Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ท้องนอกมดลูก (ECTOPIC PREGNANCY)

     ท้องนอกมดลูก (ECTOPIC PREGNANCY)




คือการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นภายนอกโพรงมดลูก มักพบว่าเกิดขึ้นได้บ่อยที่บริเวณท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่ง อาจพบได้ใน บริเวณอื่นๆ ที่พบรองลงมา คือ ที่รังไข่ หรือที่อยู่นอกระบบสืบพันธุ์ เช่นในช่องท้องหรือ ที่บริเวณปากมดลูกเป็นต้น



สาเหตุ



ไข่ที่ตกจากรังไข่ได้รับการปฏิสนธิและเกิดการฝังตัวขึ้นภายนอกโพรงมดลูก โดยส่วนมากพบที่ท่อนำไข่ เมื่อตัวอ่อนมีการเจริญเติบโตและมีขนาดใหญ่ขึ้น ท่อนำไข่ไม่สามารถขยายตามได้ จึงทำให้ท่อนำไข่แตกออก มีการตกเลือดในช่องท้อง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้



ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อ



  1. มีการใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิด ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
  2. เคยมีการติดเชื้อในช่องท้องหรือในอุ้งเชิงกรานมาก่อน
  3. มีพังผืดเกิดขึ้นจากการที่เคยได้รับการผ่าตัดในอดีต
  4. เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน
  5. เคยได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับท่อนำไข่หรือมดลูก
  6. มีประวัติว่าเป็น endometriosis
  7. มีความผิดปกติของมดลูก



การวิจฉัยอาการและอาการแสดงที่พบบ่อยในระยะเริ่มแรก



  1. ประจำเดือนขาดหาย
  2. มีเลือดออกกะปริดกะปรอย หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดที่หาสาเหตุไม่ได้
  3. มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย



ในระยะที่มีภาวะแทรกซ้อน



  1. ปวดท้องรุนแรงอย่างฉับพลัน ที่มีสาเหตุมาจากมีการแตกออกของท่อนำไข่
  2. เวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ และ ช็อค ( ซีด หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดตก เหงื่อออก ตัวเย็น ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดตามหลังอาการปวดก็ได้



การคาดหวังผลการรักษา



การตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถดำเนินไปได้จนกระทั่งครบกำหนด หรือได้ทารกที่มีชีวิตรอด การแตกออกของท่อนำไข่เป็นกรณีฉุกเฉิน ที่จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร่งด่วน การช่วยเหลือจะได้ผลดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรก และการผ่าตัด การตั้งครรภ์ภายหลังจากนั้นสามารถเกิดขึ้นเป็นปกติได้ ประมาณ 50-85%



การรักษา



  1. ในการรักษาภายหลังการวินิจฉัยอาจเป็นโดยการผ่าตัดผ่านกล้อง laparoscopy หรือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง exploratory laparotomy
  2. การผ่าตัดจะนำส่วนของตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต รก และเนื้อเยื่ออื่นๆและบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ส่วนท่อนำไข่นั้นหากไม่สามารถต่อหรือซ่อมแซมได้ก็จะถูกตัดออกมาด้วย การตั้งครรภ์ในอนาคตจะต้องใช้ท่อนำไข่เพียงข้างเดียว



การใช้ยา



  1. จ่ายยาปฏิชิวนะให้กับผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  2. โดยทั่วไปแพทย์มักจะจ่ายยาระงับอาการปวดให้ในระยะ 7 วันแรกของการผ่าตัด
  3. ในบางรายอาจมีการให้ธาตุเหล็กเสริมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง



การทำกิจกรรมต่างๆ



  1. ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้เร็วเท่าที่ร่างกายจะสามารถทำได้ ความรวดเร็วของการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดด้วยว่าเป็น การผ่าตัดผ่านกล้อง laparoscopyหรือ ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง exploratory laparotomy
  2. การมีเพศสัมพันธ์สามารถทำได้หลังจากที่แพทย์ได้ทำการตรวจว่าเป็นปกติดีแล้ว



ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัด



    • เลือดออกมากผิดปกติจนชุ่มผ้าอนามัย ต้องเปลี่ยนทุกชั่วโมง
    • มีอาการแสดงว่าติดเชื้อเช่น รู้สึกไม่สบาย มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือเวียนศีรษะ
    • ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน อาจแสดงถึงกระเพาะปัสสาวะมีการระคายเคืองหรือติดเชื้อซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัด




























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น