Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โรคหูด

โรคหูด
baby



 
 
เรื่องของ หูด (momypedia)

 

 



           

หากลูกของคุณเกิดมีตุ่มไตขึ้นบริเวณผิวหนัง นั่นอาจเป็นอาการของโรคผิวหนังที่เรียกว่า "หูด" ก็เป็นได้ค่ะ อ๊ะๆ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวลูกเกินไปล่ะคะ เพราะหูดบางชนิดฮิตเป็นในเด็กวัยคิดส์เสียด้วย

มาดูวิธีป้องกันและรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านโรค ผิวหนัง รศ.นพ. มนตรี อุดมเพทายกุล รองผู้อำนวยการศูนย์ผิวหนัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อจะได้ระแวดระวังไม่ให้หูดมาป่วนตามผิวหนังของลูกกันค่ะ

 
 



โรคหูดคืออะไรนะ

 
โรคหูดถือเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นบริเวณผิว หนัง ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่อย่างใดค่ะ เพียงแต่ทำให้เกิดความรำคาญ และรบกวนจิตใจผู้ที่เป็นเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วหูดแต่ละชนิดก็จะขึ้นต่างบริเวณไปค่ะ บางชนิดขึ้นที่นิ้วมือ ฝ่ามือ บางชนิดขึ้นบริเวณใบหน้าและลำคอค่ะ
 
 

หูดแบบไหนชอบขึ้นผิวใส ๆ วัยคิดส์

           
หูดธรรมดา (Common Warts) ส่วนใหญ่พบบริเวณนิ้วมือและฝ่ามือฝ่าเท้า ลักษณะเป็นตุ่มนูนบริเวณผิวหนังคล้ายกับดอกกะหล่ำ ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร แต่ถ้าเป็นที่ฝ่าเท้าผื่นก็จะแบนเป็นไตแข็ง เวลาเดินจะรู้สึกเจ็บค่ะ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิวโรมาไวรัส หรือ HPV (Human Papilloma Virus) ค่ะ

เมื่อเจ้าหนูไป สัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ผู้เป็นหูดไปสัมผัสโดน อาทิ ผ้าเช็ดตัวหรือพื้นผิวต่างๆ ก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหนูคนไหนที่มีนิสัยชอบแทะเล็บมือต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ค่ะ เพราะจะยิ่งเสี่ยงติดเชื้อหูดได้มากกว่าเดิม เนื่องจากผิวหนังบริเวณที่แทะ อาจมีแผลเปิดรอให้เจ้าไวรัสเข้าไปก่อหูดก็เป็นได้
 
 

อาการอย่างนี้รีบพบแพทย์ด่วน!

           
เมื่อเป็นก้อนเนื้อลักษณะคล้ายหูดดังกล่าว เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้บนร่างกาย ของเด็กเล็ก (แรกเกิด-3 ปี)

เมื่อพบว่าลูก (วัยใดก็ตาม) มีหูดขึ้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก

หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) เป็นหูดที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็กวัย 3-9 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Poxvirus โดยการสัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือตามผิวสัมผัสที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสโดนค่ะมี ลักษณะเป็นตุ่มกลม พื้นผิวหูดเงาๆ มีสีขาวและสีเนื้อ บางตุ่มอาจจะมีรอยบุ๋มตรงกลาง คล้ายสะดือโบ๋ โดยเริ่มขึ้นเพียง 1-2 ตุ่ม แล้วค่อยๆ ลามไปทั่ว เมื่อติดเชื้อเจ้าหนูอาจเกิดหูดชนิดนี้ขึ้นบริเวณลำตัว ลำคอและใบหน้า เป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายผด หรืออาจเป็นเม็ดใหญ่ก็ได้ค่ะ

สรุปได้ว่า โรคหูดที่พบบ่อยในวัยคิดส์มีอยู่ 2 ชนิด และยังมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งแพร่กระจายผ่านการสัมผัสไม่ว่าจะสัมผัสบุคคลที่เป็นโรค หรือสัมผัสสิ่งของที่ผู้เป็นโรคไปหยิบจับค่ะ ดังนั้น วิธีป้องกันก็คือต้องสอนให้เจ้าหนูมีสุขอนามัยที่ดี โดยหมั่นล้างมือให้สะอาด และไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น

