Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

การใช้จุกหลอก

การใช้จุกหลอก
 

 
 
แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนจะใช้จุกหลอกเพื่อช่วยไม่ให้น้องร้องงอแง แต่บางคนก็ไม่ชอบใจเอาซะเลยที่ต้องใช้เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ ส่วนบางคนเคยคิดตอนก่อนมีน้องว่าจะไม่ใช้มันแน่ๆ แต่ในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนใจเพราะเจอกับปัญหาเจ้าตัวเล็กร้องไห้กระจองอแงค่ะ
 
 
 

ถ้าคุณตัดสินใจใช้จุกหลอก


 
 

• ให้เลือกใช้จุกหลอกที่เป็นทำเป็นหัวนมยาง (Orthodontic dummy)

• รักษาความสะอาดของจุกหลอกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คอยนำไปฆ่าเชื้อบ่อยครั้งเหมือนกับจุกนมยางที่ใช้กับขวดนม

• เปลี่ยนจุกหลอกและจุกนมยางที่ใช้กับขวดนมบ่อยๆ คอยดูว่ามีรอยแตก รอยฉีก หรือมีรูรั่วหรือไม่ เพราะรอยเหล่านี้อาจเป็นที่สะสมเชื้อโรคได้ ถ้าพบให้รีบเปลี่ยนอันใหม่ทันทีค่ะ

• ห้ามนำจุกหลอกไปจุ่มอาหารรสหวานๆ เช่น น้ำผึ้งหรือน้ำส้มเพื่อให้ช่วยให้น้องหยุดร้องไห้ การทำแบบนี้จะทำให้น้องฟันผุเร็วนะคะ

• พยายามจำกัดการใช้จุกหลอกเฉพาะเวลาจำเป็น เช่น ระหว่างน้องร้องไห้ไม่หยุด หรือเพื่อช่วยให้น้องนอน การใช้จุกหลอกเป็นเวลานานสัมพันธ์กับอาการติดเชื้อที่หูชั้นกลางและปัญหาอื่นๆ (ดูข้อเสียได้ที่ด้านบนค่ะ)

• รอให้น้องอยากได้จุกนมก่อนแล้วค่อยให้ ดีกว่าให้น้องไปโดยที่เขาไม่ได้ขอ

• พยายามให้น้อง "เลิก" ดูดจุกหลอกก่อนเขาครบหนึ่งขวบ (ซึ่งจะทำได้ง่ายกว่ามากค่ะ ดีกว่าไปให้น้องเขาเลิกตอนโตได้ 2-3 ขวบแล้ว) และแน่นอนว่า ต้องก่อนฟันแท้ของเขาขึ้นด้วยนะคะ (โดยปกติจะเป็นตอน 6 ขวบ)

• อย่าให้น้องดูดจุกหลอกจนติดเป็นนิสัย

 
 
 
การให้น้องเลิกดูดจุกหลอก...
 

 

ถ้าเจ้าตัวเล็กดูดจุกหลอกตลอดเวลาหรือไม่ยอมเลิกตามที่คุณต้องการ ลองทำตามวิธีต่อไปนี้ดูนะคะ

• ค่อยๆ ลดเวลาที่ให้น้องดูดจุกหลอก

• จำกัดการใช้จุกหลอกเฉพาะช่วงที่จำเป็นในแต่ละวัน เช่น เวลาเข้านอน หรือเวลาที่น้องไม่สบาย คุณต้องหนักแน่นหน่อยนะคะ

• ให้รางวัลเจ้าตัวเล็กด้วยการเล่นกิจกรรมสนุกๆ หรือให้รางวัลโดยใช้แผ่นสะสมดาวหรือสติกเกอร์ อย่าให้น้องกินขนมแทนการใช้จุกหลอกค่ะ

• ชี้ให้น้องดูพี่ๆ ที่โตกว่าว่าเขาไม่ดูดจุกนมกันแล้วนะ เด็กๆ ก่อนวัยเรียนอยากจะโตเหมือนผู้ใหญ่ค่ะ

• เชียร์ให้น้องยกจุกหลอกทั้งหมดให้กับคนสำคัญของเขา เช่น คุณปู่หรือพี่เลี้ยงที่โรงเรียนอนุบาล

โปรดจำไว้นะคะว่าในที่สุดแล้ว เจ้าตัวน้อยของคุณจะโตเกินกว่าที่จะใช้จุกหลอกค่ะ

 
 
 

ข้อดีของการใช้จุกหลอก
 

 

การใช้จุกหลอกมีข้อดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแล คือ ช่วยให้น้องไม่งอแง หรือช่วยให้น้องหลับได้ง่าย การดูดจุกหลอกช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ค่ะ จึงเป็นเหตุผลที่คุณพ่อคุณแม่มักให้น้องดูดจุกหลอกเวลาที่ร้องไห้นานๆ (เช่น เมื่อร้องไห้ไม่หยุดหรือที่เรียกว่ามีอาการโคลิก) หรือเมื่อไม่สบายตัว

การดูดจุกหลอกมีประโยชน์มากสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ผลการวิจัยหลายฉบับพบว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนดสามารถเปลี่ยนจากการรับอาหารทางสายยางเป็นการดูดนมจากขวดนมแทนได้รวดเร็วกว่า และทารกจะดูดนมจากขวดได้ดีกว่าถ้าให้เขาดูดจุกหลอกก่อนป้อนนม นอกจากนี้ ถ้าทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้ดูดจุกหลอก เขาจะออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้นด้วยค่ะ
 
