Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์

การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์

การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีผู้สนใจสอบถามกันมาเรื่อยๆ ด้วยความห่วงใยในเรื่องความปลอดภัยของการใช้ยาว่า จะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ของแม่หรือไม่ ควรมีหลักในการเลือกใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร เพื่อให้ได้ผลดีต่อสุขภาพและความปลอดภัยทั้งกับตัวแม่เองและทารกที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในท้องด้วย
ความสัมพันธ์ของยาต่อทารกในครรภ์
แม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจมีการเจ็บป่วยขึ้นได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยของตน ซึ่งในกรณีนี้ควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรซื้อยาใช้เองในระหว่างตั้งครรภ์ แม้แต่ยาสามัญประจำบ้านก็ตาม เพราะยาทุกชนิดซึ่งรวมถึงยาสามัญประจำบ้านหลายชนิดก็อาจเกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น จึงควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นจริงๆ และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทั้งแม่และทารกในครรภ์ด้วย

ยาส่งต่อจากแม่ถึงทารกทางสายสะดือ

เมื่อแม่ใช้ยาจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย เพราะยาในกระแสเลือดของแม่จะซึมผ่านรกเข้าสู่กระแสเลือดของทารกในครรภ์ได้ เช่นเดียวกับน้ำ สารอาหาร และออกซิเจนที่ทารกได้รับทางสายสะดือ ยาจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับ ๒ ปัจจัยคือ อายุของทารก ชนิดและขนาดของยาที่แม่ได้รับ


ยากับอายุครรภ์
หลังจากการปฏิสนธิของไข่และอสุจิที่บริเวณปีกมดลูกแล้ว เซลล์ที่ได้รับการปฏิสนธิจะเดินทางมาฝังตัวที่ผนังมดลูก เจริญเติบโตไปเป็นทารก ปกติทารกในครรภ์แม่จะมีอายุอยู่ประมาณ ๙ เดือน จึงจะคลอดออกมาเป็นทารก ในระหว่าง ๙ เดือนที่ทารกเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์แม่นี้ ยาอาจส่งผลต่อทารกได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ปฏิสนธิถึงวันที่ ๒๐ ของทารก (ประมาณ ๓ สัปดาห์แรก) ถ้าแม่ได้รับยาหรือสารเคมีที่มีอันตรายต่อทารก อาจทำให้เกิดการแท้งหรือทารกเสียชีวิตได้

ในขณะที่ช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ ๓-๘ หลังการปฏิสนธิ ถ้าได้รับยาที่มีอันตรายจะส่งผลต่อระบบอวัยวะทุกส่วนของทารก ซึ่งอาจทำให้ผิดปกติได้ มีอาการไม่ครบ ๓๒ เพราะในระยะนี้เป็นระยะที่ทารกในครรภ์เริ่มแบ่งตัวแยกออกเป็นอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ต่อจาก ๓ เดือนแรกแล้ว คือตั้งแต่เดือนที่ ๔-๙ ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างเสริมอวัยวะต่างๆ ที่แยกอย่างเด่นชัดในช่วง ๓ เดือนแรกให้เจริญเติบโตต่อจนเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์ ถ้าในช่วงนี้ได้รับยาจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของอวัยวะ


ผลของยาที่มีต่อทารกในครรภ์
อีกประเด็นหนึ่งที่ส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ คือ ชนิดและขนาดของตัวยาที่แม่ได้รับในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งยาส่วนใหญ่จะส่งผลอันตรายต่อทารก ตัวอย่างยาที่ยืนยันแล้วว่าอาจเกิดอันตรายต่อทารกได้ ถ้ามีการใช้ในขณะตั้งครรภ์ เช่น ยา Isotretinoin ยารักษามะเร็ง ฮอร์โมนเพศ ยากันชัก ยารักษาโรคไทรอยด์ ยาต้านแบคทีเรียกลุ่มเตตราไซคลีน กลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์ กลุ่มซัลโฟนาไมด์ เป็นต้น

ยา Isotretinoin ซึ่งเป็นยากินใช้รักษาสิวหัวช้างและสิวชนิดรุนแรง และโรคสะเก็ดเงิน อาจทำให้ทารก ไม่สมประกอบ ผิดรูปร่างไปได้


