เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 51 : แรงผลักของพัฒนาการคือเซลฟ์เอสตีม(self-esteem)
เซลฟ์เอสตีมมิได้แปลว่าความภูมิใจหรือความมั่นใจเท่านั้น แต่หมายถึงการรับรู้ว่าตนเองทำอะไรได้ บางตำราเขียนว่าคือความสามารถในการนิยามชีวิตและโลกของตนเอง
เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศและถูกทำร้ายในครอบครัวจึงไม่มีเซลฟ์เอสตีมเลยเพราะเขากำหนดชีวิตของตนเองไม่ได้เลย
เด็กที่เรียนไม่เก่งมักมีเซลฟ์เอสตีมไม่ดีเพราะเขากำหนดชีวิตตนเองไม่ค่อยจะได้ จะเรียนให้เก่งก็ทำไม่ได้ เข็นอย่างไรก็ไม่ขึ้น ธรรมชาติจะผลักให้เขาเอาดีเอาเด่นด้านอื่น ด้านที่เขาทำได้ดี เช่น กีฬา หรือ เกเร เป็นต้น
เด็กพิเศษทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเด็กไอคิวไม่ดี สมาธิสั้น หรือแอลดีก็เช่นกัน หากได้รับการปฏิบัติไม่ดี ชีวิตต้องไป รพ หรือกินยา ไป รร ก็ถูกตีตราหรือแบ่งแยก เซลฟ์เอสตีมก็จะไม่ดี
ก่อนถึงเวลาส่งลูกไป รร พ่อแม่จึงมีหน้าที่ทำให้ลูกมีเซลฟ์เอสตีมคือได้ทำนั่นนี่ด้วยตนเอง ได้ทดลองสิ่งใหม่ และได้รักตนเอง โดยมีกติกาสาธารณะ และข้อห้ามบางประการ
เด็กที่รู้กติกาว่าอะไรทำไม่ได้ แล้วทำส่วนที่ทำได้วันละนิดๆจะพัฒนาต่อไปได้เสมอไม่ว่าไอคิวตั้งต้นจะเป็นเท่าไร เปรียบเหมือนเด็กเล็กที่หัดปีนบันได เขาจะสนุกที่ปีนขั้นหนึ่งสำเร็จแล้วจะปีนขึ้นไปเรื่อยๆ
เซลฟ์เอสตีมมิได้แปลว่าความภูมิใจหรือความมั่นใจเท่านั้น แต่หมายถึงการรับรู้ว่าตนเองทำอะไรได้ บางตำราเขียนว่าคือความสามารถในการนิยามชีวิตและโลกของตนเอง
เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศและถูกทำร้ายในครอบครัวจึงไม่มีเซลฟ์เอสตีมเลยเพราะเขากำหนดชีวิตของตนเองไม่ได้เลย
เด็กที่เรียนไม่เก่งมักมีเซลฟ์เอสตีมไม่ดีเพราะเขากำหนดชีวิตตนเองไม่ค่อยจะได้ จะเรียนให้เก่งก็ทำไม่ได้ เข็นอย่างไรก็ไม่ขึ้น ธรรมชาติจะผลักให้เขาเอาดีเอาเด่นด้านอื่น ด้านที่เขาทำได้ดี เช่น กีฬา หรือ เกเร เป็นต้น
เด็กพิเศษทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเด็กไอคิวไม่ดี สมาธิสั้น หรือแอลดีก็เช่นกัน หากได้รับการปฏิบัติไม่ดี ชีวิตต้องไป รพ หรือกินยา ไป รร ก็ถูกตีตราหรือแบ่งแยก เซลฟ์เอสตีมก็จะไม่ดี
ก่อนถึงเวลาส่งลูกไป รร พ่อแม่จึงมีหน้าที่ทำให้ลูกมีเซลฟ์เอสตีมคือได้ทำนั่นนี่ด้วยตนเอง ได้ทดลองสิ่งใหม่ และได้รักตนเอง โดยมีกติกาสาธารณะ และข้อห้ามบางประการ
เด็กที่รู้กติกาว่าอะไรทำไม่ได้ แล้วทำส่วนที่ทำได้วันละนิดๆจะพัฒนาต่อไปได้เสมอไม่ว่าไอคิวตั้งต้นจะเป็นเท่าไร เปรียบเหมือนเด็กเล็กที่หัดปีนบันได เขาจะสนุกที่ปีนขั้นหนึ่งสำเร็จแล้วจะปีนขึ้นไปเรื่อยๆ
เลี้ยงลูกให้ดีๆก่อนส่งต่อโรงเรียนตอนที่ 52 : ภาพนี้เป็นที่คุ้นเคยกันดี ฌอง เพียเจต์ทดลองและเขียนเรื่องนี้ไว้ มีปรากฏในตำราพัฒนาการทุกเล่ม
