ลูกเราเข้าใจคําพูดแค่ไหน?

ลูกเราเข้าใจคําพูดแค่ไหน? (Mother&Care)
ช่วงนี้ลูกวัยวัยเตาะแตะ สามารถบอกความต้องการ ด้วยท่าทางและคําพูดได้ ก็เพราะเรียนรู้ความหมายสิ่งต่าง ๆ รอบตัวผ่านการได้ยิน จนพัฒนาเป็นการสื่อสารและความเข้าใจ แต่ลูกวัยเตาะแตะ จะรับรู้ เข้าใจแค่ไหน มาฟังคําตอบจาก พญ. ศิรินทร์ญา เทพรักษ์ ค่ะ
ทักษะความเข้าใจ ตามช่วงวัย

สามารถเข้าใจคําพูด ประโยคหรือคําสั่งง่าย ๆ เช่น หยุดหรืออย่า ที่พ่อแม่พูด สามารถเชื่อมโยงเรื่องราว คําศัพท์ในชีวิตประจําวันต่าง ๆ ได้ เช่น รู้จักชื่อตัวเอง รู้ว่าใครคือพ่อ แม่ และพูดเป็นคําสั้น ๆ เช่น พ่อ แม่ แสดงออกด้วยท่าทาง เช่น พยักหน้า ส่ายหน้าได้

เข้าใจคําสั่งและทําตามคําสั่งโดยมีท่าทาง (เช่น คุณแม่บอกให้ไหว้คุณหมอ พร้อมทําท่าให้ลูกดู) จนค่อย ๆ ทําตามคําสั่งได้โดยไม่ต้องมีท่าทาง เช่น ทิ้งขยะได้เอง โดยที่คุณไม่ต้องใช้มือชี้ไปที่ถังขยะให้ลูกดู และยังรู้จักบอกอวัยวะของตัวเองได้ถึง 3 ส่วน เช่น ตา หู หรือจมูก พูดคําพยางค์เดียวได้ 10-20 คํา และเลียนเสียงรถหรือสัตว์ร้องได้ สามารถบอกความต้องการและรู้จักการปฏิเสธเป็น เช่น เอา ไม่เอา

อายุ 2 ปี สามารถทําตามคําสั่งได้ 2 ขั้นตอน โดยไม่ต้องมีท่าทาง เช่น ทิ้งขยะลงถัง แล้วหยิบผ้ามาให้แม่ รู้หน้าที่ของสิ่งของต่าง ๆ เช่น ช้อนมีไว้ตักข้าว แก้วน้ำมีไว้ดื่ม หรือรู้จักกิริยาของสัตว์ เช่น หมาร้องโฮ่ง ๆ แมวร้องเหมียว ๆ และเข้าใจคําถาม "นี่อะไร" ชี้ภาพได้ถูกต้องเมื่อถามได้ พูด 2-3 พยางค์ เช่น กิน ไปเที่ยว
เมื่ออายุ 3 ปี ความเข้าใจและการเชื่อมโยงคําศัพท์มีมากขึ้น เข้าใจคําสั่งที่ซับซ้อน เริ่มเข้าใจบุพบท, จํานวน, เพศของตัวเอง รู้จักสี รู้จักเปรียบเทียบ พูดเป็นประโยคสั้น ๆ บอกชื่อตัวเองได้ บอกความต้องการ เล่าเรื่องได้ ตอบคําถามที่ขึ้นต้น "อะไร ที่ไหน" สนใจคําถาม โดยเฉพาะการตั้งคําถามของเด็กวัยนี้ ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่สังเกตได้ เพราะลูกมีความสนใจอยากรู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
ปัญหาทางภาษา ที่อาจพบได้