ยารักษามะเร็ง อาจเป็นพิษต่อทารก ทำให้เกิดปากแหว่ง เพดานโหว่ และผิดรูปร่างได้

ฮอร์โมนเพศ อาจส่งผลต่อการพัฒนาการของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศและการสืบพันธุ์ของทารกให้ผิดปกติได้

ยากันชัก เช่น phenytoin, carbamazepam อาจส่งผลผิดปกติต่อหัวใจ รูปใบหน้า และปัญญาอ่อนได้

ยารักษาโรคไมเกรนกลุ่ม ergotamine ส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูก อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งได้

ยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟน ซึ่งเป็นยาแก้ปวดลดไข้ แก้อักเสบ อาจส่งผลรบกวนการแข็งตัวของเลือด และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ได้

ยารักษาต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เช่น propylthiouracil อาจทำให้เกิดคอพอกเป็นพิษได้

ยาต้านแบคทีเรียกลุ่มเตตราไซคลีน มีผลไปเกาะ กับกระดูกและฟัน ทำให้เด็กมีกระดูกและฟันไม่สมบูรณ์ ฟันเป็นสีเหลืองและฟันผุได้ง่าย



พอถึงตรงนี้ก็คงมีคำถามต่อว่า แล้วยาชนิดใดที่หญิงตั้งครรภ์พอจะใช้ได้บ้าง และควรใช้อย่างไร
ยาที่มีการใช้บำบัดอาการเจ็บไข้ไม่สบายของหญิงตั้งครรภ์ที่มีการใช้อยู่บ้างตามอาการของโรคที่พบบ่อย มีดังนี้

๑. ยาลดไข้แก้ปวดที่ถือว่าปลอดภัยที่สุด สำหรับทารกในครรภ์แม่ คือ ยาพาราเซตามอล (อะซีตามิโนเฟน) ในผู้ใหญ่จะใช้ขนาดเม็ดละ ๕๐๐ มิลลิกรัม ครั้งละ ๒ เม็ด ทุก ๔-๖ ชั่วโมง เวลาปวดหรือเป็นไข้

๒. ยาลดน้ำมูกแก้แพ้ที่นิยมใช้และปลอดภัยที่สุด คือ ยาคลอร์เฟนิรามีน หรือยาเม็ดแก้แพ้อากาศเม็ดสีเหลืองที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในผู้ใหญ่จะใช้ขนาดเม็ดละ ๔ มิลลิกรัม ครั้งละ ๑/๒ -๑ เม็ด วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น ยาชนิดนี้อาจทำให้ง่วงซึม จึงเหมาะสำหรับกินตอนก่อนนอน ถ้าจำเป็นต้องใช้ในเวลาทำงาน ต้องระวังการง่วงนอน ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ถ้าทำงานอยู่กับเครื่องจักรหรือขับขี่ยานพาหนะ

๓. ยาปฏิชีวนะในหญิงตั้งครรภ์อาจเลือกใช้ยากลุ่มเพนิซิลลิน เช่น เพนิซิลลิน-วี แอมพิซิลลิน หรืออะม็อกซีซิลลิน เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ปลอดภัยสำหรับทารกในครรภ์แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้มีการแพ้ยาสูงเป็นอันดับหนึ่ง จึงใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน เพราะอาจเป็นอันตรายซึ่งในบางคนเป็นรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้

๔. ผงเกลือแร่ เป็นยาสามัญอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้เพื่อทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ เนื่องจากท้องเสีย ท้องเดิน หรืออุจจาระร่วงได้ แต่ยาชนิดนี้ไม่ได้ส่งผลต่อ สาเหตุโดยตรงของโรคท้องเสียโดยเฉพาะท้องเสียชนิดที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักจะถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายบ่อย และมีไข้ ตัวร้อน ปวดหัวร่วมด้วย ซึ่งถ้ามีอาการ สงสัยว่าจะท้องเสียชนิดติดเชื้อแบคทีเรียหรือรุนแรง เมื่อได้น้ำเกลือแร่แล้วไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์

ยาทั้ง ๔ ชนิด เป็นตัวอย่างยาสามัญประจำบ้านที่มักมีอยู่ประจำตู้ยาของทุกครอบครัว ซึ่งถ้าเกิดเจ็บป่วย เบื้องต้นไม่รุนแรง ก็สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยไข้ของคนท้องได้
แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์อาจเกิดปัญหากับทารกในครรภ์ได้ จึงพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกชนิด ยกเว้นเมื่อจำเป็นจริงๆ หรือเป็นการใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับเรื่องยาและสุขภาพ ท่านสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรชุมชน (ที่ประจำอยู่ที่ร้านยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องสุขภาพแก่ท่านทุกเมื่อ

คุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


คุณแม่ที่เริ่มต้นตั้งครรภ์ทุกคนก็อยากให้ลูกที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรง รวมทั้งมีสติปัญญาและอารมณ์ดี ช่วงระยะการตั้งครรภ์ที่คุณแม่กำลังฟูมฟักลุกในครรภ์ บางครั้งจำเป็นต้องใช้ยา มาฟังคำแนะนำเพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัยทั้งลูกรักและตัวคุณแม่เอง
ยามีผลอย่างไรกับเด็กในครรภ์
ในช่วง 3 เดือนแรกของระยะตั้งครรภ์ เจ้าตัวเล็กในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้ามียาหรือสารบางชนิดไปจะกระทบกระเทือนต่อการแบ่งเซลล์ จะทำให้อวัยวะนั้นมีความผิดปกติหรือหยุดเจริญ ซึ่งจะผิดปกติมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และปริมาณของสารที่ได้รับ

สารเหล่านี้ ได้แก่ สารเคมีต่างๆ เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอลล์ นิโคตินจากบุหรี่ และอื่นๆ ส่วนผลของยาจากแม่ที่จะส่งผลต่อทารกในช่วงต่างๆ ของการตั้งครรภ์ นอกเหนือจากยาต่างๆ จะมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์ระยะ 3-4 เดือนแรกแล้ว ยาบางอย่างอาจจะมีผลต่อลูกในระยะใกล้คลอด หรือมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดในระหว่างการคลอดได้
คุณแม่ซื้อยากินเอง ความไม่รู้ที่น่าเสียใจ
ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วว่ายาหลายตัวอาจจะมีอันตรายต่อลูกของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ จึงไม่ควรซื้อยามาทานเอง ถ้ามีปัญหาการเจ็บป่วยควรไปปรึกษาแพทย์
คุณแม่เองก็คงอยากจะทราบว่ายาอะไรบ้างที่มีผลต่อการคลอดและหลังคลอด ขอยกตัวอย่างยาที่คุณแม่มีโอกาสใช้และจะมีอันตราย ในกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ
ยาแก้อักเสบในภาษาชาวบ้านหรือเป็นกลุ่มยาปฎิชีวนะ ที่คุณแม่มักหาซื้อมาทานเองบ่อยมาก เนื่องจากบางครั้งจะมีอาการเจ็บคอเล็กน้อย หรือเป็นหวัดก็ซื้อยาแก้อักเสบมาทานเอง โดยไม่ทราบว่ายากลุ่มนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งใช้ยาแก้อักเสบไม่ได้ผล การทานยาแก้อักเสบบ่อยๆ นอกจากเสียเงินแล้ว ยังอาจจะทำให้ดื้อยา จึงไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับคุณผู้หญิงจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม การใช้ยาแก้อักเสบบ่อยๆ จะทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราได้ โดยมีอาการตกขาวและคันช่องคลอดมาก
·เตตราซัยคลีน ที่ชาวบ้านเรียกยาแคปซูลสีแดง-เหลืองใช้รักษาอาการติดเชื้อ จะมีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูก ถ้าใช้ไปลูกของคุณจะมีฟันออกสีเหลืองไปชั่วชีวิต ไม่สามารถแก้ไขได้เลยครับ
·ซัลฟา ถ้าใช้ยาช่วง 2-3 อาทิตย์ก่อนคลอดอาจจะทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง
·คลอแรม กดการทำงานของไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือดทำให้เลือดจาง เด็กที่เกิดมาจะตัวเขียว (Gray Syndrome) ซีด ท้องป่อง และอาจจะช็อกเสียชีวิต
·สเตรปโตมัยซิน อาจจะทำให้ลูกหูตึงหรือหูหนวก
·คลอโรควิน และควินิน ที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียหรือไข้จับสั่น อาจจะทำให้แท้งบุตร
·ถ้าคุณแม่เกิดอาการติดเชื้อ ต้องใช้ยาปฎิชีวนะ ก็มียากลุ่ม เพนนิซิลิน และแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น แต่ไม่แนะนำให้ไปซื้อทานเองนะครับ ควรไปขอคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อน
2. ยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้
·แอสไพริน ถ้าทานเมื่อใกล้คลอด อาจจะไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุด
·พาราเซตามอล ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า ยาพารา เป็นยาแก้ปวดและลดไข้ที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้ตั้งครรภ์ เพราะยังไม่มีรายงานว่าทำให้ลูกน้อยเกิดความพิการหรือผิดปกติแต่อย่างใด
