เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 81 : เลฟ วิกอตสกี เกิดปีเดียวกันกับฌอง เพียเจต์เมื่อ ปี 1896 เขาตายด้วยวัณโรคเมื่ออายุ 34 ปี!
เลฟให้ความสำคัญกับการเล่นและการอ่านหนังสือของเด็กแต่ด้วยคนละแนวคิดกับเพียเจต์
เรื่องเล่น เลฟเขียนว่าเด็กมีสิ่งที่เรียกว่า ZPD (zone of proximal development) หมายถึง ช่วงพัฒนาการที่เด็กจะไปไม่ได้หากไม่มีใครช่วย การช่วยที่ดีและครอบคลุมทุกมิติคือการเล่น
เรื่องการอ่าน เลฟเขียนว่าเวลาเด็กพูดกับตนเอง หรือ private speech ไม่ใช่ egocentric speech ตามแบบของเพียเจต์ แต่เป็น social speech เด็กพูดเพื่อส่งสัญญาณ (signal) แก่คนอื่นไม่ใช่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ (symbol) แล้วเด็กจะเริ่มพูดในใจ (internalize) ทำให้คำพูดกลายเป็นความคิดที่เข้าไปอยู่ภายในและพัฒนาไปสู่การคิดเชิงนามธรรมในที่สุด การอ่านหนังสือจะช่วยได้มาก
เพียเจต์เคยพูดว่าเขาเสียใจที่ไม่มีโอกาสสนทนากับนักจิตวิทยาโซเวียตท่านนี้ เลฟเขียนผลงานไว้มากมายตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 ซึ่งไม่มีโอกาสตีพิมพ์ เพิ่งจะมีการตีพิมพ์เผยแพร่งานของเขาในทศวรรษที่ 1960 และชื่อเสียงของเขาก็ขจรขจายนับแต่นั้น เขาเขียนคำนำผลงานชิ้นหนึ่งว่าเขาไม่เห็นด้วยกับฌอง เปียเจต์
เลฟเป็นยิวเกิดในสมัยพระเจ้าซาร์ซึ่งกีดกันชาวยิวแต่เขาเฉลียวฉลาดพอที่จะได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ เมื่อเกิดการปฏิวัติบอลเชวิกในปี 1917 เลฟเชื่อในมาร์คซิสม์ (Marxism) และใช้เป็นหลักในการสังเกตเด็ก แต่งานวิจัยสิบปีในทศวรรษ 1930 ถูกระงับการตีพิมพ์เพราะสตาลินก็ต่อต้านยิวเช่นกัน
เลฟเห็นการพูดคนเดียวและการนับนิ้วเป็นกระบวนการสำคัญในพัฒนาการทางความคิด ทั้งสองกิริยาเป็นไปเพื่อพัฒนาตนเองจากภายนอกสู่ภายในแล้วเติบโต คำพูดกลายเป็นคำงึมงัม การนับนิ้วและบวกเลขเข้าไปอยู่ในใจ ทั้งหมดนี้มิใช่เพื่อตนเองแต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เวลานั้นคือระบอบคอมมิวนิสม์ (communism) ไม่เหมือนกับเพียเจต์ที่เขียนพัฒนาการทางความคิดภายใต้ระบอบทุนนิยม (capitalism)
เลฟให้ความสำคัญกับการเล่นและการอ่านหนังสือของเด็กแต่ด้วยคนละแนวคิดกับเพียเจต์
เรื่องเล่น เลฟเขียนว่าเด็กมีสิ่งที่เรียกว่า ZPD (zone of proximal development) หมายถึง ช่วงพัฒนาการที่เด็กจะไปไม่ได้หากไม่มีใครช่วย การช่วยที่ดีและครอบคลุมทุกมิติคือการเล่น
เรื่องการอ่าน เลฟเขียนว่าเวลาเด็กพูดกับตนเอง หรือ private speech ไม่ใช่ egocentric speech ตามแบบของเพียเจต์ แต่เป็น social speech เด็กพูดเพื่อส่งสัญญาณ (signal) แก่คนอื่นไม่ใช่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ (symbol) แล้วเด็กจะเริ่มพูดในใจ (internalize) ทำให้คำพูดกลายเป็นความคิดที่เข้าไปอยู่ภายในและพัฒนาไปสู่การคิดเชิงนามธรรมในที่สุด การอ่านหนังสือจะช่วยได้มาก
เพียเจต์เคยพูดว่าเขาเสียใจที่ไม่มีโอกาสสนทนากับนักจิตวิทยาโซเวียตท่านนี้ เลฟเขียนผลงานไว้มากมายตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 ซึ่งไม่มีโอกาสตีพิมพ์ เพิ่งจะมีการตีพิมพ์เผยแพร่งานของเขาในทศวรรษที่ 1960 และชื่อเสียงของเขาก็ขจรขจายนับแต่นั้น เขาเขียนคำนำผลงานชิ้นหนึ่งว่าเขาไม่เห็นด้วยกับฌอง เปียเจต์
