Learn with Prin เรียนรู้ไปพร้อมกับน้องปริญญ์

จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Legacy /Reborn Set ลด Fat ตัวช่วยลดไขมัน ลดน้ำหนัก แบบถูกวิธี 🔥 ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ 📍 โทร ☎️ :: 084-110-5021 🌸 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ 📍

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์

ารดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์
การดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง อาการแพ้ท้องจะมีมากใน 3 เดือนแรก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อตื่นนอน จะมีอาการมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจมีอาการมาก รับประทานอาหารไม่ได้ หลังตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำผลไม้ และรับประทานขนมปังกรอบทันที จะทำให้รู้สึกดีขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุนจัด เพราะอาจทำให้คลื่นไส้มากขึ้น นอกจากนี้อาจอยากรับประทานอาหารแปลกๆ รสเปรี้ยว ซึ่งสามารถรับประทานได้
อาการปวดหลังพบได้บ่อยเกือบครึ่งหนึ่งของสตรีมีครรภ์ โดยมักปวดที่หลังส่วนล่าง ระหว่างก้นทั้งสองข้าง ร้าวลงไปที่ต้นขา มักเป็นช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ การยืนนานๆ ในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือยกของหนักเกินไป ทำให้ปวดหลังได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ทำให้ข้อกระดูก และเอ็นต่างๆ คลายตัวหลวมมากขึ้น ความแข็งแรงของข้อลดลง จึงทำให้ปวดหลังได้ ควรพยายามนอนพื้นเรียบ ใช้หมอนหนุนหลังเวลานั่ง อย่าก้มหยิบของ ควรใช้วิธีนั่งหยิบแทน และควรใส่รองเท้าส้นเตี้ย อาจให้สามีช่วยนวดหลังเบาๆ นอกจากจะคลายปวดแล้ว ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ด้วย



อาหาร

  1. คุณแม่จะรับประทานอาหารได้ดีขึ้น เมื่ออาการแพ้ท้องหายไป
  2. ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก ผลไม้
  3. ไม่ควรรับประทานอาหารพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ขนมหวาน ไขมันมากเกินไป
  4. ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารดิบๆ สุกๆ ของหมักดอง ผงชูรส ชา กาแฟ เหล้า และบุหรี่

การพักผ่อน

  1. ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียง่าย กลางคืนควรนอนหลับให้เต็มอิ่ม ประมาณ 8-10 ชั่วโมง และควรหาเวลานอนพักในตอนบ่ายอีกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  2. การลดจำนวนการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ให้เหลือน้อยที่สุด ถ้าหากคุณต้องการจะดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ให้จำกัดเฉพาะในเวลาเช้า หรือตอนบ่ายต้นๆ
  3. ควรงดดื่มน้ำ หรืออาหารเหลว หรือรับประทานอาหารอิ่มจนเกินไปก่อนที่จะเข้านอนสองสามชั่วโมง แต่ขอให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหาร และน้ำอย่างเพียงพอตลอดวัน การรับประทานอาหารมื้อเช้า และเที่ยงหนักๆ และรับประทานอาหารเย็นเบาๆ สามารถช่วยได้ และหากมีอาการคลื่นไส้นอนไม่หลับ การรับประทานขนมปังกรอบสองสามแผ่นก่อนเข้านอนอาจช่วยได้
  4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมก่อนเข้านอน แต่ให้ทำอะไรที่เบาๆ และผ่อนคลายแทน และหากเป็นตะคริวที่ขาปลุกให้ตื่นนอนในตอนกลางคืน การกดเท้าแรงๆ ลงกับผนังห้องหรือลุกขึ้นยืนอาจช่วยได้
  5. ถ้ายังนอนไม่หลับ ให้ลุกขึ้นมาหาอะไรทำ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หรือหากิจกรรมอื่นๆ ที่เพลิดเพลินทำแทน แล้วในที่สุดก็จะเหนื่อย และนอนหลับได้เอง
  6. นอนงีบ 30-60 นาที ระหว่างวัน เพื่อชดเชยเวลานอนที่สูญเสียไป