ภาชนะ 2 ใบใส่น้ำไว้เท่ากัน เมื่อเทลงภาชนะทรงสูง1ใบ เด็กก่อน8ขวบจะบอกว่าน้ำในภาชนะทรงสูงมีมากกว่า(เพราะสูงกว่า) เด็กหลัง 8 ขวบจะบอกว่าเท่ากัน
เพียเจต์เรียกพัฒนาการของเด็กอายุ 2-8 ขวบว่า pre-operation stage แปลว่า ก่อน-ปฏิบัติการ หมายความตรงตัวว่านี่คืออายุสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติการจริง
มีหลายเรื่องที่เด็กต้องเตรียมความพร้อม: การมีอยู่จริง ความคงที่ สองมิติ สามมิติ การจัดลำดับ การแบ่งกลุ่ม และเวลา เหล่านี้เป็นเรื่องต้องการความพร้อมตามธรรมชาติ
ความไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทำให้เราสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กๆโดยที่สมองเขายังไม่พร้อมมานักต่อนัก เราอาจจะดีใจที่เด็กคิดเลขได้ก่อน 8 ขวบ แต่ขอให้ทราบว่าการค้ากำไรเกินควรมีราคาต้องจ่ายในอนาคตเสมอ
รูปนี้บอกอะไรเราบ้าง?
ภาพจากเพจsyresattning.se
ภาชนะ 2 ใบใส่น้ำไว้เท่ากัน เมื่อเทลงภาชนะทรงสูง1ใบ เด็กก่อน8ขวบจะบอกว่าน้ำในภาชนะทรงสูงมีมากกว่า(เพราะสูงกว่า) เด็กหลัง 8 ขวบจะบอกว่าเท่ากัน
เพียเจต์เรียกพัฒนาการของเด็กอายุ 2-8 ขวบว่า pre-operation stage แปลว่า ก่อน-ปฏิบัติการ หมายความตรงตัวว่านี่คืออายุสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติการจริง
มีหลายเรื่องที่เด็กต้องเตรียมความพร้อม: การมีอยู่จริง ความคงที่ สองมิติ สามมิติ การจัดลำดับ การแบ่งกลุ่ม และเวลา เหล่านี้เป็นเรื่องต้องการความพร้อมตามธรรมชาติ
ความไม่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทำให้เราสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กๆโดยที่สมองเขายังไม่พร้อมมานักต่อนัก เราอาจจะดีใจที่เด็กคิดเลขได้ก่อน 8 ขวบ แต่ขอให้ทราบว่าการค้ากำไรเกินควรมีราคาต้องจ่ายในอนาคตเสมอ
รูปนี้บอกอะไรเราบ้าง?
ภาพจากเพจsyresattning.se
เลี้ยงลูกให้ดีๆก่อนส่งลูกไป รร ตอนที่ 53 : ก่อนจะมีสิ่งที่เรียกว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เด็กๆต้องผ่านช่วงอายุ 7-8 ขวบถึง 11-12 ขวบ ซึ่งเป็นเวลาที่เขาจะเรียนรู้จัก ความคงที่และความสามารถที่จะรักษาไว้ซึ่งความคงที่ (conservation)
อะไรที่อยู่นอกเหนือความคงที่นี้จึงจะเป็น ความคิดนอกกรอบหรือ lateral thinking ที่เราอยากได้ เหล่านี้คือเบสิคหรือพื้นฐานของวิธีคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลแรกๆของชีวิต ซึ่งไม่ต้องการการสอน ต้องการการเล่น
เด็ก 7-12 ขวบ จะว่าเหรียญสองแถวนี้มีจำนวนเท่ากัน น้ำมีปริมาตรเท่ากัน และดินน้ำมันก้อนเท่ากัน แต่เด็กเล็กจะว่าเหรียญแถวล่างมีมากกว่า ในทำนองเดียวกันน้ำในภาชนะทรงสูงมีมากกว่า และดินน้ำมันที่ถูกบี้แล้วมีดินน้ำมันน้อยกว่า
ความสามารถในการรักษาความคงที่นี้เปรียบเหมือนกรอบอ้างอิงหรือกล่อง หากไม่รู้ว่ากล่องอยู่ที่ไหน จะกระโดดออกนอกกล่อง(out of the box)ได้อย่างไร
พัฒนาการตามวัยมีความสำคัญมากกว่าพัฒนาการเกินวัย
ภาพจากเพจweb.mnstate.edu