เลฟเป็นยิวเกิดในสมัยพระเจ้าซาร์ซึ่งกีดกันชาวยิวแต่เขาเฉลียวฉลาดพอที่จะได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ เมื่อเกิดการปฏิวัติบอลเชวิกในปี 1917 เลฟเชื่อในมาร์คซิสม์ (Marxism) และใช้เป็นหลักในการสังเกตเด็ก แต่งานวิจัยสิบปีในทศวรรษ 1930 ถูกระงับการตีพิมพ์เพราะสตาลินก็ต่อต้านยิวเช่นกัน
เลฟเห็นการพูดคนเดียวและการนับนิ้วเป็นกระบวนการสำคัญในพัฒนาการทางความคิด ทั้งสองกิริยาเป็นไปเพื่อพัฒนาตนเองจากภายนอกสู่ภายในแล้วเติบโต คำพูดกลายเป็นคำงึมงัม การนับนิ้วและบวกเลขเข้าไปอยู่ในใจ ทั้งหมดนี้มิใช่เพื่อตนเองแต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เวลานั้นคือระบอบคอมมิวนิสม์ (communism) ไม่เหมือนกับเพียเจต์ที่เขียนพัฒนาการทางความคิดภายใต้ระบอบทุนนิยม (capitalism)
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 82 : วัยรุ่นมีเรื่องขัดแย้งกับพ่อแม่โดยธรรมชาติ2เรื่อง
เรื่องที่1คือเวลา
ตอนลูกยังเล็ก พ่อแม่ส่วนใหญ่ทำแต่งาน ไม่มีเวลาให้ลูกทั้งที่เวลานั้นลูกต้องการพ่อแม่โดยไม่มีเงื่อนไข
พอลูกเข้าสู่วัยรุ่น พ่อแม่ส่วนใหญ่มีฐานะพอควรแล้ว อยากพาลูกวัยรุ่นออกสังคมอวดคนบ้าง แต่ลูกวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่เอาพ่อแม่แล้ว ไม่มีเวลาให้พ่อแม่อีกแล้ว
ระยะวัยรุ่นมาถึงเมื่อลูกเลิกถามว่าพ่อแม่ไปไหน และพ่อแม่เป็นฝ่ายถามว่าลูกจะไปไหน
ความขัดแย้งเรื่องที่ 2 คือ จริยธรรม
ตอนลูกเล็ก พ่อแม่พูดอะไรก็เชื่อ ถูกไปหมด พ่อแม่แสนจะเก่ง (ทั้งที่บางครั้งมั่วน่าดู) พ่อแม่สอนให้เป็นคนดี ไม่พูดคำหยาบ ไม่โกหก ไม่โกง ไม่ฆ่าสัตว์ สารพัดจะดีๆทั้งนั้น
เมื่อลูกเข้าใกล้วัยรุ่น เขาพบว่าพ่อแม่มิใช่เทพดังที่เขาเคยเข้าใจ พูดไปเรื่อยก็บ่อย พูดผิดก็มี อาจจะไม่โกหกแต่ไม่พูดความจริงทั้งหมด ปากไม่ตรงกับใจก็หลายครั้ง ไม่ขโมยแต่ก็เอาเปรียบลูกค้า ไปทำงานสายก็เท่านั้น หนีงานก็เคยเห็น ฯลฯ เทพมิใช่เทพอีกแล้ว
พ่อแม่เป็นเพียงคนธรรมดาๆสองคนในคนนับล้านที่เขาเห็น วัยรุ่นจะใช้เวลาอีกพักใหญ่ในการยอมรับว่าคนธรรมดาในสังคมเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร คนทุกคนต้องคอยรักษาสมดุลของการรักษาผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวมทั้งนั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า พ่อ แม่ หรือแม้กระทั่งเทพ ก็มิใช่ข้อยกเว้น
เรื่องที่1คือเวลา
ตอนลูกยังเล็ก พ่อแม่ส่วนใหญ่ทำแต่งาน ไม่มีเวลาให้ลูกทั้งที่เวลานั้นลูกต้องการพ่อแม่โดยไม่มีเงื่อนไข
พอลูกเข้าสู่วัยรุ่น พ่อแม่ส่วนใหญ่มีฐานะพอควรแล้ว อยากพาลูกวัยรุ่นออกสังคมอวดคนบ้าง แต่ลูกวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่เอาพ่อแม่แล้ว ไม่มีเวลาให้พ่อแม่อีกแล้ว
ระยะวัยรุ่นมาถึงเมื่อลูกเลิกถามว่าพ่อแม่ไปไหน และพ่อแม่เป็นฝ่ายถามว่าลูกจะไปไหน
ความขัดแย้งเรื่องที่ 2 คือ จริยธรรม
