Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

ภาวะปรกติที่พบได้ในเด็กแรกเกิด

ภาวะปรกติที่พบได้ในเด็กแรกเกิด
 
 
 





ทารกแรกเกิด หมายถึงทารกอายุ 4 สัปดาห์หลังคลอด เป็นวัยที่มีภาวะหรือสิ่งปรกติที่ไม่พบในเด็กวัยอื่น ซึ่งภาวะปรกตินี้อาจทำให้พ่อแม่วิตกกังวลได้ บ่อยครั้งที่พ่อแม่พาทารกไปพบบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นภาวะปรกติ และได้รับคำแนะนำหรือการรักษาที่ไม่จำเป็น หรือการหายามารักษาเอง อาจเป็นอันตรายแก่ทารกได้




จริงๆแล้วภาวะปรกติเหล่านี้ ไม่ต้องทำการรักษาใดๆ ภาวะปรกติเหล่านี้ ได้แก่


1. การสะดุ้งหรือผวา เวลามีเสียงดังหรือเวลาสัมผัสทารกเป็นสิ่งที่ทารกทุกคนต้องมีเพราะแสดงถึงระบบประสาทที่ปรกติและเป็นการทดสอบอย่างหยาบๆ ว่าทารกได้ยินเสียง ทารกตอบสนองโดยการยกแขนและขา แบมือ และกางแขนออกแล้วโอบแขนเข้าหากัน การตอบสนองแบบนี้พบเมื่อทารกหลับสนิท การผวาพบได้จนถึงอายุ 6 เดือน


2. การกระตุก หากทารกหลับในระดับที่ลูกตามีการกรอก ทารกมีการกระตุกเล็กน้อยที่แขนหรือที่ขา เวลาตื่นไม่มีการกระตุก ผู้ใหญ่บางครั้งก็มีการกระตุกก่อนรู้สึกตัวตื่นเช่นเดียวกัน พ่อแม่มักพาทารกมาปรึกษาโดยบอกว่าลูกชัก หากบุคลากรทางการแพทย์ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ทารกมักถูกรับไว้ในโรงพยาบาล


3. การบิดตัว ทารกครบกำหนดมีการเคลื่อนไหวเวลาตื่นนอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกยกแขนเหนือศีรษะ งอข้อตะโพกและข้อเข่าและบิดลำตัว ลักษณะเคลื่อนไหวแบบนี้ พบในทารกที่ปรกติและอาจพบมากในทารกบางคน บางคนอาจบิดตัวจนหน้าแดง


4. การสะอึก คือเสียงที่เกิดขึ้นขณะหายใจเข้า แล้วมีการหดตัวของกะบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครงร่วมกับการปิดที่กล่องเสียง ทำให้เกิดเสียงดังขึ้น ในเด็กเล็กๆ จะมีการสะอึกได้บ่อย ขณะที่ทานอิ่ม กระเพาะอาหารที่พองเต็มที่จะกระตุ้นให้กะบังลมที่คลุมอยู่บนกระเพาะพอดี หดตัวได้ การสะอึกอาจพบภายหลังดูดนม เนื่องจากการทำงานของกะบังลมยังไม่ปรกติ หรือส่วนยอดของกระเพาะอาหารที่ขยายตัวจากน้ำนมและลมที่กลืนลงกระเพาะสัมผัสกะบังลม ทั้งหมดนี้จะเป็นระยะสั้นๆ หายได้เอง ไม่มีอันตราย หากทำการไล่ลมโดยจับทารกนั่งหรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที อาการเหล่านี้ก็จะหายไปเอง


5. การแหวะนม อาจเกิดขึ้นจากหูรูดกระเพาะอาหารของทารกแรกเกิดยังไม่ทำงานได้ไม่ดี ทำให้หูรูดปิดไม่สนิท มีผลให้ทารกแหวะนมเล็กๆ น้อยๆ หลังมื้อนมเนื่องจากทานมากเกินไป หรือจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหารส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร น้ำนมที่ออกมาอาจมีลักษณะเป็นลิ่มคล้ายเต้าหู้ เนื่องจากถูกกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นขั้นตอนของการย่อย พ่อแม่มักเข้าใจผิดว่าน้ำนมไม่ย่อยและนมที่ให้ลูกไม่ดี การแก้ไขการแหวะนมคือ การไล่ลม ร่วมกับการจัดให้ทารกนอนศีรษะสูงและตะแคงขวาหลังการดูดนมประมาณครึ่งชั่วโมง ท่านอนดังกล่าวหูรูดของกระเพาะอาหารจะอยู่สูง ทำให้น้ำนมไหลย้อนแรงดึงดูดของโลกไม่ได้ หรือภายหลังที่ลูกดูดนมหมดแล้ว ให้จับทารกนั่งหรืออุ้มพาดบ่าเพื่อไล่ลม


6. ทารกไม่ดูดน้ำ น้ำนมมารดามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 88% นมผงก่อนที่จะป้อนทารกก็ต้องผสมน้ำในอัตราส่วนที่พอเหมาะเพื่อให้มีส่วนประกอบใกล้เคียงกับนมมารดา ทารกจึงได้น้ำอย่างเพียงพอจากน้ำนม การดูดน้ำหรือการป้อนน้ำเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ว่าทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะ 4-6 เดือน หากพ่อแม่ไม่เข้าใจจุดนี้ จะวิตกกังวลที่ทารกไม่ดูดน้ำเวลาให้น้ำเปล่า และมักแก้ไขโดยการผสมกลูโคสหรือน้ำผึ้งเพื่อให้ทารกดูดน้ำ ซึ่งอันตรายของการผสมกลูโคสหรือน้ำผึ้งคือ อาจทำให้ทารกดูดนมน้อยลงเป็นเหตุให้น้ำหนักตัวขึ้นช้ากว่าปรกติ และเกิดท้องร่วงได้เพราะน้ำที่เจือกลูโคสหรือน้ำผึ้งอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน นอกจากนี้การให้ทารกดูดน้ำเพิ่มไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทารกเหลือง แต่กลับทำให้ทารกเหลือมากขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ


7. การถ่ายอุจจาระบ่อย ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวอาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอย ขณะดูดนมแม่ บิดตัวหรือผายลมจะมีอุจจาระเล็ดออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่าทารกท้องเดิน เพราะอาจนับการถ่ายได้ถึง 10-20 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองคำใหม่ๆ และมีกลิ่นเปรี้ยว สาเหตุเกิดจากนมแม่มีนมน้ำเหลือง(COLOSTRUM)เจือปนซึ่งช่วยระบายท้อง นมน้ำเหลืองจะหมดไปเหลือแต่น้ำนมแม่แท้เมื่อเข้าสู่ปลายสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอดทารกจำนวนหนึ่งที่ถ่ายบ่อยๆ จะได้รับการรักษาโดยการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผง บางรายได้รับการรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดและงดนมแม่ ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องนัก


8. การไม่ถ่ายทุกวัน ภายหลังคลอด 4 สัปดาห์น้ำนมแม่จะเป็นน้ำนมแท้ที่ไม่มีน้ำนมเหลืองเจือปน หากทารกยังคงทานนมแม่ต่อไป ทารกอาจไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน อาจถ่ายวันเว้นวัน ซึ่งบางรายอาจถ่ายทุก 12 วันโดยไม่มีอาการท้องอืดและอึดอัด ไม่อาเจียน อุจจาระออกมาเป็นก้อนเหนียวคล้ายยาสีฟันที่บีบออกจากหลอด ทารกที่ได้รับนมแม่ไม่ถ่ายทุกวันเกิดจากน้ำนมแม่ย่อยง่าย ส่วนประกอบของน้ำนมแม่จึงถูกดูดซึมโดยลำไส้เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เหลือกากที่กลายเป็นอุจจาระน้อย ท้องผูกทางการแพทย์ตัดสินจากความแข็งของอุจจาระไม่ได้ดูที่ความถี่ของการถ่าย ท้องผูก หมายถึงการถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็งทั้งกอง ท้องผูกพบได้บ่อยในทารกที่เลี้ยงนมผสม และชงนมไม่ถูกสัดส่วน อาจจางไปหรือข้นไป หรือใช้นมที่ไม่เหมาะกับวัย เช่นให้นมผงสำหรับเด็กโตแก่เด็กทารก เป็นต้น


9. ลูกร้องเวลาถ่ายปัสสาวะ เมื่ออายุใกล้ 1 เดือน ทารกบางรายเริ่มรับรู้ความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ ทำให้ทารกเหมือนมีการเจ็บปวดก่อนถ่ายปัสสาวะ ภาวะนี้เป็นเฉพาะเวลาที่ทารกถ่ายปัสสาวะขณะตื่น หากถ่ายปัสสาวะขณะนอนหลับทารกจะไม่ร้อง ทารกจะไม่มีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นหยดๆ หรือเบ่ง อาการนี้จะหายไปเองภายใน 1 เดือน


10. ตัวเหลือง ทารกที่ได้รับนมแม่มีโอกาสเกิดตัวเหลืองได้ 2 ลักษณะ ลักษณะแรกเรียกว่า breastfeeding jaundice พบใน 2-4 วันหลังคลอด เกิดจากการได้รับนมแม่ไม่เพียงพอเพราะจำกัดจำนวนครั้งของการดูดนมร่วมกับการให้ดูดน้ำเปล่า หรือน้ำกลูโคส การป้องกันภาวะนี้คือ ให้ทารกอยู่กับมารดาตลอดเวลา(Rooming-in หรือ Bed-in) หรือให้ดูดนมแม่บ่อย (คือมากกว่า 8 มื้อ/วัน) ควรงดน้ำเปล่าหรือน้ำกลูโคส ลักษณะที่สองเรียกว่า breastmilk jaundice ซึ่งเริ่มปรากฏปลายสัปดาห์แรก(4-7 วัน) และเข้าสู่เกณฑ์ปรกติเมื่ออายุ 3-12 สัปดาห์ กลไกการเกิด breastmilk jaundice ยังไม่ทราบแน่นอน การแยกภาวะนี้จากภาวะเหลืองที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่สำคัญคือโรคฮัยโปไธรอยด์แต่กำเนิด ทารกจะนอนเก่ง ร้องน้อย ต้องปลุกเพื่อให้นม ดูดนมได้ไม่ดีและช้า มีผลให้น้ำหนักเพิ่มน้อย และลิ้นโต ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง อาจมีอาการคัดจมูกร่วมด้วย ท้องผูก ท้องโตกว่าปรกติ มีไส้เลื่อนที่สะดือ ผิวหนังเย็นและลายคล้ายร่างแห วัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่าปรกติ (มักต่ำกว่า 35 องศา C) อาจมีอาการบวมที่อวัยวะเพศและแขนขา ภาวะฮัยโปไธรอยด์ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วเพื่อไม่ให้ทารกปัญญาอ่อน หากเป็น breastmilk jaundice ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใดๆ


11. ผิวหนังลอก (Desquamation หรือ Peeling of the skin) ขบวนการสร้าง Keratin ของผิวหนังแสดงถึงภาวะการเจริญเต็มที่(Maturity)ของผิวหนัง โดยทารกในครรภ์ต้องมีภาวะโภชนาการปรกติ เมื่อขบวนการสร้างเจริญเต็มที่แล้ว และทารกในครรภ์มีภาวะโภชนาการปรกติจากรกที่ทำหน้าที่ได้อย่างปรกติ ผิวหนังจะมีการลอก ซึ่งปรกติผิวหนังของทารกครบกำหนดใน 1-2 วันแรกจะยังไม่ลอก ภายหลังอายุ 24-28 ชั่วโมงจึงเริ่มปรากฏ มักพบที่มือและเท้า ผิวหนังที่ลอกจะหายไปในเวลา 2-3 วันโดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดผิวหนังจะลอกช้ากว่า โดยจะปรากฏเมื่อ 2-3 สัปดาห์หลังคลอดและอาจลอกมากในทารกอายุครรภ์น้อยมากๆ การมีผิวหนังลอกเมื่อคลอดออกมาทันทีพบในทารกครรภ์เกินกำหนดที่มี dysmaturity เนื่องจากสมรรถภาพการทำงานของรกเสื่อมลง และทารกที่ขาดออกซิเจนชนิด acute ขณะอยู่ในมดลูก


