Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เปลี่ยนชื่อลูก ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

 เปลี่ยนชื่อลูก ทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง



  • การเปลี่ยนชื่อลูกนั้น คุณพ่อหรือคุณแม่สามารถมาทำการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อลูกได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • การเปลี่ยนชื่อลูก ชื่อใหม่ของลูกจะต้องไม่ขัดต่อข้อกำหนดสำหรับการตั้งชื่อตัว ชื่อรอง และชื่อสกุล
  • เอกสารที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนชื่อลูกคือ บัตรประจำตัวประชาชนของพ่อหรือแม่ที่เป็นผู้มายื่นเรื่อง ใบสูติบัตรของเด็ก บัตรประชาชนของเด็ก (กรณีที่เด็กมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป) ทะเบียนบ้านที่มีชื่อเด็ก


อยากเปลี่ยนชื่อลูก ต้องทำยังไง มีข้อกำหนดอะไรบ้างที่ควรรู้


ก่อนที่จะไปดำเนินการเปลี่ยนชื่อลูกนั้น หลังจากได้ชื่อมงคลที่ถูกใจแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรจะเช็กดูก่อนว่า ชื่อใหม่ที่ต้องการจะเปลี่ยนนั้น ผิดข้อกำหนดของการตั้งชื่อดังต่อไปนี้หรือไม่

          • ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม

          • ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย

          • ต้องเป็นคำหรือพยางค์เดียวกัน จะเว้นวรรคไม่ได้

          • ห้ามมิให้ระบุชื่อตัว ร่วมกับหรือประกอบกับคำเชื่อมอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับทะเบียนชื่อบุคคล

          • ต้องเป็นชื่อที่มีความหมายหรือมีคำแปลที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือพจนานุกรมฉบับอื่น

          • ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย

          • เป็นชื่อที่ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม

          • ไม่มีเจตนาตั้งชื่อไปในทางทุจริต

เมื่อได้ชื่อที่ไม่ขัดต่อข้อกำหนดใด ๆ แล้ว ก็สามารถไปดำเนินการเปลี่ยนชื่อได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อข้ามเขตหรือข้ามอำเภอได้ค่ะ

เปลี่ยนชื่อลูก ใช้เอกสารอะไรบ้าง


แล้วเปลี่ยนชื่อให้ลูกใช้เอกสารอะไรบ้างนะ? การเปลี่ยนชื่อลูก จะต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้

          • บัตรประจำตัวประชาชนของพ่อหรือแม่ที่เป็นผู้มายื่นเรื่อง และบัตรจะต้องไม่หมดอายุ

          • ใบสูติบัตรของเด็ก

          • บัตรประชาชนของเด็ก (กรณีที่เด็กมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป)

          • ทะเบียนบ้านที่มีชื่อเด็ก




ที่มา    https://www.enfababy.com/change-a-child-name

1 ความคิดเห็น:

  1. เปลี่ยนชื่อลูกได้ที่ไหน สามารถทำผ่านออนไลน์ได้หรือไม่

    - ปัจจุบันการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ยังไม่สามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้ จำเป็นจะต้องเดินทางไปยังสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่ลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อข้ามเขตหรือข้ามอำเภอได้


    เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร สามารถทำได้ไหม

    - สำหรับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบสูติบัตร ไม่ว่าจะเป็นชื่อหรือนามสกุลก็ดี คุณพ่อคุณแม่สามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลในใบสูติบัตร โดยยื่นคำขอ แบบ ช.1 ได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักงานเขตที่ลูกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยนำหลักฐานสำคัญ คือ ใบสูติบัตรของลูก ทะเบียนบ้านที่มีชื่อลูก บัตรประชาชนของพ่อหรือแม่ที่เป็นผู้มายื่นเรื่อง



    เปลี่ยนชื่อต้องให้พ่อแม่ไปไหม?

    - การเปลี่ยนชื่อลูกสามารถให้พ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ไปดำเนินการได้ค่ะ


    เปลี่ยนชื่อลูกมอบอำนาจได้ไหม?
    - เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถยืนคำร้องขอเปลี่ยนชื่อด้วยตนเองได้ ดังนั้น อำนาจจะตกไปอยู่ที่ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร อาจจะเป็นพ่อหรือแม่เป็นผู้มายื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อลูก ไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นเรื่องแทนได้ค่ะ


    เปลี่ยนชื่อลูก จดทะเบียนสมรส ต้องขอความยินยอมจากอีกฝ่ายหรือไม่?
    - ในกรณีนี้จะถือว่าคุณพ่อและคุณแม่มีอำนาจร่วมกันในการปกครองบุตร ดังนั้น หากคุณพ่อหรือคุณแม่ต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อลูก ก็ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายเสียก่อน


    เปลี่ยนชื่อลูก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องขอความยินยอมจากอีกฝ่ายหรือไม่?

    - ในกรณีนี้จะถือว่าคุณพ่อและคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจดทะเบียนรับรองบุตรก็ถือว่ามีอำนาจปกครองบุตรร่วมกัน ดังนั้น หากคุณพ่อหรือคุณแม่ต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อลูก ก็ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายเสียก่อน

    แต่ถ้าหากไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส และไม่ได้มีการจดทะเบียนรับรองรับรองบุตร แล้วคุณแม่ต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อให้ลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สามารถทำได้ค่ะ เพราะอำนาจปกครองบุตรอยู่ที่แม่ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1546


    ตอบลบ