 
 

ข้อเสียของการใช้จุกหลอก
 

 

• เพิ่มโอกาสติดเชื้อในช่องหู -- มีหลักฐานที่เป็นที่ยอมรับว่าการใช้จุกหลอกเป็นเวลานานสัมพันธ์กับอาการติดเชื้อในช่องหูชั้นกลาง ซึ่งแม้ว่าอาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ ในการดำเนินชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น สภาพภายในบ้านไม่เหมาะสม หรือครอบครัวที่มีรายได้น้อย ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การใช้จุกหลอกก็ยังเป็นเหตุที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อในช่องหูด้วยเหตุผลข้อหนึ่ง คือ เป็นที่เชื่อกันว่าการดูดจุกหลอกจะเพิ่มโอกาสติดเชื้อจากปากไปยังช่องคอส่วนบนเข้าสู่ช่องหูชั้นกลางผ่าน Eustachian tube (ช่องอากาศที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับด้านหลังของลำคอ) ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้จุกหลอกเพื่อช่วยให้น้องไม่งอแงเท่านั้นนะคะ

• ความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในช่องท้องและการติดเชื้อบริเวณอื่น -- การใช้จุกหลอกสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น เช่น อาเจียน มีไข้ ท้องเสีย และอาการโคลิก รวมทั้งอาจทำให้ต้องเชิญคุณหมอไปที่บ้านบ่อยครั้ง หรือต้องไปพาน้องโรงพยาบาลบ่อยกว่าเดิมค่ะ

• การใช้จุกหลอกนานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฟันได้ -- สมาคมสุขภาพช่องปากของอังกฤษ (British Dental Health Foundation) แนะนำว่า ไม่ควรใช้จุกหลอกหรือให้น้องดูดนิ้ว เพราะทั้งสองอย่างนี้จะสร้างปัญหากับฟันที่งอกขึ้นมา โดยเฉพาะถ้าเด็กยังคงดูดจุกหลอกหรือดูดนิ้วเมื่อฟันแท้เริ่มงอกแล้ว ซึ่งในการแก้ปัญหานี้ เด็กอาจจำเป็นต้องดัดฟันนานเป็นปีหรือสองปีเมื่อโตขึ้น
 

• เกิดปัญหาในการพูด -- การใช้จุกหลอกทำให้น้องไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสำหรับเขาในการเรียนรู้การพูด และทำให้น้องที่ก้าวเข้าสู่วัยหัดเดินไม่กล้าพูดออกมา ซึ่งเป็นวัยที่ควรเริ่มพัฒนาทักษะการพูดแล้ว

• การใช้จุกนมหลอกทุกวันเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -- มีหลักฐานชัดเจนว่า คุณแม่ที่ใช้จุกนมหลอกมีแนวโน้มที่จะทำให้น้องหย่านมเร็วกว่าคุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมแม่จากอกและไม่ใช้จุกนมหลอกทุกวัน งานวิจัยชิ้นหนึ่งยังพบด้วยว่า คุณแม่ที่ใช้จุกนมหลอกมีแนวโน้มจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงเวลาที่สั้นกว่า หรือพบว่าคุณแม่มีน้ำนมไม่พอเมื่อน้องมีอายุอย่างน้อยหนึ่งเดือน

การใช้จุกหลอกเกี่ยวข้องกับการที่คุณแม่ให้น้องหย่านมเร็วหรือไม่นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน บางคนแย้งว่า การที่คุณแม่ใช้จุกหลอกเป็นเพราะคุณแม่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมของตนเองตั้งแต่แรกหรือเป็นเพราะไม่อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บางคนคิดว่า ทารกติดจุกหลอกหรือจุกนมยางจนไม่ยอมกลับไปกินนมแม่เพราะเกิดความสับสน ซึ่งเราอาจเรียกว่า ปัญหาติดจุก (Nipple Confusion) บางคนก็โต้แย้งว่า การใช้จุกนมยางแทนการกินนมแม่ทำให้ไม่มีการกระตุ้นทรวงอกให้ผลิตน้ำนมออกมา จึงทำให้มีน้ำนมไม่เพียงพอ คุณแม่ที่ให้น้องหย่านมในช่วงหกเดือนแรกมักให้เหตุผลว่า ที่ต้องให้น้องหย่านมก็เพราะเธอ "มีน้ำนมไม่เพียงพอ" นั่นเอง

ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม การใช้จุกนมหลอกทุกวันนั้นสัมพันธ์กับการหย่านมแม่ก่อนที่ทารกน้อยจะมีอายุครบสามเดือน องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ทารกทุกคนควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีประโยชน์มากมาย ดังนั้น ทั้งองค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children's Fund) จึงไม่สนับสนุนการใช้จุกหลอกหรือจุกนมยางเป็นอย่างยิ่งค่ะ และเพื่อสนับสนุนเรื่องนี้ ขั้นตอนที่ 9 ใน "คำแนะนำสิบขั้นตอนเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่" จากโครงการดูแลทารกในประเทศอังกฤษขององค์การยูนิเซฟ (UNICEF UK Baby Friendly Initiative) จึงบอกไว้ว่า อย่าให้ลูกที่กินนมแม่ไปดูดจุกนมยางหรือจุกหลอกค่ะ
 