12. ปานแดงชนิดเรียบ(Macular hemangiomas) ปานแดงที่เปลือกตาบน หน้าผาก และท้ายทอยพบได้ประมาณร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิด ปานแดงชนิดนี้จะมีขอบเขตไม่ชัดเจน และจะแดงขึ้นเวลาทารกร้อง ปานแดงที่เปลือกตามักหายไปเมื่อทารกมีอายุหนึ่งปี ปานแดงที่หน้าผากมักพบร่วมกับปานแดงที่ท้ายทอย และมีชื่อเรียกเฉพาะว่า stork mark ปานแดงที่หน้าผากจะมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมโดยมีฐานอยู่ที่ชายผมและมุมชี้ไปทางจมูก stork markนี้จะปรากฏนานกว่าหนึ่งปี และอาจคงอยู่ให้เห็นในเด็กโตหรือผู้ใหญ่เป็นครั้งคราวเวลาโกรธ


13. ภาวะเขียวคล้ำที่ใบหน้า(Traumatic cyanosis) เกิดจากการมีเลือดคั่งและมีจุดห้อเลือดจำนวนมาก เกิดจากการถูกบีบรัดโดยการคลอดธรรมชาติ หรือจากสายสะดือพันคอ จุดห้อเลือดมักหายอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน


14. ผิวหนังลายเหมือนร่างแห(Cutis marmorata) หรือเหมือนลายหินอ่อนเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดฝอยและเลือดดำย่อย สาเหตุของภาวะนี้เกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการทำงานของศูนย์ควบคุมหลอดเลือด นอกจากพบในทารกเกิดที่ปรกติแล้ว ยังพบในทารกที่อยู่ในที่ๆมีอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเย็นหรือร้อนไป และทารกที่มีการกำซาบของผิวหนังลดลงจากหัวใจทำงานผิดปรกติ หรือช็อกจากหัวใจหรือการติดเชื้อ


15. ภาวะเขียวที่มือและเท้า(Acrocyanosis) ภาวะเขียวที่มือและที่เท้าพบได้บ่อยในทารก 24-48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เกิดจากการไหลเวียนเลือดที่มือและเท้าช้าลงเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวจะสะกัดออกซิเจนจาก Oxygenated hemoglobin เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นผลให้มี reduced hemoglobin เพิ่มขึ้น ภาวะนี้อาจพบในทารกที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เย็น ฉะนั้นหากเห็นภาวะนี้ให้ระลึกเสมอว่า ทารกอาจอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เย็นไปและ/หรืออาจมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ


16. เลือดออกที่ตาขาว (Subconjunctival hemorrhage)หรือเลือดออกรอบๆแก้วตา เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและหายเองภายใน 2-3 สัปดาห์


17. MILIA หรือ EPIDERMAL INCLUSIONCYST ภาวะนี้มีลักษณะเป็นตุ่มนูนจากพื้นผิว มีสีนวลหรือสีขาวขนาด 1 มม. พบที่แก้ม ดั้งจมูก หน้าผาก เพดานแข็ง เหงือก หัวนมและปลายอวัยวะเพศของทารกเพศชาย ภาวะนี้พบร้อยละ 40 ของทารกครบกำหนด มักแตกและหายไปเมื่ออายุ2-3 สัปดาห์หรืออยู่ได้นานถึง 2 เดือน


18. ตุ่มขาวในปาก ที่กลางเพดานปากของทารกแรกเกิดอาจมีเม็ดสีขาวขนาดเท่าหัวหมุด เรียกว่า Epithelial pearl หรือ Epstein pearl ซึ่งเป็นภาวะปรกติของทารกแรกเกิด อาจมีจำนวนมากน้อยต่างกัน ตุ่มเล็กๆนี้ไม่ทำให้ทารกไม่ดูดนมและจะหลุดไปเอง อาจพบตุ่มขาวลักษณะนี้ที่เหงือกซึ่งเรียกชื่อต่างกันว่า Bohn nodule ที่หัวนมและปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งเรียกว่าEpidermal inclusion cyst คนสูงอายุเรียกสิ่งใดที่มีสีขาวในปากของทารกว่า หละ และเชื่อว่าทำให้ทารกไม่ดูดนมและรักษา หากเป็น Epithelial pearl จะให้รักษาโดยการขยี้หรือบ่งออกโดยใช้นิ้วหรือเข็มที่ไม่สะอาดซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ หากเป็นเชื้อรามักเชื่อว่าต้องใช้ผ้าอ้อมที่เปียกปัสสาวะของทารกเช็ด


19. ลิ้นขาว(White tongue) ลิ้นขาวพบได้ในทารกแรกเกิด โดยปรากฏสีขาวกระจายเท่าๆกันบริเวณกลางลิ้น ซึ่งจะหายเองเมื่อทารกมีอายุมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ ผู้สูงอายุมักแนะนำให้ทา 1% gentian violet การวินิจฉัยแยกโรคจากเชื้อรา พบว่ามีแผ่นสีขาว เป็นหย่อมๆ ที่ลิ้นและพบร่วมกับที่เพดานปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ริมฝีปากด้วย


20. Sebaceous gland hyperplasia เป็นจุดขนาดเล็กกว่า 0.5 มม. มีสีนวลหรือขาว พบที่จมูก ริมฝีปาก และบริเวณแก้ม การคลำบริเวณผิวหนังที่เป็นจะพบว่าเรียบ ภาวะนี้พบในทารกครบกำหนดเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการงอกเกินของต่อมไขมัน จะมีขนาดเล็กลงและหายไปภายหลังคลอด 1-2 สัปดาห์


21. ริมฝีปากแห้งและลอกเป็นแผ่น ขอบริมฝีปากของทารกอาจมีเม็ดพองขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 มม. อาจพบตลอดขอบริมฝีปากบนและล่างหรือพบเฉพาะที่กลางริมฝีปากบน เม็ดนี้จะแห้งและลอกหลุดเป็นแผ่น แล้วขึ้นมาใหม่ เม็ดพองนี้มีชื่อว่า sucking blister


22. Mongolian spot เป็นสีของผิวหนังที่มีสีเขียวเทา หรือสีน้ำเงินดำ มีขอบเขตไม่ชัดเจน เกิดจากการมีเซลล์เมลานินแทรกซึมอยู่ในชั้นผิวหนังมาก พบที่บริเวณก้นกบ ก้น และหลังเอว อาจพบได้ที่ส่วนบน หัวไหล่ แขนและขา ภาวะนี้พบร้อยละ 90 ของทารกแรกเกิดโดยพบตั้งแต่ทารกคลอดออกมา และมักหายไปก่อนพ้นวัยทารก


23. นมเป็นเต้า (Breast engorgement) นมมีลักษณะเป็นเต้า พบได้ทั้งเพศหญิงและชาย บางครั้งอาจมีน้ำนมซึ่งเรียกว่า witch’s milk ภาวะนี้จะปรากฏอยู่หลายสัปดาห์ ในทารกเพศหญิงอาจปรากฏจนถึงขวบปีแรก ภาวะนี้เป็นลักษณะเฉพาะของทารกครบกำหนด อาจเป็นผลของฮอร์โมนที่ผ่านรกมาสู่ทารก กลไกของการเกิดยังไม่ทราบ คนสูงอายุมีความเชื่อว่าต้องบีบให้นมแห้ง และเต้านมยุบ จึงต้องแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบีบเค้น เพราะอาจทำให้เต้านมอักเสบเป็นฝีได้


24. ถุงอัณฑะยาน ถุงอัณฑะอาจยานจนเกือบสัมผัสที่นอน คนสูงอายุเชื่อว่าเป็นสิ่งผิดปรกติ และให้การรักษาโดยการประคบถุงอัณฑะด้วยใบพลูลนไฟ ถุงอัณฑะยานมากหรือน้อยใช้เป็นลักษณะหนึ่งในการประเมินอายุครรภ์ของทารก ถุงอัณฑะยานพบในทารกที่อายุครรภ์ครบกำหนดหรือเกินกว่ากำหนด เรียกลักษณะถุงอัณฑะเช่นนี้ว่า pendulous scrotum










ที่มา :: http://www.baby2talk.com




17 ความคิดเห็น:

  1. ภาวะปกติในทารกแรกเกิด






    ทารกแรกเกิดจะมีการปรับร่างกายเพื่อให้ระบบอวัยวะภายในและภายนอกร่างกายสมบูรณ์มากที่สุด บางครั้งอาจจะมีอาการหรือลักษณะต่างๆที่ทำให้คุณแม่กังวลใจและกลัวลูกน้อยจะผิดปรกติไป ดังนั้นหากคุณแม่พบเห็นอาการและลักษณะต่างๆที่เรียกได้ว่าเป็นภาวะปกติในทารกแรกเกิดดังต่อไปนี้ก็สบายใจได้นะคะว่าลูกยังเป็นปรกติและแข็งแรงดีค่ะ


    การถ่ายอุจจาระบ่อย

    ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวอาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอย ขณะดูดนมแม่ มีการบิดตัวหรือผายลมจะมีอุจจาระเล็ดออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นอาการท้องเสีย ท้องเดิน เพราะอาจถ่ายได้มากกว่าสิบครั้งต่อวัน อุจจาระจะมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองคำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เนื่องจากนมแม่มีนมน้ำเหลือง (Colostrum) เจือปนอยู่ ซึ่งช่วยระบายท้อง นมน้ำเหลืองนี้จะหมดไปเหลือแต่น้ำนมแม่(ขาว)แท้เมื่อเข้าสู่ปลายสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด



    ผิวหนังลอก

    เป็นขบวนการสร้างเคลาติน (Keratin) ของผิวหนัง แสดงถึงภาวะการเจริญเต็มที่ของผิวหนัง ซึ่งจะมีการลอกภายหลังอายุ 24-28 ชั่วโมง มักพบที่มือและเท้า ผิวหนังที่ลอกจะหายไปในเวลา 2-3 วัน โดยไม่ต้องให้การรักษาใดๆ ในทารกที่เกิดก่อนกำหนด ผิวหนังจะลอกช้ากว่าซึ่งอาจปรากฏในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ที่บางคนเห็นลอกเป็นขุยๆและคิดว่าเป็นเพราะผิวลูกน้อยแห้งนั่นแหละค่ะ



    ปานแดงชนิดเรียบ

    อาการปานแดงที่เปลือกตาบน หน้าผากและท้ายทอย พบได้ประมาณร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิด ปานชนิดนี้จะมีขอบเขตไม่ชัดเจน และจะแดงขึ้นเวลาทารกร้อง ปานแดงที่เปลือกตามักหายไปเมื่ออายุครบหนึ่งปี ปานแดงที่หน้าผากมักพบร่วมกับปานแดงที่ท้ายทอย มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ปรากฏนานกว่าหนึ่งปีและอาจคงอยู่ให้เห็นในเด็กโตหรือผู้ใหญ่เป็นครั้งคราวเวลาโกรธ


    ปานดำ (Mongolian spot) เป็นสีของผิวหนังที่มีสีเขียวเทาหรือสีน้ำเงินดำ มีขอบเขตไม่ชัดเจน เกิดจากการมีเซลส์เมลานินแทรกซึมอยู่ในชั้นผิวหนังมาก พบที่บริเวณก้นกบ ก้นและหลังส่วนเอว อาจพบได้ที่หลัง ส่วนบนหัวไหล่ แขนและขา ภาวะนี้พบร้อยละ 90 ของทารกแรกเกิด โดยพบตั้งแต่แรกคลอดออกมาและมักหายไปก่อนพ้นวัยทารก


    ผื่นแดง (Erythema toxicum)

    ผื่นแดงที่ตรงกลางมีตุ่มนูนขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ซึ่งมีสีนวลหรือซีด บางครั้งอาจเป็นตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง อาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกระจาย พบได้ตามผิวหนังทั่วไป ภาวะนี้พบร้อยละ 50-70 ของทารกครบกำหนด อาจพบหลังคลอดทันที พบบ่อยที่สุดอายุ 1-2 วัน และอาจพบได้ในทารกมีอายุ 1-2 สัปดาห์ บางรายอาจพบได้ที่อายุ 3 สัปดาห์