อะไรที่อยู่นอกเหนือความคงที่นี้จึงจะเป็น ความคิดนอกกรอบหรือ lateral thinking ที่เราอยากได้ เหล่านี้คือเบสิคหรือพื้นฐานของวิธีคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลแรกๆของชีวิต ซึ่งไม่ต้องการการสอน ต้องการการเล่น
เด็ก 7-12 ขวบ จะว่าเหรียญสองแถวนี้มีจำนวนเท่ากัน น้ำมีปริมาตรเท่ากัน และดินน้ำมันก้อนเท่ากัน แต่เด็กเล็กจะว่าเหรียญแถวล่างมีมากกว่า ในทำนองเดียวกันน้ำในภาชนะทรงสูงมีมากกว่า และดินน้ำมันที่ถูกบี้แล้วมีดินน้ำมันน้อยกว่า
ความสามารถในการรักษาความคงที่นี้เปรียบเหมือนกรอบอ้างอิงหรือกล่อง หากไม่รู้ว่ากล่องอยู่ที่ไหน จะกระโดดออกนอกกล่อง(out of the box)ได้อย่างไร
พัฒนาการตามวัยมีความสำคัญมากกว่าพัฒนาการเกินวัย
ภาพจากเพจweb.mnstate.edu
เลี้ยงลูกให้ดีๆเพื่อส่งต่อ รร ตอนที่ 54 :
1) ระยะ 7-8 ขวบ ไปจนถึง 11-12 ขวบ คือระยะที่เพียเจต์เรียกว่า concrete operation การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ conservation ความรับรู้เรื่องความคงที่ดังที่เล่าให้ฟังในตอนที่แล้ว ความคงที่นี้เกิดในใจ
2) ตอนที่เขาอายุน้อยกว่า 7 ขวบ คือระยะที่เรียกว่า pre-operation เป็นเวลาที่เด็กจะพัฒนาการใช้สัญลักษณ์คือ symbolization ซึ่งเด็กๆจะพัฒนาได้ดีมากหากมีโอกาสเล่นในสนามหรือเล่นบทบาทสมมติคือroleplay ดังที่เคยเล่าให้ฟังแล้ว
3) จากความสามารถทั้งสองประการ พอถึง 7-8 ขวบ เด็กก็จะหลับตารู้ว่าในโถมีคุ้กกี้กี่ชิ้น อย่างคงที่ และถ้าตัวกินไป2ชิ้น ในโถจะเหลือกี่ชิ้น อย่างแน่นอน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในใจไม่ต้องเทโถออกมานับกับมือ ทำได้เพราะคุ้กกี้นั้นคงที่ในจิตใจแล้ว และถึงตอนนี้หากเราจะสอนการใช้สัญลักษณ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12...และสัญลักษณ์บวก ลบ คูณ หาร ก็จะสอดคล้องกับพัฒนาการ
กล่าวคือ "เด็กเรียนรู้ได้เอง" ตามจังหวะก้าวของแต่ละคน เราอย่ารีบเร่งหรือรีบทึกทักว่าเด็กโง่หากเขาถูกเร่งแล้วเร่งไม่ขึ้น ในทางตรงข้ามเด็กควรจะมีความสามารถหลากหลายประการได้ด้วยตนเองเมื่อถึงเวลากลับถูกเร่งจนเครื่องพังไปเสียก่อนก็มี
ภาพจากเพจdiyalhaily.wordpress.com
2) ตอนที่เขาอายุน้อยกว่า 7 ขวบ คือระยะที่เรียกว่า pre-operation เป็นเวลาที่เด็กจะพัฒนาการใช้สัญลักษณ์คือ symbolization ซึ่งเด็กๆจะพัฒนาได้ดีมากหากมีโอกาสเล่นในสนามหรือเล่นบทบาทสมมติคือroleplay ดังที่เคยเล่าให้ฟังแล้ว
3) จากความสามารถทั้งสองประการ พอถึง 7-8 ขวบ เด็กก็จะหลับตารู้ว่าในโถมีคุ้กกี้กี่ชิ้น อย่างคงที่ และถ้าตัวกินไป2ชิ้น ในโถจะเหลือกี่ชิ้น อย่างแน่นอน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในใจไม่ต้องเทโถออกมานับกับมือ ทำได้เพราะคุ้กกี้นั้นคงที่ในจิตใจแล้ว และถึงตอนนี้หากเราจะสอนการใช้สัญลักษณ์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12...และสัญลักษณ์บวก ลบ คูณ หาร ก็จะสอดคล้องกับพัฒนาการ
