Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563

EF ฝึกทักษะสมองพัฒนาสมาธิเด็ก

EF ฝึกทักษะสมองพัฒนาสมาธิเด็ก


EF ฝึกทักษะสมอง, สมาธิสั้น

การคิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น และปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข อยู่กับคนอื่นเป็น มีความสุขเป็น คือการฝึกทักษะสมองสำคัญที่เรียกว่า Executive Functions หรือ EF ซึ่งช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต  โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาทางด้านสมาธิ หากไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องอาจทำให้มีปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต การเรียน และการเข้าสังคมในอนาคต การฝึกทักษะสมองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย

รู้จัก Executive Functions (EF)


ทักษะ EF หรือ Executive Functions ทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต ซึ่งมนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF คืออายุ 4 - 6 ขวบ เพราะสมองส่วนหน้าพัฒนาได้มากที่สุด


ฝึกทักษะ Executive Functions (EF)

ทักษะ EF หรือ Executive Functions มีทั้งหมด 9 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นทักษะพื้นฐาน (Basic) 3 ด้าน และทักษะสูง (Advance) 6 ด้าน ได้แก่

ทักษะพื้นฐาน (Basic) ประกอบไปด้วย

1) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ

2) Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง) คือ ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง สามารถควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูดได้ 

3) Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นทางความคิด ร่วมแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับตัว เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ 

ทักษะสูง (Advance) ประกอบไปด้วย

4) Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก รู้จักการทำงานให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป

5) Emotional Control (ควบคุมอารมณ์) คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ตนเองไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายเกินไป รู้จักแสดงอารมณ์อย่างถูกวิธี

6) Self - Monitoring (ติดตาม ประเมินตนเอง) คือ การประเมินตนเองเพื่อหาจุดบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น รู้จักไตร่ตรองว่าตัวเองทำอะไร รู้ว่าตัวเองทำอะไร และรู้ว่าใกล้จะเสร็จหรือเรียบร้อยแล้ว

7) Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ลงมือทำทันที ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8) Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ) คือ การวางแผนจัดการตนเองอย่างเป็นขั้นตอน ดำเนินการตั้งแต่วางเป้าหมาย มองเห็นภาพรวม รู้จักจัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ ดำเนินการ และประเมินผล

9) Goal - Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย) คือ การวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีความพากเพียรและความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมาย รู้จักฝ่าฟันอุปสรรค หากล้มต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย 


EF ฝึกทักษะสมอง

สัญญาณความบกพร่อง EF

สัญญาณที่สามารถบ่งชี้ว่าเด็กมีความบกพร่องในการบริหารจัดการตนเองหรือมีปัญหาเกี่ยวกับทักษะ EF หรือ Executive Functions ได้แก่

ปัญหาด้านการยับยั้ง
  • ไม่รู้ว่าพฤติกรรมตนเองมีผลกระทบหรือรบกวนผู้อื่น
  • อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย บิดไปบิดมา
  • วอกแวกง่ายขณะทำกิจกรรม
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ หุนหันพลันแล่น

ปัญหาด้านการปรับเปลี่ยนและการคิดยืดหยุ่น
  • มีปัญหาการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่
  • อารมณ์เสียเมื่อมีการเปลี่ยนแผนหรือเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน
  • ใช้เวลานานกว่าจะรู้สึกวางใจในสถานที่ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่

ปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์
  • ระเบิดอารมณ์โกรธรุนแรง
  • โกรธฉุนเฉียวด้วยเหตุผลเพียงเล็กน้อย
  • เมื่อผิดหวังจะเสียใจนานกว่าเด็กคนอื่น
ปัญหาด้านความจำขณะทำงาน
  • หากสั่งให้ทำงานสองอย่าง เด็กสามารถจำได้แค่คำสั่งแรกหรือคำสั่งสุดท้ายเท่านั้น
  • ทำผิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ แม้เคยสอนหรือช่วยเหลือไปแล้ว
  • ลืมว่ากำลังทำอะไรขณะทำกิจกรรมนั้นอยู่

ปัญหาด้านการวางแผนจัดการ
  • ต้องบอกให้ริเริ่มลงมือทำงาน แม้ว่าเด็กจะเต็มใจทำ
  • ไม่สามารถหาเสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น หนังสือเจอ แม้ว่าจะชี้แนะอย่างเฉพาะเจาะจงแล้ว
  • ทิ้งของเกลื่อนกลาดต้องให้คนอื่นเก็บให้ แม้ว่าจะได้รับการสอนหรือแนะนำแล้ว
  • ติดอยู่ในรายละเอียดเพียงเล็กน้อยของงานหรือสถานการณ์หนึ่ง แต่ลืมเรื่องหลักที่สำคัญไป
  • ไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ แม้จะได้รับการแนะแนวทางแล้ว


(ที่มาข้อมูล : รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล)

EF ฝึกทักษะสมอง

EF แก้ปัญหาสมาธิสั้น


เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD - Attention Deficit Hyperactivity Disorder) จะมีอาการวอกแวก ไม่อยู่นิ่ง ขาดความรับผิดชอบ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ ขาดประสิทธิภาพในการเรียนและการใช้ชีวิตในอนาคต การฝึกทักษะ EF หรือ Executive Functions จึงมีความสำคัญในการช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการตนเองอย่างรอบด้าน ช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิและการยับยั้งชั่งใจให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ผู้ปกครอง แพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญในสาขาต่าง ๆ และตัวเด็กเพื่อพัฒนาให้สมาธิดีขึ้นและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต



ที่มา : 
พญ.มัณฑนา ชลานันต์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น