Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภาษาของหนูใครว่ายาก

ภาษาของหนูใครว่ายาก

 
 
ทารกตั้งแต่แรกเกิดมีความสามารถในการฟังและจำเสียงคุณแม่ได้ตั้งแต่อายุ 2-3 ชั่วโมงแรกเลยค่ะ แต่แท้ที่จริงเขารับรู้ไดตั้งแต่อยู่ในท้องเลยค่ะ

 

 
 
ภาษา...เริ่มเมื่อไหร่น้าทารก
 
ตั้งแต่แรกเกิดมีความสามารถในการฟังและจำเสียงคุณแม่ได้ตั้งแต่อายุ 2 - 3 ชั่วโมงแรกเลยค่ะ แต่ที่จริงเขารับรู้ตั้งแต่อยู่ในท้องเลยค่ะ
 
เมื่ออายุ 4 เดือน เด็กจะเริ่มแยกเสียงสูงตํ่าได้ ระบบการได้ยินเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น
เมื่ออายุ 6 เดือน เด็กจะเลือกฟังเสียงที่ตนพอใจ และสนองตอบต่อเสียงนั้นได้ในระดับหนึ่ง พร้อมส่งภาษาท่าทางประกอบตาม
อายุ 7 - 12 เดือน เด็กจะเริ่มเข้าใจความหมายของคำได้ เช่น รู้ชื่อของตัวเอง ตลอดจนคำต่าง ๆ อย่างคำว่า "มาม้า","ปาป๊า","ไม่","หม่ำ" ฯลฯ
ในช่วง 1 - 2 ปี เด็กเรียนรู้คำศัพท์ได้มากขึ้น จะมากมายขนาดไหนก็อยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ค่ะ
อายุ 18 เดือน เด็กรู้จักส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างน้อย 5 ส่วน รวมทั้งชี้รูปภาพได้ 2 - 3 รูป
อายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป เข้าใจคำกิริยาเข้าใจคำสั่งง่าย ๆ เช่น หยิบตุ๊กตามาให้แม่, ลองถอดรองเท้าดูสิคะ ฯลฯ
อายุ 4 - 5 ปี เข้าใจคำถามง่าย ๆ และตอบคำถามได้ "เจ้าหนูจำไม" จะมาก็วันนี้แหล่ะค่ะ คุยทั้งวัน จ้อไม่หยุดเลย
 
 
การแสดงออกทางภาษา
 
การรับรู้ทางภาษาและการแสดงออกทางภาษานั้น จะพัฒนาอย่างรวดเร็วมากในช่วง 3 ปีแรกของลูก เรียกว่า ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว โดยในช่วงระหว่างวัยนี้ ลูกจะมีพัฒนาการด้านการรับรู้เกี่ยวกับภาษามากกว่าการแสดงออกทางภาษา พูดง่าย ๆ ได้ว่า ลูกของคุณแม่จะสามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ยินได้อย่างมากมาย เพียงแต่ยังสื่อสารกลับมาได้น้อยกว่าที่เขาเข้าเข้าใจนั่นเอง
โดยเฉพาะในวัยนี้ 6 – 7 เดือน การเล่นเสียงอ้อ ๆ แอ้ ๆ จะแตกต่างจากวัยทารกอย่างเห็นได้ชัด การออกเสียงแต่ละคำแม้จะฟังไม่ชัดว่า ลูกต้องการพูดอะไร แต่ก็เป็นการออกเสียงที่ออกมาอย่างมีเป้าหมาย การออกเสียงในลักษณะนี้ เสมือนเป็นแบบฝึกหัดเพื่อเตรียมตัวสำหรับการพูดจริงต่อไปในอนาคต
 
