Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

เส้นแบ่งเวลาของประเทศไทย กับทวีปต่างๆ

เส้นแบ่งเวลาของประเทศไทย กับทวีปต่างๆ


การแบ่งเขตวันและเวลา
     การแบ่งเขตวันและเวลาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะอาศัยเส้นลองจิจูดในการคำนวณหาวันและเวลาในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้โลกมีเส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน 360 เส้น โดยกำหนดให้เส้นลองจิจูดที่ลากผ่านเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ เป็นเส้นลองจิจูดที่ 0 องศา ที่เรียกว่า เมริเดียนแรก หรือ เมริเดียนปฐม และเนื่องจากเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ จะใช้เวลา 24 ชั่วโมง นั่นคือ โลกหมุนรอบแกนเป็นมุม 360 องศา ดังนั้น โลกจะหมุนไป 15 องศาลองจิจูดทุกๆ 1 ชั่วโมง หรือหมุนไป 1 องศาลองจิจูดทุกๆ 4 นาที

เวลามาตรฐานกรีนิช หมายถึง เวลาสากล ตามข้อตกลงใน ค.ศ. 1884 กำหนดให้เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งราชสำนักอังกฤษ ที่เมืองกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นมาตรฐานในการเทียบเวลาทุกแห่งของประเทศต่างๆ

เวลามาตรฐานกับเวลาท้องถิ่น
    ในอดีต เมืองแต่ละเมืองจะกำหนดเวลาตามเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านเมืองนั้นๆ เวลาดังกล่าวนี้เรียกว่า เวลาท้องถิ่น แต่เนื่องจากเวลาท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามลองจิจูด ดังนั้นเวลาของตำบลต่างๆ ในเขตการปกครองเดียวกันแต่อยู่ต่างลองจิจูดกันจึงไม่เท่ากัน เช่น เวลาท้องถิ่นของกรุงเทพฯ กับจังหวัดอุบลราชธานีย่อมไม่เท่ากัน เป็นต้น
เมื่อมนุษย์ได้เดินทางติดต่อกันและกันอย่างกว้างขวางการใช้เวลาท้องถิ่นก่อให้เกิดความ ยุ่งยากและสับสนมากขึ้น จากความยุ่งยากนี้จึงมีความพยายามที่จะกำหนดเวลามาตรฐานขึ้น ซึ่งได้กลายมาเป็นระบบเวลาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
เวลาท้องถิ่น (local time) หมายถึง เวลากำหนดขึ้นในชุมชนเล็กๆ ซึ่งถือตามลองจิจูดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนนั้นๆ ตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนต่างกันจะมีเวลาท้องถิ่น แตกต่างกันไป โดยคำนวณระยะห่าง 1 องศา มีเวลาแตกต่างกัน 4 นาที (24 x 60 = 4) 360

 เวลามาตรฐาน (standard time) คือ เวลาที่กำหนดขึ้นใช้ในบริเวณหนึ่งๆ เพื่อให้เป็นเวลาเดียวกันทั้งหมด ในทางทฤษฎีแล้ว ระบบเวลามาตรฐานจะแบ่งออกเป็นเขต เป็นแนวจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ โดยแบ่งออกเป็นเขตละ 15 องศาลองจิจูด ซึ่งเทียบค่าได้ 1 ชั่วโมง และถือเอาเส้นลองจิจูดของเมริเดียนกลางของเขตนั้นๆ เป็นเวลาของเขตทั้งเขต เมริเดียนย่านกลางนี้ถือเอาเมริเดียนทุก 15 องศาลองจิจูด เช่น 0 องศา 15 องศา 30 องศา เป็นต้น อาณาเขตของแต่ละเขตของเวลามาตรฐานจะคลุมบริเวณไปทางตะวันตกและตะวันออกของเมริเดียนย่านกลางข้างละ 7 องศา 30 ลิปดา ซึ่งเมื่อรวมแล้วแต่ละเขตจะครอบคลุมพื้นที่ 15 องศาลองจิจูด
     การเปลี่ยนเวลาจะเปลี่ยนไปต่อเมื่อสิ้นสุดอาณาเขตของเขตนั้นๆ และเปลี่ยนไปทีละ 1 ชั่วโมง เช่น ถ้าเขตหนึ่งเป็นเวลา 3.00 นาฬิกา เขตที่อยู่ถัดไปทางตะวันออก 1 เขต จะเป็นเวลา 4.00 นาฬิกา และในทำนองเดียวกัน เขตที่อยู่ถัดไปทางตะวันตก 1 เขต จะเป็นเวลา 2.00 นาฬิกา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ เวลามาตรฐานที่ใช้กันอยู่จริงๆ นั้น ขอบเขตของเขตต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ใช้แนวเมริเดียนเป็นขอบเขตของเขตโดยตลอด แต่ละเส้นขอบเขตของเขตจะเป็นเส้นคดโค้งไปตามเขตของภูมิภาคทางการปกครอง
       ประเทศต่างๆ อาจกำหนดให้เวลาที่ใช้ในประเทศของตนเป็นไปตามเวลามาตรฐานในเขตที่ครอบคลุมประเทศนั้นๆ บางประเทศอาจกำหนดเวลาของตนเองตามเวลามาตรฐานเขตใดเขตหนึ่งเพียงเขตเดียว เช่น ประเทศไทยกำหนดเวลามาตรฐานตามเวลาในเขตที่ 19 หรือประเทศญี่ปุ่นกำหนดเวลาในเขตที่ 21 เป็นต้น แต่บางประเทศมีอาณาเขตกว้างขวาง โดยทางตะวันตกและตะวัน-ออกของประเทศอยู่ห่างไกลกันมาก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และออสเตรเลีย จึงต้องกำหนดให้เวลาที่ใช้ในประเทศของตนเป็นไปตามเวลามาตรฐานหลายเขต



