/%e0%b8%8a%e0%b8%b2/ | Medthai   ,   



11 ความคิดเห็น:

  1. 9 คุณประโยชน์ของชาเขียว

    1. ชาเขียวลดน้ำหนักด้วยการเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย1
    ชาเขียวไม่ใส่น้ำตาล เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานต่ำ เหมาะสำหรับคนที่กำลังลดน้ำหนัก อุดมไปด้วยสารแคททิชิน (Catechin) ที่ช่วยเร่งอุณหภูมิในร่างกายให้สูงขึ้น และเมื่อทำงานร่วมกับคาเฟอีน ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพื้นฐานทั้งในขณะพักและขณะออกกำลังกาย จึงส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง โดยผลจากการศึกษาวิจัยในปี 2022 พบว่า การดื่มชาเขียวอย่างน้อยวันละ 4 แก้ว ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนลงพุงในผู้หญิงได้สูงถึง 44% 1

    2. ชาเขียวลดน้ำหนักด้วยการลดไขมันสะสม ลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล6
    ชาเขียวช่วยลดน้ำหนัก โดยการลดปริมาณไขมันที่จะไปสะสมในร่างกาย เนื่องจากมีสาร EGCG ที่เป็นสารกลุ่มโพลิฟีนอล (Polyphenols) โดยจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารประเภทไขมัน และยังยับยั้งเอนไซม์ LCAT ที่ทำให้คอเลสเตอรอลแตกตัวด้วยเช่นกัน จึงทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันชนิดไม่ดี (LDL) หรือคอเลสเตอรอลได้น้อยลง และสามารถกำจัดออกจากร่างกายได้ง่ายขึ้น

    3. ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์
    ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น สาร EGCG, แคททิชิน และธีอะฟลาวินส์ มีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำร้ายจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น แสงแดด มลภาวะ ความเครียด การอักเสบภายในร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ทำให้ผิวพรรณดูอ่อนเยาว์ สดใส และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด

    4. คุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
    สารแคททิชินในชาเขียว มีประโยชน์ในการป้องกันโรคเบาหวาน โดยจะช่วยกระตุ้นความไวของอินซูลิน ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งมีหน้าที่เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่เรากินเข้าไปให้กลายเป็นน้ำตาล และดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ไม่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

    5. ต่อต้านและยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
    ชาเขียวมีประโยชน์ต่อหัวใจ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียว มีบทบาทสำคัญที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาวกลุ่มนิวโทรฟิลล์เข้าสู่ผนังหลอดเลือด และยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ที่จะทำให้ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว รวมถึงยับยั้งการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งจะทำเกิดการอุดตันและนำไปสู่อาการหัวใจวายได้ โดยเมื่อปี 2006 ได้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่มีการติดตามผู้เข้าร่วมชาวญี่ปุ่นกว่า 40,000 คนเป็นเวลานานถึง 11 ปี พบว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวอย่างน้อย 5 แก้วต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง


    ตอบลบ
  2. ... ต่อ ...

    6. ควบคุมการทำงานของสมองและความดันโลหิต
    สาร EGCG ในชาเขียว ออกฤทธิ์ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือด จึงช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ซึ่งหากไขมันเหล่านี้สะสมมากขึ้น จะทำให้เลือดไหลเวียนได้ยาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดอุดตันตามมา อีกทั้งยังมีสารธีอะฟลาวินส์ และคาเฟอีน ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี รวมถึงกรดอะมิโนแอล-ธีอะนีน (L-theanine) ที่ช่วยควบคุมการทำงานของสมอง ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล และนอนหลับได้ดีขึ้น

    7. ป้องกันโรคอัลไซเมอร์
    ประโยชน์ของชาเขียว คือช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ เพราะมีสารแคททิชินที่ช่วยปกป้องเซลล์ประสาท ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อม และแอล-ธีอะนีน ที่ช่วยเพิ่มการผลิตสารสื่อประสาทกาบา (GABA) ทำหน้าที่รักษาสมดุลของสารเคมีในสมอง ช่วยเสริมสร้างสมาธิ การเรียนรู้ และการจดจำ นอกจากนี้คาเฟอีนในชาเขียว ยังช่วยให้สมองตื่นตัว และทำงานได้ดีขึ้นด้วย

    8. ป้องกันฟันผุ และโรคกระดูกพรุน
    สรรพคุณของชาเขียวอีกหนึ่งอย่างก็คือ เป็นฟลูออไรด์ธรรมชาติ ช่วยป้องกันฟันผุ มีผลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ยืนยันว่า สารแคททิชินในชาเขียว สามารถช่วยลดการเกิดคราบพลัค (Plaque) บนผิวฟัน รวมถึงยับยั้งการเจริญเติบโต และการสังเคราะห์กลูแคนของเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ4 นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก โดยพบว่าการดื่มชาเขียว 1-3 แก้วต่อวัน ช่วยลดโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยทองได้5

    9. ลดกลิ่นปาก และแบคทีเรียในช่องปาก
    ประโยชน์ของชาเขียว ไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันฟันผุเท่านั้น แต่สารโพลิฟีนอลยังช่วยกำจัดและยับยั้งการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก ทำให้ลมหายใจสดชื่น และช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ในช่องปากได้อีกด้วย

    สรุป
    ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ที่มีประโยชน์ต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ กระดูก ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อีกมากมาย โดยเฉพาะโรคที่เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตอย่าง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน

    อย่างไรก็ตามการดื่มชาเขียว ก็ควรจะอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะหากดื่มชาเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับจากฤทธิ์ของคาเฟอีนในชา เป็นต้น หรือเลือกบริโภคสารสกัดชาเขียวในรูปแบบของอาหารเสริมชนิดแคปซูล ที่จะทำให้ได้ประโยชน์จากชาเขียวในสัดส่วนที่พอเหมาะ และสะดวกกับการรับประทานเป็นประจำอีกด้วย


    ตอบลบ
  3. รู้จักสรรพคุณและประโยชน์ที่จะได้รับจากการดื่ม 'ชาอู่หลง'

    “ชาอู่หลง” ไม่ว่าจะดื่มแบบบริสุทธิ์หรือผสมผสานกับชาดำและชาเขียวก็สามารถสร้างประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน อย่างเช่นชาอู่หลงช่วยลดน้ำหนักและช่วยลดความเครียดได้ วันนี้โว้กบิวตี้จึงจะพาไปรู้จักกับสรรพคุณต่างๆ ของชาอู่หลงว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง พร้อมหาคำตอบว่าทำไมถึงควรดื่มชาอู่หลงไปพร้อมกันในบทความนี้



    ชาอู่หลง คืออะไร
    ชาอู่หลง (Oolong Tea) เป็นชาจีนแบบดั้งเดิมทำมาจากใบของต้น Camellia Sinensis ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชาเขียวและชาดำ แต่การผลิตใบชาอู่หลงจะต้องผ่านกระบวนการที่แตกต่างกัน กระบวนการนี้เรียกว่าออกซิเดชั่น คือให้ใบชาสัมผัสกับอากาศ เกิดเป็นปฏิกิริยาเคมีที่มีส่วนทำให้เกิดสีและรสชาติของชาประเภทต่างๆ โดยกระบวนการการผลิตของการทำชาอู่หลงจะต้องนำยอดใบชามาผึ่งแดดจนเหี่ยว ทำให้อุณหภูมิของใบชานั้นสูงขึ้นจนเกิดกลิ่นหอมแล้วจึงนำไปผึ่งในที่ร่มอีกครั้ง พร้อมกระตุ้นให้ยอดชาตื่นตัว เร่งการหมัก และจึงนำยอดชาที่หมักนั้นมาทำให้แห้ง



    สารอาหารในชาอู่หลง
    ชาอู่หลงมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่นเดียวกับชาดำและชาเขียว โดยชาอู่หลง 1 ถ้วย ประกอบด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมในปริมาณเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีคาเฟอีนประมาณ 38 มก. ในการเปรียบเทียบชาเขียว 1 ถ้วยมีคาเฟอีนประมาณ 29 มก. ทั้งนี้ในชาอู่หลงยังมีสารต้านอนุมูลอิสระหลักบางชนิด ได้แก่ ธีอะฟลาวิน, ทีรูบิกินส์ และ EGCG สิ่งเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมถึงชาอู่หลงยังมีแอล-ธีอะนีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีผลในเชิงบวกส่งผลให้รู้สึกผ่อนคลายและเพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้




    ประโยชน์ต่อสุขภาพของชาอู่หลง

    ชาอู่หลงมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด รวมทั้งที่พบในชาเขียวและชาดำ โดยสารต้านอนุมูลอิสระคือสารอาหารที่ปกป้องเซลล์ของเราจากความเสียหายที่เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็จะก่อให้เกิดโรคเรื้อรังมากมาย แสดงให้เห็นว่าสารอาหารในชาอู่หลงมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในระดับสูง รวมไปถึงสารอาหารต่างๆ ซึ่งมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายมากมาย ดังต่อไปนี้



    1. ชาอู่หลงอาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้
    ชาอู่หลงช่วยป้องกันโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โดยอาจลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายใช้น้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี รวมถึงช่วยลดการอักเสบอีกด้วย การดื่มชาอู่หลงเป็นประจำจะช่วยจัดการระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 และภาวะสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคอ้วน



    2. ชาอู่หลงอาจช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น
    การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากชาอู่หลงเป็นประจำจะช่วยทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น จากการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับผู้ที่ดื่มชาอู่หลงเป็นประจำแสดงให้เห็นว่าความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลลดลง ตลอดจนลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องจำไว้คือชาอู่หลงมีคาเฟอีน ซึ่งอาจทำให้ความดันโลหิตหรือความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อยในบางคน แต่อย่างไรก็ตามยังไม่ผลงานวิจัยที่รองรับผลเสียนี้อย่างแน่ชัด



    3. ชาอู่หลงมีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้

    การบริโภคชาและการลดน้ำหนักนั้นมีความเชื่อมโยงกัน ด้วยการลดไขมันในร่างกาย ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ และลดความเสี่ยงของโรคอ้วน ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์เมื่อเร็วๆ นี้พบว่าสารสกัดจากชาอู่หลงช่วยช่วยเพิ่มปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน ซึ่งหมายความว่าช่วยลดไขมันในร่างกายโดยตรงนั่นเอง อย่างไรก็ตามวิธีลดน้ำหนักที่เห็นผลควรควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และให้การดื่มชาอู่หลงเป็นเพียงส่วนเสริม



