Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก


โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
โครงสร้างของปากมดลูก
โครงสร้างระบบอวัยวะสืบพันธ์ของคุณสุภาพสตร ีประกอบไปด้วยรังไข่ [ovary] ซึ่งต่อกับมดลูกโดยท่อรังไข่ [fallopian tube] มดลูก[uterus]อยู่ระหว่างทวารหนัก [rectum] และกระเพาะปัสสาวะ [bladder] มดลูกติดต่อกับช่องคลอด [vagina] โดยมีปากมดลูก [cervix] เป็นทางติต่อระหว่างมดลูกและช่องคลอด
มะเร็งในระยะเริ่มแรก

เซลล์ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.
  • Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
  • High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia
มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas
การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง


ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม

เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี

อาการของมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว
  • มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
  • มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
  • มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่
  • การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
  • การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
  • การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
  • อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
  • ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

การวินิจฉัย

จากการทำ pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร
ที่มา :: http://www.siamhealth.net/
รู้ทัน . . .มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก


แม้ มะเร็งปากมดลูก จะเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาให้หายได้ แต่ โรคมะเร็งปากมดลูก ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง โดยมีอัตราการเสียชีวิตของ มะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน และพบผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก รายใหม่สูงถึง 6,000 คนต่อปี โดยในจำนวนของผู้มีเชื้อนี้กว่าครึ่งต้องเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอายและกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อมะเร็ง ทำให้กว่าจะรู้ว่าป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูก นี้ ความรุนแรงของโรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว..ดังนั้น วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก มาให้คุณรู้เท่าทัน โรคมะเร็งปากมดลูก กันค่ะ
โรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix) เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก
ไวรัสเอชพีวี มีทั้งหมดกว่า 100 ชนิด แต่ที่ทำให้ติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 30-40 ชนิด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงก่อมะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด


สำหรับความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีดำเนินได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อน และความแห้งได้ดี สามารถเกาะติดตามผิวหนัง อวัยวะเพศ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระจายอยู่รอบตัวในรูปของละอองฝุ่น ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อมักหายได้เอง ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย มีเพียง 10% เท่านั้น ที่การติดเชื้อยังดำเนินต่อไป สร้างความผิดปกติให้กับเยื่อบุปากมดลูก และทำให้กลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูก ได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 10-15 ปี


ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก

- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
- การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
- การสูบบุหรี่
- การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์
- การสูบบุหรี่
- พันธุกรรม
- การขาดสารอาหารบางชนิด


ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก


- ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
- ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน



อาการและการรักษา โรค มะเร็งปากมดลูก



โรค มะเร็งปากมดลูก มักพบในผู้หญิงอายุ 35 - 60 ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควรได้ ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

อาการตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90 ของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท

อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น


โรค มะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้


ระยะ 0คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 0 คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%

ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 1 คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%

ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด (คีโม) ได้ผลราว 60%

ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30%

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 4 คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก บางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิต


ผลข้างเคียงจากการรักษาโรค มะเร็งปากมดลูก



การผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจเกิดได้ ได้แก่ การตกเลือด การติดเชื้อ อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง
การฉายแสง (ระยะเวลา 1-2 เดือน) ผลข้างเคียง คือ ผิวแห้ง ปัสสาวะมีเลือดปน อ่อนเพลีย
ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงคือ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง มือเท้าชา ซึ่งขึ้นกับยาแต่ละชนิดที่เลือกใช้



ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรค มะเร็งปากมดลูก เมื่อใด

ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเชื้อ มะเร็งปากมดลูก หรือที่เรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap Smear) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น
ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็งปากมดลูก ที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์


วัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก
หลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูก มีหลายระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ

ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปี ซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวี ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา
ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีดวัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9 – 26 ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อย่าลืมหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคร้ายอาจทำลายคุณ
ที่มา ::
โรคมะเร็งปากมดลูก คลังความรู้โรคมะเร็ง
คลังความรู้โรคมะเร็งปากมดลูก สาเหตุ อาการ อาการระยะเริ่มต้น ปัจจัยเสี่ยง การตรวจเช็ค วิธีรักษามะเร็งปากมดลูกสำหรับผู้หญิง และความรู้โรคมะเร็งอีกมากมาย
อาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก
วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของมะเร็งปากมดลูกทำอย่างไร? ลักษณะอาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ที่บทความนี้ ปัจจุบันการรักษามะเร็งปากมดลูกได้ผลดีมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะในระยะก่อนลุกลามและระยะลุกลามเริ่มแรก โดยในระยะก่อนลุกลามการรักษาได้ผลดีเกือบ100 % ดังนั้นการตรวจค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มจึงมีความสำคัญมาก โดยสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วควรรับการตรวจภายในทุกคน

อาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก

ลักษณะอาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก
อาการที่อาจจะพบในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกนั้นพบว่า อาจจะพบในผู้ป่วยโรคอื่นได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้จึงควรที่จะไปปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด
อาการที่อาจจะพบในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกได้แก่
  • การมีเลือดออกทางช่องคลอด (การตกเลือดทางช่องคลอด)
  • การมีสารคัดหลั่งผิดปกติออกจากช่องคลอด เช่น ตกขาว
  • อาการปวดท้องน้อย
  • อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามมากขึ้น ได้แก่
  • ขาบวม
  • ปวดหลังรุนแรง ปวดก้นกบและต้นขา
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองหรือการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกต่อไป เพราะถ้าตรวจพบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรกๆ จะมีโอกาสในการหายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่า
สำหรับวิธีวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกอ่านที่บทความ : การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก

ที่มา: [1] http://medinfo2.psu.ac.th
การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก (Diagnosing cervical cancer)
สำหรับบทความนี้จะพูดถึงวิธีวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก (Diagnosing cervical cancer) เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ มะเร็งปากมดลูกระยะแรกๆ นั้นอาจจะไม่มีอาการหรืออาการแสดงใดๆเลยก็ได้ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงควรตรวจเช็คมะเร็ง ปากมดลูกทุกปีเพราะถ้าตรวจพบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรกๆ จะมีโอกาสในการหายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่า

วิธีวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก
การตรวจที่สามารถวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกได้ ได้แก่
1. การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกโดยการทำแป๊บ ( Pap smear )
เป็นการเก็บเซลล์จากบริเวณพื้นผิวของปากมดลูกและช่องคลอดโดยใช้สำลีพันปลายไม้ แปรง หรือ แท่งไม้เล็กๆ ขูดเบาๆบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดแล้วป้ายลงบนแผ่นสไลด์จากนั้น แพทย์จะส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูเซลล์ดังกล่าว และหาความผิดปกติของเซลล์เหล่านั้น การตรวจวิธีนี้ เรียกว่า การตรวจแป๊บ ( Pap test )
2. การตรวจคอลโปสโคป ( Colposcopy )
เป็นการตรวจปากมดลูกและช่องคลอดโดยการส่องกล้องขยาย ตรวจหาบริเวณที่ผิดปกติจากนั้นอาจจะมีการเก็บเนื้อเยื่อไปตรวจโดยการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายช้อนเล็กๆขูดบริเวณที่ผิดปกติ แล้วนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาความผิดปกติต่อไป

Colposcopy มะเร็งปากมดลูก
Colposcopy
3. การตัดชิ้นเนื้อ ( Biopsy )
เป็นการตัดชิ้นส่วนเล็กๆของเนื้อเยื่อออกมาจากปากมดลูกที่ผิดปกติ จากนั้นพยาธิแพทย์จะนำมาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง โดยปกติจะทำการตัดชิ้นเนื้อเมื่อมีการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกโดยการทำแป๊บแล้วผิดปกติ การตัดชิ้นเนื้อในบางรายอาจทำเป็นการตัดชิ้นเนื้อรูปโคน ( Cone biopsy ) ซึ่งจะได้ชิ้นเนื้อจากปากมดลูกขนาดใหญ่กว่า

4. การตรวจภายใน (Pelvic exam)
เป็นการตรวจช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และทวารหนัก โดยการใช้นิ้วมือหนึ่งหรือสองนิ้วของมือข้างหนึ่งใส่ถุงมือและหล่อลื่นด้วยน้ำยาหล่อลื่นสอดเข้าในช่องคลอด และวางมืออีกข้างหนึ่งที่บริเวณท้องน้อยของผู้ป่วยเพื่อจะได้รู้ถึงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของมดลูกและรังไข่และยังมีการตรวจอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้เครื่องมือซึ่งเรียกว่า สเปคคูลัม (Speculum) ซึ่งเป็นเหล็กที่มีรูปร่างคล้ายปากเป็ด สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อดูความผิดปกติของช่องคลอดและปากมดลูก โดยอาจจะทำการตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก โดยการทำแป๊บในขณะใส่เครื่องมือนี้ด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการตรวจทางทวารหนัก โดยการใช้นิ้วมือซึ่งใส่ถุงมือและหล่อลื่นแล้ว สอดเข้าในทวารหนัก เพื่อตรวจหาก้อนหรือบริเวณที่ผิดปกติได้
5. การขูดเนื้อเยื่อบริเวณด้านในของปากมดลูก (Endocervical curettage)
เป็นการใช้อุปกรณ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายช้อนอันเล็กๆ ขูดเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่ในรูของปากมดลูก จากนั้นเนื้อเยื่อตัวอย่างที่ได้จากการขูดออกมานั้นจะถูกส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาเซลล์มะเร็งการขูดมดลูกนี้ ในบางครั้งอาจทำพร้อมกันกับการตรวจคอลโปสโคปด้วย
Cone biopsy
Cone biopsy