 
 
จุกหลอกกับภาวะการตายเฉียบพลันในทารก (SIDS)

 
 

มีหลักฐานเพิ่มขึ้นที่บ่งชี้ว่า การใช้จุกหลอกมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ทารกเกิดภาวะการตายเฉียบพลัน ในอดีตนั้น เคยมีการวิจัยขนาดใหญ่แบบผลไปหาเหตุ (Case-control Study) ของภาวะการตายเฉียบพลัน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ รายงานในปี 2542 ว่า การใช้จุกหลอกเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะการตายเฉียบพลัน โดยความเสี่ยงนี้จะเกิดกับทารกที่ใช้จุกหลอกเป็นประจำแต่ไม่ได้ใช้จุกหลอกเมื่อเข้านอนก่อนเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ระบุนี้ไม่ได้มีนัยสำคัญอีกต่อไปเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สำคัญกว่า

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่รายงานในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ (British Medical Journal) ในเดือนธันวาคมปี 2548 ว่า แท้ที่จริงนั้น การใช้จุกหลอกกลับช่วยป้องกันภาวะการตายเฉียบพลัน (SIDS) ได้ การวิจัยซึ่งดำเนินการในรัฐแคลิฟอร์เนียนี้ ได้ศึกษาการใช้จุกหลอกในทารก 185 คนที่มีเสียชีวิตจากอาการ SIDS และทารกในกลุ่มควบคุมอีก 312 คน พบว่าการใช้จุกหลอกสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อภาวะ SIDS โดยเฉพาะเมื่อเราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การนอนคว่ำหรือนอนตะแคง การนอนบนที่นอนนิ่มๆ หรือนอนกับคุณแม่ที่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่า การดูดนิ้วน่าจะช่วยป้องกันภาวะการตายเฉียบพลันได้ด้วยค่ะ

ผลจากการวิจัยนี้ไม่ได้หมายความว่าทารกทุกคนควรใช้จุกนมหลอกเป็นประจำนะคะ ผู้ดำเนินการวิจัยนี้กล่าวว่าการค้นพบของพวกเขายืนยันได้ว่า จุกนมหลอกมีผลช่วยป้องกันภาวะการตายเฉียบพลันได้ แต่ก็ยังไม่มี "หลักฐานชัดเจน" ที่พิสูจน์ถึงเหตุและผลของความสัมพันธ์นี้ ผู้ดำเนินการวิจัยยังกล่าวย้ำด้วยว่า "การค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการยืนยัน"

ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำไมการใช้จุกนมหลอกจึงช่วยป้องกันภาวะ SIDS ได้  แต่ผู้ดำเนินการวิจัยเสนอแนะเหตุผลที่เป็นไปได้ไว้สองข้อ คือ

1) ส่วนที่เป็นมือจับชิ้นใหญ่ภายนอกของจุกนมหลอกอาจช่วยป้องกันไม่ให้จมูกกับปากของทารกถูกปิดกั้นหรือถูกที่นอนนิ่มๆ ปิดไว้

2) การดูดจุกนมอาจช่วยให้ทารกควบคุมระบบทางเดินหายใจส่วนต้นได้ดียิ่งขึ้น
 

แต่อย่าลืมปัจจัยอื่นๆ ด้วยนะคะ เช่น การให้น้องนอนหงาย และคุณพ่อคุณแม่ห้ามสูบบุหรี่ เพราะปัจจัยเหล่านี้สำคัญยิ่งกว่าสำหรับการป้องกันอาการ SIDS นอกจากนี้ อย่ารีบตัดสินใจโดยไม่คำนึงถึงข้อดีและข้อเสียอื่นๆ ของจุกนมหลอก (ดูข้อดีและข้อเสียได้ที่ด้านบนค่ะ) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสำคัญมากต่อการสร้างเสริมสุขภาพของลูกน้อย และเป็นที่แน่นอนว่า จุกนมหลอกทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง




 

 
 
 
 
 
 
ที่มา       ::         BabyCenter
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

7 ความคิดเห็น:

  1. จุกนมหลอก



    การเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยสำหรับ คุณแม่มือใหม่ อาจจะเปรียบเหมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เมื่อลูกร้องทีไร ก็ต้องตั้งสมมติฐานกันไว้ก่อนว่าลูกเป็นอะไร เมื่อคาดเดาได้รางๆ แล้วก็ต้องทำการทดลองดูสิว่าจะทำอย่างไรให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้ ให้นมแล้วยังไม่หยุด ให้นมแล้วก็ยังคงร้องให้ สุดท้ายคุณแม่ใช้ไม้ตายที่ไม่เคยคิดว่าจะใช้ นั่นคือ หยิบจุกนมหลอก มาใส่ปากให้เจ้าตัวน้อยดูดเท่านั้นล่ะเสียงร้องไห้ก็หายไป เจ้าตัวเล็กสงบลง และดูจะถูกใจกับเจ้าจุกนมหลอกเอามากๆ เมื่อการทดลองประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเจ้าตัวน้อยอยู่ที่ไหนเป็นต้องเห็นพี่จุกนมหลอกอยู่ เคียงข้าง โดยมีคุณแม่กังวลใจอยู่ไม่ห่างเช่นกัน