    วิธีการดื่มชาอู่หลง

    นักวิจัยพบว่าชาอู่หลงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเมื่อแช่ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 3 นาที สามารถดื่มได้ทั้งแบบอุ่นๆ หรือเสิร์ฟแบบเย็นด้วยการชงด้วยน้ำร้อนก่อนแล้วจึงปล่อยให้เย็น โดยวิธีการชงชาให้เริ่มจากใช้ใบชาประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ใส่ในน้ำร้อน และแช่ชาทิ้งไว้ 3 นาที เท่านี้ก็สามารถดื่มชาได้เลย ทั้งนี้หากแช่ใบชาไว้ก็ควรนำใบชาออกภายใน 10 นาที เพื่อเป็นการรักษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ



    ชาอู่หลงอาจไม่เป็นที่รู้จักหรือเป็นที่นิยมเท่าชาเขียวหรือชาดำทว่าก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพไม่แพ้กัน โดยมีสรรพคุณที่ดีและก่อประโยชน์ต่อร่างกายหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ลดความเสี่ยงเบาหวาน และช่วยเสริมเรื่องการลดน้ำหนักอีกด้วย นอกจากนี้ในชาอู่หลงยังมีคาเฟอีนต่อถ้วยที่น้อยกว่ากาแฟ จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับผู้ที่มีความไวต่อคาเฟอีน



    ข้อมูล : Healthline, Webmd

    ตอบลบ
  4. ชาขาว (White Tea) คืออะไร ?

    ชาขาว (White Tea) เป็นชาที่มีความละเอียดอ่อนในขั้นตอนการผลิตมากที่สุด ต้องเก็บเกี่ยวยอดอ่อนใบชาซึ่งอยู่บริเวณยอดสุดเพียงใบเดียว นับว่าเป็นใบชาที่อายุยังน้อย อีกทั้งยังมีลักษณะเด่น คือ ใบชาจะเรียกว่า “ตูมชาขาว” คือใบชาที่ยังไม่บานออกรับแสงแดด และปกคลุมไปด้วยเส้นขนอ่อน ๆ สีขาวประกายเงิน ยิ่งถูกปกคลุมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งหมายถึงคุณภาพของชาขาวที่ดีขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ชาขาว” นั่นเอง

    นอกจากนี้ ยังต้องใช้ชาในปริมาณที่มากกว่าชาชนิดอื่นในการชงชาแต่ละแก้ว ใช้เวลาในการชงประมาณ 5 – 7 นาที ซึ่งนับว่าเป็นเวลาที่มากกว่าการชงชาชนิดอื่น รสชาติของชาที่ได้จะมีความนุ่มนวลกลมกล่อมและชุ่มคอ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ไม่มีรสฝาดขมเหมือนชาเขียวหรือชาดำ และสีของน้ำชาจะเป็นสีเหลืองทองอำพัน



    กรรมวิธีการผลิตชาขาวต่างจากชาชนิดอื่นอย่างไรบ้าง ?
    กระบวนการในการผลิตชาขาวนั้น นับว่าละเอียดอ่อนในขั้นตอนการผลิตมากกว่าชาชนิดอื่น ๆ สามารถเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ผลิ คัดเลือกเฉพาะยอดอ่อนส่วนเดียวเท่านั้น และนำมาผ่านกระบวนการทำให้แห้งโดยธรรมชาติ ด้วยการอาศัยลม แสงแดด และความร้อน ไม่ผ่านกระบวนการหมักบ่ม ทำให้ยังคงปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระและคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้มาก ต่างกับชาเขียว ซึ่งเป็นใบชาที่ได้จากการเก็บยอดอ่อน ใบอ่อนใบแรกหรือใบที่สองถัดลงมา



    ประเภทของชาขาว มีอะไรบ้าง ?
    ชาขาว เป็นชาที่มีสารโพลีฟีนอลประเภท EGCG สูง ทำให้เป็นชาที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากกว่าชาประเภทอื่น จึงนิยมนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และสุขภาพ สามารถช่วยในเรื่องการต่อต้านโรคเรื้อรัง ต้านสารก่อมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้

    ต่อต้านสารก่อมะเร็ง

    ปริมาณของสารคาเทชิน และสารโพลีฟีนอล พบได้มากในชาขาว เป็นสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีสารฟลาโวนอยด์ที่ทำหน้าที่ต้านมะเร็ง ซึ่งเดิมทีสารดังกล่าวได้มีการอ้างอิงคุณสมบัติของชาเขียวในเรื่องการต้านมะเร็งมาแล้ว ชาขาวจึงเรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ดีกว่า เพราะมีสาร EGCG ที่มากกว่า นอกจากนี้ ชาขาวยังช่วยให้แบคทีเรียในลำไส้ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

    ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

    จากข้อมูลการศึกษาของ Internal Medicine and Public Health ประเทศอิตาลี พบว่า การให้สัตว์ทดลองได้รับสารฟลาโวนอยด์เป็นประจำ สามารถชะลอการเกิดไขมันสะสมที่หลอดเลือดแดงได้ โดยเฉพาะสาร EGCG ในชา สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ดี โดยฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มไนตริกออกไซด์ในปฏิกิริยา Superoxide Production (ROS) และช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงด้วยการยับยั้ง angiotensis-I converting enzyme (ACE)

    นอกจากนี้ สารโพลีฟีนอลสามารถช่วยลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันเลว (LDL) ช่วยลดการดูดซึมคอเรสเตอรอลเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ทำให้ปริมาณของ very low-density lipoprotein (VLDL), LDL และไตรกลีเซอไรด์ลดลง และช่วยเพิ่มปริมาณของไขมันดี (HDL) ในกระแสเลือด

    ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

    สารโพลีฟีนอล สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยการยับยั้งการทำงานของอะไมเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยแป้งให้เปลี่ยนเป็นน้ำตาล ทำให้แป้งถูกย่อยช้าลง การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดจึงเป็นไปอย่างช้าๆ อีกทั้งยังส่งผลให้การทำงานของ glucose transpoter ในลำไส้ลดลงและอัตราการดูดซึมกลูโคสเข้าสู่ร่างกายลดลงด้วย

    ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอล

    สารคาเทชิน และสารคาเฟอีนในชาขาว ช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึมทำงานได้ดีขึ้น ส่งผลให้เผาผลาญพลังงานได้มาก ไม่มีอันตรายต่อการเต้นของหัวใจ และยังลดปริมาณการสร้างเซลล์ไขมัน ช่วยทำลายไขมันในเซลล์ไขมันได้

    เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน

    สารโพลีฟีนอลในชาขาว ช่วยพัฒนากระบวนการล้างสารพิษออกจากร่างกาย ป้องกันไม่ให้เซลล์ของร่างกายเสื่อมสภาพและถูกทำลายก่อนวัยอันควร

    ชะลอวัยต้านความแก่

    ชาขาวมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ทำให้ช่วยชะลอความแก่ได้ดี สารที่สกัดจากชาขาวจะช่วยปกป้องการทำงานของเอนไซม์ที่ทำลายอีลาสตินและคอลลาเจน ซึ่งทำให้เกิดริ้วรอยและรอยเหี่ยวย่น อีกทั้งสารสกัดจากชาขาวจะเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ผิวหนัง ช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นมากขึ้น



    ตอบลบ
  5. ... ต่อ ...

    สารสำคัญจากชาขาว
    ชาขาว ประกอบไปด้วยสารชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ อัลคาลอยด์ กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย อีกทั้งกระบวนการผลิตที่มีเพียงเล็กน้อย ทำให้ชาขาวยังคงสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้ได้มากกว่าชาชนิดอื่น ๆ

    สารโพลีฟีนอล

    เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง จำพวกสารคาเทซิน มีคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกายคือ ต้านมะเร็ง ลดระดับของคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลายชนิด จึงป้องกันฟันผุได้ อีกทั้งการบริโภคชาขาวยังทำให้ได้รับปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าการบริโภคผักและผลไม้อีกด้วย

    สารคาเทชิน

    ประกอบไปด้วยสารโพลีฟีนอลหลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้มากที่สุดคือ EGCG เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินเอและวิตามินซีถึง 100 เท่า ทำให้มีคุณสมบัติในการยับยั้งสารก่อมะเร็งได้ดี เพราะทำปฏิกิริยาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมันเลว (LDL) ได้อีกด้วย

    สารฟลาโวนอยด์

    เมื่อเทียบกับชาชนิดอื่นแล้ว ชาขาวมีปริมาณของสารฟลาโวนอยด์มากที่สุดถึง 14.2 – 21.4 เท่า ซึ่งสารตัวนี้มีประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการถูกทำลายของเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกายจากอนุมูลอิสระ

    สารคาเฟอีน

    ชาขาวมีปริมาณคาเฟอีนที่น้อยกว่าชาชนิดอื่น ๆ มีปริมาณ 15 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของชา ซึ่งน้อยกว่าชาเขียวซึ่งมีปริมาณคาเฟอีน 20 มิลลิกรัม และชาดำที่มีปริมาณคาเฟอีน 40 มิลลิกรัม นับว่าไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหากไม่บริโภคมากจนเกินไป อีกทั้งยังมีปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าชาชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะชาเขียวมากถึง 3 เท่า และอุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินอี ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณได้ดีอีกด้วย

    กรดอะมิโนไทอามีน

    เป็นสารที่พบได้ตามธรรมชาติ ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายโดยที่ไม่ทำให้ง่วง

    ตอบลบ
  6. ดื่มชาในประวัติศาสตร์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดื่มชา เอิร์ลเกรย์

    เอิร์ลเกรย์เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มชาที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ได้รับการยกย่องว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพตั้งแต่หัวใจไปจนถึงสุขภาพทางเดินอาหาร มีเอกลักษณ์คือการผสมผสานของชาดำและ มะกรูด และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าหลงไหล เป็นจุดตัดระหว่างตะวันออกไกลและจักวรรดิตะวันตก ถึงแม้ใครจะรู้จักกับชาเอิร์ลเกรย์ว่าเป็นชาจากประเทศอังกฤษ แต่แท้จริงแล้วนั้นต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ที่ใช้เวลาสร้างสมผสมชานานนับหลายปี โดยใช้ส่วนผสมตั้งแต่ผลของลิ้นจี่ไปจนถึงดอกมะลิและดอกคาโมไมล์ เพื่อสร้างรสชาติชาของชาจีนรสชาติใหม่ แต่หลังจากปีที่ 1830 ก็ได้ถือกำเนิดชาที่ถูกตั้งชื่อตามนายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น และความนิยมในการดื่มชาก็ถูกสืบทอดมาเรื่อยๆ และได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างมากในราชวงศ์อังกฤษ โดยเฉพาะกับควีนเอลิซาเบธที่ 2 ที่ยกให้ชา เอิร์ลเกรย์ เป็นเคล็ดลับอายุยืนเกือบศตวรรษของพระองค์ พระองค์เปิดเผยว่าในทุกเช้าพระองค์จะต้องเสวยชาอย่างน้อย 1 แก้วต่อวัน เพราะชาเอิร์ลเกรย์ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องดื่มแต่ ชาเอิร์ลเกรย์ สรรพคุณ ของมันเป็นประโยชน์ต่อพระวรกายของพระองค์อีกด้วยอีก