ที่สำคัญคือ เชื้อไวรัสเหล่านี้เติบโตได้ดีในพื้นที่เปียกชื้น ไม่ว่าจะเป็นตามห้องน้ำหรือสระว่ายน้ำ ฉะนั้นเมื่อใดที่ต้องใช้บริการสระว่ายน้ำสาธารณะ ก็ควรให้เจ้าหนูใส่รองเท้าแตะ เมื่อต้องเดินรอบสระ แต่ต้องระวังอย่าให้ลื่นหกล้มด้วยนะคะ นอกจากนี้ ถ้าคุณสังเกตเห็นว่า สระว่ายน้ำดูไม่สะอาดเอาเสียเลยก็เลี่ยงไปใช้บริการที่ อื่นเพื่อช่วยป้องกันลูกจากเชื้อหูดอีกแรงค่ะ และอาจจะมีเชื้อโรคอื่น ๆ อีก เช่น เชื้อหวัด เป็นของแถมนะคะ
 
 

For Kids… ป้องกันหูดอย่างไรดี

           
ไม่แกะหรือเกา เพราะอาจทำให้เกิดบาดแผลตามร่างกาย และติดเชื้อไวรัสหูดได้

รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นหูด ล้างมือบ่อย ๆ และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าขนหนูประจำตัวเท่านั้น

ตัดเล็บให้สั้นและไม่กัดเล็บ

ใส่รองเท้าแตะบริเวณสระว่ายน้ำสาธารณะ

บอกคุณพ่อคุณแม่เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณร่างกาย เพื่อคุณพ่อคุณแม่จะได้ช่วยหาวิธีรักษา หรือพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจดูอาการ
 
 

รักษาอย่างไรให้ได้ผล

 
ความจริงแล้วโรคหูดข้าวสุกเป็นโรคที่หายได้เองภายใน 3-5 ปีค่ะ แต่เชื่อว่าการรักษานั้นนอกจากช่วยให้ลูกหายจากหูดข้าวสุกแล้ว ยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่อุ่นใจไม่รู้สึกกังวลอีกต่อไปด้วย ซึ่งวิธีในการรักษาโรคหูดสำหรับลูกนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีค่ะ

1. สำหรับหูดข้าวสุก หมอจะป้ายยาชาแล้วลูกจะได้ไม่รู้สึกเจ็บเมื่อใช้เข็มสะกิด จากนั้นใช้ปากคีบคีบหูดออก ทาแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อเป็นอันเสร็จ

2. สำหรับหูดอื่นๆ รวมทั้งหูดข้าวสุก หมออาจจะรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้

2.1 จี้หูดด้วยเลเซอร์

2.2 ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยความเย็น วิธีทำคือ คุณหมอจะใช้ไนโตรเจนเหลวจิ้มบริเวณที่เป็นหูดเพื่อทำให้เซลล์ตาย ค่ะ

2.3 กรณีที่เจ้าหนูมีปัญหาคือกลัวเจ็บ ใช้กรดซาลิไซลิกแอสิด แต้มบริเวณหูดทุกวันจนกว่าหูดจะหลุด หรือมียาทารักษาที่ชื่อว่า Imiquimod ซึ่งเมื่อทาแล้ว จะไปทำปฏิกิริยาที่ทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่ สุด แต่ข้อเสียคือยาทาชนิดหลังนี้มีราคาสูงค่ะ
 
 

For School ป้องกันโรคหูดอย่างไรให้ไกลคิดส์

           
 
สอนเรื่องการรักษาสุขอนามัยขณะที่อยู่ในโรงเรียน ไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เช่น ถ้วยน้ำ, ผ้าเช็ดหน้า ล้างมือด้วยสบู่ อย่างถูกหลักให้สะอาด ก่อนทานอาหาร และหลังการเล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ

นอกจากนี้ ทางโรงเรียนควรเช็ดอุปกรณ์ของเล่น สื่อการสอนต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น 70 % Alcohol อย่างสม่ำเสมอค่ะ

จะเห็นว่าวิธีในการรักษาโรคหูดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีเชียวค่ะ แต่ที่นิยมได้แก่การทายาชาแล้วใช้คีมคีบ และวิธีจี้หูดด้วยเลเซอร์ แต่ถ้าเจ้าหนูกลัวเจ็บ คุณพ่อคุณแม่เห็นทีต้องยอมใช้วิธีรักษาด้วยยาทาแล้วล่ะค่ะ

หูดใครเป็นก็คงกังวลใจไม่น้อย ยิ่งลูกเป็นคุณพ่อคุณแม่ยิ่งกังวลเข้าไปใหญ่ แต่ถ้ารู้จักป้องกัน ปลูกฝังเจ้าหนูให้มีสุขอนามัยที่ดี แถมยังเข้าใจวิธีรักษาที่ง่ายแสนง่ายด้วยแล้ว คงช่วยให้คุณเบาใจได้ไม่น้อยนะคะ

 
 
 
 
 
 
ที่มา ::
 
 
















โรคหูดคืออะไร? มีสาเหตุจากอะไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?