เขตเวลามาตรฐานโลกเทียบจากเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านตำบลกรีนิช

       
























ด้วยเหตุที่การแบ่งเขตของเวลามาตรฐานไม่ได้ใช้เส้นลองจิจูดเป็นเส้นแบ่งขอบเขตของแต่ละเขตอย่างแท้จริง ทำให้ไม่สามารถคำนวณหาเวลามาตรฐานของประเทศต่างๆ โดยอาศัยเส้นลองจิจูดได้ ยกเว้นจะรู้ว่าประเทศนั้นๆ อยู่ในเขตเวลามาตรฐานใด ใช้เส้นลองจิจูดที่เท่าไรในการกำหนดเวลามาตรฐานประเทศของตน จึงจะหาเวลามาตรฐานของประเทศนั้นๆ ได้ การใช้เส้นลองจิจูดเพื่อคำนวณหาเวลาของตำบลต่างๆ นั้น จะเป็นเวลาท้องถิ่นไม่ใช่เวลามาตรฐาน
เวลามาตรฐานของโลกกำหนดให้ต่างกันเขตละ 1 ชั่วโมง ได้ 24 เขต เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ผ่านลองจิจูดบนพื้นโลก 360 องศาหรือผ่านเมริเดียน 360 เส้น ดังนั้นทุกๆ 15 องศาของเส้นเมริเดียนจะเปลี่ยนไป 1 ชั่วโมง (24 x 60 x 15 = 60 นาที)360


























เส้นวันที่สากล
     เส้นวันที่สากล เป็นเขตกำหนดการเปลี่ยนวัน โดยจะใช้เส้นเมริเดียนแรกเริ่มวัดไปทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกข้างละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันตกและ 180 องศาตะวันออกจะทับกันพอดี ถ้าเอาลูกโลกมาดูจะเห็นว่าเส้นเมริเดียนที่ 180 องศานี้อยู่ตรงข้ามกับเส้นเมริเดียนเริ่มแรกพอดี เช่น ตำบลกรีนิชตั้งอยู่เส้นเมริเดียนแรกเป็นเวลา 12.00 น.หรือ เที่ยงวันของวันอาทิตย์ เวลาของตำบลที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเส้นนี้จะช้ากว่าตำบลกรีนิช เช่น ที่ลองจิจูด 90 องศาตะวันออกเป็นเวลา 6.00 น. ของวันอาทิตย์และเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันตก จะเป็นเวลา 24.00 น. วันเสาร์หรือ 0.00 น. ของวันอาทิตย์ กล่าวคือสิ้นสุดวันเสาร์และเริ่มขึ้นวันอาทิตย์ ขณะเดียวกันตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออก จะมีเวลามาตรฐานตรงกับ 18.00 น. ของวันอาทิตย์และตำบลที่ตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา ตะวันออก จะเป็นเวลา 24.00 น. ของวันอาทิตย์หรือ 0.00 น. ของวันจันทร์ กล่าวคือ สิ้นสุดวันอาทิตย์และเริ่มขึ้นวันจันทร์



แสดงเวลาที่เส้นเมริเดียน 180 องศาตะวันออกและตะวันตกทับกับเส้นเดียวกันและ
อยู่ตรงกันข้ามหรืออยู่คนละซีกโลกกับเส้นเมริเดียน 0 องศา













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น