ตอนลูกเล็ก พ่อแม่พูดอะไรก็เชื่อ ถูกไปหมด พ่อแม่แสนจะเก่ง (ทั้งที่บางครั้งมั่วน่าดู) พ่อแม่สอนให้เป็นคนดี ไม่พูดคำหยาบ ไม่โกหก ไม่โกง ไม่ฆ่าสัตว์ สารพัดจะดีๆทั้งนั้น
เมื่อลูกเข้าใกล้วัยรุ่น เขาพบว่าพ่อแม่มิใช่เทพดังที่เขาเคยเข้าใจ พูดไปเรื่อยก็บ่อย พูดผิดก็มี อาจจะไม่โกหกแต่ไม่พูดความจริงทั้งหมด ปากไม่ตรงกับใจก็หลายครั้ง ไม่ขโมยแต่ก็เอาเปรียบลูกค้า ไปทำงานสายก็เท่านั้น หนีงานก็เคยเห็น ฯลฯ เทพมิใช่เทพอีกแล้ว
พ่อแม่เป็นเพียงคนธรรมดาๆสองคนในคนนับล้านที่เขาเห็น วัยรุ่นจะใช้เวลาอีกพักใหญ่ในการยอมรับว่าคนธรรมดาในสังคมเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร คนทุกคนต้องคอยรักษาสมดุลของการรักษาผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวมทั้งนั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า พ่อ แม่ หรือแม้กระทั่งเทพ ก็มิใช่ข้อยกเว้น
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 83 : กลไกทางจิต หมายถึง การทำงานของจิตใจเพื่อป้องกันตนเองเวลาไม่สบายใจ
กลไกทางจิตที่ดีอันหนึ่งคือ altruism หมายถึง การลงมือช่วยเหลือคนอื่นที่กำลังลำบาก หากเครียด ออกไปช่วยเหลือคนอื่น เป็นวิธีจัดการความเครียดที่ดี
วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังพัฒนากลไกทางจิตชนิดนี้ กล่าวคือมีอุดมการณ์หรืออุดมคติที่จะทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น พวกเขามีจิตใจที่อยากจะทำดีโดยธรรมชาติ
เป็นเวลาที่เขาพบว่าพ่อแม่มีข้อจำกัดด้านจริยธรรม พ่อแม่ไม่ได้ดีพิเศษเหมือนที่เคยเห็น มิหนำซ้ำพ่อแม่หลายบ้านไม่ส่งเสริมให้เขาทำอย่างอื่นนอกจากเรียนให้เก่ง
กลไก altruism จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อเขามี empathy นั่นคือความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจจิตใจของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทุกข์และความเจ็บปวดของผู้อื่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่เหมาะแก่การเพาะบ่มทั้ง empathy และ altruism มากที่สุด ถึงแม้พวกเขาจะดูแรงและดื้อ สังคมและการศึกษาเปิดโอกาสให้เขาช่วยเหลือผู้อื่น จะช่วยพวกเขาได้
กลไกทางจิตที่ดีอันหนึ่งคือ altruism หมายถึง การลงมือช่วยเหลือคนอื่นที่กำลังลำบาก หากเครียด ออกไปช่วยเหลือคนอื่น เป็นวิธีจัดการความเครียดที่ดี
วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังพัฒนากลไกทางจิตชนิดนี้ กล่าวคือมีอุดมการณ์หรืออุดมคติที่จะทำคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น พวกเขามีจิตใจที่อยากจะทำดีโดยธรรมชาติ
เป็นเวลาที่เขาพบว่าพ่อแม่มีข้อจำกัดด้านจริยธรรม พ่อแม่ไม่ได้ดีพิเศษเหมือนที่เคยเห็น มิหนำซ้ำพ่อแม่หลายบ้านไม่ส่งเสริมให้เขาทำอย่างอื่นนอกจากเรียนให้เก่ง
กลไก altruism จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อเขามี empathy นั่นคือความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจจิตใจของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความทุกข์และความเจ็บปวดของผู้อื่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่เหมาะแก่การเพาะบ่มทั้ง empathy และ altruism มากที่สุด ถึงแม้พวกเขาจะดูแรงและดื้อ สังคมและการศึกษาเปิดโอกาสให้เขาช่วยเหลือผู้อื่น จะช่วยพวกเขาได้