    ???? เรื่องทุกอย่างเหมือนเหรียญที่ย่อมมีสองด้าน จุกนมหลอกก็มีทั้งข้อเสียและข้อดีเช่นกัน ฉะนั้นก่อนที่คุณแม่จะปักใจเชื่อว่า ความรักของเจ้าตัวเล็กกับจุกนมหลอกเป็นรักต้องห้าม เรามาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกันก่อนดีกว่า


    ข้อดี


    - ช่วยให้เจ้าตัวน้อยหายงอแงได้
    - ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น เมื่อลูกหิว คุณแม่อาจให้ลูกดูดจุกนมยาง ขณะที่ไปเตรียมนมให้ลูก หรือ เบี่ยงเบนเมื่อลูกกำลังจะฉีดวัคซีน
    - ช่วยให้ลูกนอนหลับได้ง่ายขึ้น
    - มีงานวิจัยที่พบว่า การดูดจุกนมยางขณะหลับช่วยลดความเสี่ยงของภาวะไหลตายในเด็ก (SIDS) ได้
    - การติดจุกนมยางเลิกง่ายกว่าปล่อยให้ลูกติดดูดนิ้ว




    ข้อเสีย

    - หากลูกติดจุกนมยางในช่วงเดือนแรกๆ อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนม
    - เจ้าตัวน้อยอาจตื่นมาร้องไห้กลางดึกบ่อยๆ หากดูดจุกนมยางจนหลับไป แล้วจุกนมยางหลุดออกจากปาก
    - หนูน้อยอาจนอนหลับเองไม่ได้ หากไม่มีจุกนมยาง
    - เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม สถิติการติดเชื้อที่หูในทารกนั้นมีไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับภาวะ SIDS
    - การติดจุกนมยางนานเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาทางทันตกรรมได้



    ...

    ตอบลบ
  2. จุกนมหลอก


    จุกนมหลอก...ใช้เมื่อไรดี? การให้ลูกได้ลองใช้จุกนมหลอกเร็วเกินไป หรือก่อนที่ลูกจะดูดนมแม่ได้คล่อง ย่อมทำให้เจ้าตัวเล็กเกิดภาวะสับสนหัวนม ซึ่งอาจส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ดังนั้นหากคุณคิดจะให้ลูกดูดจุกนมหลอกก็ควรจะรอให้ลูกดูดนมแม่ได้ดี และดูดนมแม่จนเป็นกิจวัตรได้เสียก่อน ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มให้ลูกดูดจุกนมหลอกก็คือ เมื่อหนูน้อยอายุ 1 เดือนขึ้นไป


    จุกนมหลอกจำเป็นหรือไม่สำหรับทารก หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่าทารกจำเป็นจะต้องได้รับการปลอบประโลมและทำให้ รู้สึกอุ่นใจผ่อนคลาย จุกนมหลอกก็เป็นผู้ช่วยที่ดีทางหนึ่ง แต่เราขอแนะนำว่าให้เป็นทางเลือกท้ายๆ เมื่อคุณแม่ทำทุกวิธีแล้วลูกก็ยังคงงอแงอยู่จะดีกว่า


    ติดจุกนมหลอกแล้ว เลิกยากหรือเปล่า เด็กๆ จะเลิกติดจุกนมหลอกได้เอง เมื่ออายุ 6-9 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่หนูน้อยเริ่มคลานและหันไปสนใจสิ่งอื่นๆ แทน หากเห็นว่าลูกเริ่มไปสนใจสิ่งอื่นแล้ว ก็ควรหยุดที่จะหยิบยื่นจุกนมหลอกให้ลูกอีก อย่างไรก็ตามหนูน้อยยังอาจต้องการเจ้าจุกนมหลอกเป็นเพื่อนในเวลานอน แต่ทั้งนี้เด็กๆ จะเลิกดูดจุกนมหลอกโดยสิ้นเชิง เมื่ออายุ 2 ปีค่ะ?

    Pacifier Safety - หากคุณตกลงใจให้ลูกใช้จุกนมหลอกก็ควรดูแลเรื่องความสะอาดและปลอดภัยเป็นพิเศษด้วย ?


    - ควรล้างจุกนมอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือเมื่อใดก็ตามที่ตกลงพื้นหรือสกปรก โดยล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่


    - ไม่ควรผูกเชือกหรือริบบิ้นยาวๆ ติดกับจุกนมหลอก แล้วแขวนคอ หรือผูกข้อมือลูกไว้ เพราะเชือกอาจรัดคอลูกได้


    - จุกนมหลอกที่ขาดหรือชำรุด ควรทิ้งทันที และควรเปลี่ยนจุกนมหลอกให้ลูกใหม่ทุกๆ 2 เดือน


    - หากลูกเริ่มเคี้ยวจุกนมหลอก คุณควรเปลี่ยนให้ลูกใช้ของเล่นยางที่ทำขึ้นมาสำหรับให้ทารกกัดแทน


    - เลือกซื้อจุกหลอกที่ทำจากวัสดุชิ้นเดียว และมีฝาปิดซึ่งมีรูเพื่อระบายอากาศด้วย





    .

