Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

7 อาหารควรหลีกเลี่ยงของแม่ท้อง

7 อาหารควรหลีกเลี่ยงของแม่ท้อง



สำหรับคุณแม่ท้อง อาหารการกินเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดูแล เพราะสิ่งที่คุณแม่กินนั้นจะถูกส่งผ่านสายรกไปสู่ลูกน้อย แม้โดยทั่วไปแม่ท้องจะสามารถทานอาหารได้เกือบทุกอย่าง แต่ก็อาจจะต้องระวังในเรื่องความสะอาด หรือปริมาณในการกินบ้างค่ะ


ปลาต้องห้าม

สำนักงานอาหารและยา และสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ เตือนคุณแม่ท้องในการหลีกเลี่ยงการบริโภคปลา ได้แก่ ปลาดาบ ปลาคิงแมคคอเรล ปลาดาบเงิน ปลากระโทงแทง และปลาฉลาม เพราะปลาเหล่านี้มีสารปรอทตามธรรมชาติอยู่ในระดับที่อาจไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจทำอันตรายต่อระบบประสาทที่กำลังพัฒนาของลูกน้อยในครรภ์ ปลาทูน่าก็มีสารปรอทเช่นกัน คุณแม่ท้องควรจำกัดปริมาณการรับประทานอยู่ที่กระป๋องขนาดกลาง (น้ำหนักไม่รวมน้ำ 140 กรัมต่อกระป๋อง) หรือเนื้อปลา 2 ก้อน (สูงสุด 170 กรัมต่อก้อน)ต่อสัปดาห์ หรือเปลี่ยนมาเป็นปลาน้ำจืดสลับกับปลาทะเลชนิดอื่นๆ แทน



เนื้อสัตว์สำเร็จรูป

บรรดาแฮม โบโลญญ่า ไส้กรอกสำเร็จรูป ที่เรามักจะเอามาทำแซนด์วิชอย่างเอร็ดอร่อยนั้น เป็นสิ่งที่คุณแม่ท้องควรระวังค่ะ เพราะนอกจากจะมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือสูงซึ่งเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์แล้ว ยังอาจมีเชื้อลิสเตอเรีย(Listeria) ที่สามารถเติบโตได้ในอุณหภูมิภายในตู้เย็น ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อที่รกในครรภ์ และทำให้เด็กในท้องป่วยได้ แต่หากคุณแม่ท้องอยากกินก็พอได้ค่ะ แต่ต้องนำไปผ่านความร้อนก่อน และไม่ควรรับประทานบ่อยๆ



ชีสที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ

สำหรับแม่ท้อง อาหารที่ไม่สุกดีนั้นเป็นสิ่งที่ต้องระวังอย่างมาก แม้แต่กระทั่งชีสบางชนิดที่ทำจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์อย่าง บลูชีส, ชีสกามองแบร์, บรีชีส เป็นต้น เพราะนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้เกิดการแท้ง ทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่ท้องอยากกินชีสให้เช็กดูให้ดีว่า ชีสนั้นทำมาจากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์หรือยัง



ตับ

สำหรับตับบดหรืออาหารประเภทตับที่แม้ทำสุกแล้ว แต่อาหารเหล่านี้จะมีวิตามินเออยู่สูงมาก ซึ่งอาจทำอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ ทำให้เกิดความพิการแก่ทารกได้ แนะนำให้รับประทานวิตามินรวมที่มีวิตามินเอไม่เกินวันละ 5000 i.u.หรือเลือกรับประทานอาหารในกลุ่มที่มีเบต้าแคโรทีนจากธรรมชาติ เช่น ลูกพีช มะละกอ ฟักทอง แครอท และผักใบเขียวเข้ม เป็นประจำร่วมกับอาหารที่มีคุณภาพก็เพียงพอสำหรับทารกค่ะ



คาเฟอีน

คุณแม่ท้องทราบดีอยู่แล้วว่าคาเฟอีนนั้นเป็นสิ่งควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ เพราะจะส่งผลถึงการเจริญเติบโตของลูกในท้อง ลดการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็น เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น โดย The Food Standard Agency (FSA) ของอังกฤษ แนะนำว่าควรจำกัดการบริโภคที่ 2 แก้วต่อวัน หรือประมาณ 200 มิลลิกรัม แต่สิ่งที่แม่ท้องควรต้องคำนึง คือ คาเฟอีนไม่ได้มีอยู่แค่ในกาแฟเท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในน้ำอัดลม ช็อกโกแลต หรือยาแก้ไข้บางชนิดอีกด้วย หากจะยกตัวอย่างอาหารอื่นๆ ที่มีคาเฟอีนได้ ดังนี้
- กาแฟสำเร็จรูป 1 แก้ว (100 มิลลิกรัม)
- กาแฟสด 1 แก้ว (140 มิลลิกรัม)
- ชา 1 แก้ว (75 มิลลิกรัม)
- น้ำอัดลม 1 กระป๋อง (40 มิลลิกรัม)
- เครื่องดื่มบำรุงกำลัง 1 กระป๋อง (80 มิลลิกรัม)
- ช็อกโกแลต 50 กรัม (50 มิลลิกรัม) หากเป็นช็อกโกแลตนม ปริมาณคาเฟอีนจะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง



แอลกอฮอล์

แอลกอฮออล์ เป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มต้องห้ามเลยสำหรับแม่ท้อง และแม่ที่ให้นมลูกโดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ที่เริ่มสร้างสมอง เส้นประสาท และกระดูกสันหลัง เพราะจะทำให้ลูกที่เกิดมาเป็นโรค Fetal Alcohol Syndrome ที่จะส่งให้มีพัฒนาการช้าและไอคิวต่ำ



ถั่วลิสง

ควรหลีกเลี่ยงการทานถั่วลิสงปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีประวัติการเป็นภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น โรคหอบหืด โรคเรื้อนกวาง หรือโรคแพ้ละอองเกสร สำหรับแม่ที่ไม่มีประวัติแพ้มาก่อน ถ้าจะรับประทานต้องเลือกถั่วที่สะอาด ไม่อับชื้น หรือเก็บไว้นาน เพื่อลดปริมาณสารปนเปื้อน
อาหารบางอย่างนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด แต่บางอย่างก็สามารถกินได้เพียงแต่ควรจำกัดปริมาณและมีความระมัดระวัง แต่คุณแม่ไม่ต้องเครียดว่าแล้วจะกินอะไรได้บ้าง เพราะส่วนใหญ่ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่กินตามปกตินั้น ก็จะมีสารอาหารพอให้คุณแม่และลูกในท้องอยู่แล้วค่ะ



Tip
- อาหารที่แม่ท้องจะรับประทานควรคำนึงถึงความสะอาดทุกครั้ง ทั้งผัก และเนื้อสัตว์ อีกทั้งปรุงสุกทั่วถึง ไม่ว่าที่บ้าน หรือร้านอาหาร
- หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรกินอาหารสดที่นำมาปรุงสุกใหม่ๆ
- ด้วยปัจจุบันกับเวลาที่รีบเร่งอาจทำให้ไม่สะดวกในการประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแช่แข็งก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ก็ไม่ควรกินเป็นอาหารหลัก อาจมีมาสลับได้บ้าง และควรอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนกินทุกครั้ง
- ที่สำคัญอย่าลืมเช็กวันหมดอายุของอาหารสำเร็จรูปด้วย





ที่มา : โดย: นภสลิล ที่ปรึกษาโภชนาการ : คุณแววตา เอกชาวนา นักโภชนาการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น