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 84 :
วัยรุ่นจะพัฒนาระบบคุณค่า (values) การให้ค่าแก่วัตถุต่างๆหรือเรื่องราวต่างๆ
คุณธรรมประจำใจส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการให้คุณค่าแก่อะไรก็ตามที่เด็กๆได้สัมผัสตั้งแต่น้อยจนใหญ่ จากวัตถุที่จับต้องได้สู่ระดับนามธรรม
ดังนั้น คุณค่าหรือระบบคุณค่า แบ่งหยาบๆเป็น 2 ระดับ ระดับรูปธรรม เช่น เงิน บ้าน รถยนตร์ เป็นต้น ระดับนามธรรม เช่น คุณค่าของตนเอง(ส่วนที่เป็นตัวตนคือself มิได้หมายถึงร่างกายคือbody) คุณค่าของงาน คุณค่าของอาชีพที่กำลังทำ รวมทั้งคุณค่าของวิชาชีพ เช่น ครู เป็นต้น
หากวัยรุ่น(adolescent)นำระบบคุณค่าไปผูกกับเงิน ขั้น ตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้มักประสบความสำเร็จยาก พัฒนาการต่อไปมักจะยาก ไม่พ้นวัยรุ่นเสียทีแม้โตแล้ว ติดกับอยู่ตรงนั้น หากนำไปผูกกับความหมายของตนเอง ความหมายของงาน ความหมายของอาชีพ ความหมายของวิชาชีพ เช่น เป็นครูเพื่ออะไร เป็นต้น เหล่านี้ฟังดูเป็นนามธรรมหรือปรัชญา แต่กลับทำสำเร็จง่ายกว่า พัฒนาการต่อไปเป็นผู้ใหญ่(adult)มักจะดีกว่า
วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังมองไปและกังวลอนาคต สังคมและการศึกษาควรรู้ว่า "คุณค่าของตนเอง" กลับเป็นเรื่องสำคัญที่จะพาเขาไปสู่อนาคต
วัยรุ่นจะพัฒนาระบบคุณค่า (values) การให้ค่าแก่วัตถุต่างๆหรือเรื่องราวต่างๆ
คุณธรรมประจำใจส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการให้คุณค่าแก่อะไรก็ตามที่เด็กๆได้สัมผัสตั้งแต่น้อยจนใหญ่ จากวัตถุที่จับต้องได้สู่ระดับนามธรรม
ดังนั้น คุณค่าหรือระบบคุณค่า แบ่งหยาบๆเป็น 2 ระดับ ระดับรูปธรรม เช่น เงิน บ้าน รถยนตร์ เป็นต้น ระดับนามธรรม เช่น คุณค่าของตนเอง(ส่วนที่เป็นตัวตนคือself มิได้หมายถึงร่างกายคือbody) คุณค่าของงาน คุณค่าของอาชีพที่กำลังทำ รวมทั้งคุณค่าของวิชาชีพ เช่น ครู เป็นต้น
หากวัยรุ่น(adolescent)นำระบบคุณค่าไปผูกกับเงิน ขั้น ตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้มักประสบความสำเร็จยาก พัฒนาการต่อไปมักจะยาก ไม่พ้นวัยรุ่นเสียทีแม้โตแล้ว ติดกับอยู่ตรงนั้น หากนำไปผูกกับความหมายของตนเอง ความหมายของงาน ความหมายของอาชีพ ความหมายของวิชาชีพ เช่น เป็นครูเพื่ออะไร เป็นต้น เหล่านี้ฟังดูเป็นนามธรรมหรือปรัชญา แต่กลับทำสำเร็จง่ายกว่า พัฒนาการต่อไปเป็นผู้ใหญ่(adult)มักจะดีกว่า
วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังมองไปและกังวลอนาคต สังคมและการศึกษาควรรู้ว่า "คุณค่าของตนเอง" กลับเป็นเรื่องสำคัญที่จะพาเขาไปสู่อนาคต
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 85 : พ้นจากคุณธรรมมาถึงเรื่องจริยธรรม จริยธรรมมีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งคือการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน (วิชาชีพที่มีอำนาจเหนือคนอื่นมากจำเป็นต้องมีจริยธรรมกำกับมาก เช่น นักการเมือง แพทย์ ตำรวจ ครู เป็นต้น)