    เคล็ดลับสุขภาพดีกับการดื่มชา เอิร์ลเกรย์ ชาดำใส่มะกรูด
    1. ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

    ผลไม้รสเปรี้ยวเป็นส่วนประกอบสำคัญในการต่อสู้กับโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ มะกรูดก็ไม่ต่างกัน ชาเอิร์ลเกรย์จึงเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในช่วงฤดูหนาวจัด เพราะชาดำใส่มะกรูดร้อนๆ จะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและต่อสู้กับโรคหวัดเนื่องจากขาดวิตามินซี

    2. ปกป้องสุขภาพช่องปาก

    นอกจากจะเสริมภูมิคุ้มกัน ยังป้องกันฟันจากกาารติดเชื้อในช่องปากและฟันผุได้อีกด้วย เพราะชาเอิร์ลเกรย์มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า “คาเทชิน” และ “ฟลูออไรด์” สารประกอบเหล่านี้มักถูกนำไปใช้ในยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อปกป้องฟันผุและการเสื่อมสภาพของฟัน

    3. ชาดีท็อกซ์

    ชาเอิร์ลเกรย์เป็นชาดีท็อกซ์ที่มีพลังต้านอนุมูลอิสระที่จะเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับร่างกาย อนุมูลอิสระเกิดจากอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่ ตลอดจนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษ ชาเอิร์ลเกรย์จะเป็นตัวช่วยล้างพิษในร่างกายหรือดีท็อกซ์อนุมูลอิสระเหล่านี้ออกไป

    4. ช่วยเพิ่มพลังงาน

    เนื่องจากชาเอิร์ลเกรย์ส่วนใหญ่ทำจากชาดำ จึงทำให้ชามีคาเฟอีนในปริมาณปานกลางที่สามารถช่วยเพิ่มพลังงานในตอนเช้าที่ละเอียดอ่อนและคงที่มากกว่าพลังงานที่ได้จากกาแฟ และปริมาณคาเฟอีนที่ต่ำ มันเพียงพอที่จะไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นหรือทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวายใจ

    วิธีทำชา เอิร์ลเกรย์ ชาในประวัติศาสตร์และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
    ชาดำใส่มะกรูดไม่เคยถูกจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงทำให้วิธีการในการผลิตและรสชาติของชาขึ้นอยู่กับบริษัทหรือสถานที่ที่ผลิต ชาดำใส่มะกรูดมีหลากหลายเวอร์ชัน มีตั้งแต่แคลิฟอร์เนียไปจนถึงที่ราบสูงไอริชและหุบเขาในฝรั่งเศส หลายบริษัทในต่างประเทศต่างใช้ใบชาผสมกับมะกรูดด้วยตัวเอง และประเภทของใบชากับมะกรูดที่ใช้ ตลอดจนปริมาณทำให้ผู้ผลิตมีรสชาติชาเอิร์ลเกรย์ของตัวเองที่แตกต่างกันไป ใบชาดำส่วนใหญ่ที่หลายบริษัทเลือกใช้อาจจะเป็นใบชาดำดั้งเดิม อย่างใบชาอินเดียอัสสัมและใบชาจาร์จีลิง หรือผสมใบชาจากแอฟริกาหรือจีน หรืออาจะเลือกใช้ใบชาดำที่หลากหลายจากทั่วมุมโลก ซึ่งนอกจากการเลือกใบชาดำที่ส่งผลต่อรสชาติแล้ว กระบวนการการทำให้แห้งของใบชานั้นก็ยังส่งผลต่อรสชาติของชาเอิร์ลเกรย์อีกด้วย ใบชาดำบางใบผ่านกระบวนการคั่ว ในขณะที่ใบชาดำบางใบผ่านกระบวนการนึ่ง และโดยส่วนใหญ่แล้วชาจะได้รับการปรุงแต่งหลังจากกระบวนการทำให้แห้งเสร็จสิ้น ซึ่งการการปรุงแต่งรสชาติจะจำแนกออกได้ 2 แบบ หนึ่งคือ ใบชาที่ถูกฉีดพ่นหรือเคลือบด้วยน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดหรือสารสกัดเพื่อเพิ่มรสชาติ สองคือ การเพิ่มเปลือกมะกรูดแห้งลงไปในใบชาแห้ง เพื่อแช่น้ำ

    ตอบลบ
  7. ... ต่อ ...

