Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 61-70: ก่อนอนุบาลและอนุบาล

เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 61-70: ก่อนอนุบาลและอนุบาล





เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 61 : "เวลาสำคัญกว่าคุณภาพ"
พ่อแม่เป็นเทพเจ้าเสมอในสายตาของเด็กเล็ก ท่านพูดอะไรก็ถูกทั้งนั้น ตอนเขาเป็นเด็กเล็กท่านเป็นขาขึ้น จะซี้ซั้วอย่างไรก็ดูดี ดังนั้นรีบใช้โอกาสนี้อยู่กับเขา เขามีแต่จะแหงนหน้ามองด้วยความชื่นชม และขาดท่านมิได้ ไม่มีพ่อก็ต้องมีแม่ ไม่มีแม่ก็ต้องมีพ่อ ไม่มีทั้งสองคนก็ต้องมีมนุษย์1คนทำหน้าที่แทน ไม่รู้จะสอนลูกอย่างไรดีไม่สำคัญเท่าสองคนพูดตรงกันไว้ก่อน ไม่รู้จะทำอะไรก็นั่งนิ่งๆอยู่เคียงข้างเขา มั่นคงเหมือนภูผา เพื่อให้พัฒนาการเลื่อนไปข้างหน้า จากสายสัมพันธ์ สู่ตัวตน สู่การแยกตัว สู่การเป็นบุคคลอิสระ สู่การเตรียมความพร้อมด้านวิธีคิด (preoperation) สู่รูปธรรม(concrete) สู่นามธรรม(abstract) สู่สูงสุดที่ไร้ขอบเขตคืออุดมคติ จินตนาการ และระดับจิตวิญญาณ
วันใดวันหนึ่งบนเส้นทางนี้ เขาจะกลายเป็นเด็กโตและวัยก่อนวัยรุ่น (10-12 ปี ไม่เกิน ม.2) วันนั้นพ่อแม่จะเป็นขาลง ไม่เอาท่านอีกแล้ว



  เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 62 : "เด็กใช้ร่างกายเข้าแลกเสมอ"
เรามาดูกันว่าจากแรกเกิดถึง 12 ขวบ คือประถมต้น เด็กเตรียมความพร้อมของสมองและวิธีคิดอะไรบ้าง เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าเวลาเราเห็นเด็กเล่นเขากำลังเรียนรู้อะไร อย่างไร เพื่ออะไร พัฒนาการสมองและวิธีเรียนรู้ของทารกจนถึงเด็กเล็กใช้ "ร่างกาย" เป็นเครื่องมือ นี่คือหลักการพื้นฐาน พูดชัดๆว่าเขาเอาร่างกายเข้าแลก ดังนั้นเด็กที่ไม่เห็นหรือไม่ได้ยินหรือเด็กพิเศษใดๆก็สามารถพัฒนาได้ เพราะเขาใช้ "ร่างกาย" เป็นเครื่องมือ เขายังมิได้ใช้สมอง ท่องไว้เขาใช้ร่างกาย!
ทารกดูดนม วิธีดูดนมจะกลายเป็น "โครงสร้าง" แบบหนึ่ง เสมือนแม่พิมพ์ เรียกว่า schema ทารกใช้ปากสร้างแม่พิมพ์
แล้ววันหนึ่ง ทารกจะเริ่มดูดนิ้วมือ การเอานิ้วมือเข้าปากแล้วเรียนรู้จักนิ้วมือ เรียกว่า assimilation
ระหว่างที่ใช้ปากเรียนรู้จักนิ้วมือนั้นเองที่ทารกต้องเริ่มพลิกแพลงปากและลิ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการดูดนิ้วมือซึ่งต่างกับการดูดหัวนม เสมือนการปรับปรุงแม่พิมพ์ เรียกว่า accommodation
นี่คือต้นแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ assimilation & accommodation ไปเรื่อยๆกับทุกๆชิ้นและทุกๆเรื่อง ใช้ทั้งปาก มือ เท้า และร่างกาย assimilate วัตถุเข้ามาแล้ว accommodate ตัวเองแล้ว assimilate วัตถุชิ้นใหม่ แล้ว accommodate ตัวเอง แล้ว assimilate อย่างอื่นๆอีก...เรื่อยไป
พ้นจากปาก วันหนึ่งเด็กเล็กใช้มือและนิ้วมือทั้ง 10 ได้ นี่คือเวลานาทีทองที่การเรียนรู้พุ่งกระฉูด เล่นและทำงานบ้านจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เพราะเด็กได้ "ทำ"



  เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 63 :
เด็กๆสำรวจโลกจากร่างกายตนเองสู่ภายนอกตามลำดับ
เด็กก่อน 8 เดือน เรียนรู้โดยใช้ร่างกายตนเองเป็นเครื่องมือ เรียกว่า primary circular reaction
เด็กหลัง 8 เดือน เขารู้แล้วว่าของเล่นมีอยู่จริง จับต้องได้ ลูบคลำได้ ขว้างทิ้งได้ เรียกว่า secondary circular reaction
เด็ก 12-18 เดือน เขาเริ่มใช้วัตถุหรือของเล่นเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตัวอย่างคลาสสิกของเพียเจต์ คือ วางลูกปัด กล่อง และตุ๊กตาหมีให้เด็ก เด็กจะหยิบลูกปัดใส่กล่อง เอาตุ๊กตาหมีไว้ข้างกล่อง แล้วหยิบลูกปัดเข้าปากหมี เรียกว่า tertiary circular reaction
ลูกปัดคือข้าว กล่องคือจาน ตุ๊กตาหมีคือตัวเอง กริยานี้เรียกว่า "กิน" นี่คือขั้นแรกๆของการใช้สัญลักษณ์ คือ symbolization อันจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับอ่านหนังสือ
อย่าลืมว่าการอ่านหนังสือ คือ การถอดสัญลักษณ์ของอักขระ ดังนั้นการเล่นบทบาทสมมติหรือ symbolic play จึงเป็นตัวกระตุ้นพัฒนาการทางภาษา (language development) ที่ยอดเยี่ยมที่สุด
เล่นเยอะๆ ภาษาก้าวไกล



  เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 64 : เด็กเล็กมีมิติเดียว ทั้งสถานที่และเวลา (1-Dimension) สถานที่คือตัวเขาเป็นศูนย์กลาง เขาเห็นโลกจากที่ที่เขานั่งหรือยืนอยู่และไม่สามารถเปลี่ยนมุมมอง เวลาคือเขารู้จักคำว่าเวลากินข้าว เวลาอาบน้ำ เวลาเล่น แต่เขาไม่รู้ว่าวินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี เป็นอย่างไร
ช่วงนี้อาจจะกินเวลายาวตั้งแต่ 2-8 ปี แล้วแต่พัฒนาการ การที่สถานที่(space)เหลือเพียงมิติเดียวทำให้เกิด egocentric หรือ self-centered เอาตนเป็นศูนย์กลางดังที่เคยเล่า แต่มิได้แปลว่าเห็นแก่ตัว-selfish
เห็นพ่อแม่สีหน้าไม่สู้ดีเพราะตนเองสอบเข้าห้อง อัจฉริยะ กิ๊ฟเต็ด วิทย์คณิต สามภาษา จะตั้งชื่ออย่างไรก็ตาม ตนเองคือต้นเหตุ ไม่มีเหตุอื่นๆให้ไตร่ตรอง เด็กที่สอบได้ก็รับรู้เพียงว่าตนเองคะแนนสูงกว่าเพื่อนๆส่วนใหญ่ที่สอบไม่ได้ ไม่สามารถใคร่ครวญแง่มุมอื่นเช่นกัน การศึกษาปฐมวัยของเรากำลังส่งสัญญาณผิดๆให้แก่เด็กทั้งสองกลุ่ม แทนที่จะไปด้วยกันเป็น 1 เดียวเหมือนมิติที่เขามีและเป็น



  เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 65 : เด็กเล็กมีมิติเดียว ทั้งอวกาศและเวลา อีกทั้งตนเองเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่ตรงศูนย์กลาง มองออกไปรอบตัวเห็นดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเองในระยะห่างจากตนเองต่างๆกันไป
วิธีคิดแรกๆของชีวิตจึงเป็นเพียงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง "สิ่งที่เห็น"
ถามเด็ก"ทำไมรถวิ่งได้?" เด็กตอบ"เพราะรถมีล้อ" หากใจร้อนอาจจะอยากสอนว่ารถวิ่งได้เพราะเติมน้ำมัน! ถูกก็จริงแต่ก็มิใช่คำตอบสุดท้าย
ถามเด็ก"ทำไมตุ๊กตาตกพื้น?" เด็กตอบ "เพราะพ่อปล่อยมือ" หากใจร้อนอาจจะอยากสอนเรื่องแรงดึงดูดโลก! โดยไม่ทันระวังว่ามิใช่คำตอบสุดท้ายอยู่ดี
เพียเจต์เรียกวิธีคิดของเด็กเล็กที่คอยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆนี้ว่า juxtaposition เป็นระบบเหตุผลที่จะพัฒนาตัวเองอย่างไม่สิ้นสุด คำตอบของพ่อแม่หรือครูเรื่องน้ำมันหรือแดงดึงดูดโลกอาจจะถูกบางส่วน แต่ก็ไปบล็อคไม่ให้เขาไปต่อได้ด้วย
จึงมีคำกล่าวว่าอย่ากลัวที่จะตอบคำถามลูกไม่ได้เพราะเขาไม่ได้ต้องการคำตอบอยู่แล้ว เขาอยากถามเพราะอยากรู้ เรามีหน้าที่ตอบเพื่อกระตุ้นความอยากรู้ต่อไป ไม่ใช่ตอบให้ถูกต้อง! ในทางตรงข้ามข้อสอบประเภทที่ล็อคคำตอบตายตัวเอาไว้แล้ว เช่น ต้องตอบว่า ค.แรงดึงดูดโลก เท่านั้น ตอบอย่างอื่นคือผิดได้ศูนย์กลับไปสกัดกั้นความอยากรู้ต่อไปของเด็กๆ เด็กเล็กเข้าสู่ระบบสอบปรนัยเร็วเท่าไรยิ่งเสียหายเร็วเท่านั้น



 
เลี้ยงลูกให้ได้ดี ตอนที่ 66 : ทำไมรถวิ่งได้ เพราะรถมีล้อ ทำไมดวงอาทิตย์สว่าง เพราะมันมีแสง เด็กเล็กเชื่อมความสัมพันธ์ของสิ่งที่เห็นเข้าด้วยกัน นี่คือพัฒนาการต่อเนื่องของอวกาศ (space) รอบตัว
ต่อไปเด็กเล็กจะเชื่อมเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันเข้าด้วยกันด้วย นี่คือพัฒนาการของเวลา (time) "ทำไมพ่อแม่ทะเลาะกัน" "เพราะหนูกินข้าวไม่หมด" "ทำไมหนูต้องนอนโรงพยาบาล" "เพราะหนูทำแก้วแตก" เป็นต้น



  เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 67 : นี่คือภาพสาธิตของเพียเจต์ เด็กเล็กจะบอกว่าไข่มีมากกว่าแก้ว และถ้าเราขยายแก้วออกไปตามขวางให้กว้างขึ้น เด็กเล็กก็จะบอกว่าแก้วมีมากกว่าไข่
เราเรียกกระบวนการมองโลกและคิดของเด็กเล็กนี้ว่า centration แปลง่ายๆว่ามองด้านเดียว มองมิติเดียว หรือมองมุมเดียว
กระบวนการ decentration คือการสลายวิธีคิดและมุมมองแบบนี้จะเกิดก่อนวัยเรียนคือ 4-7 ขวบ การสลายนี้จะเกิดขึ้นโดยคงความสามารถที่จะรักษาความคงที่ของ "จำนวน" นับที่ได้ด้วยคือแก้วและไข่ยังคงมีจำนวนเท่าเดิม คือ conservation ดังที่เคยเล่าให้ฟังเรื่องการเทน้ำจากขวดลงจาน
นี่คือพัฒนาการที่สำคัญก่อนการเรียนเลขคณิต