 
หูด หรือ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า วอร์ท (Warts) คือ โรคติดเชื้อของผิวหนังและ เยื่อบุ (เยื่อเมือก/Mucosa เป็นเซลล์ในกลุ่มเดียวกับผิวหนัง แต่อยู่ภายในร่างกาย เช่น เซลล์เยื่อบุสายเสียง เป็นต้น)ที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เอชพีวี (HPV หรือ Human papilloma virus) ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีมากกว่า 100 ชนิดย่อย โดยแต่ละชนิดย่อยใช้ตัวเลขในการเรียกชื่อ เช่น เอชพีวี 1 (HPV1) เอชพีวี 2 (HPV2) และ เอชพีวี 11 (HPV11) เป็นต้น เชื้อหูดจะทำให้เกิดโรคบริเวณผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ โดยที่ไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นจึงไม่ใช่โรคมะเร็ง เชื้อ ไวรัสแต่ละชนิดย่อย ก่อให้เกิดโรคที่แตกต่างกันไป ที่รู้จักกันดีคือ ชนิด เอชพีวี 16 และ เอชพีวี 18 ซึ่งทั้งสองชนิดทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

สำหรับในโรคหูด เชื้อแต่ละชนิดย่อยก็ทำให้เกิดหูดที่ตำแหน่งต่างๆ และมีหน้าตาหูดแตกต่างกันไป เช่น เอชพีวี 1 ก่อให้เกิดหูดที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า และ เอชพีวี 6 ก่อให้เกิดหูดที่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก

หูดบริเวณผิวหนัง พบได้บ่อยที่สุดในเด็กและคนอายุน้อย อัตราการพบสูง สุดอยู่ที่ช่วงอายุ 12-16 ปี ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดเท่ากัน คนผิวดำ และคนเอเชียเป็นมากกว่าคนผิวขาวประมาณ 2 เท่า

กลุ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นนอกจากเชื้อชาติ คือ บุคคลบางอาชีพ เช่น คนที่ต้องแล่เนื้อสัตว์ คนที่ผิวหนังมีความต้านทานต่อโรคต่ำ เช่น เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

ส่วนหูดบริเวณอวัยวะเพศภายนอก (ซึ่งก็เป็นหูดที่ผิวหนัง แต่เป็นผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ) จะพบในวัยเจริญพันธุ์






 

 


โรคหูดติดต่อได้ไหม? ติดต่อได้อย่างไร?


หูด เป็นโรคติดต่อได้ โดย
  • หูดบริเวณผิวหนังติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง ผิวหนังที่มีบาดแผลจะติดเชื้อง่ายกว่าผิวหนังที่ปกติ
  • หูดบริเวณอวัยวะเพศ ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งก็เกิดจากการสัมผัสกันนั่นเอง

  • ทั้งนี้เมื่อได้รับเชื้อไวรัสหูดแล้ว เชื้อจะเข้าสู่เซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุ มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเชื้อ แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและเยื่อบุจนเห็นเป็นก้อนเนื้อ ที่เราเรียกว่า หูด

    โรคหูด มีระยะฟักตัวประมาณ 2-6 เดือน เนื่องจากเชื้อหูดจะแบ่งตัวเฉพาะที่ผิวหนังและเยื่อบุเท่านั้น ไม่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และไม่แพร่เชื้อเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ เชื้อหูดจึงไม่ติดต่อผ่านทางอื่นๆ เช่น ไอ จามรดกัน หรือ อย่างในกรณีที่มีหูดที่หน้า การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ทำให้ติดเชื้อหูด แล้วกลายเป็นหูดที่อวัยวะเพศหรือที่หน้า แต่ถ้าเกิดเอามือสัมผัสหน้า และมือไปสัมผัสอวัยวะอื่นๆ ก็จะทำให้ติดเชื้อหูดจากหน้าได้

    บางคนเป็นลักษณะพาหะโรค คือ ผิวหนังดูปกติ ไม่มีตุ่มนูน แต่มีเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ซึ่งโดยการสัมผัสผิวหนังส่วนมีเชื้อเช่น เดียวกัน

     

     


    โรคหูดมีอาการอย่างไร?