กล่าวคือ "เด็กเรียนรู้ได้เอง" ตามจังหวะก้าวของแต่ละคน เราอย่ารีบเร่งหรือรีบทึกทักว่าเด็กโง่หากเขาถูกเร่งแล้วเร่งไม่ขึ้น ในทางตรงข้ามเด็กควรจะมีความสามารถหลากหลายประการได้ด้วยตนเองเมื่อถึงเวลากลับถูกเร่งจนเครื่องพังไปเสียก่อนก็มี
ภาพจากเพจdiyalhaily.wordpress.com
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 55 : เด็กแต่ละคนพัฒนาด้วยความเร็วต่างกัน ตามจังหวะก้าวของตนเอง เวลาเลี้ยงลูกจึงห้ามเปรียบเทียบ "ทำไมพี่ทำได้" "ทำไมลูกบ้านนู้นทำได้" ลูกก็คงนึกในใจว่า "อยากได้แบบนั้นเอาหนูไปแลกก็ได้"
ถ้าเร่งเด็กเรียนหนังสือเด็กทำได้ก็ดี ถ้าเด็กทำไม่ได้ก็อย่ากดดันมากเกินไปจะเกิดปัญหาทางอารมณ์แทรกซ้อนเสียเปล่า ทั้งสองกรณีไม่ว่าจะเรียนได้หรือเรียนไม่ได้อย่างน้อยก็จะเสียโอกาสเล่นเพื่อพัฒนาเรื่องที่ควรพัฒนาตามธรรมชาติ เรียกเด็กที่มีโอกาสเรียนตั้งแต่น้อยขำๆว่าเด็กด้อยโอกาส โอกาสที่จะเล่นอย่างเต็มที่ในสนามกว้าง
นอกเหนือจาก conservation คือความคงที่แล้ว เด็กช่วง concrete operation นี้ยังมีงานที่ต้องทำต้องพัฒนาวิธีคิดและทำงานของสมองอีกหลายประการ เช่น decentration, reversibility, hierarchical classification, seriation, spatial reasoning ฯลฯ พ่อแม่หรือครูอาจจะไม่ต้องการทราบทั้งหมดนี้ ตัวเด็กเองก็ไม่รู้ว่าสมองและวิธีคิดของตนเองกำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกวันผ่านการเล่น
หน้าที่สำคัญของพ่อแม่และครูคืออย่าขัดขวางพัฒนาการ ดีกว่านี้คือไม่ทำลายพัฒนาการ
อย่างไม่รู้อะไร การเล่นในสนามและการเรียนเป็นกลุ่มจะลากเด็กทุกคนไปข้างหน้าด้วยกันเสมอ
ถ้าเร่งเด็กเรียนหนังสือเด็กทำได้ก็ดี ถ้าเด็กทำไม่ได้ก็อย่ากดดันมากเกินไปจะเกิดปัญหาทางอารมณ์แทรกซ้อนเสียเปล่า ทั้งสองกรณีไม่ว่าจะเรียนได้หรือเรียนไม่ได้อย่างน้อยก็จะเสียโอกาสเล่นเพื่อพัฒนาเรื่องที่ควรพัฒนาตามธรรมชาติ เรียกเด็กที่มีโอกาสเรียนตั้งแต่น้อยขำๆว่าเด็กด้อยโอกาส โอกาสที่จะเล่นอย่างเต็มที่ในสนามกว้าง
นอกเหนือจาก conservation คือความคงที่แล้ว เด็กช่วง concrete operation นี้ยังมีงานที่ต้องทำต้องพัฒนาวิธีคิดและทำงานของสมองอีกหลายประการ เช่น decentration, reversibility, hierarchical classification, seriation, spatial reasoning ฯลฯ พ่อแม่หรือครูอาจจะไม่ต้องการทราบทั้งหมดนี้ ตัวเด็กเองก็ไม่รู้ว่าสมองและวิธีคิดของตนเองกำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกวันผ่านการเล่น
หน้าที่สำคัญของพ่อแม่และครูคืออย่าขัดขวางพัฒนาการ ดีกว่านี้คือไม่ทำลายพัฒนาการ
อย่างไม่รู้อะไร การเล่นในสนามและการเรียนเป็นกลุ่มจะลากเด็กทุกคนไปข้างหน้าด้วยกันเสมอ