    ตอบลบ
  3. จุกหลอก หรือจุกนมยางสำหรับเด็ก


    รู้จักกับจุกหลอก ก่อนตัดสินใจว่าคุณพ่อคุณแม่ควรใช้จุกพวกนี้หรือไม่ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ คุณแม่หลายคนก็ใช้จุกหลอกและจุกนมยางเหล่านี้มานานนับศตวรรษแล้วค่ะ และด้วยความหมายตามชื่อของมันในภาษาอังกฤษ (Pacifier) เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ช่วยให้เจ้าหนูน้อยผ่อนคลายไม่งอแง แถมบางครั้งน้องที่โตเข้าสู่วัยเตาะแตะแล้วก็ยังใช้อยู่เลยค่ะ แม้ว่าคุณแม่บางคนถึงกับขาดจุกหลอกนี่ไม่ได้เลย แต่สำหรับคุณแม่และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอีกกลุ่มหนึ่ง ถึงกับปฏิเสธเจ้าจุกหลอกนี้เลยทีเดียว การใช้จุกหลอกและจุกนมยางจึงเป็นข้อถกเถียงกันมากมายมายาวนานหลายปี และยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีคนบอกว่าทั้งควรใช้และไม่ควรใช้อยู่ตลอดมา
    จุกนมยางและจุกหลอกสำหรับเด็กคืออะไร

    ในสมัยก่อน อุปกรณ์เพื่อช่วยให้น้องผ่อนคลายสามารถเป็นอะไรก็ได้ที่เด็กสามารถคาบไว้ได้อย่างปลอดภัย เช่น ห่วงยางกัดสำหรับเด็กหรือของเล่นเขย่าแบบเป็นห่วงกลม ในปัจจุบัน จุกหลอกหรือจุกนมยางได้พัฒนามาเป็นจุกเลียนแบบหัวนมมาตรฐานที่ทำมาจากซิลิโคนหรือยาง มีห่วงจับและแผ่นยางกั้นทำด้วยพลาสติกหรือซิลิโคน จุกนมลาเทกซ์มีผิวสัมผัสนุ่มและยืดหยุ่นกว่าซิลิโคน แต่ไม่ทนทานเท่านะคะ จุกนมสมัยใหม่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย นำไปฆ่าเชื้อได้ง่าย และมีแผ่นยางกั้นปากไว้เพื่อกันไม่ให้หนูน้อยกลืนเข้าไปจนหายใจไม่ออกหรือสำลัก

    คุณพ่อคุณแม่จะซื้อเฉพาะตัวจุกนมยางก็ได้ หรืออาจได้ฟรีหนึ่งชิ้นถ้าซื้อขวดนมเด็กทั้งชุด จุกที่ทำเป็นหัวนมยาง (Orthodontic dummy) จะมีรูปร่างเหมือนหัวนมของแม่เพื่อให้เหมาะกับการสร้างฟันของลูกน้อยโดยเฉพาะค่ะ


    มีคุณพ่อคุณแม่มากน้อยแค่ไหนที่ใช้จุกนม

    คุณพ่อคุณแม่หลายรายใช้จุกนมเพื่อช่วยไม่ให้น้องงอแง จากผลการวิจัยพ่อแม่และเด็กในระยะยาวแห่งเมืองเอวอน (Avon Longitudinal Study of Parents and Children -ALSPAC) หรือที่เรียกว่างานวิจัย "เด็กแห่งทศวรรษที่ 90" พบว่า สองในสามของคุณแม่ในกลุ่มตัวอย่าง 10,950 รายใช้จุกหลอกในบางครั้ง และมีคำถามในแบบสอบถามว่า คุณแม่ใช้จุกหลอกกับทารกเมื่อมีอายุสี่สัปดาห์และใช้อีกครั้งเมื่อมีอายุหกเดือนหรือไม่ ครึ่งหนึ่งของคุณแม่ตอบว่า ใช้จุกหลอกเมื่อทารกมีอายุหกเดือนและส่วนใหญ่ในนี้ยังระบุด้วยว่าใช้จุกหลอกเมื่อทารกมีอายุสี่สัปดาห์
    คุณพ่อคุณแม่จะใช้จุกนมเมื่อใด

    ส่วนใหญ่มักจะใช้จุกหลอกเมื่อน้องมีอายุ 2-3 เดือน งานวิจัยสองชิ้นระบุว่า คุณพ่อคุณแม่มีแนวโน้มที่จะใช้จุกหลอกถ้าทารกน้อยเป็นลูกคนแรกและเป็นผู้ชายค่ะ




    ...

    ตอบลบ
  4. ข้อดีของการใช้จุกหลอก


    การใช้จุกหลอกมีข้อดีสำหรับคุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแล คือ ช่วยให้น้องไม่งอแง หรือช่วยให้น้องหลับได้ง่าย การดูดจุกหลอกช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ค่ะ จึงเป็นเหตุผลที่คุณพ่อคุณแม่มักให้น้องดูดจุกหลอกเวลาที่ร้องไห้นานๆ (เช่น เมื่อร้องไห้ไม่หยุดหรือที่เรียกว่ามีอาการโคลิก) หรือเมื่อไม่สบายตัว
    การดูดจุกหลอกมีประโยชน์มากสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ผลการวิจัยหลายฉบับพบว่า ทารกที่คลอดก่อนกำหนดสามารถเปลี่ยนจากการรับอาหารทางสายยางเป็นการดูดนมจากขวดนมแทนได้รวดเร็วกว่า และทารกจะดูดนมจากขวดได้ดีกว่าถ้าให้เขาดูดจุกหลอกก่อนป้อนนม นอกจากนี้ ถ้าทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้ดูดจุกหลอก เขาจะออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้นด้วยค่ะ