    ผิวหนังลายเหมือนร่างแห (Cutis marmorata)

    ผิวหนังมีลวดลายเหมือนร่างแห หรือเหมือนลายหินอ่อน เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดฝอย พบในทารกแรกเกิดที่ปกติ แล้วยังพบในทารกที่อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเย็นหรือร้อนเกินไป


    ภาวะเขียวคล้ำที่ใบหน้า

    เกิดจากการมีเลือดคั่งและมีจุดห้อเลือดจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการถูกบีบรัดโดยธรรมชาติหรือจากสายสะดือพันคอ จุดห้อเลือดมักหายอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน


    ภาวะเขียวที่มือและเท้า

    พบได้บ่อยในทารก 1-2 วันหลังคลอด เกิดจากการไหลเวียนเลือดที่มือและเท้าช้าลงหรืออยู่ในที่เย็น หรืออาจมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ


    เลือดออกที่ตาขาว

    เลือดออกที่ตาขาวหรือรอบๆแก้วตา เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและหายเองภายใน 2-3 เดือน


    ตุ่มขาว

    ภาวะนี้มีลักษณะเป็นตุ่มนูนจากพื้นผิว มีสีนวลหรือสีขาวขนาด 1 มิลลิเมตร มักพบที่แก้ม ดั้งจมูก หน้าผาก เพดานแข็ง เหงือก หัวนม และปลายอวัยวะเพศของทารกเพศชาย ภาวะนี้พบร้อยละ 40 ของทารกครบกำหนด มักจะแตกและหายไปเมื่ออายุ 2-3 สัปดาห์ หรืออยู่ได้นานถึงสองเดือน


    ตุ่มขาวในปาก

    ที่กลางเพดานปากของทารกแรกเกิด อาจมีเม็ดสีขาวขนาดเท่าหัวเข็มหมุด(ประมาณ 1 มิลลิเมตร) เรียกว่า Epithelial pearl หรือ Epstein pearl ซึ่งเป็นปกติในทารกแรกเกิด อาจมีจำนวนมากน้อยต่างกัน ตุ่มเล็กๆนี้ไม่ทำให้ทารกไม่ดูดนมและจะหลุดไปเอง


    ลิ้นขาว

    พบได้ในทารกแรกเกิด โดยปรากฏสีขาวกระจายเท่าๆกัน บริเวณกลางลิ้น ซึ่งจะหายเองเมื่ออายุมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ การวินิจฉัยจะแยกโรคจากเชื้อรา ซึ่งพบมีแผ่นสีขาวเป็นหย่อมๆที่ลิ้น และพบร่วมกับที่เพดานปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ริมฝีปากด้วย







    (ขอขอบคุณข้อมูลจาก First year of life)


    .


    ตอบลบ
  2. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Neonatal Hyperbilirubinemia)


    เกิดจากอะไร






    ภาวะตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึง 25-50% ของทารกแรกเกิดทั้งหมดเลยทีเดียว ภาวะตัวเหลืองนี้เกิดจากสารที่มีชื่อว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง ในทารกปกติ จะมีสารบิลิรูบินนี้จะมีอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ในทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจะมีสารบิลิรูบินในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยจะอยู่ทั้งในกระแสเลือดและแทรกตามเนื้อเยื่อต่างๆทำให้เรามองเห็นว่าทารกมีผิวสีเหลืองขึ้น


    สารบิลิรูบินนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง โดยการสลายตัวของฮีโมโกลบิน 1 กรัม จะได้สารบิลิรูบิน 35 มิลลิกรัม ในระหว่างที่ทารกอยู่ในครรภ์ของมารดา บิลิรูบินของทารกส่วนใหญ่จะผ่านทางรกเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและถูกกำจัดที่ตับของมารดา แต่เมื่อคลอดออกมาแล้ว ทารกจะต้องทำการกำจัดบิลิรูบินทางตับของตนเอง

    ภาวะตัวเหลืองมีหลายชนิด จากหลายสาเหตุต่างกัน...


    ภาวะตัวเหลืองแบบปกติ


    ในทารกที่ปกติ อาจสามารถสังเกตได้ว่าทารกตัวเหลืองขึ้น โดยมักเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่วันที่ 2 - 3 และเห็นชัดเมื่อวันที่ 3 – 4 ซึ่งจะถือเป็นภาวะตัวเหลืองแบบปกติได้ ถ้าระดับบิลิรูบินไม่สูงจนเกินไป (ไม่เกิน 12 mg/dl ในทารกครบกำหนด และ ไม่เกิน 15 mg/dl ในทารกคลอดก่อนกำหนด)

    ซึ่งภาวะตัวเหลืองแบบปกติ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้..
    1. ปริมาณบิลิรูบินมากขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดง เพราะ ทารกแรกเกิดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ และ เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่า ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายเยอะกว่า
    2. มีการดูดซึมของบิลิรูบิน จากลำไส้มีปริมาณมาก จากการที่ได้รับน้ำนมในปริมาณที่น้อย และลำไส้ยังทำงานได้ไม่ดี
    3. ความสามารถในการกำจัดบิลิรูบินของตับยังไม่ดี


    ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่


    ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้จะพบในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยจะพบว่ามีสารบิลิรูบินสูงขึ้นแต่จะค่อยๆลดระดับลงเองเมื่อทารกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์

    ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ไม่น่ากังวล เพราะจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดแดงก็ไม่ได้แตกเยอะไปกว่าทารกปกติ และตับก็ยังทำงานเป็นปกติ โดยภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เพียงแต่พบว่าถ้างดนมแม่ ระดับบิลิรูบินจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง และถ้ากลับมาให้นมแม่ซ้ำ บิลิรูบินก็มักจะสูงขึ้นแต่สูงขึ้นในปริมาณที่ไม่มากเท่าเดิม


    ภาวะตัวเหลืองจากปัญหาการกินนมได้น้อย


    ภาวะนี้มักเกิดในช่วงอายุ 2 – 4 วัน โดยเกิดจากการที่ทารกยังดูดนมได้ไม่ดีและปริมาณน้ำนมแม่ยังมีน้อย ทำให้ทารกขาดน้ำและพลังงาน ทำให้มีการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้มากขึ้น

    ภาวะนี้รักษาโดยการให้นมบ่อยขึ้น โดยอาจให้นมทุก 2 – 3 ชั่วโมง จะทำให้บิลิรูบินลดลงได้


    ภาวะตัวเหลืองจากการแตกของเม็ดเลือดแดง


    ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกจากหมู่เลือดของแม่และของทารกไม่เข้ากัน (Blood group incompatible), มีความผิดปกติของรูปร่างเม็ดเลือดแดง (Spherocytosis หรือ Elliptocytosis), ภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase (G-6-PD Deficiency) ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย, โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ภาวะเลือดข้นเกินไป (Polycythemia), ภาวะเลือดออกบริเวณหนังศีรษะ (Cephalhematoma) ซึ่งต้องหาสาเหตุและรักษาที่ต้นเหตุ

    ภาวะตัวเหลืองจากการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้เพิ่มขึ้น


    ซึ่งอาจเกิดจาก ทารกดูดนมได้น้อย, ลำไส้ของทารกมีการทำงานที่ลดลง, ทารกกลืนเลือดปริมาณมากเข้าไป, ภาวะลำไส้อุดตันซึ่งทำให้บิลิรูบินตกค้างและถูกดูดซึมมากขึ้น

    ภาวะตัวเหลืองจากการกำจัดบิลิรูบินได้น้อยกว่าปกติ


    มีหลายสาเหตุเช่นกัน เช่น เกิดจาก ภาวะพร่องเอนไซม์ UDP-Glucuronyl Transferase, ภาวะขาดธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism), ท่อน้ำดีอุดตัน (Obstructive Jaundice), ยาบางชนิด

    ภาวะตัวเหลืองจากการสร้างบิลิรูบินมากกว่าปกติ ร่วมกับการขับถ่ายบิลิรูบินน้อยกว่าปกติ


    ภาวะที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia), ภาวะติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น การติดเชื้อซิฟิลิส (Congenital Syphilis) หรือ หัดเยอรมัน (Congenital German Measles), ภาวะขาดออกซิเจน, ทารกที่แม่เป็นเบาหวาน (Maternal Diabetes), ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome)



    ...

    ตอบลบ
  3. ... ต่อ ...



    ภาวะตัวเหลืองทำให้เกิดผลเสียอะไร


    ในกรณีที่ระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง (Kernicterus) ซึ่งจะทำให้เกิดการชักและมีการทำลายเนื้อสมองอย่างถาวร นอกจากนี้ยังพบว่า 25% มีโอกาสที่จะเกิดภาวะ I.Q. ต่ำ หรือ ความฉลาดลดลงได้ รวมถึงอาจเกิดภาวะการได้ยินผิดปกติ (Sensori neural hearing loss) ได้อีกด้วย

    รักษาอย่างไร


    การรักษาภาวะตัวเหลืองนั้น ต้องรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก ร่วมกับการลดระดับบิลิรูบินลง โดยการเพิ่มการกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย เช่น การส่องไฟรักษา หรือ นำบิลิรูบินออกจากร่างกายโดยตรง เช่น การเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นต้น

    ส่วนภาวะเหลืองจากนมแม่นั้น อาจทำการรักษาโดยการงดนมแม่และให้นมผสมแทนชั่วคราว ประมาณ 24 ชั่วโมง โดยอาจรักษาร่วมกับการส่องไฟด้วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งก็จะพอเพียงที่จะทำให้ระดับบิลิรูบินลดลง หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ต่อไปได้ โดยระดับบิลิรูบินมักไม่สูงขึ้นเท่าเดิม

    ป้องกันได้ไหม


    การให้นมทารกอย่างถูกต้อง คือ ต้องให้เร็ว ให้นมตั้งแต่อยู่ในห้องคลอด และ ต้องให้บ่อย คือ ประมาณ 10 – 12 ครั้งต่อวัน โดยไม่ให้น้ำหรืออาหารอื่นเสริม เนื่องจากจะทำให้ทารกกินนมได้น้อยลง การกระตุ้นให้ทารกถ่ายขี้เทา ก็จะช่วยป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้

    บรรณานุกรม

    1.ทารกแรกเกิด: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    2. อาการเหลืองในทารกแรกเกิด, รองศาสตราจารย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
    3.High-Risk Newborn: Hyperbilirubinemia and Jaundice, University of Verginia, Health System
    4.Newborn jaundice, Medical Encyclopedia, MedLine Plus



    ที่มา :: http://www.littlebebe.net/





    .