การออกกำลังกาย

  1. ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดี ร่างกายแข็งแรง เช่น เดินเล่นในที่ที่มีอากาศปลอดโปร่ง ทำงานบ้านเบาๆ บริหารร่างกายด้วยท่าง่ายๆ
  2. ข้อควรระวัง คือ อย่าออกกำลังกายหักโหมจนร่างกายเหนื่อย อ่อนเพลีย หรือกระทบกระเทือนท้อง

การบริหารร่างกายสำหรับคุณแม่ก่อนคลอด

  • ท่าที่ 1ยืนตรง มือเท้าเอง เท้าแยกพอประมาณ หลังตรง หาหนังสือเล่มหนาๆ ประมาณ 1-2 เล่ม วางอยู่ระหว่างเท้า ค่อยๆ ย่อขาลงหยิบหนังสือขึ้นจากพื้น แล้วยืนขึ้น ทำซ้ำ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 2นั่งขัดสมาธิ หลังตรง มือซ้ายจับเข่าขวา พยายามบิดตัวไปทางขวาช้าๆ
  • ท่าที่ 3นอนหงายชันเข่า ยกสะโพกขึ้นจากพื้นจนตึง ค้างไว้แล้วลดลง ทำซ้ำ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 4นั่งคุกเข่าให้มือทั้งสองข้างวางบนพื้น ออกแรงโค้งหลังขึ้นขางบนจนสุดแล้วค้างไว้ ทำซ้ำ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 5เอียงคอไปด้านซ้าย และกลับมาตรง เอียงคอไปด้านขวา และกลับมาตรง ก้มคอไปด้านหน้า และกลับมาตรง ทำซ้ำอย่างละ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 6ยืนตรง มือทั้งสองข้างแตะไหล่หมุนไหล่เป็นวงกลม ไปข้างหลัง ทำซ้ำ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 7ยืนตรงกางแขนทั้งสองข้างออก ก้มตัวไปข้างขวา แตะเข่าด้านข้าง ทำซ้ำข้างละ 5 ครั้ง
  • ท่าที่ 8 นอนหงาย ชันเข่าแขนตึง มือทั้งสองข้างวางบนต้นขา ออกแรงเกร็งท้องจนมือแตะเข่า ค้างไว้สักครู่ ทำซ้ำ 5 ครั้ง

การรักษาความสะอาดร่างกาย

  1. ระยะตั้งครรภ์จะรู้สึกร้อน และเหงื่อออกมาก ควรอาบน้ำให้ร่างกายสะอาดสดชื่น แต่ถ้าอากาศเย็นควรอาบน้ำอุ่น และให้ความอบอุ่นกับร่างกาย
  2. ถ้าผิวแห้งตึงให้ใช้โลชั่นทาหลังอาบน้ำ



การดูแลปาก และฟัน

  1. หญิงตั้งครรภ์มักมีปัญหาฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ง่าย
  2. ควรแปรงฟันอย่างถูกวิธีวันละ 2 ครั้ง และบ้วนปากด้วยน้ำสะอาด หรือแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร
  3. ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่บางท่านอาจรู้สึกว่าอยากทานอาหารแปลกๆ และส่งผลให้เหงือกอาจจะอักเสบ หรือบวมได้ และอาจรู้สึกขยับปากลำบาก จึงอาจละเลยเรื่องการรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก จึงส่งผลให้มีคราบสะสมภายในช่องปาก และมีโอกาสเกิดฟันผุได้มากขึ้น
  4. โรคเหงือกอักเสบในระหว่างตั้งครรภ์ หลอดเลือดฝอยในบริเวณเหงือกมีฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดเลือดคลั่งในเหงือก และเหงือกมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง หรือที่รุนแรงกว่านั้น คือทำให้เกิดเนื้องอกที่เหงือก เหงือกมีสีแดงเข้ม และไม่เจ็บปวด ซึ่งเหงือกมีเลือดคั่งอย่างมาก และเหงือกมีเลือดออกเป็นประจำ แต่เนื้องอกหรืออาการเลือดออกดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของการตั้งครรภ์ ไม่แนะนำให้ตัดเนื้องอกนี้ทิ้ง นอกจากว่าจะเกิดแผลในช่องปากหรือมีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร
  5. หากมีโรคเกี่ยวกับเยื่อหุ้มฟันอยู่แล้ว อาการอาจรุนแรงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
  6. ฟันอาจโยกได้มากขึ้น
  7. สตรีมีครรภ์บางท่านอาจรู้สึกคลื่นไส้ และอาเจียน ส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมา และอาจกัดกร่อนฟันได้ ปกติแล้ว ฟันที่ถูกกัดกร่อนจะเป็นซี่ที่ติดกับด้านข้างลิ้น


