Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เดลฟี สกรีนเนอร์ นวัตกรรมตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง

เดลฟี สกรีนเนอร์ นวัตกรรมตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง
ตรวจมะเร็งปากมดลูก เดลฟี สกรีนเนอร์
 

         
เพราะโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังคุกคามชีวิตหญิงไทยมากขึ้นทุกวัน จากสถิติที่บ่งชี้ชัดเจนว่า โรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้หญิงไทยอายุระหว่าง 25-65 ปี เสียชีวิตมากที่สุด โดยพบผู้เสียชีวิตมากถึงวันละ 14 ราย และยังพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นวันละ 10,000 ราย ทำให้วงการแพทย์ต้องหันมาสนใจเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การตรวจคัดกรองสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะจะช่วยให้พบกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะอายหมอ หรือกลัวเจ็บ จึงไม่กล้ามาตรวจ มาพบอีกทีโรคก็ลุกลามจนไม่สามารถรักษาได้ไปแล้ว แต่ปัจจุบันก็มีวิธีตรวจคัดกรองที่ง่ายขึ้น และเห็นผลแม่นยำมากขึ้น โดยมีอยู่ 2 วิธีที่เป็นที่นิยมกันคือ

 
 
 
 

1. การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
 
 
แบบสามัญ เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยม เพราะราคาไม่แพง แต่ข้อเสียคือ ความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติค่อนข้างต่ำ เพียงร้อยละ 50-60 เท่านั้น ดังนั้น ผลการตรวจอาจคลาดเคลื่อนได้ หากผู้เข้ารับการตรวจมีเลือดประจำเดือน หรือมีอาการตกขาว
 
แบบใช้ของเหลวเก็บเซลล์ เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติด้วยของเหลวที่เรียกว่า Liquid based cytology ซึ่งมีความไวในการตรวจหาเซลล์ผิดปกติ ร้อยละ 70-85 ทำให้ผลตรวจแม่นยำมากขึ้น เป็นการลดข้อจำกัดของวิธีดั้งเดิมได้

ตรวจมะเร็งปากมดลูก เดลฟี สกรีนเนอร์
 
 
 

2. การตรวจหาเชื้อเอชพีวี (HPV)

 
เป็นการตรวจโดยใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุลเพื่อหา DNA ของเชื้อไวรัส HPV อันเป็นสาเหตุหลักของโรคโดยตรง เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงมากถึงร้อยละ 95-100 ผลการตรวจจึงแม่นยำมากที่สุด เพราะใช้นวัตกรรมใหม่อย่าง "เดลฟี สกรีนเนอร์" (Delphi Screener) ซึ่งเป็นชุดเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองที่สะดวก ใช้งานง่าย ปลอดภัย มีผลการศึกษา (Clinical Study) ที่รองรับถึงประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับจากสตรีทั่วโลก ทั้งยังได้รับรางวัล If product design award 2012 และ Special award for ergonomic design award 2012 รวมถึงผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 และ CE Mark แล้ว

เพราะฉะนั้น รศ.นพ.วิชัย จึงเชื่อว่า นวัตกรรมใหม่นี้จะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะเข้ามาช่วยคัดกรองผู้ป่วยได้มากขึ้น และช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
 
 
 
 
ที่มา ::
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

6 ความคิดเห็น:

  1. About the Delphi Screener Pagina-inhoud


    •What does the Delphi Screener look like?
    The Delphi Screener has a blue handgrip to handle the device and a white tube with a rounded top, like a tampon or vaginal cream applicator, that is inserted smoothly into the vagina. The Screener has been designed for optimal use in the vagina.


    •How long is the Delphi Screener?
    The total length of the Screener is 22,5 centimeters (8,86 inches). The white insertion part is 10 centimeters (3,94 inches).


    •Why is the Screener this length?
    For easy handling and to collect a good sample. It is important to get a sample as high as possible in the vagina (close to the cervix, neck of the womb). The average length of the vagina is approximately 10 centimeters


    •Is the Delphi Screener available in different sizes?
    No, the Delphi Screener is only available in one size. Research has shown that this size is optimal for use and appropriate for almost every woman. Gynaecologists have been involved in the development of the Screener and have found this size to be effective.


    •What is the liquid inside the Screener made of?
    The lavage liquid is sterile, water-based saline (physiological salt solution). It is body-friendly and widely used in the medical world, like the solution as often found in eye drops.


    •Where is the Screener being produced?
    The Screener is produced in the Netherlands.


    •How do I know that I am using a real Screener, and not a copy of one?
    The Screener is patent protected which means it cannot be manufactured by others. Only Delphi Bioscience and partners have the authority to distribute the Screener.