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 56 : ความสามารถในการคิดเชิงรูปธรรมในวัยเด็กโตคือ 7-8 ขวบถึง 11-12 ขวบนี้ ฌอง เพียเจต์เรียกว่า concrete operation โดยมีความสามารถในการรักษาความคงที่หรือ conservation เป็นหมุดหมายสำคัญ จากเรื่องความคงที่นี้จะพัฒนาอีกหลายเรื่องตามมา ซึ่งจะลงลึกในภายหน้าช้าๆ
ตอนนี้ดูภาพรวมต่อก่อน ที่อายุ 7-8 ขวบถึง 11-12 ขวบ นี้เองคือประถมต้น หากติดตามฟินแลนด์ การศึกษาฟินแลนด์เข้า รร กันเมื่อ 8 ขวบ และกว่าจะให้เรียนวิชาการจริงๆคือเกรด5! จะเห็นว่าเขาเตรียมความพร้อมกันนานมาก ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นที่ประจักษ์
ที่ประถมต้นเด็กสามารถให้เหตุผล "ตามที่เห็น" ได้แล้ว(มิใช่จับแพะชนแกะหรือให้เหตุผลเป็นการ์ตูนหรือเวทย์มนตร์ดังที่เคยเป็นอีก) หลังจากนี้คือช่วงที่ดีที่สุดของชีวิตมนุษย์คือวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เรียกว่า abstract operation เป็นช่วงเวลาที่เด็กจะไปเหนือเหตุผล "มากกว่าที่ตาเห็น" มีความสามารถที่จะให้เหตุผลเชิงนามธรรม คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรม รวมทั้งอุดมคติ อุดมการณ์ จิตสาธารณะ ระบบคุณค่า และความมุ่งมั่นสู่อนาคตอย่างมีเป้าหมาย
บนรอยต่อระหว่างเด็กโตและวัยรุ่น คือเวลาที่เด็กจะรู้จัก "ความตาย" ตามที่เป็นจริง
ตอนนี้ดูภาพรวมต่อก่อน ที่อายุ 7-8 ขวบถึง 11-12 ขวบ นี้เองคือประถมต้น หากติดตามฟินแลนด์ การศึกษาฟินแลนด์เข้า รร กันเมื่อ 8 ขวบ และกว่าจะให้เรียนวิชาการจริงๆคือเกรด5! จะเห็นว่าเขาเตรียมความพร้อมกันนานมาก ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นที่ประจักษ์
ที่ประถมต้นเด็กสามารถให้เหตุผล "ตามที่เห็น" ได้แล้ว(มิใช่จับแพะชนแกะหรือให้เหตุผลเป็นการ์ตูนหรือเวทย์มนตร์ดังที่เคยเป็นอีก) หลังจากนี้คือช่วงที่ดีที่สุดของชีวิตมนุษย์คือวัยรุ่น ซึ่งเพียเจต์เรียกว่า abstract operation เป็นช่วงเวลาที่เด็กจะไปเหนือเหตุผล "มากกว่าที่ตาเห็น" มีความสามารถที่จะให้เหตุผลเชิงนามธรรม คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรม รวมทั้งอุดมคติ อุดมการณ์ จิตสาธารณะ ระบบคุณค่า และความมุ่งมั่นสู่อนาคตอย่างมีเป้าหมาย
บนรอยต่อระหว่างเด็กโตและวัยรุ่น คือเวลาที่เด็กจะรู้จัก "ความตาย" ตามที่เป็นจริง
เลี้ยงลูกดีๆเพื่อส่งต่อ รร ตอนที่ 57 : ความตาย
เด็กเล็กรู้จักความตายจากโทรทัศน์และเหตุการณ์รอบตัวแต่เขาจะไม่เข้าใจถ่องแท้นอกจากคำที่พ่อแม่ส่วนใหญ่บอกนั่นคือไปสวรรค์ ไปวัด ไปเกิดใหม่ ฯลฯ
ประมาณ9-10ขวบกว่าที่เด็กจะรู้จักความตายตามที่เป็นจริงนั่นคือ 1. มีสาเหตุ(causality) 2. เป็นที่สิ้นสุด(finality) 3. ไม่หวนกลับ(irreversible) และ 4. หลีกเลี่ยงไม่ได้(inevitable)
ไปไม่กลับ-หลับไม่ตื่น-ฟื้นไม่มี สามประการนี้เป็นข้อ 3 คือไม่หวนกลับ หนีไม่พ้นเป็นข้อ 4 คือเลี่ยงไม่ได้ จะเห็นว่าศาสนาไม่ได้พูดถึงสาเหตุแต่พูดถึงกรรมมากกว่า และไม่พูดเรื่องเป็นที่สิ้นสุด เพราะความตายอาจจะไม่สิ้นสุด มีชาติหน้าหรือไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า แต่ในสายตาของเด็ก ความตายเป็นที่สิ้นสุดเพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงการคิดเชิงรูปธรรมคือ concrete operation