    อาการพบบ่อยของโรคหูด คือ

    1. หูดที่ผิวหนัง ชนิดของหูดแบ่งกว้างๆตามลักษณะและตำแหน่ง ได้แก่
      • หูดทั่วไป (Common warts) ซึ่งพบได้บ่อยสุด เป็นหูดแบบนูนมีผิวขรุขระ ขนาดมีได้ตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร (ม.ม.) จนถึง 1 เซนติเมตร (ซ.ม.) มักพบบริเวณมือและหัวเข่า เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2 และ 4 (บ่อยสุด) แต่พบจาก เอชพีวีชนิดอื่นได้ เช่น 1, 3, 26, 27, 29, 41, 57, 65, และ 77
      • หูดคนตัดเนื้อ (Butcher's warts) พบในคนมีอาชีพแล่เนื้อดิบโดยไม่ ได้เกิดจากเนื้อที่แล่ (คือไม่ใช่หูดของ หมู วัว และอื่นๆ ) แต่เกิดจากการติดต่อจากคนสู่คน โดยมีเนื้อเป็นทางผ่าน ลักษณะหูดหน้าตาเหมือนหูด ทั่วไป แต่ใหญ่กว่า มีผิวขรุขระมากกว่า มักพบที่มือ ส่วนใหญ่เกิดจาก เอชพีวี 7 ที่เหลืออาจพบ เอชพีวี 1, 2, 3, 4, 10, 28
      • หูดชนิดแบนราบ (Plane warts หรือ Flat warts) ซึ่งจะยกนูนจากผิวหนังเพียงเล็กน้อย ผิวค่อนข้างเรียบ มีขนาดตั้งแต่ 1-5 ม.ม. อาจมีจำนวนตั้งแต่ 2-3 อัน ไปจนถึงหลายร้อยอัน และอาจมารวมกันเป็นกลุ่ม มักเกิดบริเวณใบหน้า มือ และหน้าแข้ง เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 2, 3, 10, 26, 27, 28, 29, 38, 41, 49, 75, 76
      • หูดฝ่ามือฝ่าเท้า (Plamar and Plantar warts) เป็นตุ่มนูนกลม ผิวขรุขระ ถูกล้อมรอบด้วยผิวหนังที่หนาตัวขึ้น มักมีอาการเจ็บ แยกยากจากตาปลา(ผิวหนังจะด้าน หนา จากถูกเบียด เสียดสีบ่อยๆ) แต่ถ้าฝานดูจะมีจุดเลือดออกเล็กๆ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 1 มีบ้างที่เกิดจาก เอชพีวี 4 มักจะไม่เจ็บ และอาจเกิดรวมกลุ่มกัน ทำให้ดูเป็นหูดขนาดใหญ่
      อาจจะเรียบหรือนูนเล็กน้อย จนกระทั่งนูนออกมามากมีผิวขรุขระ แข็งกว่าหนังธรรมดา และเวลาตัดส่วนยอดของหูดแล้ว จะเห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆที่อุดตันภายใน และมีจุดเลือดออกเล็กๆ ในบางครั้งการติดเชื้อหูดอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังใดๆเลยก็ได้

    2. หูดอวัยวะเพศ อาจเรียกว่าหูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata) พบที่อวัยวะเพศภายนอกทั้งชายและหญิง ในกลุ่มชายรักร่วมเพศอาจพบหูดบริเวณรอบทวารหนัก หูดมีลักษณะนูน ผิวตะปุ่มตะป่ำ คล้ายหงอนไก่ เกิดจาก เอชพีวี 6, 11, 16 , 18, 30-32, 42-44, และ 51-58

    3. หูดที่เยื่อบุ นอกจากเชื้อหูดจะทำให้เกิดโรคที่ผิวหนังแล้ว ยังสามารถก่อให้ เกิดโรคที่เยื่อบุได้ เช่น พบได้ที่สายเสียง และกล่องเสียง ซึ่งจะเกิดในเด็กที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อหูดบริเวณอวัยวะเพศ จึงได้รับเชื้อ จากการกลืน หรือสำลักขณะคลอดได้ หรืออาจเกิดในผู้ใหญ่จากการร่วมเพศโดยการใช้ปาก นอกจากนี้ยังอาจพบได้ที่เยื่อบุตา ลักษณะหูดจะเป็นตุ่มนูน มีผิวขรุขระ คล้ายหูดทั่วไป

     

     


    แพทย์วินิจฉัยโรคหูดได้อย่างไร?

