Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เปลี่ยนนามสกุลลูก

 

เปลี่ยนนามสกุลลูก  




หลังจากหย่าแล้ว แม่ต้องการ เปลี่ยนนามสกุลลูก จากเดิมเป็นนามสกุลของบิดา มาเป็นนามสกุลของมารดา สามารถทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร

เปลี่ยนนามสกุลลูก หลังหย่า/แยกทาง ทำได้ไหม อย่างไร?

หลังจากแต่งงาน มีบุตรกันแล้ว หากชีวิตคู่ไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ การแยกทาง การหย่า จึงเป็นทางออกของปัญหา แต่สำหรับลูกน้อยแล้ว ความเป็นบิดาและมารดายังคงอยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็ยังมีความรักให้ลูกอย่างเต็มเปี่ยม แต่หากการเลิกราไม่เป็นไปด้วยดี แม่ ๆ หลายคนก็อยากจะ เปลี่ยนนามสกุลลูก ให้กลับมาใช้นามสกุลเดิมของตนเอง แต่การ เปลี่ยนนามสกุลลูก นั้นสามารถทำได้ง่ายหรือยากแล้วแต่กรณี ดังนี้


กรณีที่ 1 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

บุตรที่เกิดจาก สามี ภรรยา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดา (ภรรยา) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น เมื่อเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา มารดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ รวมทั้งการใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม และมีสิทธิที่จะเปลี่ยนนามสกุลของบุตรได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดานอกกฎหมาย

มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1547 เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร


กรณีที่ 2 สามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่พ่อจดทะเบียนรับรองบุตร

สามีภรรยาไม่ต้องการจดทะเบียนสมรส แต่ต้องการให้บุตรเป็นบุตรตามกฎหมายของบิดา บิดาต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร

วิธีการจดทะเบียนรับรองบุตร

การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียน กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต โดยใช้พยาน 2 คน และเอกสาร 3 อย่าง ได้แก่

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา
  2. สูติบัตรของบุตร
  3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบิดา มารดา และบุตร

การจดทะเบียนรับรองบุตรภายหลังจากการแจ้งเกิดนั้นทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากมารดา และเด็ก เมื่อเด็กยังเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา ยังตัดสินใจด้วยตัวเองไม่ได้ว่ายินยอมหรือไม่ ต้องยื่นร้องต่อศาลให้มีคำพิพากษาให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตรไปแสดง


จดทะเบียนรับรองบุตรภายหลังแจ้งเกิด

เมื่อบิดาจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว ภายหลังมีการแยกทางเกิดขึ้น แม้อำนาจการปกครองบุตรเป็นของมารดาฝ่ายเดียว แต่มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครอง มีสิทธิ

  1. กำหนดที่อยู่ของบุตร
  2. บุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
  3. ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
  4. เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงไม่สามารถใช้สิทธินอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๕๖๗ (๑) – (๔) ได้ เมื่อมารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว/ชื่อสกุลให้บุตรผู้เยาว์จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดาก่อน นายทะเบียนท้องที่จึงจะสามารถดำเนินการให้ได้

จดทะเบียนสมรส
จดทะเบียนสมรส

กรณีที่ 3 สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกัน

ในกรณีที่สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน ภายหลังมีการหย่าร้างเกิดขึ้นอำนาจปกครองบุตรอยู่กับมารดาฝ่ายเดียว เมื่อมารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว/ชื่อสกุลให้บุตรผู้เยาว์จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดาก่อน นายทะเบียนท้องที่จึงจะสามารถดำเนินการให้ได้เช่นกัน


กรณีที่ 4 หลังหย่า/แยกทางแล้ว ต้องการให้ลูกใช้นามสกุลของพ่อใหม่

หลังจากจดทะเบียนหย่า หรือแยกทางกันแล้ว(ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) แล้วแต่งงานใหม่ หากต้องการให้ลูกเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของพ่อใหม่ สามารถทำได้ 2 กรณีคือ

  1. ให้สามีใหม่รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

การยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม สามารถยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ โดยคุณสมบัติของผู้จดทะเบียน มีดังนี้

  • ผู้จะขอรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี
  • ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย
  • ผู้จะขอรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
  • กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

หลักฐาน

  • บัตรประจำตัวของผู้ร้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องใช้หนังสืออนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรุงเทพมหานครหรือชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยยื่นเรื่องขอหนังสืออนุมัติ ฯ ได้ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ต่างจังหวัด ยื่นเรื่องได้ที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด)
  • กรณีบุตรบุญธรรมหรือผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส คู่สมรสต้องให้ความยินยอม หากไม่สามารถมาให้ความยินยอมด้วยตนเองให้ใช้หนังสือให้ความยินยอม
  • กรณีการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต้องใช้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลและใบแสดงคดีถึงที่สุด
  • พยานอย่างน้อย 2 คน

2. การใช้ชื่อสกุลร่วมกับเจ้าของชื่อสกุล

การขอร่วมใช้ชื่อสกุล มีขั้นตอนดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล(แบบ ช.2)
  • หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สูติบัตร, สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม, สำเนาทะเบียน รับรองบุตร ฯลฯ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล

ขั้นตอนการติดต่อ

เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) นายทะเบียนท้องที่ ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะพิจารณา อนุญาตและออกหนังสืออนุญาต ให้ร่วมใช้ชื่อสกุล ตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของ ชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล

ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือ อนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐาน การอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้อง จะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือสำคัญ แสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่ เกี่ยวข้องรวมทั้งขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

เอกสารที่ใช้ในการเปลี่ยนนามสกุลลูก

เอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุลบุตร ได้แก่

  1. สูติบัตรของบุตร
  2. สำเนาทะเบียนบ้านที่บุตรมีชื่ออยู่
  3. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
  5. สำเนาทะเบียนบ้าน
  6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.2) หรือใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ช.5) หรือบันทึกข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุล โดยให้นำใบเกิดของลูกไปยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม

ค่าธรรมเนียม : ฉบับละ 100 บาท กรณีการออกใบแทน  ฉบับละ 25 บาท

ยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตที่ผู้ยื่นคำขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

เปลี่ยนนามสกุล
เปลี่ยนนามสกุล

เอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุล (ภรรยา) ในกรณีสิ้นสุดการสมรส

เอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุล กรณีสิ้นสุดการสมรส ได้แก่

  1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. บันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล กรณีคู่สมรสประสงค์จะใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือหลักฐานสิ้นสุดการสมรส หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สูติบัตร, สำเนาทะเบียนรับบุตรบุญธรรม, สำเนาทะเบียน  รับรองบุตร ฯลฯ

ค่าธรรมเนียม

  1. การเปลี่ยนชื่อสกุลครั้งแรกเมื่อจดทะเบียนสมรส ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  2. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะการสมรสสิ้นสุด ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  3. การเปลี่ยนชื่อสกุลภายหลังการจดทะเบียนสมรสครั้งต่อๆ ไป ฉบับละ 50 บาท
  4. การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุอื่นๆ ฉบับละ 100 บาท

ยื่นคำร้องได้ที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตที่ผู้ยื่นคำขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

สำหรับแม่ ๆ ที่ยังสงสัยว่าการ เปลี่ยนนามสกุลลูก ในกรณีของตนเองนั้น ทำได้หรือไม่ ควรทำอย่างไร สามารถติดต่อสำนักงานเขตใกล้บ้านได้เลยค่ะ



ที่มา   ::     https://www.amarinbabyandkids.com/family/change-surname/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น