สำหรับการเตรียมตัวก่อนรับการตรวจค้นหามะเร็งในระยะแรกด้วยการตรวจแปปสเมียร์
  • ไม่ควรมีการตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
  • ห้ามสวนล้างภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
  • งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจภายใน
  • ไม่ควรเหน็บยาใด ๆ ในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
  • ควรมารับการตรวจมะเร็งหลังประจำเดือนหมดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่มีประจำเดือนแล้วให้มาได้ตามสะดวก


การตรวจหากระจายของมะเร็งปากมดลูก (Staging Tests for Cervical Cancer)

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องการตรวจสอบหาการกระจายของโรคมะเร็งปากมดลูก (Staging Tests for Cervical Cancer) กล่าวคือ หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว แพทย์จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่าเซลล์มะเร็งกระจายไปที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายหรือไม่ ข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจเพิ่มเติมจะนำมาใช้ประกอบการจำแนกระยะของโรคได้ เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษาต่อไป

การตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่ามะเร็งอยู่เฉพาะในปากมดลูกหรือกระจายไปส่วนอื่นๆของร่างกายนั้น ได้แก่
1. การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด ( Chest X-Ray )
เป็นการเอ็กซเรย์ของอวัยวะที่อยู่ในช่องอก เช่น ปอด หัวใจ และกระดูกเป็นต้น การเอ็กซเรย์ คือ การส่งลำพลังงาน ชนิดหนึ่งผ่านร่างกายของคนไปตกลงบนฟิล์ม ทำให้เกิดรูปภาพของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
2. การถ่ายเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
เป็นการสร้างชุดของภาพที่มีรายละเอียดของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งถูกถ่ายมาจากมุมที่แตกต่างกัน รูปภาพที่ได้มานั้นถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องเอ็กซเรย์ นอกจากนี้อาจมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่เส้นเลือดดำหรือกลืนสารทึบรังสีเพื่อช่วยในการมองดูภาพของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
3. การถ่ายภาพระบบน้ำเหลือง ( Lymphangiogram )
เป็นการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของระบบน้ำเหลือง โดยจะมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดน้ำเหลืองที่เท้า แล้วสารทึบรังสีนั้นจะเคลื่อนที่ขึ้นผ่านต่อมน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลืองต่างๆ และจากนั้นก็จะมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ภาพที่ได้จะบอกถึงการอุดกั้นของระบบน้ำเหลือง ซึ่งจะบอกได้ว่ามะเร็งกระจายไปยังที่ต่อมน้ำเหลืองใดบ้าง
4. การผ่าตัดเพื่อประเมินระยะของโรคก่อนการรักษา (Pretreatment surgical staging)
เป็นการผ่าตัดเพื่อหาว่ามะเร็งนั้นอยู่เฉพาะที่ปากมดลูกหรือกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายในบางรายมะเร็งปากมดลูกอาจถูกตัดออกไปทั้งหมดในขณะเดียวกันนี้ ด้วยการผ่าตัด เพื่อประเมินระยะของโรคนี้มักจะทำในส่วนหนึ่งของการทดลองเท่านั้น
5. การตรวจอัลตราซาวน์ ( Ultrasound exam )
เป็นการตรวจที่ใช้เสียงที่มีพลังงานสูงผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะภายใน จากนั้นจึงมีการสร้างออกมาเป็นภาพการถ่ายภาพจากการสั่นพ้องพลังแม่เหล็ก หรือ เอ็ม อาร์ ไอ ( MRI ) เป็นการใช้แม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ในการสร้างชุดของรายละเอียดของภาพของร่างกาย
ผลของการตรวจต่างๆจะถูกนำมาแปลผลร่วมกับผลของการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อจะบอกถึงระยะของมะเร็งปากมดลูก
CT scan
การกระจายของมะเร็งปากมดลูกนั้นมี 3 วิธี
การกระจายของมะเร็งปากมดลูกไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกายมี 3 วิธี คือ
1.กระจายผ่านเนื้อเยื่อ มะเร็งจะลุกลามเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติที่อยู่รอบๆ