    ตอบลบ
  4. 5 โรคร้ายที่ควรระวังในเด็กแรกเกิด




    สิ่งหนึ่งที่คู่รักหลายคู่ ได้ให้ความสนใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญก็คือ ปัญหาการมีบุตรยาก และปัญหาการติดเชื้อและเกิดโรคในเด็กแรกเกิด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นสิ่งที่พ่อแม่มือใหม่ควรศึกษาและหาวิธีแก้ไข รวมทั้งการป้องกันโรคร้ายที่จะมาเยือนตัวเด็ก ดังนั้น คอลัมน์หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพ จึงขอนำเสนอ “5 โรคร้ายที่ควรระวังในเด็กแรกเกิด”




    1.ภาวะตัวเหลืองในทารก ตามปกติทารกแรกเกิดทุกคนจะมีตัวเหลืองมากบ้างน้อยบ้างเป็นปกติ โดยทั่วไปจะพบว่าตัวเหลืองมากที่สุดช่วง 3-4 วันหลังเกิด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทารกและมารดาออกจากโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งมารดาจะต้องสังเกตว่า ลูกตัวเหลืองมากจนต้องกลับมาพบแพทย์ เพื่อทำการประเมินและตรวจร่างกายซ้ำว่า ไม่เป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่


    ทารกที่มาพบแพทย์เมื่อตัวเหลืองมากจนถึงขั้นเป็นพิษกับเนื้อสมอง อาจจะสายเกินไป เพราะภาวะดังกล่าวได้ส่งผลเสียหายกับสมองที่เรียกว่าเป็น “สมองพิการ” ทำให้ทารกมีอาการบิดเกร็งแขนขา หลังแอ่น ชัก และอาจเสียชีวิตได้ หรือถ้ารอดชีวิตก็อาจมีผลในระยะยาว เช่น ปัญญาอ่อน การได้ยินบกพร่อง แขนขาเกร็งผิดปกติ เป็นต้น


    ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองมากในทารกจนอาจเป็นอันตราย ได้แก่ ทารกที่เกิดก่อนกำหนด, ทารกที่กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เช่น แม่มีเลือดกรุ๊ปโอ ลูกมีเลือดกรุ๊ปเอหรือบี, ภาวะหรือโรคที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ที่พบบ่อย เช่น ภาวะพร่อง จี 6 พีดี (G-6PD deficiency) หรือมีประวัติเคยมีบุตรที่ต้องส่องไฟรักษาตัวเหลืองมาก่อน รวมทั้งลูกได้น้ำนมไม่เพียงพอและมีน้ำหนักตัวลดลงมาก


    ดังนั้น หากทารกที่เพิ่งเกิดและมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเหลืองในลูก หากไม่แน่ใจว่าตัวเหลืองมากผิดปกติหรือไม่ ควรนำทารกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมิน ทั้งนี้ในปัจจุบันการรักษาภาวะตัวเหลืองมากผิดปกติทำได้ง่ายๆ โดยการส่องไฟ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถลดระดับตัวเหลืองได้ นอกจากนี้ หากตัวเหลืองมากจนอาจเป็นอันตราย ก็สามารถให้การรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดได้



    2. ภาวะติดเชื้อในทารก เนื่องจากทารกแรกเกิดยังมีภูมิต้านทานไม่มากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือเกิดก่อน กำหนดทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายและลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมอง ปอดอักเสบ ทารกที่มีภาวะติดเชื้ออาจมีอาการแสดงได้หลายอย่าง เช่น ซึม ดูดนมน้อย นอนนิ่งๆ ไม่ค่อยขยับแขนขาหรือร้อง ตัวเย็น ตัวลาย หายใจเร็วผิดปกติ หยุดหายใจจนตัวเขียวหรือซีด บางรายอาจมีอาการเกร็งกระตุก หรือมีไข้ ทารกที่มีภาวะติดเชื้อรุนแรงอาจถึงกับช็อก ความดันเลือดต่ำ และเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากท่านสังเกตเห็นอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบนำทารกมาพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาตามความเหมาะสม






    ...

    ตอบลบ
  5. ... ต่อ ...




    3. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทารกที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ หัวใจพิการชนิดมีภาวะตัวเขียว และชนิดไม่มีภาวะตัวเขียว อาการที่พบและทำให้สงสัยว่าอาจมีโรคหัวใจ เช่น ริมฝีปากเขียว หายใจแรงเร็ว ซี่โครงบาน หน้าอกบุ๋ม จมูกบาน ดูเหนื่อย ดูดนมไม่นานก็หยุดเป็นพักๆ หายใจแรง ตัวเย็น มือเท้าเย็น ซีดแบบเฉียบพลัน ทารกบางรายแพทย์อาจตรวจพบว่ามีโรคหัวใจตั้งแต่ก่อนออกจากโรงพยาบาล และตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจตรวจไม่พบ และแสดงอาการชัดเจนในช่วงหลังก็ได้



    4. ภาวะลำไส้ขาดเลือดจากการบิดขั้ว เนื่องจากการจัดเรียงตัวของลำไส้ผิดปกติแต่แรกเกิด(malrotation)เป็นภาวะที่พบไม่บ่อย แต่ถ้าเป็นแล้วให้การวินิจฉัยและรักษาล่าช้า จะทำให้ทารกเสียชีวิตได้ สาเหตุเกิดจากลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่มีการจัดเรียงตัวผิดปกติตั้งแต่เกิด ทำให้เกิดการบิดขั้วของเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้ขาดเลือด ทารกจะปกติดีทุกอย่างเมื่อแรกเกิด แต่ต่อมามีอาการอาเจียน ท้องอืด ถ่ายเป็นเลือดหรือสีน้ำหมาก หากปล่อยไว้ จะซึม ตัวซีด มีภาวะช็อก และเสียชีวิตได้ ทารกที่มีภาวะดังกล่าวต้องรีบให้การรักษาโดยการผ่าตัดอย่างรีบด่วน เพื่อไม่ให้ลำไส้ขาดเลือดจนไม่สามารถแก้ไขได้



    5. ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยพอสมควรในประเทศไทย โดยทั่วไปประมาณ 1 ต่อ 3,000-4,000 จะพบอุบัติการณ์ได้มากในบางพื้นที่ของประเทศไทยที่มีการบริโภคธาตุไอโอดีนน้อย เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง 1 ต่อ 1,900 ทารกเกิดมีชีพ ภาวะนี้เป็นภาวะซ่อนเร้นอยู่ในตัวทารก เนื่องจากไม่สามารถบอกความผิดปกติได้จากการดูภายนอก เนื่องจากทารกจะดูเป็นปกติทุกอย่าง แต่หากไม่ให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก (ภายใน 2 เดือน) จะส่งผลเสียรุนแรงต่อพัฒนาการเจริญเติบโตและสมองทำให้ปัญญาอ่อน


    อันที่จริงเราสามารถตรวจได้ง่าย เพียงตรวจเลือดทารกก่อนออกจากโรงพยาบาล เช่น หยดเลือดบนกระดาษกรองส่งตรวจ ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งทำการตรวจคัดกรองภาวะดังกล่าว ดังนั้น หากท่านได้รับการติดต่อจากทางโรงพยาบาล หรือจากกระทรวงสาธารณสุขว่า สงสัยทารกจะมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ต้องรีบนำทารกกลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจซ้ำ และให้การรักษาในทันทีเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน


    แม้ว่า 5 อันดับโรคร้ายที่มักพบในเด็กแรกเกิด จะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แต่ก็เชื่อว่าความรัก ความเอาใจใส่ การเลี้ยงดูเด็กทารก ก็คงจะมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม เพียงเพื่อให้เด็กเติบโตมามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม






    โดย รศ.นพ.ประชา นันท์นฤมิต ; หน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล



    .

    ตอบลบ
  6. ภาวะตัวเหลืองของเบบี๋ . . .ต้องเฝ้าระวัง



    ภาวะตัวเหลืองของเบบี๋ . . .ต้องเฝ้าระวัง (แม่และเด็ก)


    อาการตัวเหลืองในทารกหลังคลอดก็เป็นอีกภาวะที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลากหลาย ก็เป็นคำถามที่น่าสงสัยอย่างหนึ่งที่สร้างความกังวลให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เป็นอย่างมาก ที่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุความเป็นมาของอาการผิดปกติเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน

    อาการตัวเหลืองคือ

    เมื่อแรกเกิด เบบี๋จะมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิริลูบิน (Billrubin) ในเลือดสูง แต่จะถูกขับออกจากร่างกายโดยตับ ซึ่งในช่วงแรกเกิดตับยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ลูกมีอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยจะเริ่มปรากฏขึ้นที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยๆ ไล่ลงมาลำตัวจนถึงขาและเท้า ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับทารกแรกเกิดประมาณ 6 ใน 10 คน และมักจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3-4 หลังคลอด แต่จะค่อยๆ ลดระดับความเหลืองหรือจางหายไปปลายสัปดาห์ที่ 1 จึงนับว่า เป็นเรื่องปกติ ไม่ร้ายแรงอะไร

    นมแม่…สารอาหารธรรมชาติ

    ควรให้เบบี๋ดูดนมอย่างเพียงพอตามความต้องการ โดยเฉพาะในระยะสัปดาห์แรกน้ำนมเหลืองจะช่วยในการขับขี้เทา (meconium) และช่วยบรรเทาอาการตัวเหลืองให้ดีขึ้นได้ แต่ก็มีบางกรณีที่เบบี๋ตัวเหลืองเพราะเกิดจากสารบางอย่างในน้ำนมแม่ แต่ภาวะที่เกิดจากน้ำนมแม่นั้นไม่ทำให้เบบี๋มีอันตรายแต่อย่างใด โดยอาจพบภาวะดังกล่าวในปลายอาทิตย์แรก และอาจเหลืองนานเกิน 7-10 วันได้ค่ะ

    ตัวเหลืองอย่างไหน…ถึงอันตราย

    หากมีสารเหลืองสูงในระดับที่อาจเป็นอันตราย สารนี้สามารถเข้าไปที่สมองได้ อาจทำให้เกิดความพิการทางสมอง (KERNICTERUS) และมีผลต่อการได้ยินของเบบี๋ได้ค่ะ ดังนั้นถ้ายังคงมีอาการตัวเหลืองรุนแรงนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยว่า เกิดจากความเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือสาเหตุอื่นๆ หรือไม่

    ทั้งเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายมีการแตกทำลายเร็วกว่าปกติ ซึ่งก็มีสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น คลอดก่อนกำหนดหรือใช้เครื่องดูดเป็นตัวช่วย กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่ตรงกัน และการทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ รวมทั้งมีการอุดตันในทางเดินอาหาร ลำไส้ หรือท่อน้ำดี สารสีเหลืองจึงขับออกมาไม่ได้ แต่กรณีหลังนี้พบได้น้อยรายมากค่ะ

    การรักษาอาการตัวเหลือง

    สำหรับอาการตัวเหลืองที่เกิดจากความผิดปกติดังกล่าว ตามหลักทั่วไปจะมีวิธีรักษาหลักๆ อยู่ 2 วิธีค่ะ คือ การรับแสงอัลตราไวโอเลตจากเครื่องฉายแสง (Phototherapy) ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบิน ทำให้ระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ในเบบี๋บางรายอาจมีอาการที่รุนแรงมาก ก็อาจต้องได้รับการถ่ายเลือดมีฉะนั้นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ค่ะ

    เฝ้าระวังให้ตรงจุด…คุณก็ทำได้

    กรณีทารกบางคนก็สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่ามีภาวะตัวเหลือง แต่กรณีที่ไม่แน่ใจ ก็มีวิธีทดสอบง่ายๆ คือ ลองเปิดไฟให้ห้องมีแสงสว่างพอ จากนั้นให้คุณแม่ใช้นิ้วมือกดลงบนผิวหนังของเบบี๋ เมื่อปล่อยมือกลับเห็นเป็นสีเหลือง แทนที่จะเป็นสีขาวซีด ยิ่งหากเห็นชัดเจนบริเวณใบหน้าลงมาจนถึงท้อง ควรพาไปพบหมอ ที่สำคัญห้ามปฏิบัติตามความเชื่อเก่าๆ ที่มักแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ อาจมีผลเสียทำให้เบบี๋ดูดนมได้น้อยลง หรือกระทั่งการนำตัวไปผึ่งแดด ปัจจุบันก็ไม่แนะนำกันแล้วค่ะ







    .