    •Where is the Delphi Screener available?
    We are currently using the Screener in many countries around the world to collect local information on the use (Netherlands, Finland, Italy, Germany, Malta, USA, Singapore.


    •Will the Delphi Screener only be available through prescription?
    This depends on the country. The Screener can be offered for free through the government, or can be bought at the pharmacy, or be provided by a general practitioner or gynaecologist.



    •Will purchasing the Delphi Screener be reimbursed by health insurance?

    This situation will differ country by country.





    .

    ตอบลบ
  2. Shots and Screens – Cervical Cancer



    Arm Yourself Against Cervical Cancer - by Maripet L. Poso

    Every two days, more than one case of cervical cancer is diagnosed in Singapore; and every five days, a woman dies of it.1 It’s a pretty distressing statistic for something that can be avoided by a simple screening or vaccination. In spite of the big efforts from the government and the medical industry to defeat cervical cancer, the disease still ranked the third most common cancer among women in Singapore.

    Although cervical cancer is one of the most common types of cancer among women worldwide, 92% of the cases can be detected and treated if a woman undergoes regular pelvic exams and Pap tests.2 In Singapore, however, about one-third of women aged 25 to 69 years old have not been screened for cervical cancer. According to Dr Tay Eng Hseon – one of the country’s leading gynaecological oncologists – culture, shyness and fear of discomfort and pain are among the main reasons why many women in Singapore are still hesitant to go for a cervical cancer screening.




    ...

    ตอบลบ
  3. นวัตกรรม “Delphi Screener” ตรวจคัดมะเร็งด้วยตัวเอง

    คิดค้นมาเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ สำหรับนวัตกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง ผ่านชุดอุปกรณ์ “Delphi Screener” ที่ใช้งานง่าย ให้ผลแม่นยำ ซึ่งหลังจากทดสอบสามารถส่งผลไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์หาเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ทันที ต่างจากรูปแบบการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในแบบเดิมๆ ที่สร้างความเจ็บปวดและเขินอายให้กับคุณสาวๆ ที่ต้องเข้าคิวรับบริการตรวจจากแพทย์ผู้รักษา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์โรคมะเร็งปากมดลูกพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มปีละ 10,000 ราย และในแต่ละปีพบผู้เสียชีวิตเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000 ราย หรือคิดเป็นผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกตกวันละ 14 ราย ดังนั้นเพื่อรณรงค์ให้คุณสาวๆ หันมาตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยตนเองแต่เนิ่นๆ เพื่อลดการสูญเสียในอนาคต รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ได้เผยให้ทราบถึงการใช้งานของอุปกรณ์ “เดลฟี สกรีนเนอร์” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องไปสู่กลุ่มผู้ใช้บริการ
    คุณหมออธิบายถึงลักษณะและการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าวว่า “นวัตกรรมนี้มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกขนาดเท่าปากกา โดยด้านบนนั้นจะมีลักษณะเป็นห่วงและมีปุ่มกดบนห่วง ซึ่งวิธีการใช้นั้นให้นั่งถ่างขาในลักษณะท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน จากนั้นค่อยๆ สอดแท่งพลาสติกดังกล่าวเข้าไปในช่องคลอด โดยที่นิ้วหัวแม่มือสอดเข้าไปห่วง แล้วใช้นิ้วชี้กดไปที่บริเวณปุ่มด้านบนห่วง พร้อมๆ กับการนับ 1 2 3 จากนั้นน้ำเปล่าที่บรรจุอยู่ในแท่งอุปกรณ์ดังกล่าวประมาณ 1 ซีซีจะไหลเข้าไปยังช่องคลอด เพื่อเข้าไปนำเซลล์เนื้อเยื่อบุมดลูก หรือไวรัส HPV ที่เกาะอยู่บริเวณช่องคลอด โดยแท่งพลาสติกจะดูดของเหลวเหล่านี้ไปเก็บไว้ จากนั้นให้นำของเหลวดังกล่าวบีบลงในหลอดเก็บตัวอย่าง (ต้องมีลักษณะขุ่นและมีเนื้อเยื่อบางจึงจะถือว่าตัวอย่างสมบูรณ์พร้อมตรวจ) เพื่อส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสดังกล่าวต่อไป หรือสามารถส่งทางไปรษณีย์ก็ได้เช่นกัน”
    ส่วนความแตกต่างระหว่าง “เดลฟี สกรีนเนอร์” กับอุปกรณ์ทดสอบมะเร็งปากมดลูกก่อนหน้านี้ คุณหมอระบุว่า “อุปกรณ์ตรวจคัดกรองมะเร็งก่อนหน้านี้จะมีลักษณะคล้ายกับแปรงล้างขวดนม ที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในขณะทดสอบ หรือแม้แต่การตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแปปสเมียร์ที่เรียกได้ว่าดีที่สุด แต่อาจติดข้อจำกัดที่ต้องทำโดยแพทย์ ซึ่งสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้รับบริการ” สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ควรทดสอบมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองนั้น คุณหมอแนะนำว่า “เป็นกลุ่มของผู้หญิงไทยที่มีอายุระหว่าง 25-65 ปี หรือพูดง่ายๆ ว่ากลุ่มผู้หญิงที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ และยังไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแบบตรวจแปปสเมียร์มาก่อน (คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 70) ก็สามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้ และควรทดสอบมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง”
    แม้อุปกรณ์จะมีความแม่นยำในการดักจับเชื้อไวรัส HPV ได้ถึง 96-99 เปอร์เซ็นต์ ก่อนส่งผลตรวจไปยังห้องปฏิบัติการ แต่ นพ.วิชัยย้ำว่า “การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกที่ดีนั้นควรไปพบแพทย์ เพราะนอกจากโรคร้ายดังกล่าวแล้วยังสามารถพบโรคอื่นๆ เช่น โรคเนื้อเยื่อเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ หรือมะเร็งรังไข่ ฯลฯ ก็เป็นได้ ดังนั้นหากตรวจพบความผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น” นอกจากนี้หากลดปัจจัยการเกิดมะเร็งปากมดลูก 3 ข้อต่อไปนี้ ก็จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และลดการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยลงได้ โดยเริ่มจาก 1.ลดพฤติกรรมเสี่ยง เนื่องจากการที่เราทราบว่ามะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นจึงไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 2.ใช้ถุงยางอนามัย 3.ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะช่วยป้องกันได้ 70-80%”.