เด็กก่อน 9 ขวบ ยังให้เหตุผลเกี่ยวกับความตายตามวิธีคิดในช่วงเด็กเล็กนั่นคือ egocentricเห็นตนเองเป็นศูนย์กลางและphenomenalistic causaltyจับแพะชนแกะ ทำให้เด็กบางคนในบางสถานการณ์โทษตนเองที่พ่อแม่ต้องตาย
ความเข้าใจเรื่องการตายตามที่เป็นจริงเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญจากความคิดเชิงรูปธรรมconcrete operationสู่ความคิดเชิงนามธรรมabstract operationอันจะนำไปสู่ความคิดเชิงนามธรรมชั้นสูงอื่นๆรวมทั้งจริยธรรม(ethics)และศีลธรรม(moral)
เด็กเล็กรู้จักความตายจากโทรทัศน์และเหตุการณ์รอบตัวแต่เขาจะไม่เข้าใจถ่องแท้นอกจากคำที่พ่อแม่ส่วนใหญ่บอกนั่นคือไปสวรรค์ ไปวัด ไปเกิดใหม่ ฯลฯ
ประมาณ9-10ขวบกว่าที่เด็กจะรู้จักความตายตามที่เป็นจริงนั่นคือ 1. มีสาเหตุ(causality) 2. เป็นที่สิ้นสุด(finality) 3. ไม่หวนกลับ(irreversible) และ 4. หลีกเลี่ยงไม่ได้(inevitable)
ไปไม่กลับ-หลับไม่ตื่น-ฟื้นไม่มี สามประการนี้เป็นข้อ 3 คือไม่หวนกลับ หนีไม่พ้นเป็นข้อ 4 คือเลี่ยงไม่ได้ จะเห็นว่าศาสนาไม่ได้พูดถึงสาเหตุแต่พูดถึงกรรมมากกว่า และไม่พูดเรื่องเป็นที่สิ้นสุด เพราะความตายอาจจะไม่สิ้นสุด มีชาติหน้าหรือไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า แต่ในสายตาของเด็ก ความตายเป็นที่สิ้นสุดเพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงการคิดเชิงรูปธรรมคือ concrete operation
เด็กก่อน 9 ขวบ ยังให้เหตุผลเกี่ยวกับความตายตามวิธีคิดในช่วงเด็กเล็กนั่นคือ egocentricเห็นตนเองเป็นศูนย์กลางและphenomenalistic causaltyจับแพะชนแกะ ทำให้เด็กบางคนในบางสถานการณ์โทษตนเองที่พ่อแม่ต้องตาย
ความเข้าใจเรื่องการตายตามที่เป็นจริงเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญจากความคิดเชิงรูปธรรมconcrete operationสู่ความคิดเชิงนามธรรมabstract operationอันจะนำไปสู่ความคิดเชิงนามธรรมชั้นสูงอื่นๆรวมทั้งจริยธรรม(ethics)และศีลธรรม(moral)
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 58 : จากวิธีคิดเชิงรูปธรรมในวัยเด็กสู่วิธีคิดเชิงนามธรรมในวัยรุ่นเป็นกระบวนการที่พ่อแม่ช่วยได้ หลักคิดเหมือนเดิมคือฐานดีก็จะได้ยอดที่ดี
เริ่มจากงานที่เป็นรูปธรรมใกล้ตัวสู่งานที่เป็นนามธรรมไกลตัว
นั่นคืองานบ้าน-การบ้าน-โลก
เด็กเล็กจึงควรถูกฝึกให้ทำงานบ้าน งานบ้านมี 2 ชนิด 1. งานดูแลตัวเอง เช่น เก็บที่นอน เทกระโถน แปรงฟัน 2.งานช่วยกันดูแลบ้าน เช่น กวาดบ้าน ล้างจาน เทขยะ
เด็กเล็กที่ทำงานบ้านได้ดีก็จะเขยิบมาสู่การทำการบ้านได้ดี ไม่งอแง ทำให้เสร็จเหมือนทำงานบ้านให้เสร็จ
