แชงเก้นวีซ่า (Schengen Visa)
|
|
Schengen Visa นั้นใช้ได้กับประเทศแถบยุโรปที่เป็นสมาชิก Schengen Visa เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเชงเก็น
การทำ Schengen Visa จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุกๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียง Schengen Visa ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen สำหรับ Schengen Visa นั้น ให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่ จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก Schengen Visa ให้คือ ประเทศ อิตาลี)
|
» ประเทศยุโรป ที่สามารถใช้ Schengen Visa |
| | | | | |
ออสเตรีย | เบลเยี่ยม | เดนมาร์ก | ฟินแลนด์ | ฝรั่งเศส | เยอรมัน |
| | | | | |
กรีซ | ไอซ์แลนด์ | อิตาลี | ลักเซมเบิร์ก | เนเธอร์แลนด์ | นอร์เวย์ |
| | | | | |
โปรตุเกส | สเปน | สวีเดน | มอลต้า | ลิธูเนีย | ลัตเวีย |
| | | | | |
สโลวีเนีย | สโลวาเกีย | โปแลนด์ | | | |
| | | | | |
สวิตเซอร์แลนด์ | | | | | |
|
เพิ่มเติม : Schengen Visa ใช้ได้กับประเทศแถบยุโรปที่เป็นสมาชิก Schengen Visa เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเชงเก็น
การทำ Schengen Visa จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุกๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียง Schengen Visa ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen สำหรับ Schengen Visa นั้น ให้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่ จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก Schengen Visa ให้คือ ประเทศ อิตาลี)
เขตเชงเกน (Schengen Area)
| | |
Written by คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป |
|
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า วีซ่าเชงเกน และทราบว่าถ้าถือวีซ่านี้ สามารถไปได้หลายประเทศในทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี ฯลฯ โดยไม่ต้องของวีซ่าอีก ทว่า แท้จริงแล้ว วีซ่าเชงเกน คืออะไร และมีความสำคัญเช่นใด
ภูมิหลัง
วีซ่าเชงเกน เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ “การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล” อันเป็นหนึ่งในเป้าหมาย 4 ประการของตลาดร่วมยุโรป (อันได้แก่ การเคลื่อนไหวอย่างเสรีของสินค้า บริการ ทุน และบุคคล) เป็นจริงขึ้นมา โดยในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปบางประเทศเห็นว่า “การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล” นี้ ควรจะครอบคลุมนอกเหนือไปจากประชาชนของประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป โดยรวมถึงจนถึงบุคคลที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศสมาชิกที่มาอยู่ในประชาคมยุโรปด้วย
ดังนั้น ในปีพ.ศ. 2528 ประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป 5 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และ ลักเซมเบิร์ก จึงได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลงเชงเกน เพื่อก่อตั้งชายแดนร่วมกัน (single external border) หรือในอีกความหมายหนึ่ง คือการมีเขตแดนที่ไม่มีการตั้งจุดตรวจ ณ ชายแดนระหว่างประเทศสมาชิก (territory without internal border control) เพื่อให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศสมาชิกในข้อตกลงเชงเกนหรือไม่ก็ตามมีสิทธิที่จะเดินทางได้อย่างเสรีภายในบริเวณเชงเกน