    ..

    ตอบลบ
  4. "เดลฟี สกรีนเนอร์" นวัตกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง



    ประชาชาติธุรกิจออนไลน์




    "มะเร็งปากมดลูก" เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตเป็นสาเหตุตายมากที่สุดในผู้หญิงไทย ในช่วงอายุ 25-65 ปี โดยมีอัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 10,000 ราย และมีอัตราผู้เสียชีวิต 5,000 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 14 ราย


    รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ได้กล่าวถึงปัญหาสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ว่า “เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ในปัจจุบันเราสามารถลดอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกได้โดยการตรวจคัดกรอง ซึ่งหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันในเรื่องนี้ แต่อัตราผู้หญิงไทยที่เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกก็ยังคงเป็นอันดับหนึ่ง นั่นเพราะยังมีผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอีกมากที่ละเลยการตรวจคัดกรอง เพราะอายบ้าง หรือกลัวเจ็บบ้าง หลายคนจึงมักตรวจพบโรคขณะที่ลุกลามจนเลยระยะซึ่งสามารถรักษาได้ไปแล้ว



    “ทั้งยังมีทางเลือกใหม่ในการตรวจที่ทำได้ด้วยตนเอง ด้วยนวัตกรรมตรวจคัดกรองที่ช่วยเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรง ซึ่งทำให้การตรวจคัดกรองเข้าถึงคนในวงกว้างได้มากขึ้น เนื่องจากใช้ง่าย สะดวก ปลอดภัย มีการศึกษายอมรับมานานว่าผลการตรวจแม่นยำไม่ต่างจากการตรวจโดยแพทย์ นับเป็นทางเลือกใหม่ที่สำคัญของคุณผู้หญิงในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกช่องทางหนึ่ง”


    สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) บริเวณปากมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์แม้มีสามีหรือภรรยาคนเดียว และจะเพิ่มอัตราเสี่ยงมากขึ้น เช่น การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร


    อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะของโรคที่มีการดำเนินไปอย่างช้า ๆ ทำให้มีวิธีป้องกันและรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นขณะที่มะเร็งยังไม่แสดงอาการ ทั้งยังสามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะที่เชื้อยังไม่เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การรักษายังได้ผลดี และหายขาดได้



    การตรวจวินิจฉัยเพื่อหามะเร็งปากมดลูกทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ การตรวจภายใน, การตรวจ Pap Smear, การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู การส่องกล้องตรวจปากมดลูกคอลโปสโคปร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา หรือการตรวจอื่น ๆ เช่น การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า และการตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด



    สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกซึ่งได้ผลดีและได้รับความนิยมมากที่สุด ในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี



    หนึ่งคือ การตรวจแพป หรือ Pap Smear ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่