การดูแลเต้านม

  1. ขณะตั้งครรภ์เต้านมจะขยายขึ้น เพื่อเตรียมสร้างน้ำนมให้ลูกน้อย ควรเปลี่ยนยกทรงให้มีขนาดพอเหมาะใส่สบาย
  2. คุณแม่บางคนอาจจะมีน้ำนมไหลซึมออกมา ไม่ต้องกังวลใจ เวลาอาบน้ำให้ล้างเต้านมด้วยน้ำสะอาด ไม่ควรฟอกสบู่เพราะจะทำให้ผิวแห้งมาก อาจใช้โลชั่นทานวด เมื่อรู้สึกผิวแห้งตึง หรือคัน
  3. ถ้ามีปัญหาหัวนมสั้น หัวนมบอด หรือผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลที่ฝากครรภ์ก่อนที่จะคลอด มิฉะนั้นอาจจะมีอุปสรรคต่อการให้นมลูก

การมีเพศสัมพันธ์

  1. ไม่มีข้อห้ามในผู้ตั้งครรภ์ปกติ แต่ควรงดเว้นใน 1 เดือน สุดท้ายก่อนคลอด
  2. ในรายที่เคยแท้ง ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  3. ในรายที่มีปัญหาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาลผู้ตรวจครรภ์

น้ำหนักตัวในระหว่างตั้งครรภ์

  1. โดยทั่วไปแพทย์มักจะแนะนำหญิงตั้งครรภ์ว่าควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่ถึงเกณฑ์กำหนดมักจะพบว่าทารกที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าปกติ หรือทารกน้ำหนักน้อย ตัวเล็กผิดปกติ ขณะเดียวกันหญิงตั้งครรภ์ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก และทำให้เกิดปัญหาต่อการตั้งครรภ์หลายประการ เช่น ทารกตัวโตคลอดลำบาก หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำให้เหนื่อยง่าย ปวดหลังมากขึ้น เส้นเลือดขอดมากขึ้น และทำให้แผลผ่าตัดติดช้า เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้ง่าย
  2. บางครั้งหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากๆ มิได้หมายความว่าทารกในครรภ์จะตัวโตเสมอไป อาจจะได้ทารกน้ำหนักน้อยก็มี ทั้งนี้เนื่องจากภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม โดยเน้นที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ การเพิ่มน้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อการตั้งครรภ์ เป็นน้ำหนักโดยเฉลี่ยที่ต้องพิจารณาตามรูปร่าง และขนาดตัวของหญิงตั้งครรภ์ เช่น ผู้ที่มีรูปร่างเล็ก และมีขนาดตัวก่อนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 5 กิโลกรัม การเพิ่มของน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ อาจจะน้อยกว่า 10 กิโลกรัมได้ ทั้งนี้น้ำหนักที่เพิ่มจะเป็นน้ำหนักของทารก 3 กิโลกรัม และเป็นน้ำหนักของรก น้ำหล่อเด็ก เนื้อเยื่อที่ยืดขยายของเต้านม มดลูก เป็นต้น อีก 5-6 กิโลกรัม
  3. หญิงตั้งครรภ์ที่ควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเป็นกรณีพิเศษ คือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเป็นกรณีพิเศษ คือผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานในขณะก่อนตั้งครรภ์ โดยในระยะไตรมาสแรกควรจะพยายามปรับให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเท่ามาตรฐาน แล้วใช้เวลาในระยะ 6 เดือนต่อมาเพิ่มน้ำหนักให้ได้เท่าที่ต้องการตลอดการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก่อนการตั้งครรภ์ ต้องระวังดูแลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยเลือกกินอาหารเป็นพิเศษ
  4. ระยะเวลาตลอดการตั้งครรภ์ไม่ใช่เวลาที่จะควบคุมน้ำหนักด้วยการงดอาหารอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะทารกจะได้พลังงานจากการเผาผลาญไขมันของหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น แต่จะไม่ได้สารอาหารใดๆ ทั้งสิ้น หญิงตั้งครรภ์แฝดสอง หรือแฝดสาม มิได้หมายความว่าจะต้องมีน้ำหนักเพิ่มเป็นสอง หรือสามเท่าตามจำนวนทารกในครรภ์ แต่อาจจะเพิ่มน้ำหนักโดยเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อทารก 1 คน โดยกินอาหารภายใต้การดูแลของแพทย์
  5. อัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัว โดยเฉลี่ยน้ำหนักตัวของหญิงตั้งครรภ์จะมีการเพิ่มน้อยในช่วงระยะไตรมาสแรกคือประมาณ 1-2 กิโลกรัมเท่านั้น และจะมีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สองจนถึงต้นไตรมาสที่สาม คือในอายุครรภ์ 3-8 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และในระยะเดือนสุดท้ายน้ำหนักจะคงที่หรือลดลงบ้างเล็กน้อยประมาณ 1/2 กิโลกรัมดังนั้นในไตรมาสที่สามน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเพียง 2-3 กิโลกรัมเท่านั้น