    ชิมรสชาติชาสุดคลาสสิคกับไซรัปมิกซ์โซโลจี้ สโมกกี้ เอิร์ลเกรย์
    ชาสุดคลาสสิคที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานเป็นชาปรุงรสที่มีส่วนประกอบของใบชาแท้ที่ผสมกับผลไม้ ดอกไม้ สมุนไพรหรือเครื่องเทศ พร้อมกับมะกรูด เปลือกของมะกรูดจะถูกนำมาตากแห้งและเติมลงไปในชาดำเพื่อให้ได้รสชาติและกลิ่นความคลาสิคของชาเอิร์ลเกรย์ ความคลาสสิคของชาดำนี้จึงมีรสชาติหอมชาดำและมีกลิ่นมะกรูดตบท้ายเบาๆ เรียกได้ว่า เป็นการผสมผสานของรสชาติที่ตัดกันอย่างลงตัวและทำให้เป็นเครื่องดื่มประเภทชาที่มีความโดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน ซึ่งคุณสามารถชิมรสชาติของชาดำใส่มะกรูดนี้โดยไม่ต้องผ่านวิธีการในการชงให้วุ่นวาย ไม่ต้องแช่ใบชาลงในน้ำ และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับรสชาติที่ไม่แน่นอนจากการปรุงรสชาติด้วยตัวเอง เพราะคุณสามารถชิมรสชาติชาเอิร์ลเกรย์ ชาในประวัติศาสตร์และเป็นเคล็ดลับอายุยืนเกือบศตวรรษของควีนเอลิซาเบธที่ 2 ได้ด้วย ไซรัปเอิร์ลเกรย์ โพนามา ไซรัปคุณภาพพรีเมี่ยมนำเข้าจากเกาหลี ไซรัปเอิร์ลเกรย์เป็นอีกระดับของไซรัปชาดำ ให้รสชาติเข้มข้นแบบนุ่มนวลที่แน่นอน เพิ่มความหอมและมิติของรสชาติด้วยการรมควันด้วยมะกรูดแบบอ่อนๆ ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการชงชาก็สามารถชงเครื่องดื่มออกมาได้รสชาติอย่างมืออาชีพ เหมาะกับนำไปใส่ในเมนูกาแฟ นม ค็อกเทลและม็อกเทล หรือคุณจะนำไปสร้างสรรค์เมนู เพื่อความแปลกใหม่ให้กับรสชาติของเครื่องดื่มในร้านของคุณได้

    ตอบลบ
  8. ประโยชน์ชาอัสสัม "ชาน่าน"



    เจาะประโยชน์ชาอัสสัม "ชาน่าน" สรรพคุณใบชาไทยชั้นดีจากไร่ออร์แกนิค


    ชาอัสสัมคือชาอะไรกันนะ เคยได้ยินแต่ชาดำ ชาแดง ชาเขียว ชาอู่หลง วันนี้พันธุ์ไทยจะมาไขข้อสงสัย “ชาอัสสัม” รวมไปถึงเจาะลึกประโยชน์ของชาอัสสัม หรือ “ชาน่าน” สรรพคุณที่มากล้นแบบที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน อีกทั้งยังขนขบวนเมนูชาอัสสัมของพันธุ์ไทย ผลผลิตที่ปลูกโดยเกษตรกรไทยในจังหวัดน่าน



    ความเป็นมาของชาอัสสัมหรือชาน่าน


    ชาอัสสัมเป็นชาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยต้นชาสายพันธุ์อัสสัม (Camellia Sinensis var assamica) เป็นพืชที่ปลูกในรัฐอัสสัม ของประเทศอินเดีย ซึ่งชาอัสสัมจะต้องปลูกในพื้นที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล และเหมาะกับการปลูกในภูมิประเทศเขตร้อน ส่งผลให้ชาอัสสัมมีรสชาติเข้มข้น และชามีสีสว่างสดใส ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ชาอัสสัมเป็นที่รู้จักจากทั่วโลกนั่นเอง



    article2-2-farm-(1).jpg



    ประวัติการปลูกชาอัสสัมในภาคเหนือของไทย


    หลายคนอาจไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วการปลูกชาในไทยเป็นที่นิยมพอๆ กับการปลูกเมล็ดกาแฟบนดอย เกริ่นก่อนว่าการปลูกชาจะสามารถเพาะปลูกได้ดีในภูมิประเทศเขตอบอุ่นและมีฝน จึงนิยมปลูกอยู่ในแถบเอเชียได้แก่ จีน อินเดีย และศรีลังกา และสามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 – 2,000 เมตร สำหรับการปลูกชาในประเทศไทย จะนิยมปลูกในภาคเหนือ โดยปลูกมากที่สุดในจังหวัดเชียงราย รองลงมา ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเมื่อก่อน ประเทศไทยมีการปลูกชาสายพันธุ์จีนมาก่อน แต่ปัจจุบันการปลูกชาสายพันธุ์อัสสัมในไทยมีมากกว่าการปลูกชาสายพันธุ์จีนเสียอีก โดยตั้งแต่ปี 2558 ผลผลิตชาอัสสัมของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2562 ไทยสามารถผลิตชาอัสสัมได้มากกว่าร้อยละ 90 ของชาทั้งหมด



    ตำนานของชาอัสสัม จ.น่าน ที่สืบทอดมากว่า 100 ปี


    ชาอัสสัมหรือชาน่านมีต้นกำเนิดมาจากแถบประเทศอินเดีย โดยได้รับการนำเข้ามาปลูกในจังหวัดน่านเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



    ตำนานกล่าวว่าในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขุนนางชาวน่านได้เดินทางไปราชการที่จังหวัดเชียงรายและสังเกตเห็นต้นชากำลังออกดอกบานสะพรั่ง จึงนำส่วนหนึ่งของต้นติดตัวกลับมาปลูกที่จังหวัดน่าน แรกเริ่มอาจปลูกเป็นพืชสวนครัวเพื่อรับประทานหรือใช้ประโยชน์เบื้องต้น



    หลังจากนั้นชาอัสสัมก็เริ่มแพร่หลายและได้รับความนิยมจากชาวน่านในการปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย แข็งแรงทนทาน รวมถึงมีประโยชน์ด้านสมุนไพร ชาวน่านจึงนิยมปลูกชาอัสสัมไว้รอบบริเวณบ้านเรือน



    ต่อมาเมื่อมีการส่งเสริมการปลูกชาอัสสัมในวงกว้าง จึงค่อยๆ ขยายเป็นแปลงปลูกใหญ่และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับชาวน่าน จนทำให้จังหวัดน่านกลายเป็นแหล่งผลิตชาอัสสัมที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า "ชาน่าน" นั่นเอง


    ตอบลบ
  9. ... ต่อ ...