    ข้อเสียของการใช้จุกหลอก

    • เพิ่มโอกาสติดเชื้อในช่องหู -- มีหลักฐานที่เป็นที่ยอมรับว่าการใช้จุกหลอกเป็นเวลานานสัมพันธ์กับอาการติดเชื้อในช่องหูชั้นกลาง ซึ่งแม้ว่าอาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมอื่นๆ ในการดำเนินชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น สภาพภายในบ้านไม่เหมาะสม หรือครอบครัวที่มีรายได้น้อย ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การใช้จุกหลอกก็ยังเป็นเหตุที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อในช่องหูด้วยเหตุผลข้อหนึ่ง คือ เป็นที่เชื่อกันว่าการดูดจุกหลอกจะเพิ่มโอกาสติดเชื้อจากปากไปยังช่องคอส่วนบนเข้าสู่ช่องหูชั้นกลางผ่าน Eustachian tube (ช่องอากาศที่เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับด้านหลังของลำคอ) ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้จุกหลอกเพื่อช่วยให้น้องไม่งอแงเท่านั้นนะคะ

    • ความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในช่องท้องและการติดเชื้อบริเวณอื่น -- การใช้จุกหลอกสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น เช่น อาเจียน มีไข้ ท้องเสีย และอาการโคลิก รวมทั้งอาจทำให้ต้องเชิญคุณหมอไปที่บ้านบ่อยครั้ง หรือต้องไปพาน้องโรงพยาบาลบ่อยกว่าเดิมค่ะ

    • การใช้จุกหลอกนานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฟันได้ -- สมาคมสุขภาพช่องปากของอังกฤษ (British Dental Health Foundation) แนะนำว่า ไม่ควรใช้จุกหลอกหรือให้น้องดูดนิ้ว เพราะทั้งสองอย่างนี้จะสร้างปัญหากับฟันที่งอกขึ้นมา โดยเฉพาะถ้าเด็กยังคงดูดจุกหลอกหรือดูดนิ้วเมื่อฟันแท้เริ่มงอกแล้ว ซึ่งในการแก้ปัญหานี้ เด็กอาจจำเป็นต้องดัดฟันนานเป็นปีหรือสองปีเมื่อโตขึ้น

    • เกิดปัญหาในการพูด -- การใช้จุกหลอกทำให้น้องไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสำหรับเขาในการเรียนรู้การพูด และทำให้น้องที่ก้าวเข้าสู่วัยหัดเดินไม่กล้าพูดออกมา ซึ่งเป็นวัยที่ควรเริ่มพัฒนาทักษะการพูดแล้ว

    • การใช้จุกนมหลอกทุกวันเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -- มีหลักฐานชัดเจนว่า คุณแม่ที่ใช้จุกนมหลอกมีแนวโน้มที่จะทำให้น้องหย่านมเร็วกว่าคุณแม่ที่ให้ลูกดื่มนมแม่จากอกและไม่ใช้จุกนมหลอกทุกวัน งานวิจัยชิ้นหนึ่งยังพบด้วยว่า คุณแม่ที่ใช้จุกนมหลอกมีแนวโน้มจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงเวลาที่สั้นกว่า หรือพบว่าคุณแม่มีน้ำนมไม่พอเมื่อน้องมีอายุอย่างน้อยหนึ่งเดือน

    การใช้จุกหลอกเกี่ยวข้องกับการที่คุณแม่ให้น้องหย่านมเร็วหรือไม่นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน บางคนแย้งว่า การที่คุณแม่ใช้จุกหลอกเป็นเพราะคุณแม่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมของตนเองตั้งแต่แรกหรือเป็นเพราะไม่อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บางคนคิดว่า ทารกติดจุกหลอกหรือจุกนมยางจนไม่ยอมกลับไปกินนมแม่เพราะเกิดความสับสน ซึ่งเราอาจเรียกว่า ปัญหาติดจุก (Nipple Confusion) บางคนก็โต้แย้งว่า การใช้จุกนมยางแทนการกินนมแม่ทำให้ไม่มีการกระตุ้นทรวงอกให้ผลิตน้ำนมออกมา จึงทำให้มีน้ำนมไม่เพียงพอ คุณแม่ที่ให้น้องหย่านมในช่วงหกเดือนแรกมักให้เหตุผลว่า ที่ต้องให้น้องหย่านมก็เพราะเธอ "มีน้ำนมไม่เพียงพอ" นั่นเอง
    ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม การใช้จุกนมหลอกทุกวันนั้นสัมพันธ์กับการหย่านมแม่ก่อนที่ทารกน้อยจะมีอายุครบสามเดือน องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ทารกทุกคนควรได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีประโยชน์มากมาย ดังนั้น ทั้งองค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children's Fund) จึงไม่สนับสนุนการใช้จุกหลอกหรือจุกนมยางเป็นอย่างยิ่งค่ะ และเพื่อสนับสนุนเรื่องนี้ ขั้นตอนที่ 9 ใน "คำแนะนำสิบขั้นตอนเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่" จากโครงการดูแลทารกในประเทศอังกฤษขององค์การยูนิเซฟ (UNICEF UK Baby Friendly Initiative) จึงบอกไว้ว่า อย่าให้ลูกที่กินนมแม่ไปดูดจุกนมยางหรือจุกหลอกค่ะ



    ...

