Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ระวังภัยลมหนาว หอบ 5 โรค กวนใจลูกรัก

ระวังภัยลมหนาว หอบ 5 โรค กวนใจลูกรัก

 
ระวังภัยลมหนาวพัดหอบ 5 โรค กวนใจลูกรัก (modernmom)
 

         
เข้าสู่ธันวาคมเดือนสุดท้ายของปีอย่างนี้อากาศบ้านเราก็เริ่มจะเย็นลงเข้าสู่บรรยากาศฤดูหนาวเต็มตัว อากาศเปลี่ยนปุ๊บแน่นอนค่ะผู้ใหญ่เองยังเริ่มฮัดเช้ยเป็นหวัดคัดจมูกกันเป็นแถว งานนี้ไม่ต้องพูดถึงเจ้าตัวเล็กค่ะ ถ้าดูแลสุขภาพลูกน้อยไม่ดีรับรองเจ้าโรคตัวร้ายมาถามหาแน่นอนค่ะ ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่าว่า 5 โรคที่เจ้าลมหนาวจะหอบมามีอะไรบ้างหนอ

 

ไข้หวัดป่วนหนู

         
 
ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่บริเวณเยื่อบุจมูก แพร่กระจายผ่านทางการจามและการสั่งน้ำมูก ส่วนเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่จะอยู่บริเวณเยื่อบุของระบบทางเดินหายใจแพร่กระจายผ่านการไอ โดยการที่ลูกน้อยเป็นหวัดส่วนใหญ่จะเป็นการรับเชื้อไวรัสมาจากคนอื่น ๆ หรือรับเชื้อที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศ ซึ่งในฤดูหนาวเชื้อยิ่งแพร่กระจายเร็ว เพราะเชื้อเติบโตเร็ว
มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม
เวลามีไข้ร่างกายจะสูญเสียน้ำมากกว่า ปกติควรให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
วัดอุณหภูมิเป็นระยะจนกว่าไข้จะลด
เลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายอากาศดี แต่อบอุ่นให้ลูก
ถ้าลูกมีไข้ต่ำไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ไม่ควรให้ยาลดไข้ แต่ควรลดไข้ด้วยการเช็ดตัวโดยใช้ผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวโดยเฉพาะบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ
ถ้าลูกมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ก่อนให้ยาลดไข้ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัย
หากให้ยาแล้วไข้ยังไม่ลดควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจรักษาอย่างถูกต้อง

 

รับมือหวัด

 

         
ในช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่เชื้อไวรัสแพร่กระจายและเจริญเติบโตได้เร็ว ดังนั้นไม่ควรพาลูกออกไปในที่ที่มีคนอยู่เยอะ เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อให้ลูก นอกจากนี้คนในครอบครัวที่เป็นไข้หวัดก็ไม่ควรคลุกคลีกับเจ้าตัวเล็กด้วยค่ะ

 

อีสุกอีใสแกล้งหนู

         
 
มักระบาดในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อนจากเชื้อไวรัสชื่อวาริเซลลา หรือฮิวแมนเฮอร์ปีส์ไวรัสชนิดที่ 3 ไวรัสนี้ติดต่อผ่านการหายใจ ไอ จาม สัมผัสถูกตุ่มแผลสุกใสโดยตรงหรือสัมผัสถูกของใช้ที่เปื้อนตุ่มแผลของคนเป็นโรค
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลา 10-20 วันจึงเริ่มออกอาการ
อาการเริ่มต้นคล้ายอาการไข้หวัดใหญ่ มีไข้ เบื่ออาหาร งอแง
จากนั้นเริ่มมีผื่นแดง ก่อนเปลี่ยนเป็นตุ่ม มีน้ำใสภายในและคัน ตุ่มจะทยอยขึ้น ทั่วตัวเต็มที่ภายใน 4 วัน ควรตัดเล็บลูกให้สั้นและจำเป็นต้องใส่ถุงมือเพื่อนกันลูกเกา ซึ่งจะเป็นการทำให้เชื้อลุกลาม
โรคนี้เป็นแล้วหายได้เอง แต่คุณแม่ต้องระวังอย่าให้เกิดโรคแทรกซ้อนกับลูกน้อย

คุณแม่ควรดูแลรักษาลูกตามอาการ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ เช็ดตัวลดไข้ ดื่ม้ำมาก ๆ กินยาลดไข้ตามคุณหมอสั่ง
ควรรีบพาลูกน้อยพบคุณหมอด่วน ถ้าลูกรับเชื้อไวรัสเป็นอีสุกอีใสตอนอายุน้อยกว่า 4 สัปดาห์เพราะเด็กยังไม่มีภูมิต้านทานเสี่ยงจะเกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่ายหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
หากลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ตุ่มแผล ติดเชื้อ หายใจขัด ควรพาลูกพบคุณหมอ
 
รับมืออีสุกอีใส
       
อย่าให้ลูกสัมผัสกับผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส ควรแยกห้องนอนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไปและฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6
ปี

 