·คุณแม่หลายคนก่อนตั้งครรภ์เคยมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือที่เรียกว่าเป็นไมเกรน (migraine) เมื่อตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดศีรษะในกลุ่มที่มีเออโกตามีนเพราะยากลุ่มนี้ทำให้มดลูกบีบตัว อาจจะทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
3. ยาแก้คัน แก้แพ้
·คลอเฟนิรามีน ยาเม็ดเล็กๆสีเหลืองที่ใช้แก้แพ้ ถ้าคุณแม่ใช้ชั่วคราวอาจไม่ส่งผลมากนัก แต่ถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ
·ส่วนยาแก้แพ้ตัวใหม่ๆ ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีรายงานยืนยันความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในครรภ์ จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ครับ หากมีอาการภูมิแพ้ ควรบรรเทาด้วยวิธีการอื่นครับ
4. ยาบรรเทาอาการไข้หวัด
·ที่โฆษณากัน ขายเป็นแผงน่านแหละครับ ในหนึ่งเม็ดยาจะประกอบด้วย ยาลดไข้ปวดพาราเซตามอลและยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก ถ้าใช้ชั่วคราวบรรเทาอาการหวัดในชั่วระยะเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปไม่มีอันตรายอะไร แต่ถ้าต้องใช้ยานานๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์
·คุณแม่ไม่ควรซื้อยาชุดแก้หวัด โดยไปบอกอาการพร้อมกับระบุความต้องการว่าขอเป็นยาชุดแก้หวัดตามร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรหรือยาชุดแก้หวัดที่วางขายตามร้านขายของชำ เพราะยาชุดเล่านี้มักมียาแก้แพ้ รวมทั้งยาแก้อักเสบบางอย่างและสเตียรอยด์ปนมาด้วย ซึ่งมีอันตรายต่อลูกคุณอย่างแน่นอน
5. ยานอนหลับและยากล่อมประสาท
·บางครั้งการเปลี่ยนสภาพร่างกายรวมทั้งความเครียดอาจทำให้คุณแม่นอนหลับยากขึ้น มีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว มีคำแนะนำให้ไปขอคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้นครับ ไม่ควรซื้อมาใช้เองเมื่อนานไม่หลับ เพราะถ้าใช้ยาในขนาดมากๆ จนคุณแม่เกิดอาการติดยา ลูกที่เกิดมาอาจจะมีอาการหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า มีอาการคล้ายคนติดยา ชักกระตุก นอกจากนี้อาจจะทำให้มีเลือดออกผิดปกติในตัวเด็กอีกด้วย
6. ยารักษาเบาหวาน
·ถ้าคุณแม่เคยใช้ยาฉีดพวกอินซูลินก็ยังใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าคุณแม่ต้องทานยาเม็ดควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเข้าไป จะทำให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ และมีรายงานว่ายากลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการได้ ลองปรึกษาหมอว่าคุณแม่เบาหวานควรดูแลสุขภาพอย่างไร จะปลอดภัยกว่าครับ
7. ยากันชัก
·อาจทำให้เกิดความพิการทารกโดยมีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิดอาจจะทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า
8. ยาบรรเทาอาการไอ
·ยาหยุดการไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีน ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้
·ควรใช้ยากลุ่มละลายเสมหะ ชนิดที่ไม่ดูดซึมไปสู่ลูกในครรภ์ เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว ละลายออกมาได้ง่ายจะปลอดภัยกว่า
8. ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
·ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจจะทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อเด็กในท้องได้
·ยากลุ่มอื่นๆ ต้องไปหาหมอเพื่อขอคำแนะนำในการใช้ยาอย่างปลอดภัยครับ
10. ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง
·ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์โปรดระลึกไว้เสมอเลยว่าไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด พยายามทานยาให้น้อยที่สุด เวลาแวะไปตรวจครรภ์กับสูตินารีแพทย์ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ ไปพบหมอไม่ทัน ควรแวะร้านยาข้างบ้านหรือโรงพยาบาล สอบถามเภสัชกรใจดีได้เลยครับ เภสัชกรพวกเราพร้อมเสมอให้คำแนะนำในการใช้ยาให้คุณลูกและม่าม้านั้นปลอดภัยจริงๆ ครับ
แหล่งข้อมูล
Drugs in Pregnancy and Breastfeeding, World Health Organization 2002