    ตอบลบ
  5. จุกหลอกกับภาวะการตายเฉียบพลันในทารก (SIDS)


    มีหลักฐานเพิ่มขึ้นที่บ่งชี้ว่า การใช้จุกหลอกมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ทารกเกิดภาวะการตายเฉียบพลัน ในอดีตนั้น เคยมีการวิจัยขนาดใหญ่แบบผลไปหาเหตุ (Case-control Study) ของภาวะการตายเฉียบพลัน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ รายงานในปี 2542 ว่า การใช้จุกหลอกเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะการตายเฉียบพลัน โดยความเสี่ยงนี้จะเกิดกับทารกที่ใช้จุกหลอกเป็นประจำแต่ไม่ได้ใช้จุกหลอกเมื่อเข้านอนก่อนเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ระบุนี้ไม่ได้มีนัยสำคัญอีกต่อไปเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สำคัญกว่า

    เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่รายงานในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ (British Medical Journal) ในเดือนธันวาคมปี 2548 ว่า แท้ที่จริงนั้น การใช้จุกหลอกกลับช่วยป้องกันภาวะการตายเฉียบพลัน (SIDS) ได้ การวิจัยซึ่งดำเนินการในรัฐแคลิฟอร์เนียนี้ ได้ศึกษาการใช้จุกหลอกในทารก 185 คนที่มีเสียชีวิตจากอาการ SIDS และทารกในกลุ่มควบคุมอีก 312 คน พบว่าการใช้จุกหลอกสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อภาวะ SIDS โดยเฉพาะเมื่อเราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การนอนคว่ำหรือนอนตะแคง การนอนบนที่นอนนิ่มๆ หรือนอนกับคุณแม่ที่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ การวิจัยยังพบว่า การดูดนิ้วน่าจะช่วยป้องกันภาวะการตายเฉียบพลันได้ด้วยค่ะ

    ผลจากการวิจัยนี้ไม่ได้หมายความว่าทารกทุกคนควรใช้จุกนมหลอกเป็นประจำนะคะ ผู้ดำเนินการวิจัยนี้กล่าวว่าการค้นพบของพวกเขายืนยันได้ว่า จุกนมหลอกมีผลช่วยป้องกันภาวะการตายเฉียบพลันได้ แต่ก็ยังไม่มี "หลักฐานชัดเจน" ที่พิสูจน์ถึงเหตุและผลของความสัมพันธ์นี้ ผู้ดำเนินการวิจัยยังกล่าวย้ำด้วยว่า "การค้นพบในเบื้องต้นเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการยืนยัน"

    ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำไมการใช้จุกนมหลอกจึงช่วยป้องกันภาวะ SIDS ได้ แต่ผู้ดำเนินการวิจัยเสนอแนะเหตุผลที่เป็นไปได้ไว้สองข้อ คือ

    1) ส่วนที่เป็นมือจับชิ้นใหญ่ภายนอกของจุกนมหลอกอาจช่วยป้องกันไม่ให้จมูกกับปากของทารกถูกปิดกั้นหรือถูกที่นอนนิ่มๆ ปิดไว้

    2) การดูดจุกนมอาจช่วยให้ทารกควบคุมระบบทางเดินหายใจส่วนต้นได้ดียิ่งขึ้น
    แต่อย่าลืมปัจจัยอื่นๆ ด้วยนะคะ เช่น การให้น้องนอนหงาย และคุณพ่อคุณแม่ห้ามสูบบุหรี่ เพราะปัจจัยเหล่านี้สำคัญยิ่งกว่าสำหรับการป้องกันอาการ SIDS นอกจากนี้ อย่ารีบตัดสินใจโดยไม่คำนึงถึงข้อดีและข้อเสียอื่นๆ ของจุกนมหลอก (ดูข้อดีและข้อเสียได้ที่ด้านบนค่ะ) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสำคัญมากต่อการสร้างเสริมสุขภาพของลูกน้อย และเป็นที่แน่นอนว่า จุกนมหลอกทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง


    การใช้จุกหลอก

    แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนจะใช้จุกหลอกเพื่อช่วยไม่ให้น้องร้องงอแง แต่บางคนก็ไม่ชอบใจเอาซะเลยที่ต้องใช้เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ ส่วนบางคนเคยคิดตอนก่อนมีน้องว่าจะไม่ใช้มันแน่ๆ แต่ในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนใจเพราะเจอกับปัญหาเจ้าตัวเล็กร้องไห้กระจองอแงค่ะ
    ถ้าคุณตัดสินใจใช้จุกหลอก

    • ให้เลือกใช้จุกหลอกที่เป็นทำเป็นหัวนมยาง (Orthodontic dummy)

    • รักษาความสะอาดของจุกหลอกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คอยนำไปฆ่าเชื้อบ่อยครั้งเหมือนกับจุกนมยางที่ใช้กับขวดนม
    • เปลี่ยนจุกหลอกและจุกนมยางที่ใช้กับขวดนมบ่อยๆ คอยดูว่ามีรอยแตก รอยฉีก หรือมีรูรั่วหรือไม่ เพราะรอยเหล่านี้อาจเป็นที่สะสมเชื้อโรคได้ ถ้าพบให้รีบเปลี่ยนอันใหม่ทันทีค่ะ

    • ห้ามนำจุกหลอกไปจุ่มอาหารรสหวานๆ เช่น น้ำผึ้งหรือน้ำส้มเพื่อให้ช่วยให้น้องหยุดร้องไห้ การทำแบบนี้จะทำให้น้องฟันผุเร็วนะคะ

    • พยายามจำกัดการใช้จุกหลอกเฉพาะเวลาจำเป็น เช่น ระหว่างน้องร้องไห้ไม่หยุด หรือเพื่อช่วยให้น้องนอน การใช้จุกหลอกเป็นเวลานานสัมพันธ์กับอาการติดเชื้อที่หูชั้นกลางและปัญหาอื่นๆ (ดูข้อเสียได้ที่ด้านบนค่ะ)

    • รอให้น้องอยากได้จุกนมก่อนแล้วค่อยให้ ดีกว่าให้น้องไปโดยที่เขาไม่ได้ขอ

    • พยายามให้น้อง "เลิก" ดูดจุกหลอกก่อนเขาครบหนึ่งขวบ (ซึ่งจะทำได้ง่ายกว่ามากค่ะ ดีกว่าไปให้น้องเขาเลิกตอนโตได้ 2-3 ขวบแล้ว) และแน่นอนว่า ต้องก่อนฟันแท้ของเขาขึ้นด้วยนะคะ (โดยปกติจะเป็นตอน 6 ขวบ)

    • อย่าให้น้องดูดจุกหลอกจนติดเป็นนิสัย





    ...

    ตอบลบ
  6. การให้น้องเลิกดูดจุกหลอก...




    ถ้าเจ้าตัวเล็กดูดจุกหลอกตลอดเวลาหรือไม่ยอมเลิกตามที่คุณต้องการ ลองทำตามวิธีต่อไปนี้ดูนะคะ

    • ค่อยๆ ลดเวลาที่ให้น้องดูดจุกหลอก

    • จำกัดการใช้จุกหลอกเฉพาะช่วงที่จำเป็นในแต่ละวัน เช่น เวลาเข้านอน หรือเวลาที่น้องไม่สบาย คุณต้องหนักแน่นหน่อยนะคะ

    • ให้รางวัลเจ้าตัวเล็กด้วยการเล่นกิจกรรมสนุกๆ หรือให้รางวัลโดยใช้แผ่นสะสมดาวหรือสติกเกอร์ อย่าให้น้องกินขนมแทนการใช้จุกหลอกค่ะ

    • ชี้ให้น้องดูพี่ๆ ที่โตกว่าว่าเขาไม่ดูดจุกนมกันแล้วนะ เด็กๆ ก่อนวัยเรียนอยากจะโตเหมือนผู้ใหญ่ค่ะ

    • เชียร์ให้น้องยกจุกหลอกทั้งหมดให้กับคนสำคัญของเขา เช่น คุณปู่หรือพี่เลี้ยงที่โรงเรียนอนุบาล



    โปรดจำไว้นะคะว่าในที่สุดแล้ว เจ้าตัวน้อยของคุณจะโตเกินกว่าที่จะใช้จุกหลอกค่ะ




    ข้อมูลจาก: BabyCenter



    .

    ตอบลบ
  7. *** ภัยจุกนมหลอก ***





    พอลล่า เนียเดนธัล ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐ อเมริกา ค้นพบว่า เด็กที่ติด "จุกนมหลอก" ต้องดูดจ๊วบๆ เป็นประจำ ระหว่างวัย 1-3 ขวบ มีโอกาสกลายเป็นเด็กไร้ความรู้สึก ไม่สามารถแสดงออกอารมณ์ผ่านทางสีหน้า และท่าท่างได้อย่างเด็กทั่วไป



    นั่นเป็นเพราะเด็กๆ ในช่วง 3 ขวบปีแรก จะเรียนรู้ความรู้สึกของพ่อแม่ และคนรอบข้างจากสีหน้า แต่เมื่อปากต้องอมจุกปลอมเอาไว้ เลยฝึกเลียนแบบอารมณ์ไม่ได้ ยิ่งใช้บ่อยๆ เป็นเวลานานๆ ติดต่อกันหลายปี ยิ่งส่งผลกระทบมากขึ้น



    ซ้ำร้ายพ่อแม่มักคิดว่าจุกปลอมเป็นอุปกรณ์กล่อมเด็กขี้แยให้เงียบเสียงลงได้ แต่รู้หรือไม่ว่าการอุดเสียงแงๆ ของเด็กที่ร้องบอกพ่อแม่ให้รู้ว่าตัวเองกำลังหิว ง่วง อยากถ่าย หรือไม่สบายนั้น เป็นการเพิ่มความเครียดให้กับเด็กโดยไม่รู้ตัว เพราะเด็กถูกจุกปลอมปิดกั้นการสื่อสาร จะร้องบอกก็ไม่ได้ ดึงออกเองก็ยังทำไม่เป็น



    ที่มา :: ข่าวสดรายวัน





    .

    ตอบลบ