Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567

BMI สำคัญกับร่างกายอย่างไร พร้อมวิธีคํานวณ

 

BMI สำคัญกับร่างกายอย่างไร พร้อมวิธีคํานวณ


ค่า BMI หรือที่รู้กกันก็คือ “ค่าดัชนีมวลกาย” เป็นเครื่องมือประเมินลักษณะร่างกายของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน และได้รับการยอมรับในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล คลินิกเสริมความงาม ฟิตเนส หรือสถาบันอื่น ๆ ต่างใช้สูตรคำนวณ BMI เพื่อหาค่าดัชนีมวลกายของผู้เข้ารับบริการ

โดยการคำนวณความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงค่าดัชนีมวลกาย อาจสามารถช่วยระบุความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน

สารบัญ

  • ค่า BMI คืออะไร
  • วิธีคํานวณค่าดัชนีมวลกาย
  • เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย
  • ค่า BMI สูงเกินไป ความเสื่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
  • วิธีแก้หรือช่วยควบคุมค่า BMI มีอะไรบ้าง
การวัดค่า BMI

ค่า BMI คืออะไร

ดัชนีมวลกาย หรือ BMI คือ ตัวเลขที่คํานวณจากนํ้าหนักและส่วนสูง โดยวิธีเป็นวิธีการคำนวนเพื่อประเมินสุขภาพแบบคร่าว ๆ ว่ามีสุขภาพเป็นอย่างไร

สิ่งสําคัญที่ควรรู้สำหรับดัชนีมวลกาย เป็นการวัดที่มีประโยชน์สําหรับคนที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ซึ่ง BMI เป็นเพียงการประมาณค่าเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัจจัยเรื่องอื่น ๆ เช่น อายุ ชาติพันธุ์ เพศ และองค์ประกอบของร่างกาย ทีไม่ได้นำมาร่วมคำนวณด้วยค่ะ

วิธีคํานวณค่า BMI



ตัวอย่างการคำนวณ


น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร 

ดัชนีมวลกาย  = 60 ÷ (1.60 * 1.60)

ดัชนีมวลกาย  = 60 ÷ 2.56 

ดัชนีมวลกาย  = 23.4

เกณฑ์การวัดค่าดัชนีมวลกาย

ตารางการแสดงผล BMI

>>  ระดับน้อยกว่า 18.5 แสดงว่า “น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์”

ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายในเกณฑ์ระดับน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน จะมีภาวะความเสี่ยงสูงที่ร่างกายขาดสารอาหาร เกิดการหล่อเลี้ยงภายในร่างกายได้ไม่เพียงพอ โดยจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ภูมิคุ้มกันไม่ดี 

ฉะนั้น จำเป็นต้องออกกำลังกายควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบโปรตีนสูง จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีสารอาหารมากพอไปซ่อมแซมการทำงานของอวัยวะภายในได้อย่างเพียงพอ

>>  ระดับ 18.5 – 22.9 แสดงว่า “น้ำหนักสมส่วน”

ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ระดับน้ำหนักสมส่วนตามมาตรฐาน เป็นกลุ่มบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนได้น้อยที่สุด 

ฉะนั้น ควรรักษาความสุมดลของค่า BMI ระดับนี้ไว้อย่างสม่ำเสมอ โดยหมั่นตรวจเช็คการคำนวณค่า BMI จากการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นผลชี้วัดในการตรวจเช็คมวลร่างกายอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงความสมดุลนี้ไว้ค่ะ

>>  ระดับ 23.0 – 24.9 แสดงว่า  “น้ำหนักเกินมาตรฐาน”

ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ระดับเกินมาตรฐาน มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนได้ นั่นก็คือ “โรคอ้วน” 

ฉะนั้น ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายตัวเอง ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดระดับไขมันให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

อ่านเพิ่มเติม : การลดไขมันแบบเร่งด่วน

>>  ระดับ 25.0 – 29.9 แสดงว่า “น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์อ้วน”

ผู้ที่มีคํานวณค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ระดับนี้ มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูง 

ฉะนั้น ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายตัวเองแบบเร่งด่วน โดยการปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร เปลี่ยนเป็นอาหารที่เน้นสุขภาพให้มากขึ้น ไม่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย หรืออย่างต่ำ 8 แก้วต่อวัน สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนักอยู่เสมอ

>>  ระดับ 30.0 ขึ้นไป  แสดงว่า  “น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์อ้วนมาก”

ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์นี้ มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูงที่สุด 

ฉะนั้น ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่รับประทานอาหารที่เพิ่มมวลไขมันแก่ร่างกาย และหมั่นออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำอย่างต่ำ 10-12 แก้วต่อวัน และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนักอยู่เสมอ



อ้างอิงจาก : รพ.สมิติเวช  ,  https://rwcclinic.com/whats-your-bmi/  ,   https://prinkotakoon.blogspot.com/2024/08/bmi_23.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น