2.กระจายผ่านระบบน้ำเหลือง มะเร็งจะลุกลามเข้าในระบบน้ำเหลืองแล้วจากนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านหลอดน้ำเหลืองไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย

3.กระจายผ่านระบบเลือด มะเร็งจะลุกลามเข้าไปในเส้นเลือดดำและเส้นเลือดฝอย แล้วจากนั้นจะเคลื่อนที่ผ่านเส้นเลือดไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

เมื่อเซลล์มะเร็งกระจายจากก้อนมะเร็งต้นกำเนิดผ่านไปทางหลอดน้ำเหลือง หรือเส้นเลือดต่างๆ ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายนั้น อาจจะเกิดการสร้างตัวเป็นก้อนมะเร็งขึ้นมาใหม่ในที่อื่นๆ การกระจายของก้อนมะเร็งดังกล่าวนั้น เรียกว่า เมแทสเตสิส ( metastasis ) หรือ การกระจายของมะเร็ง ก้อนมะเร็งที่กระจายนั้นจะมีเซลล์ชนิดเดียวกันกับมะเร็งต้นกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามะเร็งเต้านมกระจายไปยังกระดูก เซลล์มะเร็งที่พบที่กระดูกจะเป็นเซลล์มะเร็งเต้านม ไม่ใช่มะเร็งของกระดูก

ที่มา: www.chulacancer.net/
ระยะของมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง (Stages of cervical cancer)
บทความนี้นำเสนอระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก (Stages of cervical cancer) ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่ฆ่าชีวิตผู้หญิงไทยจำนวนมากในแต่ละปี ดังนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระยะต่างๆ ของโรคมะเร็งปากมดลูกนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับตัวผู้ป่วยเอง

ระยะของมะเร็งปากมดลูกแบ่งได้ดังนี้
ระยะที่ 0 ( พบเซลล์ผิดปกติแต่ไม่ใช่มะเร็ง – Carcinoma in situ )
ระยะที่ 0 คือการตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณผิวนอกสุดของปากมดลูกโดยยังไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ผิดปกตินี้อาจจะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ในเวลาถัดมาและอาจกระจายไปยังเนื้อเยื่อปกติบริเวณนั้นได้ ระยะที่ 0 เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Carcinoma in situ
ระยะที่ 1
ระยะที่ 1 คือการตรวจพบมะเร็งอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น ในระยะที่ 1 นี้แบ่งออกเป็น ระยะ 1 เอ (1A) และ ระยะ 1 บี (1B) ซึ่งแบ่งโดยขนาดของมะเร็งที่ตรวจพบ
ระยะ 1A เป็นระยะที่พบมะเร็งน้อยมาก สามารถเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ระยะนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นระยะ 1 เอ 1 (1A1) และระยะ 1 เอ 2 (1A2) โดยแบ่งจากขนาดของมะเร็ง
ระยะ 1A1 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 มิลลิเมตร และ ความกว้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 มิลลิเมตร
ระยะ 1A2 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกมากกว่า 3 มิลลิเมตร แต่ไม่มากกว่า 5 มิลลิเมตร และ ความกว้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 มิลลิเมตร
ระยะ 1B เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งที่มีความลึกมากกว่า 5 มิลลิเมตร หรือ ความกว้างมากกว่า 7 มิลลิเมตร หรือสามารถมองเห็นมะเร็งได้ด้วยตาเปล่า โดยมะเร็งจะยังคงอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น ระยะนี้สามารถแบ่งออกเป็น ระยะ 1 บี 1 (1B1) และระยะ 1 บี 2 (1B2) โดยแบ่งจากขนาดของมะเร็ง
ระยะ 1B1 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 4 เซนติเมตร
ระยะ 1B2 เป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร

ระยะ 1A มะเร็งปากมดลูก
ระยะ 1A

ระยะ 1B
ระยะ 1B

ระยะที่ 2

ระยะที่ 2 คือการตรวจพบมะเร็งกระจายออกไปจากปากมดลูกแล้วแต่ยังไม่ถึงเนื้อเยื่อของผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน ( pelvic wall ) หรือมีการกระจายไปยังช่องคลอดแล้วแต่ยังไม่ถึงหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด ระยะที่ 2 นี้ยังแบ่งออกเป็น ระยะ 2 เอ (2A) และ 2 บี (2B) ซึ่งแบ่งโดยความไกลในการกระจายของมะเร็ง

ระยะ 2A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกไปยังสองในสามส่วนบนของช่องคลอด แต่ยังไม่มีการกระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างตัวมดลูก

ระยะ 2B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูกไปยังเนื้อเยื่อข้างตัวมดลูก
ระยะ 2A
ระยะ 2A

ระยะ 2B
ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 คือการตรวจพบว่ามะเร็งกระจายออกไปยังหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด โดยอาจจะมีการกระจายไปยังผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน และ/หรือ ทำให้ไตทำงานได้แย่ลง ในระยะที่ 3 นี้แบ่งออกเป็น ระยะ 3 เอ (3A) และ ระยะ 3 บี (3B) ซึ่งแบ่งโดย ความไกลในการกระจายของมะเร็ง

ระยะ 3A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังหนึ่งในสามส่วนล่างของช่องคลอด แต่ยังไม่มีการกระจายไปยังผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน

ระยะ 3B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังผนังด้านข้างของอุ้งเชิงกราน และ/หรือ มะเร็งขยายตัวไปกดบริเวณท่อไต (Ureter) ทำให้เกิดการอุดตันของระบบปัสสาวะทำให้ไตมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำงานได้แย่ลง ในระยะนี้อาจจะพบว่า เซลล์มะเร็งกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ภายในอุ้งเชิงกราน

ระยะ 3A

ระยะ 3A
ระยะที่ 4
ระยะที่ 4 คือการตรวจพบว่ามะเร็งกระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก หรือส่วนอื่นๆของร่างกาย ในระยะนี้จะแบ่งออก เป็นระยะ 4 เอ (4A) และ ระยะ 4 บี (4B) ซึ่งแบ่งจากตำแหน่งที่มะเร็งกระจาย

ระยะ 4A เป็นระยะที่มะเร็งกระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะหรือทวารหนัก

ระยะ 4B เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกจากอุ้งเชิงกราน ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ช่องท้อง ตับ ลำไส้ หรือปอด เป็นต้น


ระยะ 4A มะเร็งปากมดลูก
ระยะ 4A

ระยะ 4B
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix) เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงช่วงอายุ 35-60 ปี มะเร็งปากมดลูกยังเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมีหลายสาเหตุ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรให้ความสำคัญกับเรื่องของมะเร็งชนิดนี้ โดยเฉพาะควรทำความเข้าใจถึงสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเอาไว้ก่อน ดังคำกล่าวที่ว่า กันไว้ดีกว่าแก้! ค่ะ
มะเร็งปากมดลูก


สาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูก
สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูกยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน มีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งปากมดลูก เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่อายุยังน้อย, มีบุตรมาก, มีประวัติเป็นกามโรค เป็นต้น แต่จากสถิติและการศึกษาค้นคว้าพบว่า มะเร็งปากมดลูกมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวี (Human papilloma virus – HPV ) บริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูก (รวมทั้งอวัยวะเพศภายนอก) อย่างไรก็ตาม แม้การติดเชื้อไวรัส HPV ที่ปากมดลูกเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ติดเชื้อไวรัสนี้แล้วจะเป็นมะเร็งปากมดลูก
เชื้อ HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
-กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High risk HPV) มี 13 ชนิด คือ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68
-กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ (Low risk HPV) ได้แก่ 2, 3, 6, 11, 42, 43, 44 นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง ได้แก่
  • การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่เพิ่มขึ้น
  • การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
  • การสูบบุหรี่
  • มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น
  • การให้กำเนิดลูกหลายคน
  • การกินยาคุมกำเนิด
  • การมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
  • พันธุกรรม
  • การขาดสารอาหารบางชนิด
ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย เนื่องจากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ จึงกล่าวได้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อเอชพีวี (ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ชายจะไม่มีอาการหรือตรวจไม่พบเชื้อ) แม้เพียงครั้งเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อเอชพีวีและเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก ได้แก่
  • ฝ่ายชายเป็นมะเร็งองคชาติ
  • ฝ่ายชายเคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • ฝ่ายชายเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ฝ่ายชายผ่านประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อยหรือมีคู่นอนหลายคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น