ท้องร่วงเพราะเจ้าไวรัสโรต้า

         
ในฤดูหนาวจะมีเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงในเด็กเล็ก ๆ ได้ค่อนข้างบ่อยที่พบมากคือโรต้าไวรัส ซึ่งก่อให้เกิดโรคท้องร่วงรุนแรง และถึงแม้จะได้รับเชื้อไม่มากก็ก่อให้เกิดโรคได้ โดยโรคท้องร่วงที่เกิดจากเชื้อโรต้าไวรัสมักจะพบในเด็กอายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี
เด็กที่ได้รับเชื้อจะมีไข้ อาเจียน และถ่ายเหลว ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่รับเข้าไป
เด็กที่มีอาการรุนแรงจะถ่ายมาก ส่งผลให้เสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายไปเยอะ โดยการสูญเสียน้ำจากท้องร่วงเกิดจากเชื้อโรต้าไวรัสจะรุนแรงและค่อนข้างมาก
ควรให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป นอกจากนี้ต้องให้น้ำตาลเกลือแร่กับลูกด้วย เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่เสียไป
หากอาการลูกไม่ดีขึ้น ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที
 

รับมือท้องร่วง

         
เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการท้องร่วงกับลูกน้อยจะติดเชื้อจากทางปาก คุณแม่ต้องดูแลรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อม และอาหาร ล้างมืดให้สะอาด ระวังอย่าให้ลูกหยิบสิ่งของเข้าปาก อีกวิธีป้องกันที่ได้ผลดีคือ การฉีดวัคซีน โดยวัคซีนจะฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน โดยฉีด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังคลอด 6 สัปดาห์และครั้งที่ 2 ฉีดภายใน 6 เดือน
 

โรคหัดอย่ามองข้าม


เกิดจากเชื้อไวรัสสรูบิโอลา พบมากในน้ำลายของผู้เป็นโรค ติดต่อง่ายและรวดเร็วจากการไอ จาม หายใจรดกัน หรือใช้สิ่งของร่วมกัน พบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระบาดในช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน
อาการของโรคหัดช่วงแรกหลังรับเชื้อโรคหัดไป 7 วันมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้สูงตลอดเวลา กินยาลดไข้แต่ไข้ไม่ลดซึม งอแง ร้องกวน เบื่ออาหาร น้ำมูกใส ไอแห้ง บางรายมีอาการถ่ายเหลว และอาจชักจากการมีไข้
หลังจากนั้นผื่นเริ่มขึ้น ลักษณะเป็นจุดแดงเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด เริ่มจากบริเวณตีนผม ซอกคอ ก่อนที่จะลามขึ้นใบหน้า ลำตัว แขนขา อาจมีอาการคัน
ผื่นจะขึ้นอยู่ 2-3 วันนับจากวันแรกที่ผื่นเริ่มขึ้นและจะจางลง โรคหัดส่วนใหญ่เป็นแล้วหายได้เอง
ดูแลลูกปกติเหมือนกับเวลาที่ลูกป่วยเป็นไข้หวัด คือพักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ ไม่อาบน้ำเย็น ให้กินยารักษาตามอาการ
ถ้ามีอาการไอ เสมหะขับ-เขียว หายใจมีเสียงวี้ด (Wheeze) เพราะหลอดลมตีบควรพบคุณหมอ
 

รับมือโรคหัด

         
เบื้องต้นควรหลีกเลี่ยงพาลูกไปยังสถานที่ที่มีคนมาก เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกัน และหากมีอาการควรอยู่ในการดูแลของคุณหมอค่ะ
 

ปอดบวมต้องระวัง

         
 
โรคปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อที่ปอด โดยติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้พบบ่อยในช่วงระหว่างฤดูฝนและฤดูหนาว หรือตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม พบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ติดต่อผ่านทางการหายใจ น้ำมูก และน้ำลาย
อาการของปอดบวม คือ มีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก นอกจากนี้ลูกจะงอแง ซึม
บางรายอาการรุนแรงจะหายใจแรงจนจมูกบานหรือหน้าอกบุ๋ม และถ้าหลอดลมภายในปอดตีบอาจจะเกิดเสียงหายใจวี้ด รายที่อาการรุนแรงมากอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
อย่าปล่อยให้ลูกหายใจลำบากอยู่นานจะทำให้ขาดออกซิเจน ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ
 

รับมือปอดบวม
 
หลีกเลี่ยงพาลูกน้อยไปในสถานที่ที่มีคนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า
เลี่ยงเด็กจากควันบุหรี่ ควันไฟ ครัน จากท่อไอเสียรถยนต์
ช่วงอากาศที่หนาวเย็นควรให้ลูกเสื้อผ้าที่อบอุ่น นอนห่มผ้าเสมอ
ควรพาลูกไปพบคุณหมอเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรค
ใส่ใจ รู้ทัน ป้องกันดี แค่นี้เจ้าตัวเล็กของคุณแม่ก็ไม่ต้องกลัว 5 โรคที่จะมากับฤดูหนาวแล้วค่ะ
 
 
 
 
 
 
 
 
ที่มา :: Vol.18 No.206 ธันวาคม 2555
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น