    ตอบลบ
  7. 16 อาการปกติ ที่แม่มักคิดว่าลูกผิดปกติ


    เรื่องที่คุณแม่กังวลใจมากที่สุด มักหนีไม่พ้นอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก โดยเฉพาะลูกที่เพิ่งจะกำเนิดขึ้นมาเป็นสมาชิกใหม่ แม้ความจริงจะเป็นเพียงอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ คุณแม่ก็มักตกใจและคิดว่าเป็นอาการที่ผิดปกติ มาดูกันสิว่ามีอาการปกติใดบ้าง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับลูกน้อยวัยนี้ และคุณแม่มักคิดว่าเป็นอาการผิดปกติ

    อาการปกติของเจ้าตัวน้อย

    1. อาเจียนหรือแหวะนม

    เด็กวัยนี้มักแหวะนมกันมาก ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะหูรูดกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี จึงปิดไม่สนิท ทำให้แหวะนมเล็กน้อยได้ ดังนั้นหลังมื้อนมควรไล่ลมให้ลูก โดยจับนั่งตัวตรงบนตัก หรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที หรือให้ลูกนอนยกศีรษะสูง และตะแคงขวาหลังดูดนมราวครึ่งชั่วโมง ถ้าให้ลูกกินนมขวด ควรอุ้มให้ลำตัวและศีรษะลูกสูงไว้ ถือขวดนมให้น้ำนมท่วมจุกนมตลอดด้วย แต่ถ้าลูกอาเจียนมากขึ้น รีบพาไปพบกุมารแพทย์ค่ะ

    2. แผลที่เพดานปาก

    แผลที่เพดานปากมักเกิดขึ้นกับลูกน้อยในช่วง 2-3 วันหลังคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากการดูดนมที่แรงไปนิดของลูกเองค่ะ ไม่ได้มีความผิดปกติร้ายแรงใด ๆ อาการที่เกิดขึ้นนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง คุณแม่ไม่ต้องกังวลหรือให้การรักษาใด ๆ นะคะ

    3. ลิ้นถูกตรึง

    ลิ้นวัยแรกเกิดมักสั้นจนดูเหมือนผิดปกติได้ ซึ่งเกิดจากเยื่อบุที่ยึดใต้ลิ้นกับพื้นของช่องปากสั้นหรือหนากว่าปกติ เมื่อโตขึ้นลิ้นก็จะยาวออก แล้วก็บางลงไปทางปลายลิ้นเอง ไม่ได้ถือเป็นเรื่องผิดปกติใด ๆ เวลาร้องลูกก็สามารถแลบลิ้นพ้นริมฝีปากได้ เมื่อโตแล้วลูกก็กระดกลิ้นให้แตะเพดานได้ แลบลิ้นเลียริมฝีปากบนได้ ถือว่าปกติ ถ้ายังไม่แน่ใจพาลูกไปพบแพทย์ก็ดีค่ะ เพราะหากลิ้นถูกยึดกันจริง ๆ แพทย์จะทำการผ่าตัดให้เมื่ออายุ 2-3 ปี

    4. ฝีจากวัคซีนวัณโรค

    วันแรกหลังคลอด วัยแรกเกิดจะถูกฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคกันถ้วนหน้าค่ะ อาจฉีดตำแหน่งหัวไหล่ข้างซ้ายหรือขวา หรือสะโพก พออายุสักหนึ่งเดือนก็มักเกิดฝีเล็ก ๆ แล้วก็แห้งกลายเป็นแผลบุ๋มเมื่ออายุสัก 2 เดือน คุณแม่ไม่ต้องดูแลหรือรักษานะคะ แต่ถ้าฝีมีขนาดใหญ่ แตก มีหนองไหล เป็นนานกว่า 2 เดือน เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70 % วันละหลายครั้งจนกว่าแผลจะแห้งค่ะ

    5. ปานแดงนูน

    มักเป็นที่ใบหน้า เป็นก้อนนูนมีขอบชัด นุ่ม สีแดง ส่วนใหญ่มักหายเอง โดยเมื่อลูกโตขึ้นปานจะเล็กลงเรื่อย ๆ ผิวสีแดงจะกลายเป็นสีเทาซีด เด็กผู้หญิงและทารกเกิดก่อนกำหนดที่หนักน้อยกว่า 1,500 กรัม จะเป็นมากกว่าเพื่อนค่ะ อาจมีปานแดงเพียงอันเดียว แล้วโตตามตัวในอายุ 6-8 เดือน ซึ่งลูกมักโตเร็ว ช่วงนี้ผิวอาจเป็นแผลได้ ถ้าไม่ติดเชื้อ เลือดไม่ออกก็อย่ากังวลค่ะ แต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งสำคัญ แล้วก้อนโตเร็วมาก มีเลือดออก ติดเชื้อ ต้องรีบไปพบแพทย์นะคะ

    6. กลากน้ำนม

    มักเป็นกันมากที่แก้มทั้งสองข้าง ลามไปที่ใบหน้า คอ ข้อมือ มือ ท้อง แขน ขา โดยผิวจะมีผื่นแดง มีน้ำเหลือง มักเป็นเมื่อหม่ำนมวัวค่ะ ดังนั้นให้นมแม่ดีที่สุด แต่ถ้าคุณแม่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ ก็เลี่ยงอาหาร ที่ทำให้แพ้ เพราะจะถูกขับออกมาทางนมแม่ เช่น นมวัว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ไข่ อย่าให้อาหารเสริมกับลูกช่วง 6 เดือนแรก ไม่อาบน้ำบ่อย ไม่ฟอกสบู่บ่อย ไม่ใช้น้ำอุ่นอาบ ไม่ใช้ผ้าหรือฟองน้ำถูผิวลูกแรง แล้วถ้ายังไม่ดีขึ้น พาลูกไปพบแพทย์ค่ะ

    7. สะดือจุ่น

    ทารกที่น้ำหนักตัวน้อยมักเป็นมากค่ะ เกิดจากวงรอบสะดืออ่อนแอจึงปิดได้ไม่สมบูรณ์ อีกทั้งความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นเมื่อลูกไอ ร้องไห้ เบ่ง หรือบิดตัว ก็ทำให้เป็นก้อนนุ่มอยู่ข้างใต้สะดือ ก้อนที่ปูดออกมานี้ยุบได้ง่ายไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ บางทีก็อาจมีก้อนปูดออกมาเหนือสะดือ ซึ่งก็จะหายได้เองหลังวัย 1 ปี ไม่ต้องกังวลนะคะ แล้วไม่ควรใช้แถบกาวเหนียว ๆ ปิด หรือใช้เหรียญปิดทับก้อนปูด ๆ นี้ เพราะไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นค่ะ

    8. ร้องโคลิก หรือร้อง 3 เดือน

    มักพบในทารกต่ำกว่า 3 เดือน ซึ่งจะร้องซ้ำเป็นเวลาเดียวกัน เช่น ช่วงบ่ายหรือเย็น มักร้องต่อเนื่องเกิน 3 ชั่วโมงต่อวัน เป็นมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ นานกว่า 3 สัปดาห์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ อาจเพราะมีลมเข้าท้องมาก แพ้โปรตีนนมวัว ได้รับนมมาก ได้อาหารมีแป้งสูง ทำให้มีก๊าซในท้องมาก จึงท้องอืด แน่นท้อง ไม่มีการรักษาใด ๆ ที่ได้ผลค่ะ ลองไล่ลมหลังมื้อนมทุกครั้งนะคะ ถ้าใช้นมขวดต้องอุ้มลูกให้ถูกต้อง ถือขวดนมให้ถูก อาจให้นอนคว่ำบนตัก หรือนอนทับบนกระเป๋าน้ำอุ่นก็อาจช่วยบรรเทาได้บ้างค่ะ




    ...

    ตอบลบ
  8. ... ต่อ ...



    9. ตัวเหลือง

    มักพบใน 2-4 วันหลังคลอด อาจเป็นเพราะได้รับนมแม่ไม่พอ ดูดนมได้น้อย ดังนั้นควรให้ลูกอยู่กับคุณแม่ตลอดนะคะ ให้ดูดนมแม่บ่อย ๆ คือ มากกว่า 8 มื้อต่อวัน อาการนี้อาจเริ่มเป็นในช่วงปลายสัปดาห์แรก หรือ 4-7 วันในสัปดาห์ที่ 2-3 หลังคลอด เมื่อให้นมแม่ต่อไป อาการนี้ก็จะค่อย ๆ ลดลงจนเป็นปกติในช่วงวัย 3-12 สัปดาห์ได้เองค่ะ แต่ในบางกรณีนมแม่ก็อาจทำให้ลูกตัวเหลืองได้เช่นกัน เนื่องจากตับยังทำงานไม่เต็มที่ ซึ่งในกรณีนี้จะไม่มีผลเสียแต่อย่างใด (ถ้าลูกกินมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว)

    10. ผิวหนังลอก

    ผิวหนังจะมีการลอกถือเป็นเรื่องปกติค่ะ ผิวหนังของทารกครบกำหนดใน 1-2 วันแรกจะยังไม่ลอก จนหลังอายุ 24-48 ชั่วโมง จึงเริ่มลอก มักพบที่มือและเท้า ผิวหนังที่ลอกจะหายไปในเวลา 2-3 วัน คุณแม่ไม่ต้องไปทำการรักษาใด ๆ นะคะ ส่วนทารกเกิดก่อนกำหนด ผิวหนังจะลอกช้ากว่า คือ 2-3 สัปดาห์หลังคลอดถึงจะลอก มีเหมือนกันที่ทารกมีผิวลอกออกมาเลยหลังคลอด มักพบในทารกที่คุณแม่ตั้งครรภ์เกินกำหนดค่ะ

    11. เขียวคล้ำ

    ปลายมือปลายเท้าลูกวัยแรกเกิดมักมีสีเขียวคล้ำ เนื่องจากกลไกการควบคุมเลือดฝอยยังทำงานไม่เต็มที่ อีกทั้งยังเกิดจากการที่ร่างกายลูกถูกบีบรัด ทำให้มีเลือดคั่ง มีจุดห้อเลือดจำนวนมาก โดยเฉพาะร่างกายที่เป็นส่วนนำขณะคลอดตามธรรมชาติ เช่น ใบหน้า ก้น ซึ่งจุดห้อเลือดเหล่านี้มักหายไปได้เองอย่างรวดเร็วใน 2-3 วันค่ะ

    12. ผิวหนังลายเหมือนร่างแห

    ช่วงที่เกิดมาใหม่ ๆ ผิวเด็กวัยทารกแทบทุกคนมักมีลักษณะเหมือนลวดลายร่างแห บางทีก็มองดูเหมือนลายหินอ่อน เพราะหลอดเลือดฝอยและหลอดเลือดดำย่อยกำลังขยายตัวค่ะ ศูนย์ควบคุมหลอดเลือดยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ หรือถ้าทารกอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเย็นหรือร้อนไป ผิวก็มักมีอาการนี้เกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ

    13. เลือดออกที่ตาขาว

    ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กวัยแรกเกิด ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ เลือดจะออกมามีลักษณะเป็นจุด ๆ ที่ตาขาว หรือรอบ ๆ แก้วตา สาเหตุอาจเกิดขึ้นในขณะคลอด เกิดจากการที่ความดันในทรวงอกของลูกเพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใดในขณะที่ลูกผ่านออกมาทางช่องคลอด ซึ่งมักจะหายไปได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์

    14. ตุ่มขาวในปาก

    การที่มีตุ่มเม็ดสีขาวเท่าหัวเข็มหมุดเกิดขึ้นกลางเพดานปาก เหงือก หัวนม ปลายอวัยวะเพศชาย ถือเป็นเรื่องปกติที่เด็กมักเป็นกัน อาจมีตุ่มจำนวนมากน้อยต่างกัน อีกทั้งตุ่มเล็ก ๆ นี้ก็ไม่ได้ขัดขวางการดูดนมของลูก ซึ่งปล่อยไว้ก็จะหลุดไปเอง อย่าไปขยี้หรือบ่งออกเชียวนะคะ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ค่ะ

    15. ตัวแดงครึ่งซีก

    สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด มักเป็นกันมากในช่วง 4 วันแรกหลังคลอด และอาจพบได้จนถึงอายุ 3 สัปดาห์ มักเป็นกับทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ส่วนทารกครบกำหนดอาจพบได้บ้าง โดยหน้าผาก ใบหน้า ลำตัว แขนขาจะมีสีแดงครึ่งซีก อีกซีกหนึ่งจะซีดลงจนเห็นแนวกึ่งกลางแบ่งซีกได้ชัด และมักเป็นอยู่นานหลายชั่วโมง

    16. ปากมีเม็ดพอง

    เด็กแรกเกิดมักมีภาวะขอบริมฝีปากเป็นเม็ดพองเล็ก ๆ เกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณขอบริมฝีปากบนและล่าง หรือพบเฉพาะที่กลางริมฝีปากบนก็ได้ค่ะ อย่ากังวลใจนะคะ เพราะเม็ดพองที่เกิดขึ้นนี้จะค่อย ๆ แห้ง แล้วก็ลอกหลุดออกเป็นแผ่นไปเองในที่สุดค่ะ







    .

