Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ต้องดูแลให้ดี

24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ต้องดูแลให้ดี
ดูแลตัวเองหลังคลอด

24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ต้องดูแลให้ดี (รักลูก)
 


           
24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องดูแลตัวเองและปรับตัวให้พร้อมต่อการดูแลลูกน้อยที่เพิ่งจะลืมตาดูโลก ดังนี้ค่ะ

 

ดูแลความปลอดภัย

           
ขณะคลอดคุณแม่อาจเจอกับปัญหาตกเลือดหรือต้องเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเองโดยการนวดคลึงมดลูกค่ะ เนื่องจากเวลาคลอดรกจะหลุดลอกออกมาทำให้คุณแม่เสียเลือดมาก ซึ่งปกติมดลูกจะบีบรัดตัวให้แข็งเพื่อทำให้เลือดหยุดไหล แต่ถ้ามดลูกไม่บีบรัดตัว คุณแม่ควรคลำมดลูกบริเวณท้องน้อย และนวดคลึงเบา ๆ เพื่อให้ก้อนมดลูกแข็งตัวขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อยู่บนเตียงคลอดเลย เพื่อช่วยเหลือตัวเองให้ปลอดภัยจากการตกเลือด
 

ระวังการเคลื่อนไหว

           
 
ผลจากการเสียเลือดมากขณะคลอด อาจทำให้คุณแม่มีภาวะความดันโลหิตต่ำและร่างกายอ่อนเพลีย ควรระวังอาการหน้ามืด ใจสั่น มือสั่น และเป็นลมได้ง่าย เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถเร็ว ๆ เช่น ลุกจากเตียงนอนหรือเดินไปเข้าห้องน้ำ คุณแม่ควรเคลื่อนไหวช้า ๆ หาที่ยืดเกาะให้มั่นคงหรือควรให้คุณพ่อคอยช่วยประคองเวลาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ถ้าคุณแม่มีอาการหน้ามืดบ่อย ๆ ควรรีบบอกพยาบาลเพราะอาจจะต้องให้น้ำเกลือหรือให้เลือดเพิ่ม
 

ดูแลความสะอาด

 

           
หลังคลอดจะมีทั้งคราบเหงื่อไคล คราบเลือด และอาการเหนื่อยล้าจากการคลอด ซึ่งก่อนที่คุณแม่จะให้นมลูกเพื่อเสริมภูมิต้านทาน อย่าลืมว่าต้องดูแลทำความสะอาดตัวเองก่อนเพื่อป้องกันลูกน้อยจากสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติสามารถอาบน้ำ สระผมได้ตามปกติ ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอดถ้าไม่ได้ใช้พลาสเตอร์กันน้ำปิดแผลก็ควรใช้วิธีเช็ดตัวให้สะอาดก่อนในช่วงแรก โดยเฉพาะบริเวณเต้านมและหัวนมก่อนให้ลูกดูดนมแม่ค่ะ

 

ให้นมแม่

           
 
หลักการให้นมแม่ คือ ดูดเร็ว ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี หลังคลอดพยาบาลจะรีบพาลูกน้อยมาให้ดูดนมแม่ทันที เป็นการกระตุ้นฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ให้หลั่งน้ำนมออกมา ซึ่งคุณแม่บางคนอาจต้องใช้เวลา 2-3 วัน กว่าที่น้ำนมจะไหล จึงจำเป็นที่ลูกน้อยจะต้องดูดกระตุ้นบ่อย ๆ เพื่อให้คุณแม่กับลูกน้อยได้เรียนรู้วิธีฝึกดูดนมและฝึกอุ้มลูกไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งกระตุ้นให้น้ำนมออกมาเร็วขึ้น ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอดแล้วยังไม่สามารถอุ้มลูกได้ ก็สามารถได้นมลูกด้วยท่านนอนตะแคง เพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บแผลผ่าคลอดได้
 

ดูแลแผลหลังคลอด

           
 
แผลคลอดเอง คุณหมอจะเย็บแผลด้วยไหมละลาย โดยแผลบริเวณช่องคลอดจะมีเส้นประสาทและหลอดเลือดจำนวนมาก ทำให้แผลหายเร็ว เพียงแต่จะต้องดูแลทำความสะอาด หลังจากคุณแม่เข้าห้องน้ำ สามารถใช้น้ำทำความสะอาดได้ตามปกติและควรซับให้แห้ง รวมทั้งเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการอับชื้นจากน้ำคาวปลา ส่วนแผลผ่าคลอด ควรสังเกตตัวเองว่ามีอาการแพ้พลาสเตอร์ปิดแผลหรือไม่ หากคุณแม่มีอาการคันหรือผิวหนังเป็นผื่นแดง หรือเป็นตุ่มน้ำบริเวณที่ปิดพลาสเตอร์ควรให้แพทย์เปลี่ยนพลาสเตอร์ให้ และต้องระวังไม่ให้แผลอับชื้นด้วยค่ะ
 

ดูแลจิตใจตัวเอง

           
หลังคลอดคุณแม่อาจเกิดภาวะซึมเศร้า มีความรู้สึกเหงาหรือท้อแท้ ภาวะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างกะทันหัน เพราะช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนจากรกจะทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง ตื่นตัว แต่หลังคลอดแล้วฮอร์โมนเหล่านี้จะหายไปทันทีหลังคลอด คุณแม่จึงอาจมีอารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้าเกิดขึ้นได้

ถ้าคุณแม่เป็นคนที่มีพื้นฐานร่างกายแข็งแรง ปรับตัวปรับใจได้ดี ก็จะไม่เกิดปัญหานี้ แต่ถ้าคุณแม่มีความเครียดอยู่แล้ว เมื่อฮอร์โมนเปลี่ยนอารมณ์และจิตใจก็จะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเช่นกัน

ดังนั้น ควรดูแลจิตใจตัวเองให้ผ่อนคลาย อาจใช้วิธีการฟังเพลงทำกิจกรรมที่ช่วยให้จิตใจมีความสุข หาเพื่อนหรือคนที่ใกล้ชิดพูดคุยหรือปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูก ก็จะช่วยลดความเครียดความกังวล ทำให้รู้สึกสบายใจได้มากขึ้น
 

เสริมโภชนาการอาหาร

           
 
ร่างกายของคุณแม่หลังคลอดจะมีอาการอ่อนเพลียจากการเสียเลือดและฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นคุณแม่ควรฟื้นฟูสุขภาพตัวเองให้สมบูรณ์อย่างรวดเร็ว โดยเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้สารอาหารไปช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายให้คืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว และยังส่งผลต่อสารอาหารที่ลูกจะได้รับผ่านน้ำนมแม่อีกด้วย

 ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ดูแลจิตให้ผ่อนคลาย เพื่อคุณแม่จะได้พร้อมกับการดูแลลูกน้อยอย่างเต็มที่นับจากนี้ไปค่ะ
 
 
 
 
 
 
 
ที่มา :: ปีที่ 30 ฉบับที่ 359 ธันวาคม 2555
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น