ถัดจากการบ้านก็จะถึงรูปธรรมและนามธรรมรอบบ้าน ถัดจากรอบบ้านคือโลกภายนอก ได้แก่ อบายมุข ความชั่วร้าย และเป้าหมายชีวิต ซึ่งยาก มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้ มีแต่ความสามารถในการคิดเชิงนามธรรมที่วัยรุ่นจะ "เห็น" สิ่งที่มองไม่เห็นเหล่านี้ได้
แต่ก่อนที่นามธรรมจะดี รูปธรรมต้องดีก่อน
เริ่มจากงานที่เป็นรูปธรรมใกล้ตัวสู่งานที่เป็นนามธรรมไกลตัว
นั่นคืองานบ้าน-การบ้าน-โลก
เด็กเล็กจึงควรถูกฝึกให้ทำงานบ้าน งานบ้านมี 2 ชนิด 1. งานดูแลตัวเอง เช่น เก็บที่นอน เทกระโถน แปรงฟัน 2.งานช่วยกันดูแลบ้าน เช่น กวาดบ้าน ล้างจาน เทขยะ
เด็กเล็กที่ทำงานบ้านได้ดีก็จะเขยิบมาสู่การทำการบ้านได้ดี ไม่งอแง ทำให้เสร็จเหมือนทำงานบ้านให้เสร็จ
ถัดจากการบ้านก็จะถึงรูปธรรมและนามธรรมรอบบ้าน ถัดจากรอบบ้านคือโลกภายนอก ได้แก่ อบายมุข ความชั่วร้าย และเป้าหมายชีวิต ซึ่งยาก มองไม่เห็น และจับต้องไม่ได้ มีแต่ความสามารถในการคิดเชิงนามธรรมที่วัยรุ่นจะ "เห็น" สิ่งที่มองไม่เห็นเหล่านี้ได้
แต่ก่อนที่นามธรรมจะดี รูปธรรมต้องดีก่อน
เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 59 : จะเห็นว่างานบ้าน งานส่วนรวม และการให้รางวัลเด็กเล็ก คือกิจกรรม3ประการที่มีการเปลี่ยนผ่านจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมตามอายุของเด็กที่มากขึ้นโดยธรรมชาติ
1. งานบ้านชิ้นแรกๆของชีวิตคืองานดูแลของของตัวเอง เช่น ผ้าห่ม กระโถน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว เศษซองขนมที่ตนเองกิน จานข้าวของตนเอง เหล่านี้ช่วยให้การพัฒนาตัวตน(self)เป็นไปในทางที่ดี และเด็กๆมีเซลฟ์เอสตีม(self-esteem)คือเราทำได้ งานบ้านมิใช่ยาขมสำหรับเด็กเล็ก
หลักการทำงานบ้านให้สนุกคือ 1. ทำให้ดู 2. ทำด้วยกัน 3. ปล่อยเขาทำ เด็กเล็กเล่นด้วยทำงานด้วยเป็นเรื่องธรรมดา จากงานบ้านที่ตนเองทำเลอะค่อยขยับไปที่งานบ้านของบ้านและส่วนรวม
จากที่รู้จักกำหนดเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมของงานบ้าน พัฒนาเป็นรู้จักกำหนดเป้าหมายที่เป็นนามธรรมคือเป้าหมายชีวิต อยากเรียนอะไร จะทำอะไร
2. งานส่วนรวม จากเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมเช่น ห้องอาหารของ รร สะอาด บริเวณ รร ไม่มีขยะ(คือไม่ทิ้งเลย ไม่ใช่ตามเก็บ) ไม่ก้าวล่วงดินแดนอันเป็นรูปธรรมของคนอื่น เช่นการเข้าคิวและไม่แซงคิว กลายเป็นเป้าหมายที่เป็นนามธรรมคือสังคมที่ เรียบร้อย มีกติกา ไม่ก้าวล่วงสิทธิผู้อื่น เช่น ไม่คุยโทรศัพท์บนรถไฟฟ้าและรถไฟ เป็นต้น
3. จากรางวัลที่เป็นวัตถุพัฒนาเป็นความงามในจิตใจ ทำดีเพราะควรทำ
การเตรียมความพร้อมเด็กเล็กจึงมีเรื่องที่สำคัญกว่าการเรียนหลายเรื่องที่รอให้จัดการ
1. งานบ้านชิ้นแรกๆของชีวิตคืองานดูแลของของตัวเอง เช่น ผ้าห่ม กระโถน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว เศษซองขนมที่ตนเองกิน จานข้าวของตนเอง เหล่านี้ช่วยให้การพัฒนาตัวตน(self)เป็นไปในทางที่ดี และเด็กๆมีเซลฟ์เอสตีม(self-esteem)คือเราทำได้ งานบ้านมิใช่ยาขมสำหรับเด็กเล็ก