    แบบสามัญ ที่มีความไวของการตรวจร้อยละ 50-60 เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติแบบดั้งเดิม ได้รับความนิยมมากเนื่องจากราคาไม่แพง แต่มีข้อด้อยคือความไวของการตรวจหาเซลล์ผิดปกติค่อนข้างต่ำ ดังนั้น หากผู้รับการตรวจมีตกขาวผิดปกติจากการอักเสบของปากมดลูก ช่องคลอด หรือปากมดลูกมีการติดเชื้อ หรือมีเลือดประจำเดือนซึ่งทำให้มีการปนเปื้อนและบดบังเซลล์ผิดปกติ อาจทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้


    และ แบบใช้ของเหลวเก็บเซลล์ ที่มีความไวของการตรวจร้อยละ 70-85 เป็นการตรวจหาเซลล์ผิดปกติด้วยของเหลวที่เรียกว่า Liquid based cytology ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดของวิธีดั้งเดิมได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มความไวและความแม่นยำในการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น






    ...

    ตอบลบ
  5. ...ต่อ....




    วิธีที่สอง คือ การตรวจหาเชื้อ HPV ที่มีความไวสูงถึงร้อยละ 95-100 เป็นการตรวจโดยใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุลเพื่อหา DNA ของเชื้อไวรัส HPV อันเป็นสาเหตุหลักของโรคโดยตรง ซึ่งถือว่ามีความไวและความแม่นยำในการตรวจหาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกสูงที่สุด ด้วยนวัตกรรมใหม่ในการตรวจมะเร็งปากมดลูก Delphi Screener ซึ่งเป็นชุดเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองที่สะดวก ใช้งานง่าย ปลอดภัย มีผลการศึกษา (Clinical Study) ที่รองรับถึงประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับจากสตรีทั่วโลก ทั้งยังได้รับรางวัลรางวัล If product design award 2012 และ Special award for ergonomic design award 2012 รวมถึงผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 และ CE Mark



    ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการใช้ Delphi Screener ในสตรีที่ไม่เคยผ่านการตรวจหรืออาจตรวจ Pap Smear ไม่สม่ำเสมอ ช่วยให้สามารถค้นพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า



    สำหรับในประเทศไทย แม้ว่าหลายหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จะมีการรณรงค์ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในหลายช่องทาง แต่ก็ยังมีสตรีอีกจำนวนมากที่ไม่เคยรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ



    ดังนั้น การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่เข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกในการคัดกรองผู้ป่วย ทั้งยังช่วยสนับสนุนในด้านการบริการให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่สะดวก รวดเร็ว ครบถ้วน และทั่วถึงมากขึ้น ตลอดจนเป็นช่องในการรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอีกทางหนึ่ง












    .

    ตอบลบ
  6. เปิดนวัตกรรมตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง ครั้งแรกในไทย



    มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดของผู้หญิงไทย ในช่วงวัย 25-65 ปี ทั้งยังมีอัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 10,000 ราย และมีอัตราเสียชีวิต 5,000 รายต่อปี หรือร้อยละ 50 ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 14 ราย

    รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง เผยว่า "น่าเสียดายที่ในปัจจุบันเราสามารถลดอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกได้โดยการตรวจคัดกรอง ซึ่งหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันในเรื่องนี้ แต่อัตราผู้หญิงไทยที่เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกก็ยังคงเป็นอันดับหนึ่ง นั่นเพราะกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ละเลยการตรวจคัดกรอง เนื่องจากรู้สึกอาย หรือกลัวเจ็บ หลายคนจึงมักตรวจพบโรคขณะที่ลุกลามจนไม่สามารถรักษาได้แล้ว"

    ล่าสุด มีการเปิดตัวนวัตกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองเป็นครั้งแรกในประเทศไทย อุปกรณ์นี้มีชื่อว่า 'เดลฟี่ สกรีนเนอร์' มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกขนาดพอๆ กับปากกา ด้านหนึ่งจะมีปุ่มกด ใกล้กันจะมีห่วงไว้สำหรับใช้นิ้วสอดเพื่อประคองด้ามตรวจ ส่วนปลายอีกด้านจะมีแถบสีเงิน ซึ่งด้านนี้จะใช้สอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อให้ด้ามตรวจปล่อยน้ำประมาณ 1 ซีซีเข้าไปภายใน ถือเป็นการเก็บเซลล์เนื้อเยื่อบุมดลูก หรือไวรัส HPV (ตัวการก่อมะเร็งปากมดลูก) ที่เกาะอยู่บริเวณช่องคลอด ต่อมาตัวด้ามจะดูดน้ำดังกล่าวกลับเข้าด้ามตรวจ จากนั้นจึงดึงด้ามตรวจออกจากช่องคลอด แล้วถ่ายเทของเหลวใส่ขวดเก็บตัวอย่าง นำส่งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ตรวจในห้องปฏิบัติการ รอผลตรวจราว 1 สัปดาห์.




    เดลินิวส์



    .

    ตอบลบ