ผลัดกันรับส่ง : ก็เป็นเทคนิคง่าย ๆ มากค่ะ ที่สำคัญคือนอกจากคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นคุยกับลูกน้อยสม่ำเสมอแล้ว ต้องพยายามใช้ทั้งคำพูดและภาษากาย รวมทั้งอายคอนแทคประกอบด้วย ประมาณพี่เบิร์ดเล่นอยู่บนคอนเสิร์ตเลยค่ะ โดยมีเคล็ดลับเพิ่มว่า เมื่อคุณพ่อคุณแม่พูดจบหนึ่งประโยคแล้ว จะต้องหยุดก่อนที่จะเริ่มประโยคใหม่ต่อไป คล้าย ๆ ราวกับว่าลูกเป็นคู่สนทนาที่กำลังคุยกันได้ออกรสออกชาติ
ระดับเสียงที่แตกต่างกัน : การกระตุ้นด้วยการคุยกับลูกบ่อยๆ เหมือนคู่สนทนาคนหนึ่ง ก็เป็นเทคนิคหนึ่งค่ะ ที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้นมากๆ เพราะเขาจะรู้สึกว่า “การพูดคุยเนี่ย มันช่างสนุกจังเลย” อารมณ์คงคล้ายๆ เวลาเราหัดขับรถยนต์ทีแรก ขับไกลแค่ไหนก็ไม่หวั่น รู้สึกสนุกไปหมด แต่ทั้งนี้ การพูดคุยก็ต้องใช้ระดับเสียงที่แตกต่างกันด้วย เราอาจได้ยินลูกเลิฟที่พยายามเลียนแบบด้วยการทำเสียงอ้อแอ้ๆ ด้วยน้ำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ซึ่งขณะนั้น ลูกอาจกำลังคิดอยู่ว่า “หนูกำลังพยายามพูดกับแม่อยู่นะ” ก็ได้ค่ะ
เน้นประโยคสั้น ๆ : การแสดงสีหน้าโอเวอร์แอคติ้งจะเป็นอะไรที่เด็กสนุกสนานมากค่ะ กับท่าทางตลก แต่ดูน่ารัก สดใสเหมือนสาวเกาลหีของคุณแม่ นอกจากนี้แล้ว ลูกเลิฟของคุณจะชอบฟังประโยคสั้นๆ เข้าใจง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะเขาสามารถรับรู้ และคาดเดาได้ง่าย ก็จะรู้สึกสนุกกับการพูดคุยไปด้วย แต่ทั้งนี้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องโอเวอร์แอคติ้งตลอด สีหน้าเป็นธรรมชาติด้วยท่าทีปกติของคุณแม่ก็ยังสามารถพูดคุยได้ค่ะ สลับๆ กันไปตามความเหมาะสม
ศัพท์พื้นฐาน : ในแต่ละวัน คุณแม่ควรพูดคุยกับลูกได้ศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวโยงกับชีวิตประจำวันของเขาบ่อย ๆ เช่น
คุณแม่อาจพูดคำว่า "อาบน้ำ" ขณะที่กำลังถอดเสื้อผ้าเขาอยู่ หรืออุ้มพาเขาไปที่กระมังอาบน้ำส่วนตัว
อย่างเวลาหม่ำนม คุณแม่ก็อาจพูดว่า "หม่ำนม" พร้อมโชว์ขวดนมขึ้นมาให้เขาเห็นก็ได้
อย่างเวลานอน คุณแม่ก็อาจโชว์สิ่งที่ลูกชอบ อย่างตุ๊กตาตัวโปรดที่เขาชอบโดยพูดว่า "น้องหมี ได้เวลานอนแล้วจ้า" สิ่งเหล่านี้ เราสอนศัพท์ต่าง ๆ ให้ลูกด้วยการมีวัตถุเป็นตัวเชื่อมโยง ก็จะทำให้ลูกเรียนรู้ความหมายได้รวดเร็วขึ้นค่ะ ซึ่งก็อยู่ที่เทคนิคของคุณแม่แต่ละคน ซึ่งอาจไม่เหมือนกันหรอกค่ะ ลองเอาไปปรับใช้กันดู
 
 
หนูไม่ชอบคำซ้ำๆ
 
 
มีข้อให้คุณแม่ลองพิสูจน์ ซึ่งจริง ๆ แล้ว แม้ว่า ลูกจะอยู่ในวัยเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น เขาก็สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงของคำที่ต่างกันได้แล้ว ซึ่งก็มีงานวิจัยค่ะ ว่าเด็กจะเริ่มเบื่อและหมดความสนใจ เมื่อได้ยินการออกเสียงพยัญชนะซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง เช่น บาบา บาบา บาบา แต่เมื่อเปลี่ยนเสียงเป็น บาพา บามา บาลา ทารกกลับชอบค่ะ เขาสามารถดูดนมได้เร็วขึ้น ซึ่งการวิจัยนี้ยังสรุปได้ว่า ลูกน้อยชอบเสียงที่มีความแตกต่างมากกว่าเสียงที่ซ้ำ ๆ กันค่ะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น