Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ

EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ




        EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ และการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ เพื่อให้เกิด ความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิต ครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกยืนยันแล้วว่า สำคัญกว่า IQ


        EF (Executive Functions) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนการปฏิบัติ (goal-directed behavior) การจดจำ ความยืดหยุ่นทางปัญญา (cognitive flexibility) เป็นความสามารถในการควบคุมความคิดตนเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน


        กระบวนการทางปัญญาเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ในวัยเด็กตอนต้น ผ่านกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะด้านสังคม อารมณ์ และร่างกายเพื่อช่วยส่งเสริม EF ให้ดีขึ้น เช่นการเล่นดนตรี เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของ EF เพราะต้องอาศัยทักษะต่างๆ เช่น การมีสมาธิอย่างต่อเนื่อง ความยืดหยุ่นทางปัญญา การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน (task switching)

        มีผลงานวิจัยใหม่ ๆ ที่สนับสนุนเรื่องการฝึกเล่นดนตรีอาจช่วยให้พัฒนา EF ได้ โดยทีมนักวิจัยจาก Laboratories of Cognitive Neuroscience จาก Boston Children’s Hospital ในรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้วิจัยเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างในผู้ใหญ่ที่เป็นนักดนตรี และผู้ที่ไม่ได้เป็นนักดนตรี พบว่า ผู้ที่เป็นนักดนตรี สามารถทำการทดสอบได้ดีกว่า ในด้านความคล่องทางภาษา (verbal fluency) เช่น สามารถคิดคำศัพท์แยกตามประเภท, ความคล่องที่ไม่ใช่ภาษา (design fluency) เช่น การวาดรูปสัญลักษณ์ และรูปทรงต่างๆ และ การจำตัวเลขย้อนกลับ (backward digit span)

        ส่วนกลุ่มตัวอย่างในเด็ก งานวิจัยได้เปรียบเทียบเด็กที่เรียนดนตรี และเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี พบว่า เด็กที่เรียนดนตรีสามารถทำการทดสอบได้ดีกว่าด้านการทำงานประสานกันระหว่างมือและสายตาในการลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ (coding) ความคล่องทางภาษา (verbal fluency) และ trail making เช่น การลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างวงกลมกับตัวเลขสลับกัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ใช้การสแกนสมองแบบ fMRI พบว่าสมองส่วน prefrontal cortex ในเด็กที่เรียนดนตรีมีการทำงาน (activation) มากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี

        เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (cross-sectional study) ดังนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าการเรียนดนตรีจะสามารถพัฒนา EF ให้ดีมากขึ้น ยังต้องการผลการวิจัยแบบระยะยาว (longitudinal study) มารองรับด้วย


        

       ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า เด็กในช่วงวัย 3-6 ปี จะเป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดี ที่สุด หากพ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย



https://sites.google.com/a/npt2kindergarten.com/kindergarten/ef-executive-functions/Untitled_1_05.jpg?attredirects=0

    EF หรือ Executive Functions จะประกอบด้วย ทักษะ 9 ด้าน คือ 


กลุ่มทักษะพื้นฐาน 

    1. Working memory = ความจำที่นำมาใช้งาน หรือ ความสามารถในการเก็บประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
    2. Inhibitory Control = ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรองควบคุมแรงอยาก หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูด
    3. Shiftingหรือ Cognitive Flexibility = ความสามารถในการยืดหยุ่น พลิกแพลง ปรับตัว เป็นจุดตั้งต้นของการคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์


กลุ่มทักษะกำกับตนเอง 

    4. Focus Attention = ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
    5. Emotional Control = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยวฉุนเฉียว ขี้หงุดหงิดง่าย จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
    6. Self-Monitoring = คือ การประเมินตนเองรวมถึงสะท้อนผลการทำงาน เพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมาย ให้เป็นขั้นตอน รวมถึงรู้ตัวว่า กำลังทำอะไร  ได้ผลอย่างไร


กลุ่มทักษะปฏิบัติ
    7. Initiating = ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
    8. Planning and Organizing = การวางแผนและดำเนินการตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย เห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ จนถึงการดำเนินการ และประเมินผล
    9. Goal- Directed Persistence = ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมายมุ่งมั่น ฝ่าฟันอุปสรรคและล้มแล้วลุกได้ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่นไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

        ทักษะเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เพื่อให้เกิดการ “ฝังชิป” เป็นโครงสร้างในสมองของเด็ก โดยเฉพาะในวัย 3-6 ปี ซึ่งเมื่อฝังตัวแล้วก็จะคงอยู่เป็นนิสัยหรือคุณสมบัติของบุคคลไปตลอดชีวิต



การดูแลลูกที่ถูกต้องในวัยที่สำคัญ เป็นการพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ

    ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น 

        Inhibitory Control --> หัดให้ลูกรอ ไม่ใช่ว่าลูกอยากได้อะไร ต้องได้เดี๋ยวนั้น ตอนนั้น

        Shift/Cognitive Flexibility --> ฝึกให้ลูกรู้จักยืดหยุ่นเมื่อผิดหวัง เช่น ลูกอยากกินแอปเปิ้ล แต่ไม่มี ก็จะถามลูกว่าเปลี่ยนเป็นองุ่น หรือ ส้มแทนได้มั้ย 

        Focus/Attention -->  ฝึกและให้เวลาลูกเล่นในสิ่งที่ชอบให้ได้ช่วงระยะเวลานึง อ๊อตโต้ชอบเล่น Lego เค้าจะสามารถนั่งต่อได้คนเดียวเป็นเวลานานเลยทีเดียว ถือว่าฝึกสมาธิไปในตัว

        Initiating --> ตั้งเป้าหมายและให้ลงมือทำ เช่น วันนี้จะล้างรถ + รดน้ำต้นไม้ ก็ต้องฝึกให้เค้าทำตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

        Planning/Organizing --> อันนี้ฝึกง่ายเลย เวลาทำขนมกับลูก บุ๊งมักจะแพลนว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง เวลาเราแพลน ก็บอกลูกไปด้วยว่า ก่อนจะต้มน้ำเชื่อม ต้องตอกไข่ก่อน แยกไข่แดงออกจากไข่ขาวให้เรียบร้อย แล้วค่อยต้มน้ำ เป็นต้น


ที่มา   ::   สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น