Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

สัญชาติอังกฤษ

สัญชาติอังกฤษ




จากข้อมูลของวิกิพีเดีย สหราชอาณาจักรอังกฤษมีกฎหมายสัญชาติที่ซับซ้อน เนื่องจากเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมมาก่อน

ในขั้นพื้นฐาน กฎหมายระบุว่า เด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษหลังวันที่ 1 มกราคม 2526 (ค.ศ.1983) โดยมีบิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดเป็นคนอังกฤษ หรือตั้งรกรากอยู่ในประเทศอังกฤษ จะได้รับสัญชาติอังกฤษโดยอัตโนมัติ

การตั้งรกรากในอังกฤษ พิจารณาจากการมีที่อยู่อาศัยในอังกฤษร่วมกับการมีกรรมสิทธิ์ในถิ่นที่อยู่อาศัยในอังกฤษ หรือมีที่อยู่ถาวรในประเทศที่เป็นสมาชิกอียู/ อีอีเอ (เขตเศรษฐกิจยุโรป) หรือเป็นพลเมืองของไอร์ แลนด์ก็อยู่ในข่ายนี้

สำหรับเด็กที่เกิดก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถ้าบิดาหรือมารดามีการตั้งรกรากตามที่กล่าวข้างต้น เด็กจะมีสัญชาติอังกฤษได้ก็ต่อเมื่อทั้งคู่แต่งงานกันเท่านั้น ซึ่งการแต่งงานย้อนหลังหลังจากเด็กเกิดก็ถือว่าใช้ได้

ถ้าไม่มีการแต่งงาน ทางอังกฤษจะถือว่าเด็กถือสัญชาติอังกฤษภายใต้เงื่อนไข จะต้องทำเรื่องขอสัญชาติโดยเด็กต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี

แต่ถ้าในช่วงนี้ เด็กอยู่อาศัยบนแผ่นดินอังกฤษเกิน 10 ปี ก็จะถือว่าเป็นพลเมืองอังกฤษไปโดยปริยายตามกฎหมายการเข้าเมือง ซึ่งกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องดูเรื่องบิดามารดาแต่อย่างใด

หลักเกณฑ์นี้ใช้ได้กับพลเมืองอังกฤษที่อยู่ในต่างประเทศ หรือประชาชนภายใต้การปกครองของอังกฤษเช่นเดียวกัน

สำหรับเด็กที่เกิดบนแผ่นดินอังกฤษก่อนปี 2526 ให้ถือว่า "เด็กคนนั้นมีสัญชาติอังกฤษทันที โดยไม่ต้องดูสถานะของบิดามารดา"

ยกเว้นแค่บุตรของนักการทูตหรือพลเมืองของประเทศที่เป็นศัตรูของอังกฤษเท่านั้น







ส่วนเรื่องการถือสองสัญชาติ ถือตามกฎหมายสัญชาติอังกฤษปี 2491 (ค.ศ.1948) บัญญัติว่า พลเมืองอังกฤษที่ได้รับสัญชาติของประเทศที่สองใดๆ จะไม่ถือว่าสูญเสียสัญชาติอังกฤษ ยังคงมีสิทธิตามเดิม และถือเป็นบุคคลสองสัญชาติ

ในลักษณะเดียวกัน บุคคลที่ถือสัญชาติประเทศดั้งเดิมอยู่ ไม่จำเป็นต้องยกเลิกสัญชาติประเทศนั้นๆ เพื่อถือสัญชาติอังกฤษอีกหนึ่งสัญชาติ

สรุปคือ ทางการอังกฤษยินยอมให้ถือสองสัญชาติได้

ในบางประเทศที่ไม่ยินยอมให้มีการถือสองสัญชาติ อาจมีการเพิกถอนสัญชาติหนึ่งสัญชาติใดของบุคคลผู้นั้นตามแต่กรณี

ภายใต้กฎหมายสากลเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติบัญญัติไว้ด้วยว่า "รัฐมีสิทธิที่จะไม่ทำการช่วยเหลือทางการทูตต่อบุคคลที่ถือสองสัญชาติและบุคคลผู้นั้นอาศัยอยู่ในประเทศที่ตนมีสัญชาติอยู่"

ยกตัวอย่างเช่น คนอเมริกันที่ถือสัญชาติอังกฤษด้วย ก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกงสุลอังกฤษ เป็นต้น

ส่วนเรื่องการถือสองสัญชาตินั้น พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 มิได้มีบทบัญญัติกำหนดเกี่ยวกับผู้มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกันไว้โดยตรง

รวมทั้งไม่ได้มีบทบัญญัติกำหนดว่าให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นในขณะเดียวกัน ต้องเสียสัญชาติไทย เพราะข้อเท็จจริงที่บุคคลนั้นมีสัญชาติอื่นอยู่ด้วย

ดังนั้น บุคคลนั้นสามารถถือสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นได้ในขณะเดียวกัน ส่วนบุคคลนั้นจะเสียอีกสัญชาติหนึ่งหรือไม่ประการใดก็ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของประเทศนั้นๆ





ที่มา   ::   http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hNREEzTURJMU5BPT0=


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น