Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2567

วัณโรค คืออะไร (Tuberculosis) รักษายังไง

 

วัณโรค คืออะไร รักษายังไง ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุกคามคุณภาพชีวิต



วัณโรคเป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายได้ง่ายนับว่าเป็นกลุ่มโรคที่อันตรายร้ายแรงชนิดหนึ่งที่คร่าชีวิตมนุษย์ทั่วโลกเป็นจำนวนมากเพราะเมื่อติดเชื้อจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอด"  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางของสาธารณสุขประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีปัญหาภาระวัณโรค 
          วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ 80 ซึ่งโดยปกติคนไข้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรัง และยังขาดความเข้าใจในเรื่องวัณโรค ซึ่งโรคนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น ลองมาศึกษาอาการของโรคเพื่อไว้สังเกตและป้องกันตัวเองกันหน่อย


วัณโรค คืออะไร


    วัณโรคเป็นกลุ่มโรคติดเชื้อที่อันตรายร้ายแรงที่ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ เกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) สามารถแพร่กระจายได้โดยผ่านทางการไอ จาม การพูด และการหายใจ   ที่ออกมาจากผู้ป่วยที่มีเชื้อวัณโรคในปอด กระจายอยู่ในอากาศและตกลงสู่พื้น โดยผู้ที่สูดหายใจรับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคได้
        นอกจากการติดเชื้อที่ปอดแล้ว เชื้ออาจจะกระจายไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ได้แก่ เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น


สังเกตอาการเตือนวัณโรค



      เมื่อเริ่มป่วยในระยะแรกมักจะมีอาการไอแห้ง หลังจากนั้นจะเริ่มไอแบบมีเสมหะ เมื่อเข้านอนก็จะยิ่งมีอาการไอหนักมาก ทั้งช่วงเวลาหลังจากตื่นนอนตอนเช้าและในหลังอาหารด้วย

  • อาการไอเรื้อรังจะคงอยู่เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ บางรายที่ไอมาก ๆ จะมีอาการหอบด้วยหรือไอเป็นเลือดก้อนแดง ๆ หรือเลือดสีดำปนออกมาพร้อมกัน
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ผอมลง
  • ในรายที่เป็นเด็กอาการจะรุนแรงหนักกว่าผู้ใหญ่เพราะภูมิคุ้มกันโรคต่ำกว่า

ถ้ามีอาการอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป รีบตรวจหาวัณโรคที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน



ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรค

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัด หรือ ผู้ป่วยเอดส์
  • ผู้ติดสารเสพติด หรือ แอลกอฮอล์
  • คนจรจัด หรือ คนขาดสารอาหาร
  • คนที่อาศัยอยู่ในที่แออัด หรือ สถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี
  • ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล หรือ ญาติที่ดูแล
  • เด็กทารก หรือ ผู้สูงอายุ
  • เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง



ป้องกันไว้ก่อน ถ้าไม่อยากเป็นวัณโรค

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปในสถานที่สาธารณะ และไม่ใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค หากตนเองมีภูมิต้านทานต่ำ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค
  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยควรตรวจเอกซเรย์ปอด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • รีบไปพบแพทย์ทันที หากสงสัยว่ามีอาการเสี่ยง

การรักษาวัณโรค


        ปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาให้หายได้ ใช้เวลาการรักษาอย่างน้อย 6 เดือน ขึ้นกับความรุนแรงของตัวโรค แต่มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้เช่นกันหากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด

  • ผู้ป่วยวัณโรคมีระยะเวลาในการรักษาทั้งหมดอย่างน้อย 6 เดือน โดย 2 เดือนแรกต้องรับประทานยา 4 ชนิด เช่น isoniazid, rifampicin, pyrazinamide, ethambutol
  • เมื่อรักษาครบ 2 เดือนแพทย์จะตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดซ้ำ หากมีการตอบสนองที่ดีแพทย์จะลดยาเหลือ 2 ชนิด และให้การรักษาต่อไปอีก 4 เดือน 
  • และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรค

         วัณโรคเป็นโรคที่มีอาการทุกข์ทรมานจากการไอเรื้อรังที่คุกคามคุณภาพชีวิตและสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุ อาจจะเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆ เพิ่มเติมอีกเช่น โรคไขมันในเลือดสูงดังนั้น เมื่อพบว่าตนเองป่วยเป็นวัณโรคหรือเสี่ยงวัณโรค ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปีด้วยการเอกซเรย์ปอดโดยไม่ต้องรอให้มีอาการเพื่อวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที

 


Tuberculosis  ,  วัณโรค   ,    วัณโรค คืออะไร (Tuberculosis)  


CR ::  บทความโดย : พญ.นิชฌา  เหลืองด่านสกุล อายุรแพทย์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ

https://prinkotakoon.blogspot.com/2024/08/tuberculosis.html



บทความที่เกี่ยวข้อง


Rifampicin (ไรแฟมพิซิน) ยารักษาวัณโรค



รายการยาและการสนับสนุนยารักษาวัณโรค วัณโรคดื้อยาและวัณโรคระยะแฝง    

https://online.pubhtml5.com/nqgq/bzmr/






1 ความคิดเห็น:

  1. วัณโรคไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รู้ทัน รักษาหายขาดได้

    วัณโรคไม่น่ากลัวอย่างที่คิด รู้ทัน รักษาหายขาดได้
    วัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เผยข้อมูลปี 2565 ว่ามีผู้ป่วยวัณโรค 111,000 ราย และเสียชีวิต 13,700 ราย มีอัตราความสำเร็จในการรักษา 85% ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคมากกว่าปีละ 10,000 ราย จึงถือได้ว่าวัณโรคยังเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุข การมีความเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราปลอดภัยมากขึ้น วันนี้เราจึงอยากพาคุณมาทำความรู้จักวัณโรคให้มากขึ้นไปพร้อมกัน!

    วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB)
    เป็นโรคติดเชื้อในอากาศจึงทำให้เชื้อโรคสามารถลงไปสู่ปอดได้ หรือที่เราเรียกกันว่า “วัณโรคปอด” นั่นเอง และยังสามารถเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เช่น ที่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก หรือเยื่อหุ้มสมอง อีกทั้งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ หรือผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวีจะได้รับเชื้อและเกิดวัณโรคง่ายกว่าคนทั่วไป จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อเรื้อรังที่อันตรายจนอาจส่งผลถึงชีวิตได้

    วัณโรคเกิดจากการติดเชื้ออะไร ติดต่อได้อย่างไร?
    “วัณโรค” เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไมโคแบคทีเรียม ทูเบอคูโลซิส Mycobacterium tuberculosis (TB) โดยเชื้อวัณโรคจะติดต่อจากคนไปสู่คนผ่านทางละอองเสมหะที่เกิดจากการไอ จาม การพูดคุยกับผู้ป่วยวัณโรค การใช้สิ่งของร่วมกัน หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน

    อาการต้องสงสัยที่เสี่ยงเป็น “วัณโรค”
    เนื่องจากอาการวัณโรคเริ่มต้นติดเชื้อที่ปอดซึ่งเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ จึงใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 4 -8 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อในระยะแรกเริ่มอาจไม่ทันสังเกตเห็นอาการ แต่ถ้าคุณมีอาการเบื้องต้นเหล่านี้สามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่ากำลังเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค

    ไอติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์
    ไอมีเลือดปน
    น้ำหนักลด
    รู้สึกอ่อนเพลีย
    เบื่ออาหาร
    อาจมีไข้เรื้อรัง และมีไข้ต่ำๆ
    มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
    มีอาการบวมที่คอ ใต้แขน หรือขาหนีบ เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองโต
    อาการวัณโรคมีกี่ระยะ?
    ความรุนแรงของอาการวัณโรคจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลาที่เชื้ออยู่ภายในร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่

    การติดเชื้อระยะแฝง (Latent TB) เป็นช่วงที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะยังไม่แสดงอาการใดๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ โดยเชื้อจะซ่อนตัวอยู่ในร่างกาย เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจึงจะแสดงอาการออกมา
    ระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ (Active TB) เป็นช่วงที่อาการวัณโรคเริ่มแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด รู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ เป็นต้น
    วิธีการรักษาวัณโรคมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
    ผู้ที่สงสัยว่ากำลังเสี่ยงวัณโรคควรเข้ารับการวินิฉัยจากแพทย์ก่อน เนื่องจากอาการเริ่มต้นของวัณโรคมีความคล้ายกันกับโรคอื่นๆ
    แพทย์จะรักษาด้วยการให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยาจนยากต่อการรักษา
    เนื่องจากตัวยาจะฆ่าเชื้อได้อย่างช้าๆ การรักษาจึงต้องใช้เวลานาน หรืออย่างน้อย 6 เดือน กระบวนการรักษาจึงจะเริ่มต้นที่โรงพยาบาลแล้วต่อด้วยการให้ผู้ป่วยรักษาที่บ้าน

    ผู้ป่วยวัณโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม?
    ถึงแม้ว่าวัณโรคจะเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายจนถึงชีวิต แต่ก็ยังสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการคิดค้นยาที่มีประสิทธิภาพและลดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยได้ดี ดังนั้น หากรับประทานยาให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ แต่ก็มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้เช่นกันหากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด
    อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้มีอาการที่เป็นสัญญาณของวัณโรคครบถ้วนดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งอาจจะมีเพียงแค่อาการไอ หรือมีเพียงไข้ต่ำๆ เรื้อรังเป็นๆ หายๆ แนะนำว่าควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองวัณโรคว่าได้รับเชื้อหรือมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ที่โรงพยาบาลวิมุตเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคติดเชื้อ คอยให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ตลอดระยะเวลาทำการ

    ตอบลบ