Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

วัคซีนสำหรับเด็ก

วัคซีนสำหรับเด็ก



การฉีดวัคซีนพื้นฐานตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กระทรวงสาธารณสุข

เรียบเรียงโดย ภญ.ผศ.ดร.จุรีย์ เจริญธีรบูรณ์




การนำวัคซีนชนิดต่างๆเข้ามาร่วมในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศนั้น ๆ สำหรับประเทศไทยมีการพัฒนาการป้องกันโรคด้วยวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากการให้บริการวัคซีนต่อโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในตอนนั้น พบว่าการบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบมีการให้วัคซีนไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีปัญหาระบบการขนส่งลูกโซ่ความเย็น และการกระจายของวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ไม่สามารถป้องกันโรคได้ดี ดังนั้นในปีพ.ศ. 2520 กระทรวงสาธารณสุขขยายการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ( Expanded Program on Immunization, EPI) โดยเริ่มด้วยวัคซีน 4 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยักและโปลิโอ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และวัคซีนบาดทะยักในหญิงตั้งครรภ์ ทั้งนี้มีการสนับสนุนและให้คำแนะนำทางวิชาการจากองค์การอนามัยโลก ปัจจุบันการให้บริการวัคซีนภายใต้ EPI ซึ่งดำเนินการโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาวัคซีนโดยใช้งบประมาณรัฐและกระจายไปยังหน่วยบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ปัจจุบันมีวัคซีนพื้นฐานที่อยู่ใน EPI จำนวน 8 ชนิด ที่ป้องกันโรคจำนวน 10 โรค ได้แก่ วัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ตับอักเสบบี และไข้สมองอักเสบเจอี
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับวัคซีนตาม EPI ซึ่งเริ่มให้ตั้งแต่แรกเกิดได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 และสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามแผนดังกล่าว ได้มีคำแนะนำในการบริหารจัดการโดยเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนในขวบปีแรกสามารถให้วัคซีนตามแผนในตารางที่ 2 และเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนในช่วง 6 ปีแรกสามารถให้วัคซีนตามแผนในตารางที่ 3 และเพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นจึงขออธิบายถึงคำย่อของวัคซีนชนิดต่าง ๆ ดังนี้
 
 
คำย่อ


1. วัคซีน BCG (Bacillus Calmette-Guérin หรือ Bacille Calmette-Guérin vaccine) หมายถึง วัคซีนป้องกันวัณโรค (tuberculosis)

2. วัคซีน HB (Hepatitis B vaccine) หมายถึง วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด บี

3. วัคซีน DTP (Diptheria, Tetanus, Pertussis vaccine) หมายถึง วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน รวมกันอยู่ในเข็มเดียว

* DTP-HB หมายถึง วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด บี รวมอยู่ในเข็มเดียวกัน

* dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก โดยใช้สำหรับป้องกันบาดทะยักในผู้ใหญ่เป็นหลัก และมีจำนวนวัคซีนป้องกันโรคคางทูมน้อยกว่าสำหรับเด็กเล็ก

4. วัคซีน OPV (Oral Polio vaccine) หมายถึง วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดหยอด (ให้ทางปาก (oral))

5. วัคซีน MMR (Mump, Measle, Rubella vaccine) หมายถึง วัคซีนป้องกันโรคคางทูม หัด หัดเยอรมัน กรน รวมกันอยู่ในเข็มเดียว

6. วัคซีน JE (Japanese encephalitis vaccine) หมายถึง วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ Japanese encephalitis

* ตัวเลขที่เขียนต่อท้ายชื่อวัคซีน หมายถึง การฉีดวัคซีนครั้งที่ ....... เช่น HB1 หมายถึง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด บี เข็มแรก (ครั้งที่ 1)
* วัคซีนทั่วไปจะให้โดยการฉีด ยกเว้น วัคซีน OPV ป้องกันโรคโปลิโอ จะให้โดยการหยอดเข้าปาก
 
 
 

ตารางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค


( ที่มา : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข http://thaigcd.ddc.moph.go.th/Vac_Tables.html )

 
 
ตารางที่ 1 : กำหนดการให้วัคซีนแก่เด็ก ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของกระทรวงสาธารณสุข กรณีเริ่มให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในขวบปีแรก

 
 


 
 
 
หมายเหตุ
 

1. วัคซีนทุกชนิดถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มทันทีที่พบครั้งแรก
2. วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบางแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด ให้ฉีดวัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่

* หากมีหลักฐานบันทึกว่าเคยได้รับ BCG มาก่อน ไม่จำเป็นต้องให้ซ้ำ แม้จะไม่มีแผลเป็น



 
 


 
ตารางที่ 2 : กำหนดการให้วัคซีนแก่เด็ก กรณีพลาดการได้รับวัคซีนในช่วงอายุ 1 ปีแรก และเริ่มช่วงอายุ 1-6 ปี
 
 

เด็กจะได้รับวัคซีนตามตารางที่ 2 ครบภายในระยะเวลา 1 ปี

จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่อง ตามที่กำหนดในตารางที่ 1 (อายุ 12 ปี)


 
หมายเหตุ
 

วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัดให้ฉีดวัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
* หากมีหลักฐานบันทึกว่าเคยได้รับ BCG มาก่อน ไม่จำเป็นต้องให้ซ้ำ แม้จะไม่มีแผลเป็น



 


 
ตารางที่ 3 : กำหนดการให้วัคซีนแก่เด็ก กรณีที่พลาดการรับวัคซีนในช่วงอายุ 6 ปีแรก และเริ่มให้ตั้งแต่อายุ 7 ปี ขึ้นไป


 

เด็กจะได้รับวัคซีนตามตารางที่ 3 ครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่อง
ตามที่กำหนดในตารางที่ 1 (อายุ 12 ปี)




 
หมายเหตุ
 

วัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กเคยได้รับวัคซีนมาบ้างแล้ว และไม่มารับครั้งต่อไปตามกำหนดนัด ให้ฉีดวัคซีนครั้งต่อไปนั้นได้ทันทีเมื่อพบเด็ก โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
* หากมีหลักฐานบันทึกว่าเคยได้รับ BCG มาก่อน ไม่จำเป็นต้องให้ซ้ำ แม้จะไม่มีแผลเป็น







 
 


 
 
 


 
 
ที่มา ;: http://www.tnnthailand.com/upload/news/M_16290.jpg



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น