    แพทย์วินิจฉัยโรคหูดได้จาก อาการของผู้ป่วย และการตรวจลักษณะก้อนเนื้อ และ อาจต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

     

     


    รักษาโรคหูดได้อย่างไร?


    แนวทางการรักษาโรคหูด แบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยา (มักเป็นยาใช้ภายนอก) และด้วยการผ่าตัด รวมถึงการไม่รักษา ซึ่งการรักษาไม่ใช่การฆ่าไวรัส เพราะยังไม่มียาฆ่าไวรัสได้ แต่เป็นเพียงการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณที่เห็นเป็นโรค จึงอาจยังมีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่รอบๆที่ผิวหนังที่เห็นเป็นปกติ ดังนั้นแม้จะเอาหูด และเนื้อเยื่อผิวหนังรอบๆหูด ออกไปกว้างพอ ก็ไม่เป็นการรับประกันว่าเชื้อจะหมดไป โรคจึงกลับมาเป็นใหม่ได้

    ในการจะรักษาด้วยวิธีใดนั้น แพทย์จะประเมินจากหลายๆปัจจัย เช่น ขนาดของหูด จำนวนหูดที่เกิด ลักษณะของหูด ตำแหน่งที่เกิด อายุ และสุขภาพโดย รวมของผู้ป่วย รวมทั้งดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไป วิธีรักษาหูด ได้แก่

    1. การไม่รักษา ประมาณ 65% ของผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติ โรคหูดจะยุบหายเองภายใน 2 ปี ดังนั้นถ้าเป็นหูดขนาดเล็ก และมีจำนวนเล็กน้อย อาจเลือกวิธีนี้ได้
    2. การรักษาด้วยยา ซึ่งควรเป็นการรักษาโดยแพทย์เท่านั้น โดยมียาหลายชนิดให้เลือกใช้ แต่ ยังไม่มีวิธีไหนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
      • ยาแบบทา มีทั้งยาที่ผู้ป่วยสามารถหาซื้อมาทาเอง (ไม่แนะนำ เพราะควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ) และยาที่แพทย์ต้องเป็นผู้รักษาให้ เนื่องจากยาอาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้
      • ยาแบบฉีดเฉพาะที่ ใช้เมื่อยาแบบทาไม่ได้ผล โดยฉีดยาลงไปที่หูดโดย ตรง
      • ยากินและยาฉีดเข้าเส้น ยายังให้ผลไม่ดีนัก และยังอยู่ในการศึกษา และอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้มาก
    3. การผ่าตัด ซึ่งให้การรักษาโดยแพทย์เท่านั้น
      • โดยใช้ความเย็น คือ การใช้ไนโตรเจนเหลว ในระดับอุณหภูมิที่พอเหมาะ ป้ายไปบริเวณหูด อาจทำซ้ำทุกๆ 1-4 สัปดาห์ ใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผล ข้างเคียง คือค่อนข้างเจ็บ อาจเกิดแผลเป็น มีสีผิวเปลี่ยน และแผลจี้ติดเชื้อ วิธีนี้ อัตราการหายประมาณ 50-80%
      • การใช้เลเซอร์ ใช้สำหรับหูดที่ใหญ่ หรือเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ทั้งนี้ แพทย์ พยาบาลที่ให้การรักษา อาจติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อสามารถออกมากับควันที่เกิดขณะทำเลเซอร์ และหายใจเอาเชื้อเข้าไป โดยผลข้างเคียงจากการรักษาวิธีนี้ คือ ค่อนข้างเจ็บ อาจเกิดแผลเป็น และแผลผ่าตัดอาจติดเชื้อ อัตราการหายประมาณ 65%
      • การจี้ด้วยไฟฟ้า อาจมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ความเย็นจี้ แต่เจ็บมากกว่า และอาจเกิดแผลเป็นมากกว่า และเช่นเดียวกับเลเซอร์ ผู้รักษาอาจติดเชื้อได้ด้วยวิธีการเดียวกัน
      • การผ่าตัดแบบใช้มีด ซึ่งเหมือนการผ่าตัดทั่วไป

     

     


    โรคหูดก่อผลข้างเคียงอย่างไร? โรคหูดรุนแรงไหม?


    อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เมื่อไม่ได้รักษา 2 ใน 3 จะหายไปเองภายใน 2 ปี โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น แต่ในบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง มักไม่หายเอง การรักษาก็ไม่ค่อยได้ผล มีอัตราการเกิดเป็นใหม่สูง และหูดอาจกลายเป็นมะเร็งได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
    อนึ่งมะเร็ง แต่บางชนิดย่อย เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งได้ เช่น ชนิด 6, 11, 16, 18, 31, 35 ซึ่งมักเป็นชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของหูดบริเวณอวัยวะเพศ ดังนั้น การติดเชื้อหูดบริเวณนี้ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิด มะเร็งผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอกมะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากมดลูกหูดจากเชื้อเอชพีวี หลายชนิดย่อย ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด

     

     


    ดูแลตนเอง และป้องกันโรคหูดได้อย่างไร?


    การดูแลตนเอง และการป้องกันโรคหูด ได้แก่
    1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดของตนเอง (ในกรณีเป็นอยู่) เช่น การแคะแกะเกาหูดที่เป็นอยู่ การกัดเล็บ เพราะจะทำให้ผิวหนังบริเวณอื่นๆ ติดเชื้อแล้วกลายเป็นหูดได้
    2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหูดของผู้อื่น ผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ควรแยกของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า กรรไกรตัดเล็บ มีดโกน พยายามเลี่ยงการทำเล็บที่ร้านไม่สะอาด การตัดผมแบบที่มีการโกนขนหรือหนวดที่ใช้ใบมีดร่วมกัน และห้ามใช้เครื่องมือที่ใช้ตัดหรือเฉือนหูดร่วมกับผู้อื่น
    3. ในโรคหูดบริเวณอวัยวะเพศ การใช้ถุงยางอนามัย ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศภายนอกยังคงสัมผัสกันอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน
    4. ถ้าเป็นหูดที่อวัยวะเพศ ควรต้องรักษาหูดทั้งของตนเองและของคู่นอน ไปพร้อมๆกัน
    5. ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบบ 2 สายพันธุ์ และแบบ 4 สายพันธุ์ ซึ่งแบบ 4 สายพันธุ์นี้เองนอกจากจะสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคหูดที่เกิดจากเชื้อ เอชพีวี 6 และ 11 (หูดบริเวณอวัยวะเพศ) ได้ประมาณ 80-90%

     

     


    ควรพบแพทย์เมื่อไร?


    เมื่อมีหูด หรือ ตุ่มผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เมื่อ
    1. หูด หรือ ตุ่มเนื้อต่างๆบนผิวหนัง นอกจากกระเนื้อ และไฝที่ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ควรพบแพทย์เสมอเพื่อการวินิจฉัยสาเหตุ เพราะตุ่มเนื้อต่างๆ บนผิวหนังเกิดจากหลายโรค ตั้งแต่โรคติดเชื้อ เช่น หูด โรคเนื้องอกของผิวหนัง หรือของเนื้อเยื่อชั้นไขมันใต้ผิวหนัง หรือ อาจเป็นมะเร็งของผิวหนัง
    2. เมื่อหูดที่เป็นอยู่และเป็นมานานหลายปี ไม่ยุบหายไป
    3. หูดมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ใหญ่ขึ้น ผิวขรุขระมากขึ้น ขอบของหูดลุกลามไปยังผิวหนังใกล้เคียง หรือ หูดมีเลือดออกเสมอ เพราะเป็นอาการอาจเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้

     

     

    บรรณานุกรม


    1. Phillip H. Mckee, infectious diseases, in Pathology of the Skin with clinical correlations, 2nd edition, Mosby-Wolfe, 1996.
    2. Pichard C. Reichman, human papillomaviruses, in Harrison’s Principles of Internal Medicine, 15th edition, Braunwald, Fauci, Kasper, Hauser, Longo, Jameson (eds). McGrawHill, 2001.
    3. Nongenital Warts. http://emedicine.medscape.com/article/1133317-overview#showall [2011, June 1].
     
     
     
     
     
    ที่มา :: http://haamor.com/