การดูแลผิวพรรณขณะตั้งครรภ์

เมื่อผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสรีระ และอารมณ์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหลายชนิด ผิวพรรณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมักก่อให้เกิดความกังวลใจไม่น้อย การรับรู้ถึงภาวะปกติ และไม่ปกติที่เกิดขึ้นกับผิวพรรณขณะตั้งครรภ์จะช่วยให้รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องกังวล
  1. รอยคล้ำ จะสังเกตได้ว่าบริเวณข้อพับของร่างกายมีสีเข้มขึ้นตั้งแต่รักแร้ ขาหนีบ ต้นขาด้านใน รวมถึงหัวนม และอวัยวะเพศ แต่ที่กลัวกันมากที่สุด คือ มีฝ้าขึ้นที่หน้า โดยเฉพาะคนที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ กระที่เป็นอยู่แล้วก็มักสีเข้ม และเพิ่มจำนวนมากขึ้นแต่อย่าเพิ่งกังวล รอยคล้ำต่างๆ เหล่านี้จะค่อยๆ จางลงอย่างช้าๆ ภายหลังคลอด
  2. สิว เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างตั้งครรภ์ มีผลต่อการทำงานของต่อมไขมันทำให้บางคนเกิดเป็นสิวเห่อขึ้นที่หน้า และตัวได้ แต่กับบางคนก่อนตั้งครรภ์เป็นสิวง่าย พอตั้งครรภ์แล้วสิวหายหน้าผ่องก็มี
  3. รอยแตกลาย เกิดขึ้นจากการยืดตัวของผิวหนังขณะตั้งครรภ์มักพบบริเวณหน้าท้อง สะโพก ก้น หน้าอกต้นขา อาจเป็นสีชมพู ม่วง หรือดำในคนผิวคล้ำ บางคนอาจมีอาการคันร่วมด้วยหลังคลอดอาจจางลงได้เล็กน้อย
  4. ติ่งเนื้อสีน้ำตาลดำ มักเกิดขึ้นที่คอ รักแร้
  5. การติดเชื้อรา ที่ผิวหนังบริเวณที่มีการอับชื้น เนื่องจากคนท้องมักขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย จึงเกิดจุดอับชื้นบริเวณซอกพับที่สรีระมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ใต้ราวนมรักแร้ขาหนีบเป็นสาเหตุของการติดเชื้อราแคนดิดาได้ง่าย
  6. โรคผื่นคันในคนท้อง มีลักษณะเป็นผื่นลมพิษตุ่มแดง คัน ที่ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารหรือสารเคมีมักเป็นเมื่อครรภ์แก่ในช่วงสามเดือนก่อนคลอด ผื่นคันนี้อาจลามกระจายทั้งตัวได้ แต่หลังคลอดผื่นก็จะค่อยๆ จางหายไป
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
 
 
 
 
 
 
 
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น