    ตอบลบ
  9. อาการของโรคที่พบในวัยเด็ก

    เมื่อเด็กเจ็บป่วย สิ่งสำคัญที่บิดามารดาจะทราบได้ก็คือ "อาการของโรค" ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายแสดงออกมา เพื่อแสดงว่า ร่างกายมีความผิดปกติผันแปรไป เปรียบเสมือนสัญญาณ เตือนว่า ร่างกายเจ็บป่วย หรือเกิดมีโรคขึ้นแล้วในร่างกาย อาการที่เกิดขึ้นอาจสังเกตได้ง่าย แต่บางครั้งก็สังเกตได้ยาก เด็กโต อาจบอกอาการได้ แต่เด็กเล็กไม่สามารถบอกได้ บิดามารดา หรือผู้ปกครองจะต้องสังเกตเอาเอง โดยทั่วไปเวลาเด็กเจ็บป่วย มักแสดงอาการ ๒-๓ อย่างร่วมกันไปเสมอ เช่น มีไข้ร่วมกับ เจ็บคอ ไอ หรือ อุจจาระร่วงกับอาเจียน เป็นต้น
    อาการไข้

    ไข้เป็นอาการที่พบได้บ่อยในวัยเด็ก ไข้ไม่ใช่โรค หมายถึง ภาวะที่มีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าระดับปกติ การที่เราจะทราบว่า เด็กเป็นไข้ อาจทราบจากการคลำตัวเด็ก โดยมากใช้หลังมืออิงบนหน้าผาก ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้เมื่อมีไข้สูงเท่านั้น ในรายที่มีไข้ต่ำๆ การใช้วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ การจะทราบแน่นอนก็คือการวัดอุณหภูมิด้วยปรอทวัดอุณหภูมิ ซึ่งอาจวัดได้ทางปาก ซึ่งปรอทวัดมีลักษณะใหญ่ แผน) หรือวัดทางทวารหนัก (ซึ่งปรอทวัดจะเล็กกว่าและกลม) ส่วนการวัดทางรักแร้จะใช้เครื่องวัดแบบใดก็ได้ เด็กปกติจะมีอุณหภูมิที่วัดทางปากอยู่ระหว่าง ๓๖.๕ - ๓๗.๕ องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่วัดทางปากจะต่ำกว่าอุณหภูมิจะต่ำสุด และจะสูงสุดตอนบ่ายและเย็น ซึ่งอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละช่วงเวลาของวันประมาณ ๑ องศาเซลเซียส

    การวัดปรอททางปาก ควรทำในเด็กโต โดยทั่วไปอายุเกิน ๖ ปีแล้ว (เด็กที่เล็กกว่านี้อาจไม่รู้เรื่อง บางครั้งอาจเคี้ยวปรอทวัดอุณหภูมิแตก ซึ่งมีอันตรายได้) การวัดทางปาก ใช้อมไว้ใต้ลิ้นประมาณ ๒ - ๓ นาที สำหรับเด็กเล็กต้องใช้วัดทางทวารหนัก ซึ่งปลายปรอทควรทาด้วยวาสลิมเพื่อหล่อลื่น ก่อนการใส่เข้าทวารหนักควรกระทำด้วยความนุ่มนวล ใส่ลึกเข้าไปประมาณ ๓ เซนติเมตร และทิ้งไว้ ๒ - ๓ นาที เช่นกัน โดยระวังอย่าให้เด็กดิ้น

    สาเหตุของไข้ในเด็ก ที่สำคัญคือ

    โรคติดเชื้อ

    เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด พบได้ตั้งแต่ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หูส่วนกลางอักเสบ ปอดอักเสบ วัณโรค ไข้ออกผื่น ไข้เลือดออก ไข้รากสาดน้อย ไข้มาเลเรีย และการติดเชื้อตามอวัยวะของระบบต่างๆ ฯลฯ

    การขาดน้ำ

    เช่น ดื่มน้ำไม่พอ หรือมีการเสียน้ำจากร่างกายมาก เช่น อุจจาระร่วง หรือเสียน้ำจากการหอบเป็นเวลานาน

    การระบายความร้อนของร่างกายไม่ดี

    อาจพบได้แม้ในเด็กปกติ เช่น เด็กเล็กๆ ที่ใส่เสื้อหนา หรือถูกห่อหุ้มด้วยผ้าทำให้ระบายอากาศไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายมีความผิดปกติของต่อมเหงื่อของผิวหนังทำให้ระบายความร้อนทางผิวหนังไม่ได้ก็เกิดอาการไข้ การได้รับความร้อนมาก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่กลางแดดนาน ๆ ซึ่งจะพบเสมอในเด็กที่วิ่งเล่นตามชายหาดในฤดูร้อน ก็ทำให้เด็กมีไข้ได้




    ...

    ตอบลบ
  10. โรคทางสมอง



    เช่น ความพิการของสมอง เลือดออกในสมอง ทำให้มีการรบกวน ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในสมอง อันเป็นสาเหตุของไข้ได้เช่นกัน

    การแพ้ยา พิษจากสารเคมี

    ปฏิกิริยาของร่างกายต่อวัคซีนในรายที่มีไข้เรื้อรังอาจเกิดจากโรคของเนื้อเยื่อทั่วร่างกายหรือเป็นมะเร็งก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีไข้

    จะเห็นได้ว่าอาการไข้มีสาเหตุได้หลายประการ ดังนั้นเมื่อเห็นเด็กมีไข้ควรต้องดูลักษณะไข้ด้วยว่า มีไข้ต่ำๆ หรือไข้สูงไข้ขึ้นแล้วลง หรือสูงลอยตลอดเวลา มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น หนาวสั่น ปวดเมื่อย ตามตัว มีอาการหวัด ไอ ปวด ศีรษะ อาเจียน ฯลฯ ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยโรคถูกต้องมากขึ้น การที่มีไข้สูงมากในวัยเด็กอาจทำให้เกิดการชักได้ (ดูเรื่องชัก) ดังนั้นเมื่อเวลามีไข้ สิ่งที่บิดามารดาอาจช่วยเด็กเป็นการบริบาลเบื้องต้นที่ไม่มีอันตราย คือ การเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำประปา เช็ดคามซอกรักแร้ คอ ขาหนีบ ศีรษะ ซอกคอ จนกว่าไข้จะลด (การใช้น้ำเย็นจัดอาจทำให้เด็กหนาวสั่น) ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ อย่าใส่เสื้อหนาอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และนำไปให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุเพื่อรักษาอย่างถูกต้องต่อไป การใช้ยาลดไข้ ควรระมัดระวังในขนาดของยาให้ถูกต้อง หรือยาลดไข้ประเภทแอสไพรินอาจมีอันตรายในโรคไข้เลือดออก เพราะทำให้เกล็ดเลือดมีหน้าที่ผิดปกติ จะทำให้อาการเลือดออกเกิดได้ง่ายขึ้น


    ...

    ตอบลบ
  11. อาการชัก




    ชักเป็นอาการที่พบได้ในวัยเด็ก และทำให้บิดามารดา หรือผู้พบเห็นตกใจ เด็กจะมีอาการกระตุกแขนขาน้อยๆ หรือแรงถี่กล้ามเนื้อเกร็ง ตาเหลือกค้าง กัดฟันหรือลิ้น อาจมีอาการหมดสติร่วมด้วย การชักอาจเป็นทั้งตัว หรือเป็นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแล้วแต่พยาธิสภาพ ซึ่งกลไกในการชักก็เกิดจากการกระตุ้นเปลือกสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย การชักในวัยเด็กมีสาเหตุมากมายซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก

    อาการชักในทารกแรกคลอด

    (อายุภายใน ๑ เดือน) สาเหตุที่สำคัญในวัยนี้คือ ได้รับอันตรายจากการคลอด การคลอดยากการใช้เครื่องมือช่วยคลอด ทำให้มีเลือดออกในสมองหรือเด็กคลอดออกมาแล้วไม่หายใจขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองเป็นสาเหตุของการชักที่สำคัญในวัยนี้ ความพิการของระบบประสาทโดยเฉพาะของสมองพบได้บ้าง

    ความผันผวนในการครองธาตุที่ผิดปกติในร่างกาย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับธาตุแคลเซียม หรือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ หรือระดับธาตุโซเดียมสูงในเลือด เป็นสาเหตุการชักในระยะนี้ได้เช่นกัน

    การติดเชื้อของระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบซึ่งมักเป็นผลจากการมีเชื้อโรคในเลือดแพร่กระจายไป นอกจากนั้นในบ้านเรา โรคบาดทะยักในเด็กอ่อนยังพบได้เสมอที่ทำให้เด็กชักแกร่ง โดยเฉพาะเวลาจับต้องเด็ก หรือมีเสียงดัง เด็กจะชักตัวแข็งอ้าปากไม่ขึ้นเพราะขากรรไกรแข็ง โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดนี้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำคลอดไม่สะอาด คลอดโดยหมอตำแยที่ไม่ได้รับการอบรม โดยใช้กรรไกรหรือมีดไม่สะอาด หรือใช้ไม้ไผ่ตัดสายสะดือ นอกจากนั้นยังมักใช้ก้อนดินก้อนหินวางรองสายสะดือก่อนตัด ซึ่งเชื้อบาดทะยัก พบมากในดินก็จะเข้าร่างกายทางสายสะดือ และก่อโรคบาดทะยักต่อมาในระยะเวลาประมาณ ๑-๓ สัปดาห์ โรคนี้ สามารถป้องกันได้ถ้ามารดาได้รับการทำคลอดที่สะอาดถูกอนามัย เช่น ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย

    ยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุการชักในเด็กแรกคลอดได้นอกจากนั้น มารดาที่ติดยาเสพติดประเภทมอร์ฟีน หรือเฮโรอีน บุตรที่คลอดออกมาเมื่อไม่ได้รับยาดังกล่าว ซึ่งก่อนเคยได้รับโดยผ่านทางมารดาอาจเกิดการชักซึ่งมักมีน้ำลายฟูปากร่วมด้วย

    อาการชักหลังอายุ ๑ เดือน

    สาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ อาการชักจากไข้สูง อาการชักที่มีสาเหตุจากไข้สูงนี้จะพบในเด็กอายุระหว่าง ๖ เดือนถึง ๖ ปี (อายุก่อนและหลังจากช่วงนี้การชักมักไม่ใช่สาเหตุจากไข้สูง) อาการชักจะมีกระตุกทั่วตัว ไม่จำกัดอยู่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เกิดขึ้นเมื่อมีไข้สูงมาก และมักเกิดขึ้นในระยะไม่เกิน ๑๒ ชั่วโมงหลังจากเริ่มตัวร้อน มักมีประวัติโรคนี้ในครอบครัว การชักมักไม่เกิน ๑๕ นาที ภายหลังชักไม่มีโรคแทรกซ้อน เช่น อัมพาต หรือหมดสติ การตรวนน้ำไขสันหลัง หรือตรวจคลื่นสมองด้วยไฟฟ้าจะปกติ

    โรคลมบ้าหมู (eqilepsy)

    เป็นโรคที่ทำให้เกิดการชักได้ เกิดขึ้นเพราะมีความผิดปกติในการทำงานของเซลล์สมอง ส่วนมากมักเกิดภายหลังอายุ ๕ ปี การชักในลมบ้าหมูมีได้หลายแบบ อาจชักกระตุกทั้งตัว กระตุกางส่วน หรือหัวผงก หรือในบางแบบอาจไม่มีอาการชักกระตุกให้เห็นแต่มีอาการเหม่อ ไม่รู้เรื่องประมาณ ๒๐ วินาทีก็ได้ การชักในโรคลมบ้าหมูมักไม่มีอาการไข้ หรืออาการของโรคติดเชื้อนำ บางรายของผู้ป่วยลมบ้าหมูอาจมีอาการบางอย่างนำมาก่อน เช่น เห็นแสง หรือได้ยินเสียบางอย่างก่อนชัก





    ...