Drug Use during Pregnancy, Merck Manual Online Medical Library
นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ข่าวสด วันที่ 7 สิงหาคม 2546 ปีที่ 13 ฉบับที่ 4634







































1 ความคิดเห็น:

  1. ยา สุรา บุหรี่กับการตั้งครรภ์

    คุณแม่ทุกคนคลอยากให้บุตรที่เกิดมามีอาการครบ 32 และไม่มีความพิการแต่กำเนิด การใช้ยาอย่างถูกต้อง การหยุดสูบบุหรี่สามารถทำให้ท่านเพิ่มโอกาสให้บุตรของท่านคลอดมาปกติ


    ยาและการตั้งครรภ์

    ยาส่วนใหญ่สามารถผ่านรกไปสู่ทารกและมีผลโดยตรงต่อทารก ยาบางตัวสามารถผ่านสู่ทารก โดยทางน้ำนมการให้ยาในช่วงแรกของการตั้งครรภ์สำคัญมาก เพราะอาจจะทำให้เด็กเกิดมาพิการได้ ยาบางชนิดที่ทำให้เด็กเกิดมาพิการเรียก teratogen ยาดังกล่าวไดแก่





    1.ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE (angiotensin converting enzyme) inhibitors เช่น
    •benazepril
    •captopril
    •enalapril
    •fosinopril sodium
    •lisinopril
    •quinapril
    •ramipril


    สำหรับชื่อทางการค้าคุณแม่สามารถสอบถามได้จากแพทย์ที่ดูแลท่าน
    2.ยารักษาสิวเช่น Acne medication isotretinoin (ACCUTANE, RETIN-A).
    3.แอลกอฮอล์
    4.ฮอร์โมนเพศชายได้แก่ Androgens
    5.ยาปฏิชีวนะได้แก่ tetracyclin doxytetracyclin streptomycin
    6.ยาป้องกันเลือดแข็งเช่น warfarin
    7.ยากันชักได้แก่
    •phenytoin
    •valproic acid
    •trimethadione
    •paramethadione
    •carbamazepine
    8.ยาแก้โรคซึมเศร้ากลุ่มlithium
    9.ยารักษาโรคมะเร็ง
    10.ยารักโรคธัยรอยด์เช่น PTU, methimazole
    11.โคเคน
    12.ฮอร์โมนDES (diethylstilbestrol)
    13.Thalidomide

    Aspirin กับการตั้งครรภ์

    ไม่ควรใช้แอสไพริน3เดือนก่อนคลอดเนื่องจากจะทำให้เกิดชลอการคลอดและมีปัญหาเลือดออกมากหลังคลอด นอกจากนี้ยังแนะนำมิให้รับประทานระหว่างการให้นมบุตรเนื่องจากสามารถผ่านทางน้ำนมได้และอาจจะเกิด Reye's syndrome เมื่อเด็กเกิดติดเชื้อไวรัส

    สุรา

    แอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องดื่มหลายประเภท เช่น Beer, wine, wine coolers เมื่อท่านดื่มแอลกอฮอล์ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดท่านจะสูงขึ้นและไหลไปสู่ลูกท่านซึ่งจะทำให้เกิดแท้ง ปัญญาอ่อน น้ำหนักน้อย นอกจากผลของแอลกอฮอล์ยังเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้

    บุหรี่

    การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดจะมีผลเสียต่อเด็กสารนิโคติน ทาร์ คาร์บอนโมนอกไซด์จะมีผลต่อเด็กผลเสียของบุหรี่มีดังนี้
    •ตั้งครรภ์นอกมดลูก
    •แท้ง
    •เด็กคลอดก่อนกำหนด
    •เลือดออกช่องคลอด
    •เด็กน้ำหนักน้อย
    •เด็กตายโดยไม่ทราบสาเหตุ

    โคเคน

    โคเคนสามารถเสพได้ทั้งฉีด การสูด การดม การเสพโคเคนทำให้เกิดการแท้ง เลือดออกช่องคลอด คลอดก่อนกำหนด เด็กที่คลอดออกมามักจะมีปัญหาดังนี้
    •หัวเล็ก
    •เจริญเติบโตช้า
    •สมองพิการ





    .

    ตอบลบ