อย่างไรก็ตามจริยธรรมมิใช่การตัดสินถูกผิดอย่างเบ็ดเสร็จแบบศีลธรรม จริยธรรมมักเกิดจากการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ของหลายฝ่ายและความเสียหายของหลายฝ่ายที่เกิดพร้อมๆกัน รวมทั้งการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนหรือของคนคนเดียว
ทำให้จริยธรรมต้องการการเรียนรู้และต้องใช้ทักษะการเรียนรู้(คือถกเถียงและหาจุดประนีประนอมที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์สูงสุดและเสียหายน้อยที่สุด) จริยธรรมจึงเป็นทักษะ(skills)ที่เด็กๆและ นร จำเป็นต้องค่อยๆฝึกตั้งแต่เป็นเด็กไปจนถึงวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่พบว่าพ่อแม่เป็นคนธรรมดา สังคมมิได้เป็นอุดมคติดังฝัน ความกังวลใจนี้ทำให้เขาต้องงัดกลไกทางจิตขึ้นมาใช้ เราอยากให้เขาใช้ altruism คือการช่วยเหลือคนอื่น ออกไปช่วยเหลือคนอื่น จะทำได้เมื่อเขามีความสามารถที่จะ empathize คือเข้าใจจิตใจคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ เรียกว่ามี empathy แน่นอนว่าเขาควรเข้าใจความเจ็บปวดของพ่อแม่ด้วยที่มีลูก "ไม่ฟังคำ" วัยรุ่นยิ่งวุ่นมากเท่าไรยิ่งเป็นเวลาที่เขาควรออกไปเห็น "โลกที่ไร้ความเท่าเทียม" ตามที่เป็นจริง
อย่างไรก็ตามจริยธรรมมิใช่การตัดสินถูกผิดอย่างเบ็ดเสร็จแบบศีลธรรม จริยธรรมมักเกิดจากการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ของหลายฝ่ายและความเสียหายของหลายฝ่ายที่เกิดพร้อมๆกัน รวมทั้งการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนหรือของคนคนเดียว
ทำให้จริยธรรมต้องการการเรียนรู้และต้องใช้ทักษะการเรียนรู้(คือถกเถียงและหาจุดประนีประนอมที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์สูงสุดและเสียหายน้อยที่สุด) จริยธรรมจึงเป็นทักษะ(skills)ที่เด็กๆและ นร จำเป็นต้องค่อยๆฝึกตั้งแต่เป็นเด็กไปจนถึงวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่พบว่าพ่อแม่เป็นคนธรรมดา สังคมมิได้เป็นอุดมคติดังฝัน ความกังวลใจนี้ทำให้เขาต้องงัดกลไกทางจิตขึ้นมาใช้ เราอยากให้เขาใช้ altruism คือการช่วยเหลือคนอื่น ออกไปช่วยเหลือคนอื่น จะทำได้เมื่อเขามีความสามารถที่จะ empathize คือเข้าใจจิตใจคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจ็บปวดและความทุกข์ เรียกว่ามี empathy แน่นอนว่าเขาควรเข้าใจความเจ็บปวดของพ่อแม่ด้วยที่มีลูก "ไม่ฟังคำ" วัยรุ่นยิ่งวุ่นมากเท่าไรยิ่งเป็นเวลาที่เขาควรออกไปเห็น "โลกที่ไร้ความเท่าเทียม" ตามที่เป็นจริง
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 86 : ที่เราอยากได้คือความคิดสร้างสรรค์(creativity)และจินตนาการ (imagination)
ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงการ "คิดค้น" สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน จินตนาการหมายถึงการ "คิดฝัน" ถึงสิ่งใหม่ที่นอกเหนือตรรกะปัจจุบัน
นวัตกรรม (innovation) หมายถึง เรื่องใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นนวัตกรรมของระบบสุขภาพ ไอโฟนเป็นนวัตกรรมของคอมพิวเตอร์พกพา สองอย่างนี้เกิดจากทั้งความคิดสร้างสรรค์ผสมจินตนาการ
