ทำอย่างไร...เมื่อจะคลอด แต่ลูกไม่ยอมกลับหัว!!!
ทำอย่างไร...เมื่อจะคลอดแต่ลูกไม่ยอมกลับหัว!!! (modernmom)
ยิ่งใกล้คลอดความวิตกกังวลก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น สิ่งเดียวที่ว่าที่คุณแม่ภาวนาคงไม่พ้นขอให้การคลอดผ่านไป อย่างราบรื่น แต่ก็มีบางครั้งที่เมื่อถึงเวลา ลูกน้อยที่ต้องค่อย ๆ เคลื่อนตัวเอาหัวลงเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการคลอดกลับหาเป็นอย่างนั้นไม่ ทำให้การคลอดฉุกละหุกมีปัญหา
แบบไหนคือ "ลูกไม่ยอมกลับหัว"
ลูกไม่ยอมกลับหัว คือ ส่วนนำ (ส่วนที่อยู่ต่ำที่สุด ใกล้ช่องทางคลอดมากที่สุด) ของลูกไม่ใช่ศีรษะ แต่เป็นก้นหรือเท้าแทน โดยแบ่งทารกกลุ่มนี้เป็น 3 ประเภท คือ
1.Extended Breech หรือ Frank Breech : ทารกจะอยู่ในท่านั่ง งอข้อสะโพก ขาเหยียดตรง เท้าชี้ไปข้างหู 2 ข้าง
2.Flexed Breech หรือ Incomplete Breech : ทารกอยู่ในท่านั่ง งอข้อสะโพกและข้อเข่า โดยเท้าทั้ง 2 ข้างอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าก้นเล็กน้อย
3.Footling Breech : คล้ายท่าที่ 2 แต่งอสะโพกน้อยกว่า และเท้าอยู่ต่ำกว่าระดับของก้น
โดยปกติแล้ว เมื่ออายุครรภ์ 28 และ 32 สัปดาห์ จะพบว่าทารกมีส่วนนำเป็นก้น 20-25% และ 15-20% ตามลำดับ ซึ่งทารกเหล่านี้จะค่อย ๆ กลับหัวเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปเมื่อครบกำหนดคลอด (อายุครรภ์ 37 สัปดาห์) ทารกจะกลับหัวโดยมีส่วนนำเป็นศีรษะ ทั้งนี้เพราะศีรษะเป็นส่วนที่กว้างและหนักที่สุด แต่จะมีทารก 3-4% ที่ยังมีส่วนนำเป็นก้นอยู่ หลังจาก 37 สัปดาห์ไปแล้ว อาจจะมีทารกส่วนน้อยที่กลับหัวได้เอง แต่ค่อนข้างยาก เนื่องจากขนาดตัวของทารกใหญ่คับมดลูก
ลูกจ๋า...ทำไมไม่ยอมกลับหัว
สาเหตุที่ทำให้ทารกในครรภ์ไม่กลับหัว และพร้อมเข้าสู่กระบวนการคลอดตามปกติมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ คือ
1.การคลอดก่อนกำหนด โดยทารกยังไม่ถึงช่วงสัปดาห์ที่ต้องกลับหัว
2.การตั้งครรภ์แฝด ซึ่งทำให้พื้นที่ในมดลูกมีจำกัด กลับตัวได้ยาก
3.ปริมาณน้ำคร่ำ มากหรือน้อยผิดปกติ
4.มีความพิการแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของศีรษะ และระบบประสาทของตัวทารกเอง เช่น มีน้ำในส่วนโพรงสมอง Hydrocephalus หรือ Anencephaly
5.รกเกาะต่ำ ทำให้บริเวณด้านล่างของมดลูกแคบลงขวางการกลับหัวของทารก
6.ความผิดปกติของมดลูก ของคุณแม่ตั้งแต่กำเนิด เช่น มีผนังกั้นในโพรงมดลูก หรือมดลูกแยกเป็น 2 แฉก
7.เนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะบริเวณด้านล่างของมดลูก
8.หน้าท้องยืดขยายมาก อาจเกิดมาจากการตั้งครรภ์หลายครั้ง และกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง
1.การคลอดก่อนกำหนด โดยทารกยังไม่ถึงช่วงสัปดาห์ที่ต้องกลับหัว
2.การตั้งครรภ์แฝด ซึ่งทำให้พื้นที่ในมดลูกมีจำกัด กลับตัวได้ยาก
3.ปริมาณน้ำคร่ำ มากหรือน้อยผิดปกติ
4.มีความพิการแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของศีรษะ และระบบประสาทของตัวทารกเอง เช่น มีน้ำในส่วนโพรงสมอง Hydrocephalus หรือ Anencephaly
5.รกเกาะต่ำ ทำให้บริเวณด้านล่างของมดลูกแคบลงขวางการกลับหัวของทารก
6.ความผิดปกติของมดลูก ของคุณแม่ตั้งแต่กำเนิด เช่น มีผนังกั้นในโพรงมดลูก หรือมดลูกแยกเป็น 2 แฉก
7.เนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะบริเวณด้านล่างของมดลูก
