Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่1-10 สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแม่

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่1-10 สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแม่


เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่1 บอกกล่าว
ข้อเขียนสั้นชุดวิธีเลี้ยงลูกนี้เคยเผยแพร่แล้วในเพจ สถาบันพัฒนาการเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่21(Learning21) แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรก เลี้ยงลูกให้ได้ดี 100 ตอน และ ภาคสอง คู่มือพ่อแม่สมัยใหม่ อยู่ระหว่างการเผยแพร่ เป็นข้อเขียนที่เล่าเรื่องพัฒนาการเด็กอย่างสั้นและพยายามให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยมีวัตถุประสงค์ให้คุณพ่อคุณแม่เห็นความสำคัญของนาทีทองการเลี้ยงลูกใน 3 ขวบปีแรก รวมทั้งระมัดระวังที่จะไม่ส่งลูกไปเรียนหนังสือก่อนวัยอันควร และไม่เร่งเรียน
ภาพนี้เอื้อเฟื้อจากหน้าโฆษณาของ TOYOTA ในนิตยสารTIMEเมื่อหลายสิบปีก่อน แสดงให้เห็นว่า 12 เดือนแรกเป็นเวลาวิกฤตที่สุดของที่สุดของพัฒนาการมนุษย์ หากทำได้กรุณาเลี้ยงด้วยตนเอง
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่2:ตอนลูกเล็ก แม่ทำอะไรถูกบ้างผิดบ้างได้ทุกอย่างยกเว้นข้อหนึ่งคือห้ามตาย
ระหว่างลูกอายุ0-3เดือน แม่มีหน้าที่เดียวคือเลี้ยงเขาวันละ 24 ชม ถ้าทำไม่ได้ต้องมี "คนหนึ่ง" ทำแทน
มาร์กาเร็ต มาห์เลอร์เรียกระยะ 3 เดือนแรกนี้ว่าระยะออทิสติก(autistic phase) แปลตามตัวว่าอยู่กับตนเอง เวลานั้นทารกทุกๆคนยังอยู่กับตัวเองไม่สนใจอะไรมากนักนอกจากกินและนอน
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 3 : หลังจาก 3 เดือนแรกของชีวิต ทารกเริ่มรับรู้ว่าข้างๆมีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "แม่" แต่รับรู้ว่าแม่และตัวเองเป็นชีวิตเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่อาจจะแยกกันได้
มากาเร็ต มาห์เลอร์เรียกระยะ 3-6 เดือนของทารกนี้ว่าระยะซิมไบโอติก (symbiotic phase) นัยยะคือหากคนหนึ่งตายอีกคนตายด้วย(หมายรวมถึงตายทางจิตใจ) นี่คือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของที่สุดช่วงที่1ของมนุษย์ คุณแม่ต้องอยู่และห้ามตายเด็ดขาด

  เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 4 : หกเดือนแรกของลูกคือรากฐานของชีวิตที่ดี ใน 20 ปีถัดไป หากไม่มีแม่ต้องมีพ่อ หากไม่มีใครต้องมีปู่ย่าตายายหรือใคร1คนที่เลี้ยงทารกอย่างใกล้ชิด หากกำพร้าต้องมีพี่เลี้ยงที่เอาจริง
แม้มีแม่ก็ควรมีพ่อเป็นกองหลังและผู้ช่วย เพื่อให้แม่มั่นคงและแข็งแกร่ง
หกเดือนแรกสำคัญอย่างไร? โปรดติดตาม

  เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่5: ทารก6เดือนแรกมีภารกิจสำคัญคือเรียนรู้ว่า "แม่มีจริง" เรียกว่า object constancy กำหนดเป้าหมายที่จะเป็นที่เหนี่ยวยึดตลอดไปคือแม่ แม่จะกลายเป็นเสาหลักของพัฒนาการทุกชนิดนับจากนี้ แม่จะมีจริงได้เมื่อปรากฏตัวทุกเมื่อเชื่อวันตลอด6เดือน
ไม่มีแม่ก็ต้องมีใคร 1 คน ทำหน้าที่แทน
ไม่มีใครเลย ก็ไม่มี "ชีวิต"

  เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 6 : เมื่อลูกรับรู้ว่าโลกนี้มีอะไรที่เรียกว่าแม่อยู่จริงเมื่ออายุ6เดือน จึงจะเป็นต้นแบบของการรับรู้ว่าวัตถุอื่นๆก็มีอยู่จริงด้วยเมื่ออายุ 8 เดือน รวมทั้งการมีอยู่จริงของคนอื่นๆ ในเวลาต่อมา ทั้งหมดนี้เรียกว่า object constancy
การไม่มีobject constancyที่แข็งแรงเป็นบ่อเกิดของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นานาชนิด

  เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 7 : เด็กทารกมี 2 ชนิด ชนิดที่ 1 คือ เด็กเลี้ยงง่าย ได้นมก็หลับนาน ยามหิวก็ร้องไห้แต่พองาม ชนิดที่2คือเด็กเลี้ยงยาก ยามหิวแหกปาก ป้อนนมยากเย็น ได้แล้วก็ไม่นอน อุ้มอย่างไรก็ไม่เงียบ ปากกัดตีนถีบ
เด็กจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับ "พื้นฐานทางอารมณ์" หรือ temperament ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพการตั้งครรภ์และพันธุกรรม
เด็กจะเลี้ยงง่ายหรือเลี้ยงยากมีผลกระทบต่ออารมณ์ของแม่(หรือตัวแทนแม่)ว่าจะอดทนเลี้ยงด้วยความสม่ำเสมอและใจเย็นเพียงใด ซึ่งกระทบต่อคุณภาพของการสร้าง "แม่" ที่ชัดเจนเมื่อเดือนที่ 6 และเป็นต้นแบบของการกำหนด "วัตถุ" ที่ชัดเจนเมื่อเดือนที่ 8 ด้วย
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่8:แม่เลี้ยงลูกด้วยตนเองอย่างดีที่สุดใน12เดือนแรก เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าโลกนี้ไว้ใจได้ เมื่อหิวก็มีนมมาหา เมื่อร้อนก็มีลมพัดมา เมื่อหนาวก็มีผ้าอุ่นๆ เมื่อเจ็บก็มีใครบีบนวดและเมื่อเหงาก็มีอ้อมกอด ทารกต้องไว้ใจโลกจึงจะพัฒนาต่อไปเพื่อเตรียมเผชิญโลก อีริก อีริกสันเรียกระยะ 12 เดือนแรกนี้ว่า trust คือไว้วางใจ


เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 9 : "ความมีแม่" หรือ "แม่ที่มีอยู่จริง" อย่างแจ่มชัดทำให้ลูกสามารถมีพัฒนาการสิ่งที่เรียกว่า "สายสัมพันธ์" ในขั้นตอนต่อไป
ความไม่มีแม่ที่แจ่มชัดทำให้ลูกไปจากแม่ได้ยาก "เพราะไม่เห็นคือไม่มี" ได้แก่ เด็กที่ไม่ยอมให้แม่เข้าห้องน้ำโดยปิดประตู หนักกว่านี้คือเด็กที่ไม่ยอมไปโรงเรียน แม้โตแล้วแต่ก็ไม่กล้าไปไหน

   เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 10 : แม่ที่มีอยู่จริงในเดือนที่6จะเป็นต้นแบบของ object constancy คือวัตถุที่มีอยู่จริงในเดือนที่8 พัฒนาการช่วง8เดือนแรกนี้ยังมีความสำคัญสูงมาก เกิดมาเป็นคนต้องมีแม่ "ในใจ" เห็นไม่พอ ต้องมี "ในใจ" ด้วย มิเช่นนั้นไปต่อได้ก็ไม่แข็งแรง ทารกก่อน8เดือนกำลังดูของเล่นอยู่ หากเราเอาผ้าไปคลุมของเล่นนั้นเขาจะเลิกสนใจเพราะ"ไม่เห็นคือไม่มี" หลัง8เดือนจึงรู้ว่าของเล่นยังอยู่ใต้ผ้าผืนนั้น หากใช้มือได้ดีจะเปิดผ้าออกเล่นต่อ เด็กที่ยังยากลำบากในการกำหนดความมีอยู่จริงๆของแม่และสิ่งอื่นรวมทั้งคนอื่นจะพัฒนาการทางสังคมต่อไปได้ยาก




ที่มา   ::   น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น