แม้จะมีใครบางคนได้รับเครดิตของการคิดค้น แต่เบื้องหลังคือการทำงานเป็นทีมไม่มากก็น้อย ไม่มีใครเก่งคนเดียว
วัยรุ่นเป็นวัยที่ยังต้องการเพื่อนและทีม(แก๊ง) เช่นเดียวกับวัยเด็กโต แต่ก็เริ่มมองหาเพศที่ต้องใจและกังวลถึงอนาคต ในเวลาเดียวกันเขาต้องสร้างอัตลักษณ์ เป็นอิสระ และมีจริยธรรมตามบรรทัดฐานของตนเอง ในทางชีววิทยาเขามีฮอร์โมนหลั่งออกมาจำนวนมากจนกระทั่งอาจจะบังคับตนเองได้ยากในบางเวลา นี่คือเวลาที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ ยอมรับ และอดทนรอ หากตัวตน (self) และ สายสัมพันธ์ (attachment) ดี ชัด แข็งแรง พายุจะผ่านไปเสมอ หากความสามารถในการคิดเชิงรูปธรรม(concrete) และนามธรรม(abstract) ดี มีเหตุผล มีตรรกะ เขาจะทำนายอนาคตระยะใกล้ได้ดีพอสมควร ทำนายอนาคตระยะไกลได้ดีพอสมควร จะรู้จัก "ถอนตัวจากความสนุก" ยอม "ลำบากก่อนสบายทีหลัง" และ "อดทนทำเรื่องที่ต้องทำแม้ว่าจะไม่อยากทำ" ให้สำเร็จ ความสามารถเหล่านี้คือของที่เราพูดกันเสมอแต่เข้าใจยากคือ "เตรียมความพร้อม" ก่อนจะถึงวัยรุ่น เพราะหากเหยียบเขตวัยรุ่นเมื่อไรก็สายเกินกว่าจะสั่งสอนอะไรอีกแล้ว
ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงการ "คิดค้น" สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน จินตนาการหมายถึงการ "คิดฝัน" ถึงสิ่งใหม่ที่นอกเหนือตรรกะปัจจุบัน
นวัตกรรม (innovation) หมายถึง เรื่องใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นนวัตกรรมของระบบสุขภาพ ไอโฟนเป็นนวัตกรรมของคอมพิวเตอร์พกพา สองอย่างนี้เกิดจากทั้งความคิดสร้างสรรค์ผสมจินตนาการ
แม้จะมีใครบางคนได้รับเครดิตของการคิดค้น แต่เบื้องหลังคือการทำงานเป็นทีมไม่มากก็น้อย ไม่มีใครเก่งคนเดียว
วัยรุ่นเป็นวัยที่ยังต้องการเพื่อนและทีม(แก๊ง) เช่นเดียวกับวัยเด็กโต แต่ก็เริ่มมองหาเพศที่ต้องใจและกังวลถึงอนาคต ในเวลาเดียวกันเขาต้องสร้างอัตลักษณ์ เป็นอิสระ และมีจริยธรรมตามบรรทัดฐานของตนเอง ในทางชีววิทยาเขามีฮอร์โมนหลั่งออกมาจำนวนมากจนกระทั่งอาจจะบังคับตนเองได้ยากในบางเวลา นี่คือเวลาที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ ยอมรับ และอดทนรอ หากตัวตน (self) และ สายสัมพันธ์ (attachment) ดี ชัด แข็งแรง พายุจะผ่านไปเสมอ หากความสามารถในการคิดเชิงรูปธรรม(concrete) และนามธรรม(abstract) ดี มีเหตุผล มีตรรกะ เขาจะทำนายอนาคตระยะใกล้ได้ดีพอสมควร ทำนายอนาคตระยะไกลได้ดีพอสมควร จะรู้จัก "ถอนตัวจากความสนุก" ยอม "ลำบากก่อนสบายทีหลัง" และ "อดทนทำเรื่องที่ต้องทำแม้ว่าจะไม่อยากทำ" ให้สำเร็จ ความสามารถเหล่านี้คือของที่เราพูดกันเสมอแต่เข้าใจยากคือ "เตรียมความพร้อม" ก่อนจะถึงวัยรุ่น เพราะหากเหยียบเขตวัยรุ่นเมื่อไรก็สายเกินกว่าจะสั่งสอนอะไรอีกแล้ว
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 87 : วัยรุ่นเป็นวัยแสวงหา เขามีหน้าที่ทางจิตวิทยาที่สำคัญคือค้นหาอัตลักษณ์ (identity) โดยใช้พ่อแม่เป็นหลักแล้วใช้คนอื่นในสังคมเป็นตัวเติม หากเลี้ยงดีก็สร้างอัตลักษณ์ง่าย หากไม่เลี้ยงก็ไม่มีหลัก เขาก็จะแสวงหาจากคนอื่นเรื่อยไปไม่รู้จบ
