การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (กรณีหนังสือเดินทางเล่มแรกและหนังสือเดินทางที่หมดอายุ)
การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ในสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
ผู้ที่ต้องการจะรับบริการทำหนังสือเดินทาง สามารถจองคิวทำหนังสือเดินทางได้ในวันและเวลาทำการ
(เวลา 09.00-12.30 น.)
https://www.qpassport.in.th/#/landing
1. เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางเล่มแรก
1.1 สูติบัตรไทย
1.2 หนังสือเดินทางประเทศอื่น ๆ (หากมี)
1.3 บัตรประชาชน (สำหรับผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป) และทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี) (หากมี)
1.4 หนังสือเดินทางบิดา-มารดา
1.5 บัตรประชาชนบิดา-มารดา (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย)
1.6 คำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ แบบฟอร์มที่ 1
* ในกรณีอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั้งบิดาและมารดาจะต้องมาลงนามยินยอมในวันที่นัดหมายทำหนังสือเดินทาง
2. เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินในกรณีหนังสือเดินทางหมดอายุ
2.2 หลักฐานประกอบสำหรับบุคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
2.1 สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ ขึ้นไป
1. หนังสือเดินทางเล่มเดิม
2. บัตรประชาชน
2. บัตรประชาชน
2.2 หลักฐานประกอบสำหรับบุคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
กรณีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดา – มารดาจดทะเบียนสมรส
1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
2. สูติบัตรไทย
3. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
4. หนังสือเดินทางของบิดา - มารดา
5. บัตรประชาชนของบิดา - มารดา (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย)
กรณีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดา – มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
2. สูติบัตรไทย
3. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
4. บัตรประชาชนของบิดา-มารดา (เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย)
5. หนังสือเดินทางของบิดา - มารดา
6. มารดาจะต้องกรอกแบบฟอร์มบันทึกถ้อยคำ เพื่อยืนยันสถานะของบุตร
ส่วนบิดาจะต้องกรอกแบบฟอร์มคำขอเพื่อแจ้งความประสงค์และให้ความยินยอมให้บุตรใช้นามสกุลของตน หากบุตรต้องการใช้นามสกุลตามบิดา
7. สำเนาใบปกครองบุตร (ป.ค. 14) (ในกรณีไม่สามารถติดต่อกับบิดาของบุตร)
กรณีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดา – มารดาได้จดทะเบียนหย่า
1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
2. สูติบัตรไทย
3. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
4. ทะเบียนหย่าและบันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร
5. หนังสือเดินทางของบิดา - มารดา
6. บัตรประชาชนของผู้ปกครองบุตร
ค่าธรรมเนียม
1. หนังสือเดินทาง 5 ปี จำนวน 30 ปอนด์
2. หนังสือเดินทาง 10 ปี จำนวน 45 ปอนด์ (สำหรับบุคคลที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
หมายเหตุ: ผู้ที่มาขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ จะได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ภายในระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ โดยสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะขอมารับเล่มด้วยตนเองหรือให้จัดส่งทางไปไปรษณีย์
หากท่านไม่สามารถมารับเล่มใหม่ด้วยตนเอง โปรดเตรียมซองส่งกลับมาด้วย โดยซื้อซองแบบ Royal Mail Special Delivery (next day) สำหรับน้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม แบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้
การขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) ข้อมูลที่ปรากฎจะตรงตามข้อมูลในทะเบียนราษฎรของผู้ร้องที่ประเทศไทย ทั้งนี้ นามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม
ถ้าผู้ร้องต้องการให้นามสกุลในหนังสือเดินทางเป็นนามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องแก้ไขนามสกุลในทะเบียนราษฎร์ก่อนที่จะเดินทางมาทำหนังสือเดินทาง อิเล็กทรอนิกส์ ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “การเปลี่ยนนามสกุลหลังจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่า”
การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่หรือ E-passport ไม่สามารถดำเนินการทางไปรษณีย์ได้
* เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องในการออกหนังสือเดินทางให้แก่บุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 นั้น เมื่อบิดามารดาได้แจ้งเกิดและขอทำหนังสือเดินทางเล่มแรกให้แก่เด็กแล้ว จะต้องดำเนินการเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่มีภูมิลำเนาอยู่ ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานการขอหนังสือเดินทางของบุคคลสัญชาติไทย ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะอนุโลมออกหนังสือเดินทางเฉพาะเล่มแรกเท่านั้นให้แก่เด็กที่เกิดในต่างประเทศ
* ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อดำเนินการเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตหรืออำเภอนั้น บิดา มารดา ผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีขึ้นไป) ซึ่งประสงค์ขอมีรายการบุคคลและหมายเลขประจำตัวประชาชนในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ อาจมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องยื่นคำร้องแทน [ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 96/2 (หน้า 74 ด้านล่างสุด)
สามารถค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านที่
ขอบคุณที่มา :: https://london.thaiembassy.org/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น