ต่อมาภายหลัง มีประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป/สหภาพยุโรปและประเทศยุโรปอื่นๆทยอยเข้าร่วมเรื่อยมา และประเทศที่ลงนามในข้อตกลงเชงเกนพบว่า การมีชายแดนร่วมกันทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีความร่วมมือกันในด้านอื่นๆนอกเหนือจากการมีวีซ่าท่องเที่ยวร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายด้านผู้อพยพลี้ภัย หรือ ความร่วมมือด้านตำรวจและการศาล และเห็นว่าเพื่อความมีประสิทธิภาพในการร่วมมือกันดำเนินงานด้านดังกล่าว ควรจะให้มีการย้ายกรอบงานและมาตรการส่วนใหญ่ในข้อตกลงเชงเกนมาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม
ข้อตกลงเชงเกนครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง
ในสาระสำคัญ อาจสรุปได้ว่าข้อเชงเกนครอบคลุมสาระสำคัญ 5 ประการ คือ
1) การควบคุมดูแลชายแดนนอกกลุ่มประเทศสมาชิกร่วมกัน
การมีระเบียบและกระบวนการในการตรวจตราดูแลชายแดนดังกล่าวร่วมกัน
การยกเลิกการมีจุดตรวจที่ชายแดนระหว่างประเทศสมาชิก (แต่ประเทศสมาชิกยังสามารถทำการสุ่มตรวจได้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย)
การแยกช่องตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานระหว่าง คนที่เดินทางมาจากเขตเชงเกน กับคนที่เดินทางมาจากนอกเขตเชงเกน
2) การมีวีซ่าร่วมกัน
การมีระเบียบด้านการเข้าเขตแดนและการออกวีซ่าร่วมกัน (ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีของวีซ่าท่องเที่ยวระยะสั้น คือไม่เกิน 3 เดือน เท่านั้น หากอยู่นานกว่านั้น หรือด้วยจุดประสงค์อื่น เช่น เพื่อทำงาน หรือเรียนหนังสือ ยังต้องใช้วีซ่าของแต่ละประเทศสมาชิก
3) การมีนโยบายด้านผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ร่วมกัน
การมีความจำกัดของคำของคำว่า “ผู้อพยพ” ร่วมกัน
การมีระเบียบด้านผู้ลี้ภัยร่วมกันตามที่ปรากฏใน Dublin II Declaration
การมีฐานข้อมูลลายนิ้วมือผู้อพยพร่วมกัน ที่เรียกว่า Eurodac
4) ความร่วมมือด้านการตำรวจและตุลาการ (Police and Judicial cooperation) เช่น
การที่ตำรวจของประเทศสมาชิกหนึ่งมีสิทธิที่จะตรวจตราและไล่ล่าผู้ต้องสงสัย (hot pursuit) ในประเทศสมาชิกเชงเกนประเทศอื่นได้
การกระชับความร่วมมือในการศาลเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการเผยแพร่ข้อมูลการตัดสินคดีอาญา
การตั้งสำนักงาน Europol ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านข้อมูลในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามเขตแดน และ สำนักงาน Eurojust เพื่อประสานความร่วมมือด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมข้ามเขตแดน
5) การมีระบบฐานข้อมูลร่วมกัน คือ “Schengen Information System” (SIS)
เพื่อให้ความร่วมมือสี่ประการข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องมีระบบฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อการนี้ สหภาพยุโรปจึงได้จัดตั้งระบบ “Schengen Information System” หรือ SIS ขึ้นในปีพ.ศ. 2538 เพื่อทำหน้าที่เป็นเครือข่ายเชื่อมฐานข้อมูลร่วมกัน โดยในฐานข้อมูลจะระบุถึงรายละเอียดต่างๆของบุคคล สิ่งของ และยานพาหนะที่ต้องสงสัย และจะอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกซึ่งรับผิดชอบด้านตำรวจ การตรวจตราดูแลชายแดน และกงสุลที่ได้รับอนุญาตจากทางการ สามารถเข้าค้นข้อมูลหรือเพิ่มข้อมูลในระบบได้
นอกจากความร่วมมือที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการตั้งตำแหน่ง “ผู้ประสานงานด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหภาพยุโรป” (EU counter terrorism coordinator) โดยมีนาย Gijs de Vries เป็นผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยการตั้งตำแหน่งดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ส่วนแนวคิดอื่นๆ เช่น การก่อตั้งหน่วยงานตำรวจกลางอย่าง FBI หรือ องค์การข่าวกรองและสืบราชการลับอย่าง CIA กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นว่าประเทศสมาชิกยังคงหวงแหนอำนาจอธิปไตยในประเด็นความมั่นคงภายใน