    ตอบลบ
  12. โรคติดเชื้อของสมอง



    พบเป็นสาเหตุได้บ่อย ที่สำคัญคือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อบัคเตรี (สาเหตุจากเชื้อวัณโรคยังพบได้ในบ้านเรา) สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส ฝีในสมองเป็นสาเหตุของการชักที่พบได้ มาเลเรียขึ้นสมองพบน้อยในวัยเด็ก มักพบในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในถิ่นที่มีมาเลเรียชุกชุม ผู้ป่วยที่เป็นโรคไอกรนโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ ในระยะไอมาก มีเสมหะเหนียวอุดกั้นหลอดลม ทำให้หายใจไม่สะดวก มีการขาดออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองก็ทำให้ชักได้เช่นกัน

    ความพิการของสมองแต่กำเนิด

    อาจมาเริ่มชักในอายุหลัง ๑ เดือนก็ได้ ศีรษะที่ถูกกระทบกระแทก ความดันโลหิตสูง การกลั้นหายใจในเด็ก พิษจากสารบางชนิด เช่น ตะกั่วหรือยาบางชนิด ความผันผวนในการครองธาตุของร่างกาย ก็เป็นสาเหตุการชักในวัยนี้ได้

    เมื่อเด็กเกิดอาการชักขึ้น บิดามารดาอย่าได้ตระหนกตกใจจนเกินเหตุจนทำอะไรไม่ถูก ควรจับเด็กนอนลงกับพื้น เช็ดหรือดูดน้ำมูกน้ำลายออกเพื่อหายใจโล่ง ขณะชัก ฟันของผู้ป่วยอาจกัดลิ้น ควรใช้ผ้าสะอาดพันด้ามช้อนใส่ไว้ในปากเหนือลิ้นเพื่อกันการกัดลิ้น ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการชัก ให้เช็ดตัวเด็กด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดาจนไข้ลง เมื่อเด็กหายจากการชักต้องพาไปหาแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป


    ...

    ตอบลบ
  13. อาการไอ


    ไอเป็นอาการที่พบได้เสมอทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ การไอบางครั้งมิได้เกิดจากโรค แต่เป็นกลไกของร่างกายที่ต้องการขับสารบางอย่างที่หายใจเข้าไป เช่น เชื้อโรค หรือสิ่งระคายการไอเช่นนี้จึงไอเป็นครั้งคราวเท่านั้น ไม่มีอาการอื่นร่วม และเป็นสิ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การไอที่เป็นอยู่เป็นวัน ๆ นานเรื้อรังหรือมีอาการอื่นร่วมด้วยมักจะมีสาเหตุจากโรค

    ในทารกแรกคลอดมักไม่พบอาการใด แม้ว่าทารกนั้นจะมีโรคของระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง เช่น ปอดอักเสบการไอที่ร่วมกับการสำลักในระยะแรกคลอด ซึ่งมักจะมีความผิดปกติของหลอดลมที่ที่ท่อต่อกับหลอดอาหาร เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด และมักเกิดอาการดังกล่าวขึ้นในขณะดูดนม

    การไอในระยะหลังอายุ ๑ เดือนไปแล้ว มักเกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ โรคหัดจะเริ่มจากการมีไข้สูงและไอมากประมาณ ๓-๔ วัน ก่อนผื่นออก



    โรคไอกรน


    เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไอได้รุนแรงและสามารพเกิดได้ตั้งแต่อายุภายใน ๑ เดือน การไอในโรคไอกรนนี้จะเริ่มไอไม่รุนแรง และมีอาการคล้ายไข้หวัดในระยะ ๑-๒ สัปดาห์แรกแต่ต่อไปจะไอรุนแรง ไอเป็นชุดๆ มีเสมหะมากและเหนียว ไอจนหน้าดำหน้าแดง ในเด็กโตเมื่อสิ้นสุดการไอมักหายใจเข้าแรงจนมีเสียง "วู้บ" ตามมาด้วย บางรายไอมากจนเลือดออกในเยื่อบุตาขาว อาการไอจะปรากฏอยู่นานประมาณ ๓ เดือน ดังนั้นบางคนจึงเรียกโรคนี้ว่า "ไอร้อยวัน" โรคนี้ป้องกันได้หากฉีดวัคซีนป้องกันโรค

    สิ่งแปลกปลอม (foreign body) ที่ตกเข้าหลอดลม พบได้เสมอในเด็กที่ชอบหยิบของใส่ปากใส่จมูก ซึ่งมักพบในเด็กอายุ ๒-๓ ปี ซึ่งสามารถเล่นหรือหยิบอะไรได้ แต่ยังไม่ทราบถึงอันตรายหรืออาจเกิดจากการสำลักอาหารก็ได้ ที่พบเสมอคือ เมล็ดผลไม้ ถั่วลิสง ฯลฯ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเกิดขึ้นและอาการนี้จะเรื้อรังจนกว่าจะได้นำเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นออกจากหลอดลม

    อาการไอที่เรื้อรังนานเป็นเดือนๆ นอกจากโรคไอกรนแล้ว ในประเทศเราต้องนึกถึงวัณโรคไว้เสมอ เพราะโรคนี้ยังมีมากในบ้านเรา ผู้ป่วยมักไอแห้งๆ ไอมากเวลากลางคือ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ผอมลง มีไข้ต่ำ เรื้อรัง เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองโตได้ สิ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยคือ มักมีคนใกล้ชิดเป็นวัณโรคอยู่ด้วย และอาจต้องใช้การถ่ายภาพรังสีของปอดช่วย



    ...

    ตอบลบ

  14. โรคหืด



    สามารถพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุต่ำกว่า ๑ ปี ทำให้เด็กมีอาการไอรื้อรังได้ การไอมักมีเสมหะมาก ไอมากเวลากลางคืน อากาศเย็น หรืออากาศเปลี่ยน ภายหลังการออกกำลังหรือเมื่อหายใจเอาสารที่ตนแพ้เข้าไป อาการไอบางครั้งร่วมกับการหอบซึ่งมักเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยโรคหืดในวัยเด็ก มักมีประวัติโรคหืด หรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ ในครอบครัว

    การอักเสบของต่อมน้ำเหลืองในคอ (ต่อมอะดีนอยด์) และโพรงจมูกอักเสบ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการทางภูมิแพ้ร่วมด้วย ผู้ป่วยประเภทนี้มักมีน้ำมูกหรือเสมหะตกลงสู่ลำคอเสมอ โดยเฉพาะเวลานอนหลับจะทำให้มีอาการไอ และเป็นเรื้อรัง

    นอกจากสาเหตุดังกล่าว โรคหลอดลมโป่งพอง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ฯลฯ ก็เป็นสาเหตุของการไอได้ ควรให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง






    อาการหอบ


    อาการหอบก็พบได้เสมอในวัยเด็ก ซึ่งจะดูได้จากการที่มีการหายใจเร็วขึ้นกว่าปกติ และมีลักษณะของการหายใจลำบาก เช่น มีปีกจมูกบานเข้าออก อาการกระสับกระส่วนช่องซี่โครงบุ๋ม ถ้าเป็นมากอาจมีอาการเขียวบริเวณริมฝีปาก เล็บ หรือที่หน้า ผู้ป่วยบางรายต้องอยู่ในท่านั่งจึงจะสบาย

    สาเหตุการหอบส่วนใหญ่เกิดจากโรคในระบบทางเดินหายใจ ในวัยแรกคลอดอาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ เช่น รูจมูกตัน มีท่อติดต่อระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารความพิการของกะบังลม นอกจากนั้นการสำลักนม ปอดอักเสบ ปอดแฟบ พบว่าเป็นสาเหตุของการหอบในทารกแรกคลอด

    สาเหตุของการหอบในเด็กโตที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจมักเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบของหลอดคอ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อคอตีบ (ดูรายละเอียดเรื่องโรคคอตีบ) หรือเชื้ออื่นปอดอักเสบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดซึ่งอาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด หรือจากการสำลักอาหาร หรือสารพวกน้ำมันก๊าด (ซึ่งเด็กมักดื่มโดยการเข้าใจผิดว่าเป็นน้ำ เพราะบิดามารดามักใส่น้ำมันก๊าดในขวดเครื่องดื่ม และตั้งไว้ในที่ที่เด็กสามารถหยิบได้)

    การอุดกั้นในหลอดลมเป็นสาเหตุของการหอบ เช่น วัตถุแปลกปลอดตกลงในหลอดลม โรคหืดซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของหลอดลม การอักเสบของหลอดลมฝอยทำให้ผนังหลอดลมบวม ทำให้ทางผ่านอากาศมีน้อยลง

    ภาวะผิดปกติในโพรงช่องเยื่อหุ้มปอดอาจทำให้ปอดแฟบ ไม่สามารถทำหน้าที่หายใจเอาอากาศเข้าไปฟอกโลหิตดำได้ก็จะทำให้เกิดอาการหอบ ภาวะเหล่านี้ ได้แก่ การมีสารน้ำ หนองลม หรือเลือดในโพรงช่องเยื่อหุ้มปอด

    นอกจากโรคของระบบทางเดินหายใจที่ทำให้เกิดการหอบได้แล้ว โรคของระบบอื่นก็สามารถทำให้เด็กเกิดการหอบได้ ภาวะซีด หัวใจวาย ภาวะมีกรดในเลือด (เช่น ภายหลังท้องร่วงอย่างรุนแรง โรคเบาหวาน การได้รับพิษ เช่น ได้ยาประเภทแอสไพรินเกินขนาด โรคไตเรื้อรัง) หรือ แม้แต่ภาวะติดใจที่ผิดปกติ เด็กบางคนอาจมีอาการหอบได้





    .

    ตอบลบ
  15. อาการตัวเหลือง



    อาการตัวเหลืองที่สำคัญ คือ ดีซ่าน ซึ่งเกิดจากโรคหรือมีความผิดปกติที่มีสีบิลิรูบิน ซึ่งเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกมาจับกับผิวหนัง ซึ่งจะพบว่าผิวหนังมีสีเหลืองรวมทั้งบริเวณตาขาวจะมีสีเหลืองด้วย ส่วนเด็กบางคนอาจมีตัวเหลืองจากการได้รับอาหารที่มีสีเหลืองจำนวนมาก เช่น ฟักทอง มะละกอ หัวผักกาดแดง (ซึ่งอาจผ่านทางน้ำนมมารดาก็ได้) ในรายเช่นนี้จะเหลืองแต่ผิวหนัง แต่บริเวณตาขาวจะไม่เหลืองและภาวะเช่นนี้ก็ไม่มีอันตราย เพียงหยุดอาหารดังกล่าว อาการตัวเหลืองก็จะหายไป

    อาการตัวเหลืองที่พบบ่อยที่สุด คือการเหลืองที่พบเป็นปกติในเด็กแรกเกิดทั่วไป (Physiological jaundice) เป็นภาวะที่เกิดข้นจากการที่มีการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงหลังคลอด ร่วมกับการทำงาของตับในเด็กแรกเกิดยังไม่ดีพอ อาการจะเริ่มเกิดในวันที่ ๒-๓ หลังคลอด และมักจะพบไม่เกินสัปดาห์แรกของชีวิต อาการเหลืองจะเหลืองไม่มาก สีอุจจาระ ปัสสาวะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเด็กจะไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ พบได้ในเด็กเกือบทุกคนและไม่มีอันตราย

    สำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาการเหลืองจะมีมากและพบได้บ่อยกว่าในเด็กที่คลอดครบกำหนด มักพบหลังอายุ ๔๘ ชั่วโมงไปแล้ว รวมทั้งจะปรากฏอยู่นานกว่า อาจถึง ๒ สัปดาห์ก็ได้ สาเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของตับยังไม่เจริญ

    เด็กที่เริ่มมีอาการเหลืองภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังคลอดมักเกิดจากการมีการทำลายของเม็ดเลือดแดงอย่างมากและ รวดเร็ว สาเหตุที่สำคัญคือ หมู่เลือดของมารดากับบุตรไม่เข้ากัน ภาวะนี้ในคนไทยที่พบบ่อย คือ หมู่เลือด ในระบบเอบีโอไม่เข้ากัน เช่น หมู่เลือดของมารดาเป็นโอ แต่หมู่เลือดของลูกเป็นเอ หรือ บี (สำหรับหมู่เลือดระบบอาร์เอ็ช นั้น ในคนไทยไม่เป็นปัญหาเพราะคนไทยเกือบทั้งหมดมีหมู่เลือดระบบนี้เป็นอาร์เอ็ชบวด สำหรับในชาวผิวขาวการไม่เข้ากันของหมู่เลือดในระบบอาร์เอ็ชระหว่างมารดากับบุตรเป็นปัญหาสำคัญ) การไม่เข้ากันของหมู่เลือดทำให้เม็ดเลือดแดงในตัวบุตรแตกสลายมาก สีบิลิรูบินจึงมีมากและไปจับผิวหนัง อาการมักปรากฏให้เห็นเร็ว เช่น หลังคลอดไม่กี่ชั่วโมง (บางรายอาจช้าเป็นวันได้) และจะเหลืองมากขึ้น บิลิรูบิน ชนิดนี้ไม่ละลายน้ำ ดังนั้นสีปัสสาวะจึงไม่เข้ม ถ้าผู้ป่วยเหลืองมากจะเปลี่ยนเลือด มิฉะนั้น บิลิรูบินไปจับสมอง ทำให้สมองพิการไปตลอดชีวิต