คู่มือพ่อแม่สมัยใหม่ตอนที่ 68 : น้ำ 1 ขวด เทลงภาชนะที่ใหญ่กว่า เด็กเล็กจะบอกว่าน้ำในภาชนะที่ใหญ่กว่ามีมากกว่า เด็กโตถึงจะบอกได้ว่าเท่ากัน ความสามารถที่จะบอกว่าปริมาณน้ำคงที่นี้เป็นเรื่องสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน บอกได้ถึงเรียนหนังสือในระบบได้ เพราะหากบอกไม่ได้อะไรก็ไม่นิ่งทั้งนั้น ควรเป็นช่วงเวลาของการเล่นเพื่อเตรียมความพร้อมเสียมากกว่า
ความสามารถนี้นำไปสู่ความคงที่ของอวกาศและเวลาทั้งหมด ตู้รถไฟสามสี เขียว-เหลือง-แดง วิ่งเข้าอุโมงค์ จะออกมาเป็น เขียว-เหลือง-แดง หรือไม่ อยู่ที่ความสามารถที่จะรู้ว่าตู้รถไฟนั้นคงที่ทั้งในอวกาศและเวลา จะสลับตำแหน่งกันเองไม่ได้
ความสามารถนี้นำไปสู่การมองสองมิติและสามมิติอีกด้วย น้ำ1ขวดมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กแต่ทรงสูงเทลงในกระถางใบใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่าแต่อาจจะสูงหรือต่ำกว่า ปริมาณน้ำยังคงเท่าเดิมเพียงแต่แผ่กว้างมากกว่าเท่านั้น
จะเห็นว่าปล่อยเด็กคลุกดินเล่นกระถางต้นไม้สกปรกได้ประโยชน์มากมาย ส่งเด็กไป รร ตั้งแต่เด็กดูสามมิติไม่เป็น ปล่อยข้ามถนนหน้า รร ก็ไม่รู้ว่ารถกำลังพุ่งมาหา



  เลี้ยงลูกให้รวย(อ้าว!) ตอนที่ 69 : ถัดจากความสามารถในการรักษาความคงที่(conservation) ความสามารถในการมองหลากหลายมิติ(decentration) มาถึงความสามารถในการรู้ว่าวัตถุแปรเปลี่ยนไปมาได้ (reversible)
เด็กเล็กแช่แข็งสิ่งที่เห็นและมองอะไรมิติเดียวเขาจึงเห็นน้ำในแก้วทรงสูงมีมากกว่าน้ำที่มีปริมาณเท่ากันบนจานเพราะระดับน้ำในแก้วสูงกว่า แต่เด็กโตมองมากกว่าหนึ่งมิติ เขาดูออกแล้วว่าปริมาณน้ำนั้นเท่ากันไม่ว่าจะเทลงภาชนะอะไรก็ตาม
ความสามารถในการ conserve อะไรบางอย่าง decentrateอะไรบางอย่าง และรู้ว่าอะไรบางอย่างนั้นreversibleได้ คือปฐมบทของความเข้าใจเรื่อง "เงิน"
ภาพจากLINE



  เลี้ยงลูกให้ได้ดีตอนที่ 70 : เพียเจต์เขียนไว้ว่า "เด็กจะรู้ว่าสิ่งใดมีอยู่จริงคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง-conservation-ไล่ไปตามลำดับความยากง่ายของการมองเห็นของสิ่งนั้นๆ เด็กรู้ว่าวัตถุมีอยู่จริงตั้งแต่2-3 ขวบ รู้ว่าปริมาณมีอยู่จริงเมื่อ 6-7 ขวบ รู้ว่าน้ำหนักมีอยู่จริงเมื่อ 9-12 ขวบ รู้ว่าอวกาศและเวลามีอยู่จริงเมื่อ 8 ขวบ ขึ้นไป"
เขียนต่อไปว่า "อายุ 6-7 ขวบ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการคิด คือเวลาที่เด็กไป รร ครั้งแรก สอดคล้องกับเวลาที่ซูเปอร์อีโก-superego-ก่อตัวเรียบร้อย เป็นเวลาที่เด็กแยกความจริงออกจากความเพ้อฝัน และเป็นเวลาที่เด็กเริ่มใช้ เหตุผล"
ไม่ว่าจะเปิดตำราเล่มไหน การเรียนหนังสือก่อน 6 ขวบ เป็นการกระทำที่ไร้เหตุผลต่อมนุษย์ที่ยังใช้เหตุผลได้ไม่ดีนัก
ที่มา   ::   น.พ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น