    คุณสมบัติโดดเด่นของใบชาอัสสัม


    ลักษณะทางกายภาพ รสชาติ และกลิ่นของใบชาน่าน


    1. ลักษณะทางกายภาพ


    ใบ: ใบมีสีเขียวเข้มคล้ำ รูปทรงใบค่อนข้างใหญ่และกว้าง มีรอยหยักลึกรอบขอบใบ


    ลำต้น: หากโตเต็มวัย ต้นใหญ่จะสูงประมาณ 6-18 เมตร เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน


    ดอก: ดอกจะออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2-4 ดอก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5-6 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดที่ไม่เท่ากัน มีรูปทรงที่โค้งมนยาว


    เมล็ด: ค่อนข้างกลม ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลเข้มเกือบดำ


    ผล: มีลักษณะเหมือนแคปซูล เมื่อผลแก่เปลือกจะแตกออก


    2. รสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์


    ใบชาน่านจะมีรสฉุนเฝื่อนและมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย


    มีกลิ่นหอมกรุ่นเฉพาะตัว ค่อนข้างจะเข้มข้นและติดจมูก


    รสชาติของชาเมื่อต้มแล้วจะค่อนข้างเข้มข้นและมีความหนักแน่น


    3. ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


    ชาน่านที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นการปลูกแบบออร์แกนิค ปราศจากสารเคมี


    กระบวนการปลูก การเก็บเกี่ยว และแปรรูปยังคงใช้วิธีการแบบดั้งเดิมที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ


    6 เรื่อง ‘ที่สุด’ ของ ‘ชาอัสสัมพันธุ์ไทย’ จากน่าน


    6 เรื่อง ที่สุดของชาอัสสัมพันธุ์ไทย



    พันธุ์ไทยชวนลิ้มลอง ‘ชาอัสสัมพันธุ์ไทย’ จากน่าน ที่ปลูกโดยเกษตรกรไทยจังหวัดน่าน มีคุณสมบัติอันโดดเด่น ทั้งในเชิงกายภาพ รวมไปถึงรสชาติและกลิ่นของใบชา ชาดำสายพันธุ์อัสสัมที่ปลูกบนพื้นที่สูงในป่ากลางหุบเขาอันอุดมสมบูรณ์ และที่สำคัญเราเก็บเพียง 5 ใบแรกของยอดชาเท่านั้น ทำให้ได้ชาที่มีกลิ่นหอมชาคั่วและรสชาติที่เข้มข้นถึงใจ ยอดใบชาถูกส่งตรงถึงโรงงานแปรรูปที่อยู่ใกล้แหล่งปลูกแห่งเดียวในจังหวัดน่าน พิถีพิถันในการชงสดทุกแก้ว พิถีพิถันในการชงสดทุกแก้ว ทำให้ชาทุกแก้วของพันธุ์ไทยอุดมไปด้วยคุณภาพของใบชาที่ยอดเยี่ยมและไม่เหมือนใคร



    1. ที่สุดของสายพันธุ์ชา
    พันธุ์ไทยคัดสรรชาพรีเมียม สายพันธุ์อัสสัมมาอย่างตั้งใจ โดยเกษตรกรไทยในจังหวัดน่าน



    2. ที่สุดของแหล่งปลูก
    แหล่งปลูกที่อยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ของจังหวัดน่าน ทำให้ชาอัสสัมพันธุ์ไทยมีคุณลักษณะที่พิเศษกว่าใคร


    3. ที่สุดของใบชา
    เก็บเพียง 5 ใบแรกของยอดชาเท่านั้น เพื่อเป็นที่สุดของรสชาติและความเข้มข้น



    4. ที่สุดของความสดใหม่
    โรงงานแปรรูปที่อยู่ใกล้แหล่งปลูก จึงทำให้คงคุณภาพความสดใหม่ของใบชาได้อย่างดีเยี่ยม



    5. ที่สุดของความพิถีพิถัน
    ชาน่านของพันธุ์ไทยใส่ใจในทุกๆ แก้ว ด้วยการชงสด เพื่อดึงกลิ่นที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ในแบบของชาคั่ว



    6. ที่สุดของความหลากหลาย




    ตอบลบ
  10. 6 เมนู 6 คาแร็คเตอร์ของชาน่าน ที่รับรองว่า ไม่มีคำว่าซ้ำ! สร้างความไม่จำเจให้คุณได้ทุกวัน



    1. ชาอัสสัมเบอร์รี่: หอม หวาน สดชื่นแบบเบอร์รี้เบอร์รี่



    2. ชาอัสสัมยูซุ: เปรี้ยวจี๊ดโดนใจ หลงรักส้มยูซุเข้าเต็มเปา



    3. ชาอัสสัมพีช: ความหวามอมเปรี้ยวของพีช เข้ากันสุดๆ กับความเข้มของชาน่าน



    4. ชาอัสสัมบ๊วยมะนาว: ความเค็มของบ๊วย ตัดกับความเปรี้ยวของมะนาว กระชุ่มกระชวย ปลุกความสดชื่นได้ดี



