เคล็ดลับ เลี้ยงลูกให้มี ความมั่นใจ
8 เคล็ดลับ
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้มีความมั่นใจ
8 เคล็ดลับการเลี้ยงดูลูก ๆ เพื่อช่วยให้พวกเขามี ความมั่นใจ ในตนเองได้มากขึ้น
1. พิจารณาการให้คำชม
มันเป็นเรื่องแน่นอนอยู่แล้วที่เด็กเล็กจะต้องการกำลังใจและคำชมจากพ่อแม่ ไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรก็ตาม เช่น เวลาที่พวกเขากำลังฝึกหัดคลาน โยนรับลูกบอล หรือแม้กระทั่งเริ่มหัดวาดรูปวงกลม แต่เด็ก ๆ อาจจะเคยชิน กับคำชมที่ได้ยินบ่อย ๆ เช่น "เก่งมากลูก" "Good job!" จนเด็กอาจจะเริ่มชิน และอาจจะมีบ่อยครั้งที่พ่อแม่ชมลูกอย่างมาก เช่น "โอ้โห! นี่มันเป็นการต่อบล็อคที่เก่งมากเท่าเคยเห็นมาเลย" จนทำให้เด็กเริ่มชิน และเริ่มที่จะไม่สนใจกับคำชมเหล่านั้น
การให้คำชมจะต้องไม่บ่อยจนเกินไป หรือชมทุกอย่างในสิ่งที่ลูกต้องทำอยู่แล้ว เช่น เด็กต้องทำหน้าที่แปรงฟันทุกวัน หรือ ถอดเสื้อผ้าที่ใช้แล้วลงตะกร้า เป็นสิ่งที่เด็กต้องทำอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นพ่อแม่เพียงแค่ กล่าวขอบคุณในสิ่งที่พวกเขาทำก็เพียงพอแล้ว และให้ feedback กลับไป เช่น แทนที่จะชมลูกว่า ลูกวาดรูปเก่งมาก ก็ลองพูดว่า "แม่คิดว่าหนูมีเทคนิคการใช้สีม่วงได้ดีนะ" เป็นต้น
2. อย่าพยายามช่วยลูกทุกอย่าง
เราเข้าใจสัญชาตญาณความเป็นพ่อแม่ของทุกคน ที่อยากจะดูแลและปกป้องลูกที่เรารักให้มากที่สุด โดยไม่อยากให้ลูกของเราเจ็บ หรือพบเจอกับความผิดพลาด แต่การที่พ่อแม่พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมหรือช่วยเหลือในทุก ๆ อย่างนั้นอาจไม่ส่งผลดีต่อเด็กเสมอไป เช่น การให้ลูกมีส่วนร่วมในงานปาร์ตี้วันเกิดของเพื่อน โดยที่ลูกไม่ได้ถูกรับเชิญ หรือบอกให้โค้ชกีฬาช่วยเพิ่มเวลาพิเศษให้ลูกขณะฝึก การพยายามช่วยเหลือแบบนี้ ไม่ได้เป็นวิธีที่ดีต่อเด็กนัก เพราะเด็กจะต้องฝึกเรียนรู้ถึงความผิดพลาด เรียนรู้ที่จะผิดหวัง ว่าสิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิต และเป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะได้พบเจอ อาจมีความรู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง เสียใจ หรือ กังวล สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับเด็กได้ ซึ่งนักเขียนหนังสือเด็ก ชื่อดัง Robert Brooks กล่าวว่า เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้เรื่องความสำเร็จ โดยผ่านการเรียนรู้จากอุปสรรคที่เกิดขึ้นก่อน “มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากการเล่น เรียนรู้ที่จะกล้าลองและไม่กลัวความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นว่าพ่อแม่ของเขาจะวิพากย์วิจารณ์หรือคอยช่วยให้ลูกทำถูกเสมอโดยปราศจากความผิดพลาด”
3. ให้ลูก ๆ ตัดสินใจเอง
เมื่อถึงเวลาหรือสถานการณ์ที่ลูก ๆ จะต้องตัดสินใจด้วยตนเองตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก พวกเขาจะเริ่มสร้างความมั่นใจในสิ่งที่พวกเขาได้ตัดสินใจทำลงไป แน่นอนว่าเด็ก ๆ จะชอบลองอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ และหากถูกควบคุมมากจนเกินไป อาจสร้างความกดดัน และความไม่มั่นใจให้เด็กได้ คำแนะนำคือควรมีตัวเลือกให้เด็ก ๆ อย่างน้อย 2-3 ตัวเลือกให้เด็กได้เลือก เช่น เด็กอายุ 3 ขวบ เราไม่ควรถามลูกว่า "มื้อเที่ยงหนูอยากกินอะไรดี" แต่สามารถที่จะให้ตัวเลือก เพื่อให้ลูกฝึกตัดสินใจ โดยมีตัวเลือก เช่น "เมนูมีพาสต้า หรือ ถั่ว หรือ เยลลี่ หนูจะเลือกอะไรดี" เป็นต้น และควรให้เด็กรับรู้ว่าตัวเลือกที่พ่อแม่ให้นั้นพ่อแม่จะเป็นคนเลือกเสนอ เช่น เด็กอายุ 8 ขวบอยากที่จะใส่เสื้อผ้าแบบผู้ชายหรือตัดผมสั้น ก็สามารถเลือกทำได้ แต่ถ้าจะเลือกไม่ทำการบ้านนั้น พ่อแม่ก็ควรอธิบายว่าเหตุใดจึงไม่สามารถเลือกที่จะทำไม่ได้
4. โฟกัสในการเป็นน้ำครึ่งแก้ว
หากลูกรู้สึกผิดหวังหรือท้อแท้กับสิ่งที่เกิดขึ้น พ่อแม่ควรช่วยเหลือให้ลูกรู้สึกไปในทางการคิดบวก ควรให้คำปรึกษาหรือแนะนำวิธีที่จะรับมือกับความผิดหวัง และแก้ไขไปในทางที่ดีขึ้น เช่น หากลูกอ่านหนังสือได้ช้ากว่าเพื่อนในห้อง ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ทุกคนมีความพิเศษแตกต่างกัน มีทักษะการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และควรมอบเวลาให้ลูกในการช่วยฝึกฝนทักษะการอ่านของลูกที่บ้านมากขึ้น หรือหากลูกไม่ได้เล่นบทแสดงบนเวที หรือไม่รับบทเป็นตัวแสดงเอก ก็ไม่ต้องบอกว่า ลูกก็คือดาวนะ ลองพูดว่า แม่เข้าใจนะว่าหนูเสียใจ ถ้าอย่างนั้นลองมาดูสิว่า เราจะต้องฝึกอย่างไรหากหนูอยากร่วมบทแสดงในครั้งหน้า เป็นต้น