ดังนั้น แม้จะรู้สึกว่าวัยรุ่นไม่เอาเรา เข้ากันไม่ได้ พูดจาไม่ถูกหู ก็ขอให้รู้ว่าเขายังต้องใช้เราเป็นหลักในการสร้างอัตลักษณ์เสมอ ขาดพ่อแม่ก็หลักลอย ลอยเท้งเต้ง เศร้า
ดังนั้น แม้จะรู้สึกว่าวัยรุ่นไม่เอาเรา เข้ากันไม่ได้ พูดจาไม่ถูกหู ก็ขอให้รู้ว่าเขายังต้องใช้เราเป็นหลักในการสร้างอัตลักษณ์เสมอ ขาดพ่อแม่ก็หลักลอย ลอยเท้งเต้ง เศร้า
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 88 : ว่ากันว่าวัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ในทางจิตวิทยา เขามีหน้าที่ข้อเดียวคือสร้างอัตลักษณ์ (identity) จะมีบุคลิกและท่าทางอย่างไรก็สร้างกันช่วงนี้ มากกว่านี้คือมีหน้าที่เลือกแก๊ง เลือกแฟนและเลือกอาชีพ จะสังกัดกลุ่มไหน จะควงใคร โตขึ้นจะทำอะไรกิน เหล่านี้เป็นความกดดัน (tension) ทั้งนั้น "ใครๆก็คาดหวังกู!" ลึกไปกว่านี้คือเขามีพลังเหลือเฟือ มีความคิดเชิงนามธรรม มีความสามารถในการวางระบบคุณค่าและจริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ มีอุดมการณ์และอุดมคติ ดีๆทั้งนั้นและมีฮอร์โมนเพศ! เขาจะรู้จักคิดนอกกรอบหรือออกนอกลู่นอกทาง จะมีนวัตกรรมหรือก่อพินาศกรรม จะมีศีลธรรมหรือจะละเมิดศีลทุกข้อ เหล่านี้ขึ้นกับพัฒนาการทางจริยธรรมที่มีมาก่อนหน้านี้สิบปี หัวเลี้ยวหัวต่อที่ว่านี้ถูกโปรแกรมมาล่วงหน้าแล้วว่าจะเลี้ยวโค้งไหน จะตีโค้งกลับมาหรือจะตก "ทางโค้ง" ไปเสียก่อน จะตั้งใจเรียนหรือแหกโค้งคอหัก จึงมีคำพูดสุดท้ายว่ากว่าจะถึงวัยรุ่นก็ยิ่งกว่าสายเสียแล้ว ตอนต่อไป พัฒนาการทางจริยธรรมรอบสุดท้าย
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 89 : เด็กเล็กรู้ว่าโกหกและขโมยเป็นของไม่ดีตั้งแต่5ขวบ ในตอนเริ่มต้นของพัฒนาการทางจริยธรรมนั้น ความผิดก็สามารถชั่งตวงวัดได้เหมือนวัตถุทั่วไป เช่น ทำแก้วแตก1ใบ ผิดน้อยกว่าทำแก้วแตก 5 ใบ ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวกับเจตนา กว่าเด็กจะรู้จักคำว่าเจตนาและนำเอาเจตนา แรงจูงใจ การวางแผน ความรุนแรง มาพิจารณา "ความผิด" ด้วยก็ประมาณ 7-8 ขวบ เด็ก 10 ขวบ วางแผนกระทำผิดอย่างรัดกุมได้แล้ว
ในงานทดลองของ Ceci1998 พ่อสั่งลูก 5 ขวบ ห้ามบอกใครว่าพ่อขโมยของ เมื่อผู้ทดลองถามเด็กว่าพ่อขโมยหรือเปล่า เด็กอ้ำอึ้ง กระสับกระส่าย ก่อนจะพูดว่าพ่อไม่ได้ทำ เด็กอายุเท่านี้รู้แล้วว่าผิดแต่พ่อสำคัญกว่า ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศทุกคนพร้อมจะปกป้องพ่อผู้ละเมิดเสมอเมื่อถูกตำรวจหรือนักสังคมสงเคราะห์ถาม
ข้อสังเกตด้านจริยธรรมของเพียเจต์นี้จะเป็นรากฐานของทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมวัยรุ่นของ Lawrence Kohlberg ใน 30 ปีถัดมา
ในงานทดลองของ Ceci1998 พ่อสั่งลูก 5 ขวบ ห้ามบอกใครว่าพ่อขโมยของ เมื่อผู้ทดลองถามเด็กว่าพ่อขโมยหรือเปล่า เด็กอ้ำอึ้ง กระสับกระส่าย ก่อนจะพูดว่าพ่อไม่ได้ทำ เด็กอายุเท่านี้รู้แล้วว่าผิดแต่พ่อสำคัญกว่า ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศทุกคนพร้อมจะปกป้องพ่อผู้ละเมิดเสมอเมื่อถูกตำรวจหรือนักสังคมสงเคราะห์ถาม
ข้อสังเกตด้านจริยธรรมของเพียเจต์นี้จะเป็นรากฐานของทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมวัยรุ่นของ Lawrence Kohlberg ใน 30 ปีถัดมา