    การคลอดลำบาก หากเกิดเลือดออกในใต้หนังศีรษะเป็นจำนวนมาก (cephalhematoma) เม็ดเลือดที่ออกจะมีการแตกตัวบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการเหลืองในวัยแรกคลอดนี้ได้

    โรคกรรมพันธุ์ของเม็ดโลหิตแดงบางชนิด เช่น เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและกลมกว่าปกติ (congenital spherocytosis) พวกธาลัสซีเมีย (ซึ่งพบได้มากในประเทศไทย) หรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการบกพร่องของเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง (G-6-PD deficiency) อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติทำให้เกิดอาการเหลืองตั้งแต่แรกคลอดได้เช่นกัน

    ยาบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการเหลือง ซึ่งอาจเกิดจากยาไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ในตับ (เช่น ยาพวกสเตอรอยด์) หรืออาจทำลายเม็ดเลือดแดงให้แตก ( เช่น วิตามิน เค ยา ประเภทซัลฟา เป็นต้น)

    โรคติดเชื้อ เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เด็กมีอาการเหลือง ซึ่งอาจแสดงอาการตั้งแต่แรกคลอด โดยที่เด็กเป็นโรคติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น ซิฟิลิส เด็กอาจคลอดออกมามีอาการเหลือง บวม หรืออาจตายตั้งแต่ในครรภ์อาการเหลืองจากการติดเชื้อนี้ อาจจะปรากฏในระยะต่อมาก็ได้ เช่น หลัง ๒-๓ สัปดาห์ไปแล้ว เชื้ออันที่สำคัญคือ การติดเชื้อหัดเยอรมันตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เชื้อไวรัสตับอักเสบและไวรัสอื่นๆ บางชนิด

    การอุดกั้นของท่อน้ำดี เป็นสาเหตุที่พบเด็กมีอาการเหลืองได้ และผู้ป่วยประเภทนี้เกิดจากบิลิรูบินที่ได้เปลี่ยนแปลงในตับแล้วเป็นน้ำดี แต่หลั่งสู่ลำไส้ เพื่อขับถ่ายทางอุจจาระไม่ได้จึงท้นเข้าเลือด น้ำดีชนิดนี้ละลายน้ำได้ดี ดังนั้นปัสสาวะจึงมีสีเหลืองเข้ม ฟองของปัสสาวะก็สีเหลืองด้วย สาเหตุของการเหลืองประเภทนี้ได้แก่ ท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด ส่วนมากผู้ป่วยแสดงอาการเหลืองเมื่ออายุ ๔-๖ สัปดาห์ โดยค่อยๆ เหลืองขึ้น สีอุจจาระค่อยๆ ซีดลงจนสีขาวคล้ายดินสองพอง ปัสสาวะจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มข้น การรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ต้องใช้การผ่าตัด

    ในเด็กโตขึ้น โรคที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการดีซ่านได้แก่ โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (viral hepatitis) ซึ่งเป็นโรคติดต่อได้ง่ายโดยเชื้อเข้าร่างกายทางปาก หรือทางผิวหนัง เช่น การฉีดยาโดยใช้เข็มที่เคยฉีดผู้ป่วยเป็นโรคนี้มาแล้ว หรือจากการให้เลือดที่มีเชื้อไวรัสนี้เข้าไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบนี้จะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาซึ่งเป็นบริเวณของตับ ตับโตปัสสาวะสีเหลืองเข้ม การพักผ่อนอย่างเต็มที่จะช่วยให้โรคนี้หายเร็ว หากโรคนี้เรื้อรังจะมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งในระยะต่อมา


    .

    ตอบลบ
  16. อาการซีด




    อาการซีดเป็นอาการที่พบได้เสมอในวัยเด็ก การดูว่ามีซีดหรือไม่ควรดูที่ริมฝีปาก หรือด้านในของขอบตาล่าง การดูที่ผิวหนัง เช่น บริเวณหน้า อาจบอกได้ยากถ้าคนนั้นมีผิวขาวหากต้องการทราบแน่นอนต้องเจาะเลือดตรวจดูสีและจำนวนของเม็ดเลือดแดง

    สาเหตุของการซีดมีสาเหตุใหญ่ ๒ ประการ คือ

    ๑. การสร้างสีเฮโมโกลบิน และเม็ดเลือดแดงน้อยลง

    สาเหตุที่สำคัญที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้ คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมีความสำคัญในการสร้างสีของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่า เฮโมโกลบิน การขาดธาตุเหล็กส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับธาตุเหล็กทางอาหารไม่เพียงพอ เพราะได้อาหารที่ไม่มีคุณประโยชน์ครบถ้วน ธาตุเหล็กนี้มีมากในไข่แดง เนื้อสัตว์ ตับ ผัก เป็นต้น หากเด็กไม่ได้อาหารเสริมดังกล่าวในวัยอันควร จะเกิดอาการซีดจากการขาดธาตุเหล็กได้ นอกจากการได้รับธาตุเหล็กที่ไม่เดียงพอแล้ว การขาดธาตุเหล็กอาจเกิดขึ้นได้จากการดูดซึมไม่ดี เช่น ลำไส้อักเสบ ท้องเดินเรื้อรัง เป็นต้น

    นอกจากธาตุเหล็กแล้ว สารอื่น เช่น โปรตีน กรดโฟลิค และวิตามินบี ๑๒ เป็นสารสำคัญในการสร้างเลือด การขาดสารดังกล่าวจะทำให้เด็กซีดได้

    การสร้างเลือดที่น้อยลงในไขกระดูกอาจเกิดแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลัง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิด ทำให้ไขกระดูกไม่ทำงาน และสร้างเม็ดเลือดน้อยลง ซึ่งมักทำให้เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำลงด้วย ผู้ป่วยจึงมีอาการซีด ภูมิคุ้มกันโรคเสียไป และจะมีเลือดออกง่ายด้วย ยาที่เป็นสาเหตุได้ เช่น คลอแรมเฟนิคอล

    สาเหตุอื่นของการสร้างลดลง ก็อาจพบในรายที่มีการติดเชื้อได้รับพิษจากตะกั่ว ผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และ ผู้ป่วยมีการทำงานของต่อมธัยรอยด์น้อย เป็นต้น

    ๒. มีการทำงายเม็ดเลือดแดงมากขึ้น หรือมีการเสียเลือดออกไปจากร่างกาย

    โดยปกติร่างกายจะมีการทำลายเม็ดเลือดแดงเป็นประจำเมื่อเม็ดเลือดแดงมีอายุครบอายุขัยของมัน คือประมาณ ๑๒๐ วัน แต่ถ้าการทำลายเกิดขึ้นก่อน หรือมีการเสียเลือดก็จะเกิดการซีดได้ สาเหตุที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ การเสียเลือดจากร่างกาย เช่น ได้รับอุบัติเหตุ การผ่าตัด เป็นต้น สำหรับการทำลายเม็ดเลือดแดงที่เกิดขึ้นก่อนระยะเวลาอันควรนั้นมีสาเหตุมากมาย อาจเป็นเพราะความผิดปกติแต่กำเนิด เป็นโรคกรรมพันธุ์ที่มีการทำลายเม็ดเลือดแดงง่าย เช่น มีความผิดปกติในการสร้างเฮโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดแดง ได้แก่ ผู้ป่วยพวกโรคธาลัสซีเมีย และเฮโมโกลบินผิดปกติซึ่งมีมากมายในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสาน ผู้ป่วยพวกนี้มีการทำลายเม็ดเลือดเร็วและมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ลักษณะของผู้ป่วยมีหน้าแบน มีตับม้ามโต ไม่แข็งแรงเหมือนคนปกติ

    ความผิดปกติในลักษณะของเม็ดเลือดแดง เช่น เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและกลมกว่าปกติ หรือความผิดปกติในเอนไซม์ของเม็ดเลือดแดง เช่น พวกที่ขาดเอนไซม์กลูโคส ๖ ฟอสเฟต ดีไฮโดรเจเนส (G-6 PD Deficiency) อาจเกิดจากอาการซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น

    สำหรับการเสียเลือดเรื้อรังนั้น สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยในเด็กไทย คือ การมีพยาธิปากขอในลำไส้ ซึ่งดูดเลือดเป็นอาหาร ทำให้ผู้ป่วยซีดได้มากๆ ไข่ของพยาธิปากขอจะปะปนออกมากับอุจจาระ ถ้าผู้ป่วยที่มีพยาธิปากขอไปถ่ายอุจจาระไว้บนดิน ไข่พยาธิจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนของพยาธิอยู่บนดิน ที่ชื้นแฉะ และสามารถเข้าร่างกายโดยการไชเข้าทางผิวหนัง เด็กที่ไม่ได้ใส่รองเท้าเดินไปในบริเวณที่มีตัวอ่อนของพยาธิก็จะมีโอกาสได้รับพยาธินี้ ส่วนสาเหตุการเสียเลือดเรื้อรังอื่นๆ เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร พบได้น้อยในวัยเด็ก


    .

    ตอบลบ
  17. เด็กตัวเขียว



    อาการตัวเขียวพบได้เป็นครั้งคราวในวัยเด็ก การจะทราบว่า เด็กมีอาการเขียวหรือไม่ ควรดูผู้ป่วยในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ซึ่งเห็นชัดในเวลากลางวัน การดูในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ อาจผิดพลาดได้ อาการที่เขียวอาจเกิดในส่วนกลางของตัว ซึ่งควรสังเกตจากลิ้น หรือริมฝีปาก ปากที่เขียวคล้ำ การเขียวเฉพาะเล็บมือเล็บเท้า โดยเฉพาะที่พบในเด็กเล็กนั้นพบได้เสมอ เนื่องจากอากาศเย็น เส้นเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้าหดตัว การไหลเวียนของเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้าช้าลง ทำให้บริเวณแขนขาซีด ตัวลายๆ และเล็กเขียวได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไป เมื่อเด็กได้รับความอบอุ่นขึ้น

    อาการเขียวที่เกิดอยู่นานในวัยเด็ก มักเกิดจากภาวะที่มีออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งมักจะพบความผิดปกติทางการหายใจร่วมด้วยเสมอ โรคทางสมอง เช่น เลือดออกในสมองในเด็กเล็กอาจกดศูนย์การหายใจในสมอง เด็กอาจหยุดหายใจหรือหายใจช้าลง ก็เป็นสาเหตะให้ขาดออกซิเจน เกิดอาการเขียวได้ โรคของปอด เช่น ปอดอักเสบอย่างมาก สิ่งแปลกปลอมตกลงในหลอดลมเสมหะอุดหลอดลม มีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด ปอดก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ จะมีอาการเขียวได้

    โรคที่เป็นสาเหตุของอาการเขียวที่พบได้บ่อย คือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดบางโรค ที่ทำให้เลือดดำเข้าไปปนกับเลือดแดง เวลาหัวใจบีบตัวจะบีบเอาเลือดผสมทั้งดำและแดงไปเลี้ยงร่างบกาย แทนที่จะบีบเอาเฉพาะเลือดแดงไปเลี้ยงเหมือนคนปกติ ทำให้เป็นสาเหตุของอาการเขียวในเด็ก ถ้าเป็นนานๆ ผู้ป่วยจะมีเลือดข้นขึ้น ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าจะปุ้ม

    อาการเขียวอาจเกิดในเด็กที่ได้รับพิษจากสารบางอย่าง เช่น ไนเตรท สารอะนิลีน ได้เช่นกัน




    .

    ตอบลบ