พบว่ามีถึง 10-15% ในช่วงวัยเตาะแตะ พบในเด็กผู้ชายได้มากกว่าเด็กผู้หญิง 2-3 เท่า ดังนั้น พ่อแม่จึงควรรู้ถึงสาเหตุของการพูดช้า ซึ่งอาจเกิดจากภาวะการได้ยินผิดกปติ ภาวะสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก พัฒนาการผิดปกติ หรือพัฒนาการทางภาษาล่าช้าที่เกิดจากการเลี้ยงดู เมื่อสงสัยว่าลูกพูดช้าควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ แก้ไขได้ถูกต้องและเหมาะสม

โดยทั่วไปเด็กวัยหนึ่งขวบจะเริ่มพูดได้แล้ว หากอายุขวบครึ่ง ยังไม่สามารถพูดเป็นคําที่มีความหมาย ก็ต้องสังเกตว่า สามารถทําตามคําสั่งโดยไม่มีท่าทางได้หรือเปล่า หากขวบครึ่งยังไม่เข้าใจหรือทําตามคําสั่งอย่างง่ายโดยไม่มีท่าทางไม่ได้ อายุ 2 ปี พูดคําที่มีความหมาย หรือเมื่อ อายุ 3 ปี ยังไม่พูดเป็นประโยค จะจัดอยู่ในกลุ่มพูดช้า ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอ

การพูดชัดของเด็กจะค่อย ๆ พัฒนาตามช่วงอายุ เด็กวัย 2 ปี จะสามารถพูดกับคนที่ไม่คุ้นเคยฟังได้ประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่ออายุ 4 ปี จะสามารถพูดชัด ให้ผู้ฟังเข้าใจได้ทั้งหมด ในช่วงแรกที่ลูกเริ่มพูด การออกเสียงพยัญชนะอาจยังไม่ชัดได้ ซึ่งโดยทั่วไปเด็กวัย 2-2.6 ปี อย่างน้อยควรออกเสียงพยัญชนะตัว ม ย น ห ค อ ได้ชัดแล้ว อายุ 2.7-3 ปี จะพูดพยัญชนะตัว ก บ ป ว ได้ชัด อายุ 3.1-3.6 ปี จะพูดพยัญชนะตัว ท ต ล จ พ ชัด และเมื่ออายุ 5-6 ปี จะออกเสียงตัว ช ร ส ได้แล้ว
ดังนั้นควรสังเกตว่าลูกอยู่ในช่วงวัยใด ฟังการออกเสียงพูดของลูก หากลูกพูดไม่ชัดมากและยังไม่รู้เรื่อง ผู้ใหญ่ฟังไม่รู้เรื่องและพูดไม่ชัด หลายตัวอักษร งดการออกเสียงบางเสียง ออกเสียงอื่นแทน อาจทําให้เกิดปัญหาทางสังคมกับเพื่อน เรื่องการเรียน หรืออายุเกิน 8 ปียังออกเสียงไม่ชัด ก็ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อตรวจการได้ยินหรืออวัยวะการใช้ลิ้น ว่าผิดปกติหรือเปล่า

มีอยู่บ้างแต่ไม่มาก อาจเกิดจากความวิตกกังวลหรือการปรับตัวของเด็ก ทําให้เด็กพูดเฉพาะกับคนในบ้าน แต่ไม่พูดกับคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่คุ้นเคย คุณแม่ควรค่อย ๆ ให้เวลาลูกปรับตัว ไม่ว่ากล่าว แต่ให้ลูกมีกิจกรรมนอกบ้านกับเด็กคนอื่น ๆ บ้าง
แนวทางการส่งเสริมของพ่อแม่
พูดคุยกับลูกอย่างเป็นธรรมชาติ จากเรื่องใกล้ตัว ชีวิตประจําวัน เช่น คุณแม่ทําอะไรให้พูดไปด้วย เช่น กินข้าวก็บอกว่า "กินข้าวนะลูก" ทําท่าจะป้อนข้าว เพื่อช่วยให้ลูกเชื่อมโยงคําศัพท์สิ่งต่าง ๆ ได้ดี สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก ๆ



"นี่อะไรคะ"



ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น