    5. ชาอัสสัมออริจินัลร้อน: ชาอัสสัมเพียวๆ ไม่มีอะไรผสม ได้รสสัมผัสของชาเข้มเต็มรสชา



    6. ชาอัสสัมน้ำผึ้งมะนาวร้อน: ชาอัสสัมร้อนๆ กับน้ำผึ้งมะนาว ชุ่มคอ เติมความเปรี้ยวหวานให้ชีวิต




    ตอบลบ
  11. ประโยชน์ทางสุขภาพของชาอัสสัม สรรพคุณอันล้ำค่า

    พอเราได้รู้ถึงที่มาของชาน่าน ชาอัสสัมพันธุ์ไทยอันมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งในเรื่องของคุณภาพ ความสดใหม่ และความพิถีพิถันของเมนูชาอัสสัมของพันธุ์ไทยแล้ว วันนี้เราจะมาลิสต์สรรพคุณของชาอัสสัม ที่ไม่ได้มีดีแค่รสชาติ แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

    1. ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด


    งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า การดื่มชาอัสสัมบางชนิดอาจช่วยปกป้องผิวหนังจากรังสียูวีที่เป็นอันตราย โดยการลดอาการอักเสบจากแสงแดดเผาและความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ สารประกอบฟีนอลิกที่พบในชาอัสสัมยังอาจช่วยรักษาความยืดหยุ่นและชะลอวัยของผิวพรรณ ยิ่งไปกว่านั้น คาเฟอีนและแทนนินในชาอัสสัมมีสรรพคุณช่วยกระชับรูขุมขน ลดอาการบวมและทำให้ผิวพรรณกระจ่างใส



    2. ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์


    งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของชาอัสสัมในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ในการทดลองได้แสดงให้เห็นว่าสารประกอบที่พบในชาดำเช่น ชาอัสสัมสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางชนิดที่เกี่ยวข้องกับโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาพบว่าชาดำยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ เบต้าสีครีเตส ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้าอะมีลอยด์บีต้า ซึ่งบ่งชี้ว่าการบริโภคอาจช่วยชะลอความก้าวหน้าของโรคอัลไซเมอร์ได้



    3. ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร


    งานวิจัยเบื้องต้นได้กล่าวว่าประโยชน์ของชาอัสสัมอาจช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหาร สารประกอบโพลีฟีนอลในชาดำอาจทำงานคล้ายกับพรีไบโอติกในทางเดินอาหารของคุณ ซึ่งพรีไบโอติกทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่การย่อยอาหารที่ดีขึ้น



    4. ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ


    งานวิจัยจำนวนมากได้ชี้ให้เห็นสรรพคุณของชาอัสสัม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ การทดลองพบว่า ผู้ที่ดื่มชาดำ 3 แก้วต่อวันมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจน้อยกว่า เนื่องจากในชาอัสสัมมีสารฟลาโวนอยด์ที่สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สารเหล่านี้พบว่าช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจโดยการลดการจับตัวเป็นก้อนของเลือด ลดการอักเสบ และปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือด ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ



    5. ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพของฟันและช่องปากแข็งแรง


    ใบชาอัสสัมมีสารประกอบธรรมชาติที่เรียกว่าสารประกอบโพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สารเหล่านี้สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ลดความเสี่ยงของฟันผุและโรคเหงือกได้ นอกจากนี้ งานวิจัยบางชิ้นพบว่า ปริมาณฟลูออไรด์ในชาประเภทนี้อาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฟันและช่วยป้องกันฟันผุได้อีกด้วย



    6. ช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือด


    งานวิจัยหลายงานพบว่าสารประกอบโพลีฟีนอลในชาอัสสัมมีสรรพคุณสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ สารเหล่านี้เชื่อว่าจะยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากทางเดินอาหาร และช่วยขับคอเลสเตอรอลออกจากร่างกาย



    7. ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต


    ชาอัสสัมมีสรรพคุณช่วยควบคุมระดับความดันของโลหิต งานวิจัยได้เสนอว่าสารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในชาดำ รวมทั้งชาอัสสัม อาจนำไปสู่การควบคุมความดันโลหิตที่ดีขึ้น สารฟลาโวนอยด์เหล่านี้อาจปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่นและการขยายตัวที่พึงประสงค์ ซึ่งช่วยคงรักษาระดับความดันโลหิตในระดับปกติได้



    8. ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง


    ในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพของชาอัสสัมที่มีสรรพคุณในการลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด การศึกษาพบว่าสารประกอบโพลีฟีนอลในชาดำอาจยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และเป็นไปได้ที่จะทำลายเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ชาอัสสัมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในเรื่องของการปกป้องจากความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระอิสระอีกด้วย ชาอัสสัม ชาคุณภาพ ที่มีสรรพคุณอันแสนจะล้ำค่า รู้แบบนี้แล้ว ถามตัวเองว่าเคยลองดื่มชาอัสสัมกันแล้วหรือยัง? แต่ถ้ายัง จะรออะไรล่ะ ขอแนะนำมาลองชาอัสสัมพันธุ์ไทยน่านได้ที่ร้านพันธุ์ไทยทุกสาขา หรือเดลิเวอรีบริการจัดส่งถึงบ้านเลย สำหรับใครที่ไม่ใช่สายชา เรายังมีเมนูกาแฟและเมนูพันธุ์ไทยยอดนิยมอื่นๆ อีกเพียบ!

    ตอบลบ