ข้อตกลงเชงเกนครอบคลุมประเทศอะไรบ้าง
ประเทศที่เข้าร่วมเข้ขตวีซ่าร่วมเชงเกนได้แก่ :
เบลเยียม เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สเปน โปรตุเกส กรีซ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก* ไอซ์แลนด์** และนอร์เวย์** สาธารณรัฐเชก เอสโตเนีย ฮังการี แลตเวีย ลิธัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสวิตเซอร์แลนด์**
- * เดนมาร์กได้ขอสงวนสิทธิในการไม่เข้าร่วมในมาตรการใหม่ๆ ทีไม่ใช่เรื่องการมีวีซ่าร่วม
- ** ประเทศดังกล่าวไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป กล่าวคือ ไอซ์แลนด์ด์และนอร์เวย์ เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง Nordic Passport Union ต่อประเทศสวีเดน เดนมาร์ก และฟินแลนด์
ทั้งนี้ มีประเทศที่เข้าร่วมความตกลงเชงเกน แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตวีซ่าร่วมด้วย คือ
- สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ เป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เข้าร่วมเฉพาะเรื่องความร่วมมือด้านการตำรวจและตุลาการ (Police and Judicial Cooperation)เท่้านั้น แต่ไม่ี่เข้าร่วมในด้่านการมีวีซ่าร่วมหรือการมชายแดนร่วม
- ไซปรัส โรมาเนีย และบัลกาเรีย แม้จะได้ลงนามรับข้อตกลงเชงเกนเมื่อครั้งเข้าร่วมสหภาพยุโรปเมื่อปี 2550 แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมในเขตชายแดนร่วมดังกล่าว และอียูจะเริ่มกระบวนการประเมินความพร้อมของบัลกาเรียและโรมาเนียในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 และคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี
สำหรับลิคเคนสไตน์นั้นยังอยู่ในขั้นการเจรจา
กระบวนการตัดสินใจในเรื่องความตกลงเชงเกน
สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัมได้โอนอำนาจการตัดสินใจในข้อตกลงเชงเกน ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่อง วีซ่า การขอลี้ภัย การอพยพ และนโยบายอื่นๆซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล เข้ามาอยู่ในกรอบการทำงานในเสาหลักที่หนึ่งของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นความร่วมมือแบบเหนือรัฐ กล่าวคือ ประเทศสมาชิกได้เสียอำนาจอธิปไตยบางส่วนในด้านนี้ให้แก่หน่วยงานของสหภาพยุโรป เช่น กระบวนการรับรองมาตรการใหม่นั้นใช้วิธีลงคะแนนเสียงแบบเสียงข้างมาก โดยที่ประเทศสมาชิกไม่มีสิทธิวีโต ยกเว้นความร่วมมือด้านตำรวจและการศาล ซึ่งประเทสสมาชิกยังมีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ (กล่าวคือ ยังคงไว้ซึ่งมีสิทธิวีโต)
ทว่า อาจกล่าวได้ว่า ประเทศสมาชิกยังคงมีอำนาจอธิปไตยในด้านนี้มากกว่ากิจการอื่นๆในเสาหลักที่หนึ่ง (เช่น เรื่องการเคลื่อนไหวเสรีของสินค้าในตลาดร่วมยุโรปและนโยบายการค้ากับประเทศที่สาม) เช่น ประเทศสมาชิกมีอำนาจในการเสนอมาตรการใหม่ๆร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป (แทนที่ณะกรรมาธิการฯจะมีอำนาจเสนอมาตรการใหม่ๆแต่เพียงผู้เดียว ดังเช่นกิจการอื่นๆในเสาหลักที่หนึ่ง) นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกจำนวนหนึ่งยังสามารถตกลงกันเองที่จะเพิ่มความร่วมมือร่วมกันเฉพาะเรื่องได้ เพียงแต่ต้องทำในกรอบการทำงานของสหภาพยุโรป
Related Items:
- 30 มีค. เลิกตรวจที่สนามบินระหว่างสมาชิกเชงเกนเดิมกับสมาชิกใหม่
- ข้อแนะนำสำหรับผู้ถือ passport ไทย ภายหลังเช็กร่วม Schengen
- ประเทศสมาชิกใหม่เลื่อนกำหนดการเข้าร่วมในเขตเชงเก้น
- มารู้จักฐานข้อมูลผู้ลี้ภัย "Eurodac"
- ยกเว้นการขึ้นค่าวีซ่าแก่ NGOs และผู้ค้าบริเวณชายแดน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น