หลักการทำงานบ้านให้สนุกคือ 1. ทำให้ดู 2. ทำด้วยกัน 3. ปล่อยเขาทำ เด็กเล็กเล่นด้วยทำงานด้วยเป็นเรื่องธรรมดา จากงานบ้านที่ตนเองทำเลอะค่อยขยับไปที่งานบ้านของบ้านและส่วนรวม
จากที่รู้จักกำหนดเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมของงานบ้าน พัฒนาเป็นรู้จักกำหนดเป้าหมายที่เป็นนามธรรมคือเป้าหมายชีวิต อยากเรียนอะไร จะทำอะไร
2. งานส่วนรวม จากเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมเช่น ห้องอาหารของ รร สะอาด บริเวณ รร ไม่มีขยะ(คือไม่ทิ้งเลย ไม่ใช่ตามเก็บ) ไม่ก้าวล่วงดินแดนอันเป็นรูปธรรมของคนอื่น เช่นการเข้าคิวและไม่แซงคิว กลายเป็นเป้าหมายที่เป็นนามธรรมคือสังคมที่ เรียบร้อย มีกติกา ไม่ก้าวล่วงสิทธิผู้อื่น เช่น ไม่คุยโทรศัพท์บนรถไฟฟ้าและรถไฟ เป็นต้น
3. จากรางวัลที่เป็นวัตถุพัฒนาเป็นความงามในจิตใจ ทำดีเพราะควรทำ
การเตรียมความพร้อมเด็กเล็กจึงมีเรื่องที่สำคัญกว่าการเรียนหลายเรื่องที่รอให้จัดการ
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 60 : ทบทวน
เลี้ยงลูกให้ดีๆ 3 ขวบปีแรกเท่ากับการประกันว่าเขาจะเลอะเทอะเละเทะอย่างไรช่วงวัยรุ่นก็ไม่พัง อีกทั้งจะกลับบ้านมาหาพ่อแม่เมื่อพายุฮอร์โมนสงบ เพราะตัวตนแข็งแกร่งและสายสัมพันธ์แน่นแฟ้น
เลี้ยงลูกให้ดีๆ10ขวบปีแรกและการเตรียมความพร้อมที่ดีของโรงเรียนเท่ากับการปูฐานวิธีคิดเชิงรูปธรรม concrete operation ในวัยเด็กโตซึ่งจะเป็นฐานนำไปสู่การคิดเชิงนามธรรม abstract operationในวัยรุ่น
การคิดเชิงนามธรรมหมายถึงความสามารถที่จะเห็นสิ่งที่ไม่เห็นด้วยตา ได้แก่ ระบบคุณค่า จริยธรรม ศีลธรรม จิตสาธารณะ การคิดนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ อุดมการณ์ และอุดมคติ รวมทั้ง "อนาคต"
ใครจะประคองตนได้ดีกว่าด้วยทักษะชีวิตและทักษะเรียนรู้ที่ดีกว่าวัดกันหลังวัยรุ่น เละไม่เละ เละแล้วคืนได้ หรือเละถาวรดูกันอีกทีตอนนั้น
เลี้ยงลูกให้ดีๆ 3 ขวบปีแรกเท่ากับการประกันว่าเขาจะเลอะเทอะเละเทะอย่างไรช่วงวัยรุ่นก็ไม่พัง อีกทั้งจะกลับบ้านมาหาพ่อแม่เมื่อพายุฮอร์โมนสงบ เพราะตัวตนแข็งแกร่งและสายสัมพันธ์แน่นแฟ้น
เลี้ยงลูกให้ดีๆ10ขวบปีแรกและการเตรียมความพร้อมที่ดีของโรงเรียนเท่ากับการปูฐานวิธีคิดเชิงรูปธรรม concrete operation ในวัยเด็กโตซึ่งจะเป็นฐานนำไปสู่การคิดเชิงนามธรรม abstract operationในวัยรุ่น
การคิดเชิงนามธรรมหมายถึงความสามารถที่จะเห็นสิ่งที่ไม่เห็นด้วยตา ได้แก่ ระบบคุณค่า จริยธรรม ศีลธรรม จิตสาธารณะ การคิดนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ อุดมการณ์ และอุดมคติ รวมทั้ง "อนาคต"
ใครจะประคองตนได้ดีกว่าด้วยทักษะชีวิตและทักษะเรียนรู้ที่ดีกว่าวัดกันหลังวัยรุ่น เละไม่เละ เละแล้วคืนได้ หรือเละถาวรดูกันอีกทีตอนนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น