การหย่ากับชาวต่างชาติ
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
1. การจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ ระหว่างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีสัญชาติไทย จะจดทะเบียนสมรสโดยทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ และหากได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1459,1515
2. การหย่าตามกฎหมายนั้น ย่อมกระทำได้ 2 วิธีคือ
2.1 การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย หรือ
2.2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
3. หากท่านประสงค์หย่าขาดกับสามีชาวต่างชาติ ท่านก็ย่อมตกลงหย่ากับสามีโดยให้สามีมาจดทะเบียนหย่ากันที่เมืองไทยได้ อันเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ไม่จำต้องไปหย่ากันที่ออสเตรเลียแต่อย่างใด หรือมิฉะนั้น เมื่อท่านกับสามีแยกกันอยู่เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี อันเป็นการที่จงใจละทิ้งล้างระหว่างกันไปเกิน 1 ปี ท่านก็มีสิทธิจะฟ้องหย่าสามีได้ในประเทศไทย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516(4)
4. สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบในการจดทะเบียนหย่า คือ
4.1 บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/หญิงที่ยังไม่หมดอายุ
4.2 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของทั้งคู่, ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ, เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
3. พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน, ข้อตกลงการหย่า
4. สูติบัตร หรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร)
5. แบบฟอร์ม คร.1
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1459
การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน
มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว
มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
http://www.ago.go.th/articles/anuchat_271152_2.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น