5. ส่งเสริมความชอบของลูก
พยายามให้ลูกของคุณทำกิจกรรมที่หลากหลายและให้กำลังใจลูก เมื่อลูกพบสิ่งที่เขารักจริง ๆ เช่น เด็กมีความหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นไดโนเสาร์หรือการทำอาหาร การฝึกให้เด็กมีความรู้สึกภาคภูมิใจในความเชี่ยวชาญของตนเองจะช่วยให้เด็กมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในด้านอื่น ๆ ของชีวิตมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น งานอดิเรกแปลก ๆ อาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาในการเรียนที่โรงเรียน และคุณยังสามารถช่วยให้ลูกของคุณใช้ประโยชน์จากความสนใจของเขาในการเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น หากลูกชายของคุณชอบวาดรูป แต่เด็กผู้ชายส่วนใหญ่ในชั้นเรียนของเขาชอบเล่นกีฬา คุณสามารถสนับสนุนให้เขาวาดภาพกีฬา หรือเขาอาจรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับงานศิลปะของเขาและนำไปโชว์ให้เพื่อน ๆ ที่โรงเรียนดูเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ได้
6. ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
“เด็ก ๆ จะมีความมั่นใจเมื่อพวกเขาสามารถเจรจาเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมา” Myrna Shure, PhD, ผู้เขียนเรื่องการเลี้ยงลูก Raising a Thinking Child กล่าว การวิจัยของเธอพบว่า คุณสามารถสอนได้แม้กระทั่งเด็กเล็กก็ตาม ถึงวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และที่สำคัญคือความอดทนของคุณ หากลูกของคุณมาหาคุณและบ่นว่ามีเด็กเอารถบรรทุกของเธอไปเล่นที่สนามเด็กเล่น คุณควรฝึกให้ลูกคิดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ลองถามลูกว่า "หนูคิดว่าอะไรจะเป็นวิธีที่ดีในการได้รถกลับคืนมา" ถึงแม้ว่าความคิดแรกของลูกจะเป็นการเดินไปคว้ารถบรรทุกกลับคืนมา ลองถามลูกว่า "หนูคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหนูทำแบบนั้น" จากนั้นถามว่า "หนูลองคิดวิธีอื่นในการเอารถบรรทุกคืนได้ไหม" ในการศึกษาของ Dr. Shure เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ เด็กวัย 4 ขวบได้ให้ไอเดียที่ผู้ใหญ่ยังประหลาดใจ เช่น ไปบอกคนที่เอารถบรรทุกไปว่า "ถ้าเธอเล่นกับฉันเธอจะสนุกมากกว่าเล่นคนเดียวนะ"
7. มีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่น
เมื่อลูกของคุณรู้สึกอยากจะทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลืออะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออยากที่นำขนมคุ้กกี้ไปแบ่งเพื่อนที่โรงเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เด็กรู้สึกมีความรู้สึกมั่นใจมากขึ้น การฝึกให้เด็กรู้จักช่วยเหลืองานบ้าน และรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ในบ้าน จะเป็นการสร้างพลังให้เด็กรู้สึกถึงความรับผิดชอบ เมื่อเติบโตขึ้น เด็กจะรู้จักหน้าที่ และพยายามจัดการกับสิ่งที่ได้รับผิดชอบมากขึ้น สร้างความมั่นใจในตนเองที่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้
8. ให้เด็กใช้เวลาอยู่กับผู้ใหญ่บ้าง
เด็ก ๆ อาจจะชอบใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ แต่การเปิดโอกาสให้พวกเขาได้อยู่กับผู้ใหญ่ หรือเล่นกับคนหลาย ๆ ช่วงวัย จะทำให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น เปิดโอกาสให้เด็กได้มีบทสนทนากับผู้ใหญ่มากขึ้น และสังเกตการสื่อสารของพวกเขา เพราะจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กที่ได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ เช่น คุณครู ลุง ปู่ ย่า ตา ยาย หรือเพื่อนของพ่อแม่ จะทำให้เด็กมีความยืดหยุ่นทางการคิดและมีความมั่นใจเพื่อพบปะพูดคุยกับคนรอบข้างได้มากขึ้น
CR :: https://brainfit.co.th/th/blog-th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น