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 90 : ลอว์เรนซ์ โคลห์เบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมเป็น 3 ระดับ แต่ละระยะแบ่งเป็น 2 ระยะย่อย
ระยะพรีคอนเวนชั่น 1-7 ปี
1.1 ไม่ขโมยเพราะผิดกฎหมาย ตำรวจจะจับ กลัวถูกทำโทษ
1.2 แต่ถ้าจำเป็น ก็จะขโมย ถ้าถูกกระทำก่อนก็จะตอบโต้ ทั้งหมดนี้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง
ระยะคอนเวนชั่น 7-14 ปี
2.1 ทำดีเพราะสังคมคาดหวัง
2.2 ทำดีเพราะเป็นกฎหมาย
ระยะโพสต์คอนเวนชั่น 14-21 ปี
3.1 แต่ถ้าจำเป็น จะละเมิดกฎหมายเพื่อประโยชน์คนอื่นหรือส่วนรวม เช่น ขโมยอาหารมาให้ลูกที่กำลังอดอยาก นำเข้ายาเอดส์ผิดกฎหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ที่ยากจน
3.2 ทำดีเพราะควรทำ เพราะเป็นสิ่งที่ดี
จะเห็นว่าวิธีคิดตามลำดับชั้นนี้ไล่ไปจากระดับ ก่อนปฏิบัติการ-รูปธรรม-นามธรรม เช่นเดียวกับเพียเจต์ ระดับ 3.1-3.2 ต้องการวิธีคิดและความสามารถในการชั่งน้ำหนักที่ซับซ้อน
โคลห์เบิร์กเชื่อว่ามีคนน้อยมากที่พัฒนาตนเองมาได้ถึงระดับ 3.2 งานวิจัยสมัยใหม่ในระยะหลังก็สนันสนุนความเชื่อนี้ แท้จริงแล้ว ผลจากงานวิจัยหลายชิ้น มีไม่ถึงร้อยละ 10
ในทางปฏิบัติ วัยรุ่นที่เละเรียบร้อยแล้ว ด้วยระดับการคิดเชิงนามธรรมที่พอมีอยู่บ้าง สังคมสามารถเปิดทางให้เขาเข้าสู่ระดับ 3.1 คือ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยละเมิดหลักการบางข้อ (เพราะเขาชอบแหกกฎอยู่แล้ว) โดยคาดหวังว่าเขาจะค้นพบทางลัด (shortcut) ในการลิ้มรสความสุขทางใจและเห็นคุณค่าของตนเองที่ได้ลงมือช่วยเหลือผู้อื่น
ระยะพรีคอนเวนชั่น 1-7 ปี
1.1 ไม่ขโมยเพราะผิดกฎหมาย ตำรวจจะจับ กลัวถูกทำโทษ
1.2 แต่ถ้าจำเป็น ก็จะขโมย ถ้าถูกกระทำก่อนก็จะตอบโต้ ทั้งหมดนี้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง
ระยะคอนเวนชั่น 7-14 ปี
2.1 ทำดีเพราะสังคมคาดหวัง
2.2 ทำดีเพราะเป็นกฎหมาย
ระยะโพสต์คอนเวนชั่น 14-21 ปี
3.1 แต่ถ้าจำเป็น จะละเมิดกฎหมายเพื่อประโยชน์คนอื่นหรือส่วนรวม เช่น ขโมยอาหารมาให้ลูกที่กำลังอดอยาก นำเข้ายาเอดส์ผิดกฎหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ที่ยากจน
3.2 ทำดีเพราะควรทำ เพราะเป็นสิ่งที่ดี
จะเห็นว่าวิธีคิดตามลำดับชั้นนี้ไล่ไปจากระดับ ก่อนปฏิบัติการ-รูปธรรม-นามธรรม เช่นเดียวกับเพียเจต์ ระดับ 3.1-3.2 ต้องการวิธีคิดและความสามารถในการชั่งน้ำหนักที่ซับซ้อน
โคลห์เบิร์กเชื่อว่ามีคนน้อยมากที่พัฒนาตนเองมาได้ถึงระดับ 3.2 งานวิจัยสมัยใหม่ในระยะหลังก็สนันสนุนความเชื่อนี้ แท้จริงแล้ว ผลจากงานวิจัยหลายชิ้น มีไม่ถึงร้อยละ 10
ในทางปฏิบัติ วัยรุ่นที่เละเรียบร้อยแล้ว ด้วยระดับการคิดเชิงนามธรรมที่พอมีอยู่บ้าง สังคมสามารถเปิดทางให้เขาเข้าสู่ระดับ 3.1 คือ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยละเมิดหลักการบางข้อ (เพราะเขาชอบแหกกฎอยู่แล้ว) โดยคาดหวังว่าเขาจะค้นพบทางลัด (shortcut) ในการลิ้มรสความสุขทางใจและเห็นคุณค่าของตนเองที่ได้ลงมือช่วยเหลือผู้อื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น