8.หน้าท้องยืดขยายมาก อาจเกิดมาจากการตั้งครรภ์หลายครั้ง และกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง
จะเกิดอะไรหากลูกไม่ยอมกลับหัว
1.ภาวะสายสะดือเลื่อนลงมาก่อนทางช่องคลอดและถูกกดทับ (Prolapsed Cord) เกิดจากการที่ส่วนนำไม่ลงมาแนบสนิทกับช่องทางคลอด ทำให้มีช่องว่างให้สายสะดือไหลลงมาก่อนส่วนนำเมื่อมีน้ำเดิน
2.หากมีการคลอดก่อนกำหนดทางช่องคลอด อาจเกิดภาวะศีรษะของทารกติดค้างนาน ทำให้ขาดออกซิเจนได้
2.หากมีการคลอดก่อนกำหนดทางช่องคลอด อาจเกิดภาวะศีรษะของทารกติดค้างนาน ทำให้ขาดออกซิเจนได้
ทำอย่างไรช่วยให้ลูกกลับหัว
หากเกิดกรณีที่ลูกไม่ยอมกลับหัว จะต้องมีการช่วยกระตุ้นทารกด้วย ซึ่งทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม
1.Medical Technique
1.1.ECV (External Cephalic Version) เป็นการกลับตัวทารกโดยสูติแพทย์ ซึ่งต้องมีการให้ยาเพื่อให้มดลูกคลายตัว และใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ ช่วยในการดูท่าของทารก วิธีนี้ต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจมารดาและทารกอย่างใกล้ชิด และถ้าอายุครรภ์มากขึ้นอัตราความสำเร็จจะน้อยลง
1.2.Chiropractic Care โดยมีการทำในต่างประเทศ เป็นการทำให้มดลูกคลายตัว และอุ้งเชิงกรานขยายจากการผ่อนคลายความตึงและความเครียด
1.1.ECV (External Cephalic Version) เป็นการกลับตัวทารกโดยสูติแพทย์ ซึ่งต้องมีการให้ยาเพื่อให้มดลูกคลายตัว และใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ ช่วยในการดูท่าของทารก วิธีนี้ต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามอัตราการเต้นของหัวใจมารดาและทารกอย่างใกล้ชิด และถ้าอายุครรภ์มากขึ้นอัตราความสำเร็จจะน้อยลง
1.2.Chiropractic Care โดยมีการทำในต่างประเทศ เป็นการทำให้มดลูกคลายตัว และอุ้งเชิงกรานขยายจากการผ่อนคลายความตึงและความเครียด
2.Non Medical Technique
2.1.Breech Tilt ใช้หมอนขนาดใหญ่รองใต้สะโพก เป็นเวลา 10-15 นาที วันละ 3 ครั้ง ควรทำเมื่อท้องว่าง
2.2.เปิดเพลง โดยใช้หูฟังคาดไว้บริเวณด้านล่างของมดลูก เพราะมีความเชื่อว่าทารกชอบเสียงเพลง โดยจะเคลื่อนตัวไปตามเสียง
2.1.Breech Tilt ใช้หมอนขนาดใหญ่รองใต้สะโพก เป็นเวลา 10-15 นาที วันละ 3 ครั้ง ควรทำเมื่อท้องว่าง
2.2.เปิดเพลง โดยใช้หูฟังคาดไว้บริเวณด้านล่างของมดลูก เพราะมีความเชื่อว่าทารกชอบเสียงเพลง โดยจะเคลื่อนตัวไปตามเสียง
ท้ายสุดถ้าลูกไม่กลับหัว และสูติแพทย์แนะนำให้ผ่าตัดคลอด ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะปัจจุบันการผ่าตัดคลอดมีความปลอดภัยสูง และสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะศีรษะติด ทารกขาดออกซิเจนหากคลอดทางช่องคลอดและศีรษะติดในช่องคลอดนาน
แต่ถ้าหากคุณแม่ต้องการคลอดทางช่องคลอดจริง ๆ คุณหมอสูติฯ จะพิจารณาความเหมาะสมก่อน เช่น ทารกครบกำหนด มีน้ำหนักไม่เกิน 2,500-3,000 กรัม คุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และควรจะเป็นคุณแม่ท้องหลังที่มีประสบการณ์การคลอดทางช่องคลอดมาก่อนค่ะ
แต่ถ้าหากคุณแม่ต้องการคลอดทางช่องคลอดจริง ๆ คุณหมอสูติฯ จะพิจารณาความเหมาะสมก่อน เช่น ทารกครบกำหนด มีน้ำหนักไม่เกิน 2,500-3,000 กรัม คุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และควรจะเป็นคุณแม่ท้องหลังที่มีประสบการณ์การคลอดทางช่องคลอดมาก่อนค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น